เส้นทางของสินค้าโรมันสู่สุวรรณภู
เส้นทางของสินค้าโรมันสู่สุวรรณภูมิ
การสำรวจทางโบราณคดีนั้น
พบว่ามีโบราณวัตถุที่เป็นรูปแบบของอาณาจักรโรมันอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ เช่น
ตะเกียงสำริด ลูกปัดที่คลองท่อม เป็นต้น
ดังนั้นการที่ศิลปกรรมและโบราณวัตถุจากอิทธิพลโรมันที่มีต่อชุมชนโบราณในดินแดนสุวรรณภูมินั้น
จึงเป็นเรืองน่าศึกษาถึงเส้นทางการแพร่กระจายในอดีตและการมีบทบาทต่อชุมชนต่าง ๆ
อาณาจักรโรมันนั้นได้มีการส่งกองคาราวานเดินทางข้ามทะเลทรายจากศูนย์กลางการค้าใหญ่
เช่น เมืองปาลไมราในซีเรีย เมืองเปตราในจอร์แดน และมืองอเล็กซานเดรียในอียิปต์
โดยเฉพาะเมืองอเล็กซานเดรียนั้นถือว่าเป็นศูนย์กลางการค้าใหญ่ในศตวรรษที่ ๖-๗
ด้วยเป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญของการเดินทางสินค้าระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตก
เป็นเมืองสำคัญของเส้นทางแพรไหม ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์การค้าขายกับอินเดียและจีน
ดังนั้นกองคาราวานสินค้า
จึงพากันใช้เมืองเหล่านี้เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าจากต่างประเทศตะวันตกไปยังประเทศตะวันออก
และซื้อสินค้าจากประเทศตะวันออกกลับไป
สินค้าที่ประเทศตะวันตกนั้นต้องการได้แก่
เครื่องเทศ น้ำหอม
อัญมณี (เพชรพลอยไข่มุก)ผ้าเอดี พวกอาหารแห้ง เช่นน้ำตาล ข้าว และฆี
(น้ำมันเนย) งาช้างทั้งที่เป็นงาจริงและงาสลัก
รวมถึงเหล็กของอินเดียที่ถือว่ามีคุณภาพดี นอกนั้นเป็นสัตว์ได้แก่ เสือ ช้าง
สิงโต ควาย เพื่อนำไปต่อสู้กับสัตว์ป่าซึ่งเป็นกีฬาที่จักรพรรดิโรมันทรงโปรด
และสัตว์เลี้ยงที่นิยมในเหล่าสตรสูงศักดิ์ของโรมัน เช่น นกแก้ว ยกยูง เป็นต้น
สินค้าที่ชาวอินเดียต้องการนั้นนำได้แก่
สินค้าประเภททองคำ (ภายหลังมีการห้ามทองคำออกนอกอาณาจักร)
ภาชนะดินเผาเนื้อดีมีผิวสีแดงขัดมันตกแต่งลวดลายลายประทับเรียกเครื่องปั้นชนิดอาร์รไทน์
และภาชนะดินเผาสีดำที่ตกแต่งผิงโดยการกดซี่ฟันเฟืองให้เกิดลายยักเป็นแถวอย่างมีระเบียบ
เรียกว่า เครื่องปั้นชนิดรูแลนตด์ เครื่องแก้ว เหล้า ไวน์ ดีบุก ตะกั่ว
ปะการัง เป็นต้น
ดังนั้นการค้าขายคิดต่อระหว่างอินเดียกับอาณาจักรโรมันนั้นมีความชัดเจนมากในพุทธศตวรรษษที่
๖ ในเมืองเฮอคูเรเนียมนั้นพบงาช้างที่สลักเป็รรูปผู้หญิงชาวอินเดียที่สางมาขาย
เช่นเดียวกับสินค้าอื่น ๆ ที่เสื่อมสลายไป ในพุทธศตวรรษที่ ๕-๘
ของกษัตริย์ราชวงศ์ศาตวาหนะนั้น
เมืองท่าโบราณของอินเดียหลายแห่งนั้นได้มีพ่อค้าโรมันเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่หลายแห่ง
คอยรับซื้อสินค้ารับเปลี่ยนกัน เช่น เมือองจันทราลัลลี เมืองโกณพปุระ
เมืองอมราวดี เมืองนาคาซุนโกณฑะ เมืองอริกเมฑุ และเมืองกาเวริปัฎฎินัม เป็นต้น
สำหรับเมืองพรหมบุรี
นั้นพบว่ามีร่องรอยของชาวโรมันเข้าไปอยู่หนาแน่นมาก พบประติมากรรม รูปเทพไพไซดอน
