อารยธรรมของอินเดียโบราณ
อารยธรรมของอินเดียโบราณ
ลุ่มแม่น้ำสินธุนั้นเป็นแหล่งกำเนิดอารยะธรรมสำคัญแห่งหนึ่งของโลก (๑ใน๔ แห่ง)
คือ อินเดียโบราณ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนา
ดังนั้นความเชื่อทั้งสองศาสนานี้จึงได้เผยแพร่ไปยังประเทศต่าง ๆ
ในคาบมหาสมุทรอินเดียและคาบมหาสมุทรอินโดจีน ซึ่งกล่าวกันว่า
พ่อค้าชาวอินเดียยุคโบราณนั้นได้ข้ามทะเลไปยัง
อินเดียไกล
และอินโดนีเซียไปสร้างอาณาจักร สร้างอาณานิคม ขยายการค้าขายของเมืองแม่
(อินเดีย) และต่อมาได้นำเอาศิลปินที่มีความสามารถพิเศษจากแคว้นเบงกอล กลิงคะ
(คือแคว้นอริสสา) และคุชราตมาสร้างอนุสาวรีย์ที่ใหญ่โตงดงามจนไม่สิ่งใดทัดเทียมได้
อารยธรรมอินเดียโบราณนั้น ถือการให้การศึกษานั้นคือการให้แสงสว่าง
ที่ทีความหมายไปถึงจนช่วยให้เกิดสมรรถภาพที่จะต่อสู่กับความนากลำบาก
และแก้ไขปัญหานานาประการในชีวิตให้ลุล่วงสำเร็จผลสมความปรารถนา
ดังนั้นการศึกษาจึงต้องสมบูรณ์โดยสามารถนำความรู้ไปใช้และปฏิบัติได้จริง
การมีความรู้เชี่ยวชาญทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ
แม้จะเป็นเพียงแขนงวิชาเดียวก็ได้รับความสำเร็จได้
ด้วยเหตุที่มนุษย์มีความเชื่อว่า
สั่งคมที่ก้าวหน้าไปได้ขึ้นอยู่กับการศึกษาและถือว่าการศึกษาเป็นอภิสิทธิ์ของชนชั้นสูงที่มีเวลาว่างและมีฐานะทางสังคมจะเข้าศึกษาได้ก็ตาม
ดังนั้นในพิธีอุปานยานะ หรือพิธีเข้าสิทธิ์เข้าเรียนในสำนักนั้น
ก็มุ่งหวังที่จะเผยแพร่ความรู้นั้นให้กับกุลบุตรกุลธิดาโดยจัดเข้าไปในบทบัญญัติของศาสนา
เพื่อให้การศึกษาเกิดความเชื่อถือและปฏิบัติตามอย่างกว้างขวางและเคร่งครัด
คัมภีร์พฤหทาระณยกะอุปนิษัท ได้ระบุไว้ตอนหนึ่งว่าหนี้ที่มนุษย์มีต่อบิดามารดานั้นจะชำระได้มิใช่เพียงแต่โดยการมีบุตรสืบตระกูลเท่านั้นหากยังจะต้องจัดการให้บุตรเหล่านั้นได้รับการศึกษาเป็นอย่างดีด้วย
ด้วยเหตุนี้ชาวอารยันทุกคนที่อยู่ในวรรณพราหมณ์ กษัตริย์และแพศย์
จึงย่อมได้รับการศึกษาตามคัมภีร์
ภายหลัง (ประมาณ
พ.ศ. ๕๔๔-พ.ศ.๑๕๔๔)
ปรากฏว่ากษัตริย์และแพศย์ได้ห่างจาการประกอบพิธีปานยนะอย่างแต่ก่อนจึงเป็นเหตุให้พราหมณ์ได้รับการศึกษาจึงเป็นเหตุให้ความรู้ดีกว่าและได้มีการบัญญัติให้เป็นคำสั่งสอนทางศาสนาว่า
การสอนวิชาหรือเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้อื่นั้นเป็นหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์
ผู้เป็นพราหมณ์เท่านั้นจะได้ทำหน้าท่าสอนโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้
หาไม่แล้วสังคมจะประณามอย่างแรง
