เส้นทางการค้าขายของชาวอินเดียโบร
เส้นทางการค้าขายของชาวอินเดียโบราณ
เรื่องราวขิงพ่อค้าชาวอินเดียที่เดินทางไปค้าขายติดต่อกับดินแดนละราษฎรที่อยู่ต่างถิ่น
นั้นได้เส้นทางเดินเรือไปทั้งด้านตะวันตกและด้านตะวันออกมาตั้งแต่ต้นพุทธกาลมาจนถึงสมัยพุทธวงศ์โมริยะ
เมื่อ ๖๐๐
๔๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช
วัฒนธรรมอินเดียในระยะแรกนั้น
ยังคงเป็นชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่ราบตามริมแม่น้ำสายหลักของประเทศ
ได้แก่ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา
โดยการตั้งหมู่บ้านขนาดเล็กกระจายอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำเหล่านี้
ซึ่งมีการสร้างคันดิน
และมีคูน้ำล้อมรอบเมืองเพื่อป้องกันน้ำท่วม
ชุมชนที่มีถิ่นฐานริมฝั่งแม่น้ำคงคาตอนบนนั้นนับถือศาสนาพราหมณ์ มีพระเวทเป็นหลัก
ส่วนชุมชนที่อยู่ตอนล่างนับถือพุทธศาสนา
ผู้คนนั้นรู้จัดทำเหล็กมาผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ ดำรงชีวิตโดยการเพาะปลูก
การเลี้ยงสัตว์ เป็นสังคมเกษตรกรรม จับสัตว์น้ำและหาของป่าเป็นอาหาร
ดังนั้นชุมชนของอินเดียโบราณแถบนี้ จึงถือเป็นชุมชนมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์
ยุคเหล็กที่ยังไม่มีการเดินทางไปค้ายังชุมชนอื่น ไม่มีตัวหนังสือใช้
แม้จะสร้างบ้านเรือนด้วยไม้ก็ตาม ก็ยังไม่สามารถที่จะวางรูปแบบของเมือง
ไม่มีการใช้อิฐและหินในการสร้าง
ไม่การใช้เงินตราเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้า
ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๓-๕ (๓๕๐-๕๐ ก่อนค.ศ. ) ชุมชนที่อยู่ตามแม่น้ำคงคา
แม่น้ำยะมุนา ได้มีการพัฒนาการในการจัดระเบียบของสังคมเมืองนั้น
โดยการปกครองของกษัตริย์ราชวงศ์โมริยะ และสืบต่อกันมาจนถึงราชวงศ์ศุงคะ
ซึ่งมีการสร้างกำแพง ป้องกันการรุกรานจากข้าศึก
มีการจัดสาธารณสุขในชุมชนเมือง มีตัวอักษรพราหมณีและขโรษฐ์ใช้เขียนข้อความ
มีการจัดระบบการค้าขายโดยใช้เหรียญกษาปณ์มาใช้เป็นสื่อกลางการขาย
โดยเฉพาะการติดต่อค้าชายกับประเทศที่อยู่ห่างไกลทั้งด้านทิศตะวันตกและตะวันออก
พุทธศตวรรษ ที่ ๓
นั้น
พระเจ้าอโคกมหาราชแห่งราชวงศ์ริยะได้ส่วนคณะสมณฑูตออกเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่าง
ๆ แถวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นได้ส่งพระโสณเถระและพระอุตรเถระ
เข้าแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิด้วย
ในการติดต่อค้าขายนั้น
กษัตริย์โมริยะได้สนับสนุนให้พ่อค้าชาวอินเดียเดินทางออกไปทำ
การค้าขายดินแดนต่าง
ๆ เพื่อนำรายได้มาบำรุงประเทศ หลักฐานที่พบนั้นคือ ลูกปัดที่ทำด้วยหินอาเกต
หินคาร์เนเลี่ยน และลูกปัดแก้ว
พุทธศตวรรษที่ ๕-๙
อินเดียได้มีกษัตริย์ราชวงศ์กุษาณะ ปรกครองอินเดียตอนเหนือ
และกษัตริย์ราชวงศ์สาตวาหนะ ปกครองแคส้นอานธระ
