เส้นทางอารยธรรมอินดียโบราณ
เส้นทางอารยธรรมอินดียโบราณ
ชาวอินเดียโบราณนั้นต้องถือว่าเป็นชาติแรกที่เดินเข้ามาติดต่อกับดินแดนสุวรรณภูมิมาช้านาน
จากหลักฐานทางโบราณคดีนั้น ได้สำรวจพบว่ามีโบราณวัตถุเครื่องใช้ (ลูกปัด
ตะเกียงโรมัน) จากอารยธรรมโรมัน
และพระพุทธรูปศิลปะอมราวดีอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิแล้ว (พบในเมืองนครราชสีมา
บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า
บริเวณอ่าวไทยกับปากแม่น้ำโขงในกัมพูชา
ได้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับอารยธรรมอินเดียใต้ โดยเฉพาะเมืองคันธารกาปิคะ
ของราชวงศ์กุษาณ ที่พระอริยสงฆ์ในนิกายยสรรวาสติกวาทได้แสดงตำแหน่งต่าง ๆ ในชาดก
(วิชาปุราณา)ของแคว้นคันธารจนทำให้ราชวงศ์นี้มีความเจริญรุ่งเรือง
จนเป็นแคว้นใหญ่ที่มีวิชาความรู้เกิดขึ้นมามากมาย
ครั้นเมื่อราชวงศ์กุษาณเสื่อมอำนาจลงอินเดียใต้นั้นได้เกิดราชวงศ์ปัลละ
สืบต่อราชวงศ์อานธระในอาณาจีกรอัมราวดี ขึ้น จึงทำให้คติเรื่อง พระรามาธิบดี
ได้เกิดขึ้นและมีอิทธิพลจนทำให้ตำนานการเกิดของราชวงศ์เกาฑิณยะในอาณาจักรฟูนันกับราชวงศ์ปัลลาวะนั้นมีเนื้อหาเดียวกัน
และทำให้พุทธศาสนาในสันสกฤตในพุทธศาสนาจากพระอริยสงฆ์ลุ่มแม่น้ำสินธุตลอดจนยังได้เผยแพร่ไปยังบริเวณอื่น
ๆ อีกด้วย
การเผยแพร่อารยธรรมอินเดียโบราณนั้น เมื่อราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว
ได้เริ่มต้นจากชาวอินเดีย (พ่อค้าชาวอินเดีย)
ได้เดินทางเข้ามาค้าขายแลกเปลี่ยนกับหัวหน้าชุมชนในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อน
ซึ่งต่างมีความมั่งคั่งจากการค้าขายทางทะเลและมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ขนาดกล่าวขานกันว่าบริเวณนี้เป็นแหล่งกล่าวขานอุดมสมบูรณ์มีพืชพันธุ์ธัญญาหารและแร่ธาตุที่สำคัญที่พ่อค้าต้องการ
โดยเฉพาะทองคำ จนมีชื่อว่าสวรรณทวีปหรือสุวรรณภูมิ หรืออู่ทอง
แพร่หลายจนกลายเป็นนามประเทศแห่งนี้ไป
ด้วยความสมบูรณ์ที่เป็นแผ่นดินทองสมบูรณ์ดังกล่าวนั้น
ต่อมาพ่อค้าอินเดียจึงมีนิคมการค้าขึ้นตามเมืองท่าต่าง ๆ ขึ้นในบริเวณดังกล่าว
และเมืองท่าที่ทำการติดต่อค้าขายเหล่านี้ ภายหลังได้เป็น
เมืองที่พวกนักบวชและนักปราชญ์ต่าง ๆ จากอินเดียคือ คนในวรรณกษัตริย์ พราหมณ์
นักบวช
ที่ติดตามมาพร้อมกับเรือสินค้าด้วยนั้นได้ใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการเผยแพร่วัฒนธรรมอินเดียในเวลาต่อมา
และมีการตั้งถิ่นฐานขึ้น บางกลุ่มตั้งหลักแหล่งอยู่ชั่วคราวแล้วเดินทางไป ๆ มา ๆ
บางกลุ่มตั้งหลักแหล่งถาวรด้วยความประสงค์บางประการ เช่น ลี้ภัยทางการเมือง
มาหาผลประโยชน์ จากการค้าและเป็นโจรสลัด
อาศัยอยู่บนพื้นที่และจนกลายเป็นประชากรของเมืองนั้นไป
บางพวกก็แต่งงานมีครอบครัวแต่งงานกับชนพื้นเมืองสืบเชื้อสายเป็นประชากรของชนนั้นไป
สำหรับถิ่นที่เป็นชุมชนของตนโดยเฉพาะนั้น
ได้มีการสร้างเทวสถานหรือพุทธศาสนาขึ้นที่ชุมชนยอมรับนับถือตามอย่างขึ้น
ซึ่งผู้นำชุมชนและประชากรในแถบนั้นเป็นฝ่ายเลือกรับเอาวัฒนธรรมอินเดียโบราณที่ตนพอใจและผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองเดิม
ทำให้รูปทรงของเทวสถานหรือพุทธสถานที่สร้างขึ้นด้วยความศรัทธา
จึงมีรูปแบบของศิลปกรรมตามอย่างและพัฒนาการตามช่างฝีมือท้องถิ่น เช่น
·
พระบรมธาตุ
เมืองไชยา
(จ.สุราษฎร์ธานี)
·
พระมหาธาตุ
