ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  เมืองท่าโบราณในดินแดนสุวรรณภูมิ

เมืองท่าโบราณในดินแดนสุวรรณภูมิ

               

ในสมัยโบราณนั้นชาวอินเดียตอนใต้  จากแคว้นกลิงคราษฎร์  เมืองมัทราช  ได้พากันเดินทางเข้ามาทำการค้าขายทางทะเลทางเส้นทางนี้  เมื่อประมาณ  ๑,๔๐๐ – ๑,๕๐๐  ปีมาแล้ว  โดยขึ้นบกที่เมืองตักโกลา  ข้ามเข้าด้านหลังเมืองแล้วล่องมาตามลำน้ำตะกั่วป่า  แม่น้ำคีรีรัฐ  แล้วตั้งเมืองที่เมืองที่เมืองไชยยา  ต่อมาก็ย้อนลงมาข้าแม่น้ำหลวง  (แม่น้ำตาปตีหรือตาปี)  พวกหนึ่งและอีกพวกหนึ่งแยกลงไปทางใต้ตั้งเมืองที่หาดทรายแก้วชื่อเมืองตามพรลิงค์

               

เมืองตักโกลา  หรือ  กราตักโกลา  ที่ปรากฏในศิลาจารึกกาลาสัน  พ.ศ. ๑๓๒๒  นั้น คือ  เมืองท่าสำคัญที่เป็นทำเลไปมาหาสู่ยังเมืองต่าง ๆ  ทางตอนใต้ของสยามประเทศข้อสรุปใหม่ก็คือ  เมืองตักโกลานี้น่าจะเป็นเมืองตรัง  มากกว่าเมืองตะกั่วป่า  นักประวัติศาสตร์ได้เข้าใจกันมาแต่เดิม

               

เนื่องจากปรากฏว่า  มีชื่อ  เมืองตะโกลา  (แปลว่ากระวาน)  อยู่ทางฝั่งตะวันตกของประเทศไทย  จึงข้อสันนิษฐานของเยรินีว่า  ว่า  ตะโกลานั้นเป็นเมืองตะกั่วป่า และเบอร์เทลลอตได้สันนิษฐานว่า  ตะโกลานั้นเป็นเมืองตรัง  เป็นข้อขัดแย้งกันอยู่

                สำหรับทำเลเมืองท่าโบราณชื่อ  ตะโกลา นั้น  เป็นเส้นทางที่มีความสำคัญต่อการเดินทางของวิทยาการต่าง ๆ  ที่มาจากอินเดีย  ดังนั้นสืบค้นได้ว่า

               

ในคัมภีร์มิลินทะปัญหา  (คัมภีร์นั้นขียนขึ้นจากที่พระเจ้ามิลินท์สวรรคตเกือบ ๑๐๐ ปี  และก่อนที่  ปโตเลมี  ทำการเขียนเส้นทางภูมิศาสตร์ ๒๐๐ปี)  พระปิฎกจุฬาเถระ  ได้รจนาไว้ เมื่อ พ.ศ. ๕๐๐  มีความว่าพระมหานาคเสนเถระที่ได้ยกขึ้นอุปมาถวายพรเจ้ามิลินท์ (พระเจ้าเมนันเอดร์)  กษัตริย์ผู้ปกครองแคว้นคันธาระหว่าง  พ.ศ. ๓๙๒ – ๔๑๓  และได้กล่าวถึงการแล่นเรือมหาสมุทรไปยังเมืองต่าง ๆ  ซึ่งมีชื่อ  ตักโกละอยู่ด้วย

               

การเดินทางของสมัยโบราณนี้  เชื่อว่าเมื่อแชประมาณ ๑๔๐๐ – ๑๕๐๐ ปีชาวอินเดียตอนใต้จากแคว้นกลิงคราษฎร์  เมืองมัทราชนี้  พากันเดินทางเข้ามาค้าขายกันทางทะเลและขึ้นบกที่เมืองตักดกลา  (เมืองตรัง หรือเมืองตะกั่วป่า)  ข้ามเขาหลังเมืองและล่องมาตามน้ำตะกั่วป่า    แม่น้ำคีรีรัฐ  แล้วตั้งเมืองที่เองไชยา  ต่อมาก็ย้อนข้ามลงมาข้าแม่น้ำหลวง (แม่น้ำตาปตีหรือคาปี)  พวกหนึ่งและอีกพวกหนึ่งแยกลงไปทางใต้ตั้งเมืองที่หาดทรายแก้วชื่อเมืองตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช)