ส่วนศกะหรือชิเถียนนั้นปกครองอินเดียภาคตะวันออก
สมัยพ่อค้าขาวอินเดียได้เดินทางออกไปทำการค้าขายติดต่อกับอาณาจักรโรมัน
และพบวัตถุโบราณแบบโรมันอยู่ที่บริเวณเมืองท่าโบราณหลายแห่ง เช่น
เมืองท่าโบราณด้านตะวันตกที่เมืองเนวาษะ เมืองจันทราวัลลี เมืองพรหมบุรี
เมืองโกณฑปุระและเมืองท่าฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ ที่เมืองอริกเมฑุ (โปดูเก)
เมืองกาเววิปัฎฎินัม (กมรา) เป็นต้น
นอกจากชาวอินเดียจะเดินทางติดต่อค้าขายตามเมืองท่าโบราณต่าง ๆ แล้ว
ยังมีการตั้งถิ่นฐานของชาวโรมัน ในเมืองท่าโบราณของอินเดียด้วย
และจากเมืองท่าโบราณดังกล่าวแล้วชาวอินเดียยังได้เดินทางมาค้าขายกับประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คือ ดินแดนสุวรรณภูมิ ด้วย
ด้วยเหตุนี้สินค้าที่ชาวอินเดียจะเดินทางติดต่อค้าขายจึงมีสินค้าทั้งชาวอินเดียและชาวโรมันและสินค้าที่เลียนแบบโรมันมาด้วย
ตามเมืองโบราณในแถบเอเชียตะวีนออกเฉียงใต้ จึงพบโบราณวัตถุแบบอินเดียและแบบโรมัน
เช่น ควนลูกปัด ที่คลองท่อม จังหวัดกระบี่
สำหรับเมืองท่าโบราณของอินเดียที่ใช้เดินทางไปยังแดนสุวรรณภูมินั้น
ในการบันทึกเดินเรือของชาวยุโรป
ระบุว่าเป็นเมืองท่าที่สามารถให้เรือสำเภาขนาดใหญ่ ซึ่งชาวตะวันตกเรียกว่า
โกลันเดีย นั้นใช้จอดได้
และใช่เป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางออกไปค้าขายกับดินแดนสุวรรณภูมิ
เมืองท่าโบราณนั้นได้แก่ เมืองกมรา (กาเวริปัฎฎินัม) เมืองโปดูเก (อริกเมฑุ)
และเมือง โสปัตมะฎ
นอกจากนี้ยังมีเมืองท่าโบราณที่ปรากฏชื่ออยู่ในชาดกและมิลินทปัญหาอีก ได้แก่
เมืองภรุกัจฉะ
เมืองศูรปารกะ เมืองมุฉิริ ซึ่งอยู่ทางฝั่งทะเลตะวันตก และเมืองตามรลิปติ
อยู่ทางปากแม่น้ำคงคา ฝั่งทะเลตะวันออก
ส่วนดินแดนสุวรรณภูมินั้น ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๘ เป็นต้นมา
ได้มีการตั้งอาณาจักรขึ้นหลายแห่ง กษัตริย์ผู้ปกครองอาณาจักต่าง ๆ
นั้นต่างรับเอาวัฒนธรรมชาวจากอินเดีย
ที่พากันเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายและตั้งถิ่นฐานในอินเดียแถบนี้
ไปใช้เป็นแนวทางในการปกครองและสร้างสรรค์จารีตประเพณีของบ้านเมืองตสมแบบอย่างอินเดีย
ชาวอินเดียได้นำเอาศาสนาฮินดู
ศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในอาณาจักรต่าง ๆ
และเผยแพร่โบราณศาสตร์ตลอดจนคัมภีร์ต่าง ๆ
ดังจะเห็นได้จากอาณาจักรทั้งหลายนั้นมีการดำรงความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ ศาสนา
จารีตประเพณี กฎหมาย อักษรศาสตร์ และวรรณคดี ตามแบบอย่างของอินเดียโบราณทั้งสิ้น
สรุปแล้ว
อารยธรรมต่าง ที่เข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมินั้นมาจาก ชาวอินเดียทั้งสิ้น
โดยเดิน
ทางเข้ามาทางใต้ที่เมืองท่าตักโกลา แล้วจึงเดินทางติดจ่อกับเมืองต่าง ๆ
ของอาณาจักรที่ตั้งอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิต่อไป
|