เทพเจ้าแห่งท้องทะเลของชาวโรมัน พบภาชนะของชาวโรมันที่สิ่งเข้ามาหลายแบบ
และพบพวกเลียนแบบเครื่องสำริดของชาวโนมันด้วยการสร้างนั้นพบเหีรยญทองของจักรพรรดิเอบอริกอุส
(พ.ศ. ๕๕๗
๕๘๐) ที่เมืองวาษะเหรียญทองของของจักรพรรดิฮาเดรียน (พ.ศ. ๖๖๐-๖๘๑)
ทีเมืองนาคารซุนโกณฑะ เมืองอริกเมฑุและเมืองกาเวริปะฎฎินัม
ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของอินเดียภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่มีบทบาทในการติดต่อค้าขายกับโรมันนั้นพบว่ามีเหรียญโรมันจำนวนมาก
แล้วยังมีภาชนะดินที่มีลักษณะเป็นไหแบบกรีก
โรมัน และภาชนะดินเผาสีแดงลายประทับ
สำหรับเมืองอริกเทฑุ
(โปดูเก)
นั้นเป็นเมืองท่าโบราณในสมัยราชวงศ์ศาสวาหนะที่มีสินค้าแบบโรมันและแบบอินโด-โรมัน
(ทำเลียนแบบ) ในพุทธศตวรรษที่ ๕-๗
จากเมืองท่าแห่งนี้ได้ส่งออกไปขายยังเมืองท่าโบราณที่เป็นศูยน์กลางการค้าขายของเอเชียภาคตะวันออกเฉียงใต้
เช่นเดียวกบเมืองท่าอื่นๆ
ดังนั้นสินค้าของอาณาจักรโรมันจึงได้เดินทางมาพร้อมกับเรือสินค้าของชาวอินเดียที่มาขึ้นเมืองท่าดินแดนสุวรรณภูมิ
นอกจากเส้นทางเรือสินค้าข้าทะเลแล้วยังมีเส้นทางการค้าทางบกจากประเทศตะวันตก
ไปยังประเทศจีนซึ่งมีจุดเชื่อมโยงที่พรมแดนอินโด
ปากีสถาน แหล่งโบราณคดีที่อยู่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือบริเวณพรมแดนดังกล่าว
ได้สำรวจหลักฐานว่ากองคมราวานสินค้าได้ขนสินค้ามีค่าจากโรมัยมาแลกซื้อผ้าไหมของจีนตามเส้นทางแพรไหมที่ออกเดินทางจากเมืองอเล็กซานเดรียเข้ายังอินเดียแล้วจึงเดินทางต่อไปยังจีนมีเมืองสำคัญที่องคาราวานเดินทางผ่านและแวะก็คือ
เมืองตักสิลา อยู่ใกล้ราวันปินดี ในปากีสถาน และเมืองเบคราม
อยู่ทางเหนือหางจากเมืองคาลบูล ๕๐
ไมล์ในอัฟกานิสสถานที่เมืองนี้สำรวจพบเครื่องแก้วจากซีเรีย ภาชนะสำริด
ปนะติมากรรมสำริดรูปเทพเจ้าโรมันจาแห่งเมืองอเล็กซานเดรีย
หลักฐานสำคัญที่พบในแหล่งโบราณคดีที่เป็นเมืองท่าโบราณของอินเดียและชาวโรมันมาตั้งบ้านเรือนค้าขายอยู่นั้นพบว่ามีภาชนะดินเผาและโบราณวัตถุอื่น
ได้แก่
·
ภาชนะดินเผาสีแดงมันวาวตกแต่งด้วยลายประทับ
·
ภาชนะดินเผารูปไหมแบบกรีกโรมัน ที่ใช้บรรจุเหล้า ไวน์หรือน้ำมันมะกอก
·
ภาชนะดินเผาสีดำที่ตกแต่งด้วยกดรอยยักฟันเฟืองบนผิว
·
ภาชนะสำหรับรูปตะเกียงโรมัน
ลูกปัดโรมัน แบบต่าง
ๆ เช่น ลูกปัดแก้วแถบสี ลูกปัดมีตา และหัวแหวนสลักจากหินมีค่า และหัว
แหวนสลักจากหินมีค่า
ในดินแดนสุวรรณภูมิ
นั้นพบและลูกปัดและหัวแหวน ที่เป็นแบบโรมันและแบบอินโด-
โรมัน
ที่ควนลูกปัดคลองท่อม จังหวัดกระบี่ หัวแหวนนั้นมีการสลักเป็นรูปภาพ
และสลักอักษรอินเดียโบราณ เช่น อักษรปัลลวะ ด้วย
ดังนั้นเส้นทางของพ่อค้าอินเดียที่ขายสินค้าและการตั้งบ้านเรือนอยู่เมืองต่างของดินแดนสุวรรณภูมิ
จึงเป็นเส้นทางที่น่าสนใจจากเมืองท่าโบราณนั้นได้เดินทางไปทางใดบ้าง
|