               

ในศิลาจารึกกาลาสัน  พ.ศ. ๑๓๒๒  ที่มีความปรากฏว่า  “อาณาจักรศรีวิชัยมีประเทศราชตั้งอยู่บนฝั่งทั้งสองของแหลมมลายูหลายประเทศ คือ  ปาหัง  ตรังกานู  กบลันตัน  ตามพรลิงค์  ครหิ  ลังกาสุกะ  เกตะ  กราตักโกลา  ปับผาสะ” นั้น

               

ตักโกละ หรือตักโกลา  นั้นมีข้อศึกษากับทางประวัติศาสตร์ว่า  ไม่ใช่เมืองตะกั่วป่า  จังหวัดพังงา  แต่เป็น  เมืองตรังนั้น  มีข้อมูลและตุผลมาจากการสำรวจทางประวัติศาสตร์โบราณคดีว่า

 

๑.       เส้นทางข้ามแหลมจากตะกั่วป่า  (อำเภอตะกั่วป่า)  มายังอ่าวบ้านดอน  เป็นเส้นทางทุรกันดารไม่

เหมาะสมกับการเดินทางค้าขายในสมัยโบราณ  ที่ต้องลำเลียงสินค้าจำนวนมาก  เส้นทางนี้ต้องเดินเท้าขึ้นเขาสกด้วย  ไม่น่าเชื่ออเล็กซานเดอร์  พ้อค้าชาวกรีกจะเดินเรือมาขึ้นที่ตะกัวป่าแล้วขนสินค้าข้ามแหลมมาอ่าวบ้านดอนได้ และไม่พบวัตถุโบราณวัตถุที่ร่วมสมัยกับพระเจ้ามิลินท์ (พ.ศ. ๓๙๒ -๔๑๓)  หรือพ่อค้าอเล็กซานเดอร์  พ่อค้าชาวกรีก  (พ.ศ. ๖๘๓ ๗๐๘) ที่ปโตเลมีเขียนบันทึกไว้)

 

๒.     มีเส้นทางทั้งทางน้ำและทางบกอีกหลายทางที่สามารถขนถ่ายสินค้าจากตะวันตกไปตะวันออกได้

สะดวกกว่า และพบว่า  เมืองตกโกลานี้เป็นศูนย์กลางการค้า  อยู่ที่  จังหวัดตรัง  บริเวณบ้านหูหนาน  หรือกรุงธานี  และแม่น้ำตรังก็คือ  แม่น้ำไครโสนาส ในภูมิศาสตร์ของเปโตเลมี

 

การมองทำเลเมืองท่าสำคัญของเมืองตักโกลา  ว่าอยู่ที่เมืองตรังเป็นเมืองท่าที่มีอายุกว่า  ๒,๐๐๐ ปีนี้  จึง

สำคัญและเป็นข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่า  ทำเลนี้สอดคล้องกับเส้นทางโบราณ  ทำเลดังกล่าวนี้มีอายุเก่ากว่าอาณาจักรสุโขทัยและเป็นเรื่องที่เปลี่ยนข้อสันนิษฐานเดิมที่เชื่อกันว่า  ตักโกลาคือ  เมืองตะกั่วป่า

               

สำหรับเมืองตรังในสมัยโบราณนั้นสามารถแบ่งความเจริญเติบโตของชุมชนเป็น  ๓  ยุค  กล่าวคือ

·        ยุคแรก  ตัวเมืองตั้งอยู่เหนือเขาปินะอยู่ระยะหนึ่ง  ริมฝั่งแม่น้ำตะวันออกมีปากคลองกะปาง  ฝั่งตรงข้ามคลองกะปางเป็นบ้านหูหนาน  ชาวบ้านเรียกกรุงธานี  ปัจจุบันเป็สาวนยางพารา  บ้านหูหนานหรือกรุงธานี  นี้เป็นที่ตั้งเมืองตักโกลา  (ตะโกลา)  ในถ้าเขาปินะพบพระพิมพ์ดินดิบศิลปะสกุลคุปตะมีอายุราว  พุทธศตวรรษ ที่ ๑๒-๑๓  จำนวนมาก