ถึงการคบหาสมาคมถึงเลิกอำนวยความสะดวกช่วยเหลือสิ้นทุกประการ
ดังนั้นการสร้างพราหมณ์ให้เป็นหน้าที่ครูอาจารย์
จึงเป็นการส่งเสริมให้เกิดราศรีและสร้างความสนใจในการศึกษาของประชาชน คัมภีร์ต่าง
ๆ
ทั้งศาสนาและวัฒนธรรมจึงถูกเชื้อเชิญให้รัฐและสังคมได้ดูแลความเกื้อกูลอย่างเต็มที่แก่ผู้มีอาชีพสอนหนังสือหรือให้ความรู้แก่ผู้อื่น
ทำให้บุคคลที่มีอาชีพครูบาอาจารย์นั้นได้รับการยกย่องย่างสูงในสังคม
โดยเฉพาะพราหมณ์นั้น ในคัมภีร์ยาชญวลกย สมฤติ บรรพที่ ๓ ได้กล่าวว่า
การลืมวิชาที่ได้เล่าเรียนมา
มีโทษเป็นบาปเท่ากับฆ่าเพื่อน หรือฆ่าพราหมณ์คนหนึ่ง
ในคัมภีร์ศาสนานั้น
ระบุให้พราหมณ์ให้ทุกคนถือเป็นหน้าที่ชีวิตที่ต้องเผยแพร่วิชาความรู้ที่ตนได้เล่าเรียนมา
จะบิดพลิ้วหรือหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้นสำนักเรียนที่เรียกว่า มัฐ นั้น
จึงเกิดขึ้นในอารามของภิกษุในพุทธศาสนามาก่อน
ต่อมาศาสนาฮินดูได้จัดสำนักเรียนขึ้นตามอย่างในสถานที่สำคัญในศาสนาของตน
สำนักเรียนโบราณ
(มัฐ) นี้จะอยู่ในดูแลของ ปิฏกาจารย์ คืออาจารย์ผู้สอนหรือผู้ชำระหมวดแห่งคำสอน
โดยมี อันเตวาสิก คือลูกศิษย์ที่มีความหมายว่า
ผู้อาศัยอยู่ภายในบ้านเหนือตระกูล
และผู้ที่เป็นลูกศิษย์อาวุโสหรือหัวหน้าลูกศิษย์นั้นรียกว่า เขฏฐานเตวาสิก
และการจัดการศึกษาในชุมชนนั้นได้เกิดขึ้นตามพระราชดำหริของพระเจ้าชารลมาญมหาราช (CHARLEMAGNE)
ทรงเริ่มขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๓๔๓
ครั้นเมื่อพระองค์สวรรคตลงการศึกษาจึงต้องหยุดไปด้วย
ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช การศึกษาจึงเจริญรุ่งเรืองและแพร่หลายมากขึ้น
มหาวิทยาลัยนาลันทา และมหาวิทยาลัยกรมศิลา
จึงเป็นศูนย์กลางการศึกษาชั้นสูงที่มีชื่อเสียงที่สุดของชาวพุทธ
ครูบาอาจารย์ผู้ให้ความรู้นั้น คนหนึ่งได้รัลูกศิษย์ได้ไม่เกิน ๑๐-๑๕ คน
และลูกศิษย์นั้นตอบแทนครูบาอาจารย์ด้วย คุรุทัปษิณา
คือสิ่งตอบแทนที่สิทธิ์จะต้องหามาให้อาจารย์เป็นการช่วยเหลือการครองชีพของอาจารย์
เรียกว่า อาจาริยธน
แปลว่าเงินที่ให้ หรือเป็นส่วนของอาจารย์
ในคัมภีร์มนุสมฤตินั้นได้ให้ ครูบาอาจารย์ ตระหนักว่าเป็นหน้าที่ของตน
คือการสอนหนังสือนั้นเป็นวิทยาทาน โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
และเตือนผู้ปกครองของลูกศิษย์ให้ระลึกว่า
พระคุณของครูบาอาจารย์ที่ได้สอนหนังสือให้แก่ลูกศิษย์
แม้เพียงให้รู้อักษรเพียงตัวเดียวนั้น
ย่อมไม่มีสิ่งใดในโลกจะมีคุณค่าตอบแทนให้เสมอเหมือนได้
|