โบราณศาสนา
โบราณศาสนา
สังคมสมัยโบราณเน้นการศึกษาจาก คัมภีร์พระเวท
ซึ่งถือเป็นหลักฐานหรือโบราณศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของภาษาสันสกฤต
เป็นความรู้ทางศาสนาที่เป็นหัวใจชาฮินดู
ที่รวมปัญญาความคิดจากโบราณจารย์มาหลายชั่วอายุคน ตกทอดสืบในความจำนับพันปี
ประกอบด้วยคัมภีร์ หลัก ๓ ประเภท คือ
·
คัมภีร์สหิตาหรือมนตร
หมายถึงคัมภีร์ที่เป็นชุมนุมบทสวดสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า บทสวดขับร้อง
มนต์หรือพระสูตรคาถาที่ใช้สำหรับพิธีบูชายัญ โดยแต่งเป็นคำฉันท์
·
คัมภีร์พราหมณะ
หมายถึงคัมภีร์ที่เป็นความร้อยแก้ว
อธิบายความหมายของบทสวดสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า
บัญญัติบทสวดให้เหมาะสมกับการใช้ในที่ใด
พรรณนาถึงที่มาของบทสีเสริญฝนส่วนที่เกี่ยวกับบูชายัญ
และยังได้อธิบายความหมายของพิธีนั้นด้วย
·
คัมภีร์อารณยกะและอุปนิษัท
หมายถึงคัมภีร์ที่เป็นประพันธ์ที่ว่าด้วยความคิดด้านปรัชญา
ความคิดเรื่องวิญญาณหรืออาตมัน เรื่องพระเป็นเจ้า โลก และมนุษย์
บางตอนในคัมภีร์จะซ้ำกับคัมภีร์พราหมณ์
คัมภีร์เป็นโบราณศาสตร์เหล่านี้ ได้แพร่หลาย ถ่ายทอดต่อกันไป
โดยเฉพาะคำภีร์สหิตาหรือมาตรนั้น
ต่อมาโบราณาจารย์ได้แก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมจนคัมภีร์นี้แบ่งออกเป็น
พระเวททั้งสี่ เรียกว่า คัมภีร์จตุเวท ได้แก่
·
สหิตา
ที่เป็นชุมชุมบทประพันธ์ว่าด้วยพระสูตรสำหรับใช้ในพิธีบูชายัญนั้นให้เรียกใหม่ว่า
ยชุรเวทสหิตา และยังแบ่งออกเป็นสองสาย กฤษณยชุรเวท (ยชุรเวทดำ)
และศุกล ยชุรเวท (ยชุรเวทขาว)
·
สหิตา
ที่เป็นชุมนุมบาประพันธ์ว่าด้วยบทสวดขับร้องนั้นให้เรียกใหม่ว่า
สามเวทสหิตา
·
สหิตา
ที่เป็นชุมชนุมบทประพันธ์ที่ว่าด้วยมนต์หรือคาถาต่าง
นั้นให้เรียกว่า อถรวเวทสหิตา หรืออาถรรพเวท
คัมภีร์จตุรเวทนี้
แต่ละคัมภีร์นั้นต่างมี คัมภีร์พราหมณะ อารณยกะ และอุปนิษัท เป็นคัมภีร์บริวาร
ซึ่งชาวฮินดูโบราณถือว่าเป็น ศรุติ คือสิ่งที่ได้ยินมาจากพระเป็นเข้า
เป็นข้อความที่พระผู้เป็นเจ้าทรงเปิดเผยให้มนุษย์ทราบโดยผ่านฤาษีหลายคน
และจะสถิตสถาพรไปชั่วกาลนาน จึงทำให้ คัมภีร์พระเวทนั้นเป็น อเปารุเษย แปลว่า
สิ่งที่ไม่ได้สร้างด้วยมนุษย์และมีความเป็นนิตย์ที่ยืนยงคงอยู่ตลอดกาล
ดังนั้นฤาษีที่ได้ฟังพระเวทนี่จากพระโอษฐ์ของพระผู้เป็นเจ้า จึงเรียกว่า
มนตรทรษฎา แปลว่า ผู้ที่ได้เห็นหรือได้รับมนตร์จากพระผู้เป็นเจ้าโดยตรง
ส่วนคัมภีร์ที่มนุษย์จดจำปฏิบัติต่อกันมาจนเป็นประเพณีนั้นเรียกว่า คัมภีร์สมฤติ
(คัมภีร์จากความจำของมนุษย์) ประกอบด้วยโบราณศาสตร์ที่มนุษย์ต้องเรียนรู้ ดังนี้
คัมภีร์เวทางค์ (เวท