·        ยุคสอง  ตัวเมืองย้ายมาตั้งใกล้คูเมืองลำภูรา  เรียกว่า  เมืองตรังปุระหรือ  เมืองลำภูรา  มีเขาลำภุรา  ในถ้ามรชีภาพเขียนสี  พบเครื่องมือหินใหม่กับหม้อดินเผาสีดำชาวบ้านเรียกว่า  ถ้ำตรา  ถัดตัวเมืองนี้ลงมามีหมู่บ้านอู่ตะเภา หรือ  ทุ่งทัพเรือ  เป็นที่ต่อเรือรบของเมืองตรังคปุระ  เมืองนี้มีอายุประมาณสมัยสุโขทัย

·        ยุคสาม  ตัวเมืองย้ายมาตั้งอยู่ข้างใต้หมู่บ้านอู่ตะเภา  บริเวณบ้านาแขก  เรียกว่าตรังนาแขก  มีอายุสมัยกรุงศรีอยุธยา

 

สมเด็จเจ้าฟ้า  กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์  ได้บันทึกการเดินทางเมื่อ  พ.ศ. ๒๔๔๔  ไว้ว่า “ถึงบ้านท่าจีน 

พวกจีนฮกเกี้ยนอยู่ค้าขาย  เรือเสาใบอย่างจีนใหญ่ ๆ  จอดอยู่  ๘ ลำ  และมีอู่ต่อเรือชนิดนั้นที่นั่นอีก  ๒ แห่ง  กำลังต่อเรืออยู่ทั้ง ๒ อู่  ..”

               

สำหรับเส้นทางโบราณเป็นขอพิสูจน์ว่า  เมืองโกตักลานั้นคือ  เมืองตรัง  แน่นอนนั้นคือ  เส้นทางเดินเรือจากปากแม่น้ำตรังในสมัยโบราณ  (ราวต้นพุทธศักราช)  นั้น  มีเส้นทางเดินผ่านตลอดไปถึงแม่น้ำตาปีที่อ่าวบ้านดอนใต้  โดยมีคลองโอ๊กกับคอลงมีนเป็นลำน้ำเชื่อมโยงถึงกันได้  เป็นการแล่นเรือผ่านไปตามไครเสเซอโสเนสส  (เกาะทองหรือสุวรรณทวีป)  จนไปถึงอ่าวบ้านดอน  หลังจากนั้นสามารถแล่นเรือไปยังเวียดนามและจีนโดยไม่ต้องผ่านทางช่องแคบมะละกา  ซึ่งเป็นทางอ้อมและมีโจรสลัดชุกชุม  เมื่อมีการคมนาคมขนถ่ายสินค้าต่อเนื่องมาทุกสมัย  จึงทำให้เกิดชุมชนที่เจริญรุ่งเรืองขึ้น  เมืองต่างจึงเกิดขึ้นตามเกาะทองรวมทั้งเมืองตักโกลา  (ตะโกลา) ด้วย

               

นอกจากเส้นทางเดินเรือดังกล่าวแล้วยังมีเส้นทางบกในสมัยโบราณข้ามจากแถบตะวันตกไปจากฝั่งตะวันออกด้วย  โดยอาศัยช้างและม้าบรรทุกสินค้ามาตามเส้นทางเดินจากตรังผ่านช่องแคบพับผ้าทางหนึ่ง  ที่วัดคูหาสวรรค์  จังหวัดพัทลุงนั้นได้พบพระพิมพ์ดินดิบศิลปะคุปตะสมัยเดียวกันกับที่พบถ้ำแถบจังหวัดตรังด้วย  อีกเส้นทางหนึ่งเดินทางจากบ้านหูหนานคือเมืองตรังกรุงธานี  ผ่านกะปางไปออกทุ่งสง  ไปปากแพรก  ออกร่อน

พิสูจน์  เข้าธงชัยไปศาลามีชัย  สู่เมืองตามพรลิงค์  (เมืองนครศรีธรรมราช)  พบหลักฐานทางโบราณคดีที่ตำบลเขาพระ  อำเภอร่อนพิบูลย์  คือศิลาจารึกอักศรปัลลวะ  มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๒  ที่เขาช่องคอย  เป็นหลักฐานว่า  บริเวณนั้นเป็นชุมชนโบราณมากกว่า  ๑,๓๐๐  ปีแล้ว

               