เมืองนครศรธรรมราช
·
จุลประโทน
และ พระประโทณเจดีย์ ที่ จังหวัดนครปฐม เป็นต้น
ต่อมาหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพานแล้ว ๓๐๐ ปี คือ ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๐
-๓๐๐ นั้นได้มี พระโสณเถระกับพระอุตรเถระ
ได้อาศัยเรือสินค้าของพ่อค้าอินเดียเดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิเป็นครั้งแรกนั้นได้ทำให้อิทธิพลของการเผยแพร่หลักธรรมพระพุทธสาสนานั้นได้มีการประดิษฐ์ฐานขึ้นในบริเวณสุวรรณภูมิขึ้นครั้งแรก
คือ บริเวณอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี กับบ่นดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน
จังหวัดกาญจนบุรี
การนับถือศาสนาในชุมชนต่าง ๆ นั้น จนมีทั้งชุมชนที่นับถือศาสนาฮินดู
พราหมณ์และพุทธศาสนา
และมีการเปลี่ยนนับถือพุทธบ้าง ฮินดูบ้าง
ตามแต่ผู้นำหรือหัวหน้าชุมชนจะยอมรับจาก นักบวชที่นับศาสนามาเผยแพร่
ทำให้ความเชื่อในเรื่องศาสนาต่าง ๆ ปะปนกันไป
สำหรับการเดินทางการค้าขายระหว่างพ่อค้าชาวอินเดียกับชุมชนที่อยู่บริเวณเอเชียตะวีนออกเฉียงใต้
นั้น
น่าจะมีเหตุเกิดมาจากการเกิดวิกฤตทางการเมืองในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณเอเชียกลางทำให้พ่อค้าชาวอินเดียจึงมีความต้องการที่จะหาแร่ทองคำให้มากขึ้น
กล่าวคือเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๔-๕
อินเดียได้ถูกตัดขาดจากเส้นทางคมนาคมและภาคกลาง
ทวีปเอเชีย
จึงทำให้ไม่สามารถซื้อทองคำจากที่แห่งใหม่
ดังนั้นเส้นทางการซื้อทองคำของอินเดียจึงมุ่งมาสู่เอเชียตะวีชันออกเฉียงใต้
และพากันเรียกบริเวณแถบนี้ว่า
ดินแดนสุวรรณภูมิ
ด้วยเหตุที่พื้นที่นี้ได้มีการพบแร่ทองคำ จนมีชื่อว่าเป็นแหลมที่มีทอง (คำ)
มากมายในภูมิภาคนี้
อีกประการหนึ่งการพัฒนาการด้านเดินเรือในมหาสมุทรนั้น ทั้งอินเดียและจี
ต่างมีเรือเดินทะเลออกมา
ค้าขายแล้ว
ยังมีการพัฒนาการต่อเรือสินค้าขึ้นเอง
ดังนั้นการติดต่อค้าขายกับชุมชนในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้
นอกจากจะมีเรือสินค้าของพ่อค้าอินเดียและเรือสำเภาของพ่อค้าชาวจีนแล้ว
การเดินเรือสินค้าของพ่อค้าประเทศที่อยู่ในเอเชีย เช่น พ่อค้า ชาวญี่ปุ่น
พ่อค้าชาวอินโดนีเซียและชาวมลายู
นั้นได้ทำให้เกิดเส้นทางเดินของเรือทะเลที่เข้ามาพัฒนาทางการค้าขึ้นในภูมิภาคนี้
สำหรับเส้นทางการเดินทางมาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิของพ่อค้าชาวอินเดียหรืออารยธรรมจากอินเดียใต้
นั้น
มีเส้นทางที่ใช้เดินทางเดินทะเล
โดยเรือนั้นจะมีขึ้นบกที่ท่าเรือตักโกลาแล้วจึงขนถ่ายสัมภาระเดินทางบกเข้าสู่เส้นทางไปยังเมืองต่าง
ๆ ที่อยู่มนดินแดนสุวรรณภูมิ
เมืองโบราณที่ถือว่าเป็นเมืองค้าขายของชาวอินเดีย
ที่ต่างพากันเดินทางมาตั้งหลักแหล่งและนำ
วิทยาการที่เป็นอารยธรรมอินเดียโบราณเข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิครั้งแรกนั้นน่าจะเป็นเมือง
ตามพรลิงค์ หรือตมพลิงคม (ปัจจุบันคือเมืองนครศรีธรรมราช) และเมืองำชยา
เนื่องจากเป็นชื่อชาวอินเดีย ตั้งชื่อไว้
ในศิลาจารึกกาลาสัน
พ.ศ. ๑๓๒๒ นั้นมีความปรากฏไว้ว่า
อาณาจักรศรวิชัยมีประเทศราตั้งอยู่บนฝั่ง
ทั้งสองของแหลมมลายูหลายประเทศ คือ ปาหัง ตรังกานู กบลันตัน ตามพรลิงค์ ครหิ
ลังกาสุกะ เกตะ กราตัก โลลา ปับผาละ
ชื่อประเทศราชอาณาจักรศรีวิชัยที่ปรากฏในจารึกนั้น
เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในดินแดนสองฝั่งทะเลของ
ดินแดนที่เป็นแหลมมลายู มีข้อสันนิษฐาน
และสืบค้นชื่อเมืองศิลาจารึกกาลาสันว่าเป็นเมืองใดในปัจจุบัน ไว้ดังนี้
·
ปาหัง
น่าจะเป็นเมืองปาหัง
·
ตรังกานู
คือเมืองตรังกานู
·
กบลันตัน
คือ เมืองกลันตัน
·
ตามพรลิงค์
คือเมืองนครศรีธรรมราช
·
ครหิ
บางว่าคือ เมืองไชยา บางแห่งว่าเมืองกระบุรี
·
ลังกาสุเกะ
อยู่ทางตอยใต้ของเมืองนครศรีธรรมราช สันนิษบานว่าเมืองปัตตานี
·
เกตะ
หากเป็นเคตะ ก็คือเมืองไรบุรี
·
กราตักโลลา
คือ เมืองตักโกลา ปัจจุบันหมายถึง เมืองตรัง ไม่ใช่ตะกั่วป่า
·
ปับผาละ
ยังไม่ทราบว่าเมืองใด
อาณาจักรศรีวิชัยนั้น
ถือว่าเป็นอาณาจักรถือว่าเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจอยู่ทางด้านทะเลตอนใต้เป็น
ศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองทางการค้าทางทะเล ทำให้มีกองทัพเรือที่เข้มแข็ง
ศูนย์กลางของอาณาจักรนี้ น่าจะอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง ตั้งอยู่บนเกาะสุมาตรา
ในแระเทศอินโดนีเซีย
ส่วนเมืองไชยา
(อำเภอไชยา (อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ซึ่งมีการพบหลักฐานเป็นศิลาจารึก
และพระพุทธรูปโบราณเป็น จำนวนมาก ทำให้นักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานไว้ว่า
เมืองไชยานี้น่าเป็น ศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัย
แต่จากข้อความในจารึกกาลาสันเมื่อ พ.ศ. ๑๓๒๒ ดังกล่าว
ทำให้มีข้อสันนิษฐานใหม่ว่าเมืองไชยาน่าเป็นเมืองหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัยมากกว่า
และมีฐานะเป็นเมืองท่าสำคัญ เช่น เดียวกับเมืองตามพรลิงค์
ที่มีฐานะเป็นเมืองประเทศราช ในอาณาจักรศรีวิชัยมาก่อน เช่นเดียวกับเมืองต่าง ๆ
ที่ตั้งอยู่บนแหลมมลายู
ดังนั้นอาณาจักรศรีวิชัย จึงน่าจะมีศูนย์กลางการปกครองอาณาจักรแห่งนี้
อยู่ที่เมืองปาเล็มบังมากกว่าเป็นเมืองไชยา หรือ เมืองตามพรลิงค์
(เมืองนครศรีธรรมราช) ที่อยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ
อาณาจักรศรีวิชัยแห่งนี้ เป็นอาณาจักรที่เชื่อว่า
น่าจะมีอำนาจที่แผ่กว้างไพศาลมากในสมัยนั้น มีอาณาเขตครอบคลุมไปถึงช่องแคบมะละกา
ชวา สุมาตรา แหลมมลายู และหัวเมืองต่าง ๆ
ที่อยู่ภาคใต้ของประเทศไทยในปัจจุบัน
เป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านพระพุทธศาสนาอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่
๑๓-๑๗ และเป็นเหตุหนึ่งทำให้พระพุทธศาสนาได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่ที่เมืองไชยา
เมืองตามพรลิงค์ (เมืองนครสรีธรรมราช) ดังปรากฏหลักฐานในการสร้างพระบรมธาตุสำคัญ
ที่เมืองตราพรลิงค์ และเมืองไชยา
เมืองไชยานั้น ได้พบพระพุทธรูปอวโลกิเตศวร
และมีการสร้างพระบรมธาตุไชยา
ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญองกระพุทธศาสนาที่เผยแพร่เข้าสมัยนั้น
ในขณะเดียวกันทั้งพระธรรมคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา และศาสนาฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ก็ได้เข้ามาเผยแพร่เช่นกัน
ในต้นพุทธศตวรรษที่
๑๙ นั้น อาณาจักรศรีวิชัยได้เสื่อมอำนาจลง อาณาจักรที่เกิดใหม่ คือ
อาณาจักรมัชฌาปาหิต (ขวา) มีอำนาจอยู่ในเกาะชวา
และไดขยายอาณาจักเขตเข้ามาครอบครองดินแดนส่วนนี้แทนอาณาจักรศรีวิชัย
|