+องค หมายถึงแขนขาหรือส่วนประกอบของเวท) หรือเรียกอีกชื่อว่า สูตร
เป็นคัมภีร์ที่มี ๖ วิชา ได้แก่
·
วิชาออกเสียง เรียกว่า ศึกษา
·
วิชาแต่งกาพย์กลอนโคลงฉันท์ เรียกว่า ฉนทส
·
วิชาไวยากรณ์ เรียกว่า วยากรณ์
·
วิชาที่ว่าด้วยที่มาของศัพท์ เรียกว่า นิรุกต
·
วิชาดาราศาสตร์ เรียกว่า โชยติษ
·
วิชาพิธีกรรม รียกว่า กลป
การศึกษาวิชาออกเสียงและวิชาแต่งกาพย์กลอนโคลงฉันท์ นั้นจำเป็นสำหรับการเรียกอ่าน
พระคัมภีร์
ส่วนวิชาดาราศาสตร์ และวิชาพิธีกรรม
นั้นสำหรับนำเอาความรู้นี้ไปใช้ในพิธีบูชายัญ คัมภีร์เวทางค์นี้มีลักษณะสำคัญ
คือ การเก็บเอาใจความมาย่อเป็นสูตรสั้น ๆ แล้วให้คำอรรถาธิบายประกอบโดยละเอียด
เพื่อให้สะดวกแก่การท่องจำ เมื่อท่องจำสูตรได้ก็มักจะจำคำอธิบาย
โดยละเอียดได้เช่นกัน จึงพากันเรียกชื่อว้า
สูตร
·
วิชาแพทยศาสตร์
เป็นภาคหนึ่งของคัมภีร์ฤคเวท เรียกว่า อายุรเวท
·
วิชายิงธนู เป็นภาคหนึ่งของคัมภีร์ชุรเวท
เรียกว่า ธนุรเวท
·
วิชาดนตรีและขับร้อง
เป็นภาคหนึ่งของคัมภีร์สามเวท เรียกว่า คานธรวเวท
·
วิชาใช้อาวุธ
เป็นภาคหนึ่งของคัมภีร์อถรวเวท
คัมภีร์ประเภทนี้โบราณาจารย์ได้เพิ่มให้อีกเป็น ๒ วิชาเป็นวิชาก่อสร้าง
เรียกว่า สถาปตยเวท และวิชา
ศิลปวิทยา เรียกว่า
ศิลปะศาสตร์
การศึกษาในอินเดียโบราณนั้นนอกจากเรียนคัมภีร์จตุรเวท (คือพระเวททั้งสี่ได้แก่
คัมภีร์ฤคเวท คัมภีร์ชุรเวท คัมภีร์สามเวทและคัมภีร์อถวเวทหรือถรรพเวท)
แล้วยังต้องเรียก คัมภีร์เวทางค์และคัมภีร์อุปเวทอีก
นอกจากนี้ยังมีการแต่งมหกาพย์ที่ยิ่งใหญ่ และคัมภีร์สำคัญที่ต้องเรียนต่อไปอีก
เช่น
มหากาพย์
เป็นบทประพันธ์ประเภทกาพย์ ที่ใช้เรื่องราวปรัมปราเล่าสืบต่อกันมา เรียกว่า
อิติหาส (อิติ+หา+อาส แปลว่า เป็นเช่นนั้นจริง หมายถึงวิชา
ประวัติศาสตร์นั่งเอง) ได้แก่
มหากาพย์รามายณะ
จึงเป็นมหากาพย์ชิ้นแรกของโลกที่รจนาโดย ฤาษีวาลมีกิ แต่งจำนวน ๒๔,๐๐๐ โศลก
มีทั้งหมด ๗ กานฑ (กัณฑ์) หรือ ๗ ตอน เป็นเรื่องราวของพระรามและนางสีดา
รามายณ แปลว่า การไปของราม
ซึ่งหมายถึงการเดินบุกรุกป่าดงของพระรามในการติดตามนางสีดา นั่งเอง
ต่อมาเรื่องราวนี้ได้แผยแพร่ไปในเอเชียอาคเนย์ จึงวรรณคดีเรื่องนี้ในหลายชาติ
เช่น อินโดนีเซีย มลายู กัมพูชา ลาว พม่า และไทย
สำหรับไทยนั้นได้แต่งเติมและสร้างเรื่องใหม่ให้เหมาะกับขนบธรรมเนียมฝ่ายกรุงศรีอยุธยาในชื่อว่า
รามเกียรติ์ ที่ใช้การแสดงโขน ถ่ายทอดเรื่องราว
นอกจากนี้ยังมีกาพย์ที่สรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าโดยเฉพาะพระราม (พระนารายร์อาตาร)
โดยพรรณนาชีวประวัติและยกย่องคุณความดีอีกหลายเล่ม เช่น กาพย์รฆุวงศ์
ของรัตนกวี กาลิทาส
มหากาพย์มหาภารตะ
มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่มีแต่งเป็นฉันท์โดยฤาษีเวทวยาสหรือกฤษณ ไทวปายน แต่งจำนวน ๑
แสนโศลกมีทั้งหมด ๑๘ บรรพ (ปรว) หรือประมาณ ๒๒๐,๐๐๐ บรรทัด
เนื้อเรื่องเป็นพรรณนาถึงการทำสงครามที่คับเคี่ยวกันระหว่างพี่น้องสองตระกูลคือตระกูลเการพ
(โกรพ) กับตระกูลปาณฑล ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน คือท้าว
ภรต(โอรสท้าวทัศยันต์กับนางศกุนตลา)
เพื่อแย่งชิงราชสมบัติหรือแย่งกันปกครองแผ่นดิน ซึ่งเป็นเรื่องราวของประเทศต่างๆ
ทุกแห่ง แต่ฮินดูถือว่ามหาภารตะนี้ คือสงครามระหว่างฝ่ายธรรมมะที่ชนะอธรรม ณ
ทุ่งกุรุเกษตร ต่างสู้รบนานถึง ๑๘ วันต่างสูญเสียรี้พลมากมายจนเป็น
มหายุทธ
ที่ดุเดือดบ้าคลั่งสงคราม เรื่องนี้เกิดก่อนพระพุทธเจ้าประสูติ ๕๐๐ ปี
นับเป็นงานวรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่รวบรวมเรื่องปรัมปรา ขนบธรรมเนียมประเพณี
และนานาปรัชญาจากหุเทวนิยม เทวนิยม เอกนิยม ที่เต็มไปด้วยพลังทางสร้างสรรค์
นอกนั้นยังใช้เป็นธรรมศาสตร์ อรรถศาสตร์ นิติศาสตร์และโมกศาสตร์
มหากาพย์นี้มีโศลกยกย่องว่า สิ่งใดที่อยู่ในมหากาพย์นี้
สิ่งนั้นอาจมีให้เห็นในที่อื่นได้ แต่สิ่งใดที่ไม่มีอยู่ในมหากาพย์นี้
สิ่งนั้นย่อมมาหาไม่ได้เลยในที่แห่งอื่น
ในมหากาพย์มหาภารตะเรื่องนี้ ปรากฏมีชื่อ พระอาจารย์โทรณะ
ว่าเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอย่างยอดเยี่ยมในศิลปะทั้งหลาย
รวมทั้งวิชการรณรงค์สงครามด้วย
ด้วยเหตุนี้บรรดาเจ้าชายทั้งหลายต้องศึกษาและเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์ผู้นี้ทั้งสิ้น
ผู้รจนาได้แต่งกาพย์หริวงศ์
เพื่อสรรเสริญพระเกียรติคุณของพระกฤษณะผู้เชี่ยวชาญฮินดูเคาระนับถือว่า
เป็นอวตารปางหนึ่งของของพระวิษณุเทพเจ้า จนมีชื่อเรียกว่า พระคัมภีร์พระเวทที่
๕ อีกชื่อหนึ่ง
ศรียวาหระลาล เนห์รู
ประธานาธิบดีอินเดียได้พูดถึง มหากาพย์สองเล่มนี้ใน
พบถิ่นอินเดีย
ว่า
ข้าพเจ้าไม่รู้จักหนังสือเล่มใดที่ไหนจะมีอิทธิพลเหนือจิตใจของมวลชนอย่างต่อเนื่อง
และแผ่ไพศาลมากเท่ากับหนังสือสองเล่มนี้ แม้หนังสือนี้จะมีอายุเก่าแก่ดึกดำบรรพ์
หนังสือสองเล่มนี้ยังสร้างพลังอย่างจริงจังในวิถีชีวิตของประชาชนชาวอินเดีย
สังคมชีวิตของอินเดียโบราณ จึงมุ่งเน้นการศึกษาศาสตร์และพระคัมภีร์ต่าง ๆ มากมาย
สำหรับการสร้างอาณาจักรให้มั่นคง
โดยยึดความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์และการศาสนามาใช้ครองตนครองแผ่นดินสร้างอาณาจักรให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
ต่อมามหากาพย์สองเล่มนี้ได้เข้ามามีบาบาทสำคัญในการสร้างอาณาจักรในดินแดนสุวรรณภูมิและบริเวณเอเชียตะวันนออกเฉียงใต้
|