ในบันทึกของหลวงจีนอี้จึงเดินทางไปศึกษาคัมภีร์ทางศาสนาพุทธที่อินเดียนั้นได้เดินทางออกจากกวางตุงเมื่อปี  พ.ศ. ๑๒๑๔  ด้วยเรือสำเภาของพ่อค้าชาวเปอร์เซีย  เดินทาง  ๒๐  วันถึงเมืองไชยา  เรียนภาษาสันสกฤตที่ไชยา  ๖  เดือน  แล้วเดินทางผ่านช่องแคบมะละกา  เมื่อศึกษาอยู่ที่อินเดียนานถึง  ๑๔ ปี  ก็เดินทางกลับมาทางลัดผ่านทางทับเที่ยง  (ที่ตั้งอำเภอเมืองตรังในปัจจุบันนี้)  เส้นทางกลับนี้เข้าใจว่า  หลวงจีนอี้จิงเดินทางเรือมาขึ้นบกที่บ้านท่าจีน    แล้วเดินทางบกต่อมาเส้นทางช่องเขาพับผ้า  เข้าสู่เมืองพัทลุงและสทังพระ  แล้วมุ่งตรงไปเมืองไชยา

               

สรุปแล้วบ้านหูหนาน  (กรุงธานี)  และบ้านท่าจีน  ของเมืองตรังจึงเป็นท่าเรือสำคัญ  เป็นทำเลเมืองท่าโบราณที่มีอายุกว่า  ๒,๐๐๐  ปีของเมืองตักโกลาหรือตะโกลา  ไม่น่าจะเป็นเมืองตะกั่วป่า  จังหวัดพังงาอย่างที่เข้าใจกันแต่เดิม

               

เมืองสำคัญอีกแห่งหนึ่งใกล้กับเมืองพัทลุงนั้น  คือ  เมืองปะเหลียน  (เมืองปะลันตา  เป็นเมืองเก่าแก่อัชีเมืองหนึ่งตั้งมาพร้อมกับเมืองตะโกลา  (เมืองตรัง)  มีอายุไม่ต่ำกว่า  ๑,๘๐๐  ปี  มีชื่อปรากฏในบันทึกประวัติศาสตร์ปโตเลมีว่า  ปะลันตา  เมืองนี้มีแม่น้ำปะเหลียน  เป็นแม่น้ำเคียงคู่ไปกับแม่น้ำตรัง  ที่ใช้เป็นเส้นทางสำหรับขึ้นบกต่อไปไปเมืองพิทลุงได้  ในสมัยรัตนโกสินทร์  หลวงปะเหลียนโต๊ะกา  ถูกเจ้าเมืองพิทลงใช้ให้ไปซื้ออาวุธปืนกระสุนดินดำ  ปืนลินลาปากนก  เป็นต้น  จากพระยาราชกปิตัน  (พรานซิส  ไลท์)  ที่เกาะปีนัง  เมือพ.ศ.  ๒๓๓๐  เพื่อมาใช้ต่อสู้กับพม่า

               

เมืองปะเหลียนนั้นครั้งแรกอยู่ใกล้เมืองพัทลุง  (คือ หมู่ที่ ๓  ต.ปะเหลียน )  ต่อมาพ.ศ.  ๒๔๓๔  ได้ย้ายมาตั้งที่ตำบลท่าพญา  เป็นอำเภอพญาขึ้นกับเมืองตรัง  และเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอปะเหลียน  ใน พ.ศ.  ๒๔๔๐  ในสมัยรัชกาลที่ ๕  อำเภอปะเหลียนได้ยุบเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตรัง  พระยาปริยันต์เกษตรานุรักษ์  (ทองขาว  ณ พัทลุง)  นั้นเป็นเจ้าเมืองปะเหลียนคนสุดท้าย  ก่อนที่พยารัษฎานุประดิษฐ์  เจ้าเมืองตรังเข้ามาปกครอง  พ.ศ.  ๒๔๕๐  อำเภอปะเหลียนได้ย้ายมาตั้งอยู่ที่บ้านหยงสตาร์ประมาณ  ๑๐ ปี  จึงย้ายมาตั้งอยู่ที่ตลาดท่าข้าม  วันที่  ๒๔  เมษายน  พ.ศ.  ๒๔๖๐  จึงเปลี่ยนชื่อเป็น  อำเภอหยงสตาร์  ในวันที่  ๒๑  เมษายน  พ.ศ.  ๒๔๘๑  จึงเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอปะเหลียน  ตามเดิม  เมืองปะเหลียน  นี้  ไม่มีทำเลแน่นอนเลยสักสมัย  จึงมีการเปลี่ยนแปลงทั้งชื่อที่ตั้งยู่เสมอ  ทั้ง ๆ  ที่เป็นเมืองโบราณเหมือนกัน

