ดินแดนแห่งนี้มีชื่อว่า สุวรรณภู
ดินแดนแห่งนี้มีชื่อว่า สุวรรณภูมิ
ในมหากาพย์รามายนะ
วรรคดีโบราณของอินเดียที่มีการรจนาเมื่อประมาณ ๓๐๐ ปี
ก่อนคริสต์สักราชเมือมีการเพิ่มเติมใน ค.ศ. ๒๐๐ (พ.ศ.๗๔๓) นั้น ปรากฏชื่อ
สุวรรณภูมิ
หมายถึง สุวรรณภูมิ ที่อธิบายถึง แผ่นดินแห่งทองคำ
และถูกเรียกชื่อกันเช่นนี้มานาน
ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลนั้น
พ่อค้าชาวอินเดียได้เดินทางมาติดต่อค้าขายกับประเทศทางด้านตะวันออก
ดังปรากฏในคัมภีร์ปุณาณะ
ถึงนักเดินเรือชาวอินเดียที่เดินเรือไปยังชายฝั่งของดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และว่าค้าอินเดียโดนีเชียไปแวะชายฝั่งทะเลของอินเดียด้วย
ในคัมภีร์พุทธศาสนาของบาลี และมิลินทปัญญา ได้กล่าวทำนองเดียวกันถึง
พ่อค้าที่ชอบแล่เรือไปค้าขายทางทิศตะวันออก ที่รู้จักในนาม
สวรรณภูมิปรอสุวรรณทวีป นั้นเป็นดินแดนแห่งทอง คือดินแดนแห่งความมั่งคั่ง
ถ้าผู้ใดต้องการแสวงโชคและความร่ำรวยจะต้องเดินทางไปยังดินแดนแห่งนี้
ในมหาชนกชาดก
ได้กล่าวถึงพ่อค้าอินเดียเดินทางมาค้าขายเพื่อแสวงหาความร่ำรวยทางดินแดนสุวรรณภูมิ
เช่นกัน
สรุปแล้วชื่อสุวรรณภูมิ
ที่ถูกอินเดียเรียกเป็นชื่อดินแดนแห่งนี้จึงแพร่หลายวรรณกรรมของอินเดียดังกล่าว
และสร้างเป็นเสียงร่ำลือถึงชื่อเสียงถึงความเป็นแผ่นดินแห่งทองคำ
จนแพร่หลายไปทุกแห่งที่มีการติดต่อค้าขาย
โดยเฉพาะเมืองท่าสำคัญ
ที่มีบรรดาพ่อค้าต่างชาติพากันมาใช้เป็นจุดเริ่มต้นเดินเรือออกไปจากฝั่งตะวันตกของอินเดีย
คือ เมืองภรุกะจฉะ เมืองศูรปารกะ เมืองมุฉิริ และเมืองตามมาลิปติ
ซึ่งเป็นเมืองท่าอยู่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือนั้น
จึงรู้จักดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้เช่นเดียวกับนักเดินเรือหรือพ่อค้าชาวจีนที่รู้จักเดินเรือแห่งนี้เป็นอย่างดีว่า
กิมหลิน หมายถึง ดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้
ส่วนบริเวณดินแดนคาบมหาสมุทรอินโดจีน
ตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้ นั้น
ถูกพ่อค้าชาวอินเดียและชาวจีนเรียกว่า ดินแดนสุวรรณภูมินั้น
จึงน่าจะเป็นสาเหตุอื่นที่ไม่ได้ผูกอยู่แต่ในวรรณกรรมที่ชาวอินเดียได้เขียนขึ้นเมือ
พ.ศ. ๗๕๓ เท่านั้นกล่าวคือ
การที่จักรพรรดิโรมันได้มีคำสั่งห้ามทองคำออกนอกอาณาจักร
เนื่องจากอินเดียนั้นได้เทียวหาซื้อกักตุนไว้มากมายนั้น
จึงเหตุให้ชาวอินเดียเทียวซื้อแหล่งทองคำแห่งใหม่ขึ้น
โดยส่งพ่อค้าเดินเรือมายังบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อพุทธศตวรรษที่
๖-๗นั้น
การพบดินแดนที่มีบ่อแน่ทองคำนั้นน่าจะเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ดินแดนแห่งนี้เรียกว่าดินแดนแห่งสุวรรณภูมิ
หรือสุวรรณทวีป แทนการเรียกชื่อเมืองที่รู้จักและเมืองที่ติดต่อค้าขายกัน
และได้มีการเขียนเผยแพร่อยู่ในวรรณกรรม (มหาชนกชาดก) ดังกล่าว
* กฏาหทวีป คือรัฐเคดะหรือ เมืองไทรบุรี
*
กรรปูรทวีป ดินแดนแห่งการบูร น่าจะเป็นเกาะบอร์เนียว
*
ตามพรลิงค์ ดินแดนที่เป็นเมืองไชยา เวียงสระ อ่าวบ้านดอน
และเมืองนครศรีธรรมราช
*
ตักโกละ ดินแดนแห่งกระวาน น่าจะอยู่บริเวณเมืองตรังและเมืองพังงา
*
นาลิเกลทวีป เกาะแห่งมะพร้าวน่าจะเป็นเกาะนิโคบาร์
เมืองเหล่านี้เป็นเมืองท่านำสินค้าของพ่อค้าอินเดียขึ้นทำค้าขาย
ก่อนที่จะถูกรับช่วงนำไปค้าขายกระจัดกระจานตามเมืองต่าง ๆ
ที่อยู่ดินแดนสุวรรณภูมิตอไป
|