               

สรุปแล้วพื้นที่เมืองตรังมีความเหมาะสมที่จะเชื่อว่าเป็น  ตะโกลา  ในสมัยโบราณและเป็นจุดที่ชาวอินเดียเดินทางไปยังเมือตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช)  เมืองครหิและเมืองไชยา  (ยอรช เซเดส์  ว่าเป็นที่เดียวกัน)  ซึ่งต่อเป็นชุมชนที่ชาวอินเดียนำวิทยาการที่เป็นอารยธรรมอินเดียโบราณเข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิครั้งแรก  รวมทั้งเกิดศาสนาพราหมณ์ขึ้นที่ชุมชนเขาคา  ด้วย

 

ดินแดนสุวรรณภูมินั้น  ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๙  เป็นต้นมา  บริเวณตอนกลางนั้น  บ้านเมือง

ตั้งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองมาก   มีการตั้งชุมชนสำคัญ ๆ  อยู่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

               

ชุมชนหรือบ้านเมืองด้านตะวันตกของแม่น้ำท่าจีนที่สำคัญนั้น  คือ  เมืองอู่ทอง  ปรากฏว่าพบหลักฐานร่องรอยของเรือสินค้าชาวต่างชาติเดินทางไปมาและจอดหน้าเมืองได้

               

หลักฐานที่คัญทางโบราณคดีชิ้นหนึ่งพบที่กลางป่าตำบลพลตึก  อำเภอท่ามะกา  จังหวัดกาญจนบุรี  แถบต้นแม่น้ำแม่กลอง  คือตะเกียงโรมสำริด  สมัยพุทธสตวรรษที่ ๖  ซึ่งสร้างแบบเดียวกันกับตะเกียงที่หล่อขึ้นจากเมือวอะเล็กซานเดรีย  ประเทศอียิปต์  ถือว่าเป็นหลักฐานที่แสดงถึง  การติดต่อระหว่างโบราณสถานที่พงตึก  กับเรือสินค้ากับชาวต่างประเทศในสมัยโบราณในแผนที่โบราณบางฉบับมีชื่อ  พงตึก  ปรากฏในแผนที่นั่นด้วย  สันนิษฐานคำว่า  “พงตึก”  นั้น  น่าจะเป็นสำเนียงถ้อยคำที่มาจากภาษาเขมร  “ปวงตึ๊ก”  ซึ่งแปลว่า  “ท่าเรือ”

               

ดังนั้นชาวอินเดียเดินทางมาค้าขายในดินแดนตะวันออกหรือดินแดนสุวรรณภูมิมากขึ้น  จึงทำให้มีเส้นทางทะเลติดต่อกันเป็นประจำ  ดังนั้นเมื่อสุวรรณภูมิมากขึ้น  จึงทำให้มีเส้นทางบกและเส้นทะเลติดต่อกันเป็นประจำ  ดังนั้นเมือวรรณกรรมต่าง ๆ ของอินเดียได้ถูกนำมาเผยแพร่  จึงมีการประพันธ์เรื่องราวที่กล่าวถึงดินแดนสุวรรณภูมิไว้ด้วย  เช่น  พระมหาชนก  และเจ้าชายสุวรรณสาม  นั้นได้มีความปรารถนาที่เดินทางไปยังสุวรรณภูมิ  ซึ่งเป็นชื่อของอาณาจักรที่อยู่ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คืออาณาจักรสยาม)  และมีชื่อปรากฏในเอกสารและแผนที่โบราณ  ซึ่งมีชื่อสถานสำคัญและมีเมืองอีกหลายเมืองที่กล่าวถึงนั้นด้วย 

 

                ในบันทึกของปโตเลมี  ชาวกรีก  ได้เขียนบันทึกไว้เมื่อราว  พ.ศ.  ๗๐๐  นั้นมีชื่อเมือง   คือ  ตะโกลา  ปรากฏอยู่  (สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นท่าเรือโบราณในเมืองตรัง  ซึ่งเดิมเข้าใจว่าชื่อนี้เหมือนคำว่า  ตะกั่วป่า  จึงเข้าใจว่าเป็นอำเภอตะกั่วป่า   บ้างว่าอยู่ที่ควนลูกปัด  อ.ควนลูกปัด  จ.กระบี่  สมัยนั้นท่าเรือนั้นเป็นตลาดกระวาน  (คล้องกับคำว่า  ตะโกลา)  เกาะการบูร  (กรรปูรทวีป)  เกาะมะพร้าว (นาริเกทวีป)  บอกลักษณะของสินค้าไปในตัว

               

การเดินทางติดต่อไปมาค้าขายกับดินแดนสุวรรณภูมิดังกล่าวนั้น  ทำให้พ่อค้าอินเดียโบราณบางคนได้ตั้งถิ่นฐาน  (ประจำเมืองท่า)  และมีครอบครัวกับหญิงพื้นเมือง  ต่อมาได้สร้างตนขึ้นเป็นหัวหน้าชุมชนและมีอำนาจเหนือชาวพื้นเมือง  สร้างระบบการครองเมืองตามแบบผู้ครองอย่างอินเดีย

                เส้นทางเดินของพ่อค้าชาวอินเดียภาคใต้นั้น  น่าจะลงเรือสำเภาสินค้าเดินทางมาทางทะเลข้ามอ่าวเ

บงกอล  เข้ามาทางหมู่เกาะอันดามัน  เกาะนิโคบาร์  และแหลมอฉินด้านเหนือของเกาะสุมาตรา  มายังดินแดนทางฝั่งทะเลอินเดีย

               

พ่อค้าอินเดียบางพวกเดินทางมาขึ้นบกที่ตะโกลา  (ท่าเรือเมืองตรัง)  แล้วเดินทางต่อมายังเมืองไชยา   (ครหิ)  และอ่าวบ้านดอน  (พันพันหรือพุนพิน)  แล้วเดินทางบกต่อไปยังตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช)  และบางพวกก็เดินทางขึ้นบกที่เมืองไทรบุรี  แล้วเดินตามเส้นทางบกต่อมายังเมืองสงขลา

               

เส้นทางของพ่อค้าชาวอินเดียภาคกลางนั้น  น่าจะแล่นเรือสำเภาสินค้าเลียบชายฝั่งมาขึ้นบกที่เมืองทวาย  แล้วเดินบกมาทางด้านตะวันออก  ผ่านเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์  ค่านมะขามเตี้ยหรือด่านทับตะโก  ลงเรือและเดินบกมาตามแม่น้ำแม่กลองเข้ามาทางลุ่มแม่น้ำแม่กลองเข้ามาทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  ติดต่อขึ้นไปทางอนาจักรทางเหนือได้  หรือลงเรือสินค้าขนาดใหญ่เดินทางข้ามอ่าวไทยต่อไปยังดินแดนของอนาจักรฟูนัน  (เขมร)  และอาณาจักรจามปา  (ญวน)  ก็ได้

               

พ่อค้าอินเดียบางกลุ่มเดินทางโดยลงเรือที่เมืองละริดแล้วนั่งเกวียนหรือเดินช้างมาทางบกมาทางเมืองพริบพรี  (เพชรบูรี)  บางกลุ่มเดินทางเข้าทางด่านสิงขรมาทางจังหวัดประจวบคิรีขันธ์

               

ส่วนเส้นทางของพ่อค้าชาวอินเดียทางภาคเหนือนั้นน่าจะเดินทางผ่านมาทางดินแดนพม่า  เข้ามาทางชายแดนแม่ฮ่องสอน  เข้ามาเมืองเชียงใหม่หรือเข้ามาทางเมืองมะละแหม่ง  ผ่านด่านแม่ละเมาที่แม่สอด  เข้ามายังเมืองตากที่อยู่ฝั่งแม่น้ำวัง  แล้วลงเรือเดินทางมายังเมืองต่างๆในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  ในปัจจุบันนี้ยังมีการใช้เส้นทางนี้  ต้อนวัวจากบังคลาเทศให้เดินทางผ่านพม่ามายังไทย  โดยเดินผ่านเข้ามาจังหวัดแม่ฮ่องสอนและอำเภอแม่สอด  จังหวัดตาก

               

สำหรับชาวพื้นเมืองที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานั้นสามารถเดินทางไปยังเมืองต่างๆ  ที่อยู่ลุ่มแม่น้ำโขงได้  โดยใช้เส้นทางเดินบกผ่านเมืองศรีเทพ  (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์)ผ่านด่านนครไทย(อ.นครไทย จ.พิษณุโลก)แล้วข้ามแม่น้ำโขงไปยังอาณาจักรศรีสตนาคนหุต  (ลาว)  และอาณาจักร  ศรีโคตรบูรณ์

(นครพนม)  ได้

               

เส้นทางเดินของพ่อค้าชาวอินเดียโบราณ  ที่เข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมินั้น  ทำให้เกิดชุมชนสำคัญขึ้นและรับเอาอิทธิพลจากวัฒนธรรมต่างๆจากอินเดียไปใช่สร่างบ้านแปลงเมืองขึ้นดังจะเห็นว่ามีการพบจารึกอักษรปัลลวะรูปปั้นดินเผาในคติพราหมณ์   สถาปัตยกรรมของโบราณสถาน  อยู่ในชุมชนต่าง

สรุปสาระความรู้

 

ชาวอินเดียและจีน  นั้นเป็นชาติที่เดินทางติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับดินแดน

สุวรรณภูมิมาก่อนสมัยราชวงศ์  ระหว่าง  พ.ศ. ๔๐๐ – ๕๐๐  จีนได้ขยายเขตการค้าขายเข้ามาถึงประเทศดินแดนสุวรรณภูมิ  ทำให้ดินแดนดังกล่าวนั้นได้กลายเป็นสินค้าดังกล่าว  นั้นได้กลายเป็นศูนย์การค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าของประเทศตะวันตกคือ  อินเดีย  และประเทศตะวันออกคือจีน  จนเป็นเหตุดินแดนสุวรรณภูมินั้นกลายเป็นแหล่งที่มีจำนวนสินค้า  ซื้อขายแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น  จนทำให้ชาวต่างชาติมาติดต่อค้าขายด้วย  และพากันเคลื่อนย้ายแหล่งค้าขายแหล่งค้าขายเข้ามาตั้งแต่ทำเลถาวร  และแต่งงานกับคนพื้นเมืองกลายเป็นประชาชนขอซื้อของถิ่นนั้นไปการเคลื่อนย้ายทำเลค้าขายแลกเปลี่ยนนั้น  ได้ทำเกิดเมืองท่าหรือสถานีการค้าทางทะเลสำคัญขึ้น  ๒  แห่ง  คือฝั่งทะเลตะวันตกนั้นมีท่าเรือตะโกลา  อยู่ที่ตรัง  บ้างว่าที่  ควนลูกปัด  อำเภอคลองท่อม  จ.กระบี่  ซึ่งอยู่ในอ่าวพังงา  และทางภาคตะวันออกนั่นมีท่าเรือออกแก้ว  หรือ  ฟูนัน  ตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำโขงในเวียดนาม

 

                สำหรับดินแดนสุวรรณภูมิซึ่งอ่าวไทยนั้น  เดิมนั้นมีร่องลอยของทะเลเข้าไปในดินแดนแลดมีเมืองสำคัญ  คือ  เมืองอู่ทอง  ตั้งอยู่ด้านตะวันตกของอ่าวไทย  อยู่ระหว่างแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำท่าจีน  (แม่น้ำจระเข้สามพัน  เจ้าเมืองกษัตริย์ของเมืออู่ทองนี้  ได้เลือกที่จะรับเอาพุทธศาสนาเข้ามาใช้ประโยชน์ในการปกครองจึงมีการสร้างสถูปเจดีย์ขึ้นเป็นแห่งแรก  ต่อมาได้มีการสร้างสถูปเจดีย์เผยแพร่ไปยังที่อื่น  เช่น  เมืองศรีวิชัย  (นครชัยศรี ) และ  เมืองนครปฐมโบราณ  เป็นต้น

 

           

 

               

 

               

าสนาพราหมณ์ที่เผยแพร่อข้าสมัยนั้น  ในขณะเดียวกันฏหลักฐานในการสร้างพระบรมธาตุสำคัญ  ที่เมืองตราพรลิงค์

 

               

 

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม เมืองท่าโบราณในดินแดนสุวรรณภูมิ

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์