การตั้งศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ
การตั้งศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ
ศาสนาพราหมณ์ที่ตามพรลิงค์
อาณาจักรตามพรลิงค์
แห่งนี้นับถืออาณาจักรเก่าแก่ที่อยู่ตามภาคใต้ของประเทศไทย มีเมืองตามพรลิงค์
(เมทองนครศรีธรรมราช) เป็นศูนย์กลางอาณาจักร ปรากฏหลักฐานว่า
เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๗ นั้น ในระยะแรก
เมืองตามพรลิงค์นั้นอยู่ในอาณาจักรฟูนันและอาณาศรีวิชัย
ภายหลังแห่งเมืองได้มีความสำคัญขึ้น ตามลำดับจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๓
เมืองตามพรลิงค์จึงได้ขยายอำนาจขึ้นมาเป็รศูนย์กลางการค้าการปกครองเมืองต่าง ๆ
ในดินแดนภาคใต้ จนสามารถสร้างอาณาจักรขนาดใหญ่ขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๔ -๑๕
อาณาจักรแห่งนี้
ได้ขยายอาณาเขตปกครองตั้งแต่เมืองปัตตานีและหัวเมืองทางภาคใต้เกือบทั้งหมด
ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙
อาณาจักรตามพรลิงค์หรือเมืองนครศรีธรรมราชได้เสื่ออำนาจลงและตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาในที่สุด
เมืองตามพรลิงค์
(เมืองนครศรีธรรมราช) แห่งนี้ พบว่าโบราณสถานของศาสนาพราหมณ์อยู่บนเขาคา
ตำบลสำเภา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำให้เกิดหลักฐานใหม่ว่า
ศาสนาพราหมณ์นั้นได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่และตั้งแหล่งศาสนาพราหมณ์ขึ้นในดินแดนแถบนี้ก่อนที่จะเดินทางไปมีบทบาทในเมืองอื่นและดินแดนสุวรรณภูมิต่อไป
เทวสถานบนยอดเขาคาจะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องมีชุมชนโบราณคอยอุถัมป์ดูแลอยู่ด้วย
และบริเวณแห่งนี้จากการสำรวจพบว่า มีแนวสันทรายนครศรีธรรมราช
(คือสันทรายสิชล-ท่าศาลา) ทอดยาวจากทิศเหนือลงมาทางทิศใต้ประมาณ ๕๐ เมตร
มีอายุอยู่ในสมัยโฮโลซีน คืออายุราว ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ ปีลงมา
ส่วนชุมชนที่อยู่อาศัยของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
น่าจะอยู่แถวบริเวณเทือกเขานครศรีธรรมราชด้านทิศตะวันตก
อันเป็นแหล่งต้นน้ำของคลองหลายสายที่ไหลเกือบเป็นเส้นตรงจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออก
ตอนกลางนั้นมีบริเวณที่ราบเชิงเขา
และที่ราบลำน้ำมีสภาพพื้นที่สูงกว่าบริเวณเส้นทรายใกล้ชายฝั่ง
การทับถมของตะกอนดินในแม่น้ำและความชุ่มชื้นของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดมาจากทะเลนั้น
จึงทำใกล้บริเวณที่ราบกว้างใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำนั้นมีความอุดมศมบูรณ์กว่าบริเวณอื่น
จนเอื้ออำนวยต่อการเกษตรกรรมเลี้ยงชุมชนที่เกิดขึ้นได้
อีกทั้งยังได้อาศัยลำน้ำเป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อไปยังพื้นที่ตอนในกับพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้วย
บริเวณนี้เชื่อว่า
น่าจะเป็นแหล่งของชุมชนมนุษย์ในยุคนั้น
และได้มีการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าชาวอินเดียมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐
ชุมชนโบราณนี้อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขาคาและบริเวณวัดเบิกเขาโพรง
สำรวจพบเครื่องมือเขาหินขัด เครื่องมือของมนุษย์ก่อนประวัติศาสาตร์ที่มีอายุราว
๔,๐๐๐-๕,๐๐๐ ปี พบแหล่งโบราณคดี
จำนวนมากอยู่กระจายตามลุ่มแม่น้ำในเขตอำเภอสิชลและอยู่กันหนาแน่นในท้องที่ตำบลสำเภา
ตำบลฉลอง ตำบลเทพราช
ชุมชนมนุษย์ที่เขาคา-สิชลเหล่านี้
ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยและสร้างวัฒนธรรมของตนเองสืบทอดต่อมาจนถึงยุคเริ่มประวัติศาสตร์
มาจนมีการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าชาวอินเดีย
ด้วยเหตุนี้เองในพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๘ บริเวณดังกล่าวนี้
จึงมีวัฒนธรรมและคติความเชื่อทางศาสนาของอินเดียเข้ามาสู่ชุมชนแห่งนี้
โดยพ่อค้าและพราหมณ์เป็นผู้นำเข้ามาเผยแพร่
นับเป็นแหล่งอารยธรรมอินเดียเกิดขึ้นครั้งแรก (ที่สำรวจพบ) ในบริเวณดังกล่าว
จากการสำรวจได้พับว่าแหล่งโบราณวัตถุและโบราณสถานเหล่านั้นเป็นเทวสถาน
ที่สดแงถึงคติ ความเชื่อในลัทธิไศวนิกาย โดยนับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้า
ในพุทธศตวรรษที่
๑๒-๑๔ นั้น
ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายมีความเจริญมากพบหลักฐานว่าชุมชนโบราณอยู่ในบริเวณนี้ได้ขยายตัวไปทางตอนใต้ตลอดแนวลำน้ำ
เช่น ชุมชนวัดนาขอมที่ร้างอยู่
บริเวณนี้ได้พบว่ามีการตั้งเทวาลัยเป็นจำนวนมากทั้งที่อยู่บนเนินเขาและที่ราบ
ขณะนั้นพุทธสถานของชุมชนชาวพุทธได้เกิดขึ้นบริเวณที่ราบเท่านั้น
ดังนั้นเขาคาจึงเป็นเขาที่ถูกเลือกสำหรับสร้างเทวสถาน
เพื่อเป็นเทวาลัยแห่งพระศิวเทพ
เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของศาสนาพราหมณ์ลัทธิศิวนิกาย
คือใช้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐ์ฐานศิวลึงค์ตามคัมภีร์ศิวปุราณะเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาทำเลของเทวสถานเป็นต้นแบบศาสนาพราหมณ์ในไทยแห่งนี้ต่อไป
เขาคา
นี้เป็นเขาลูกโดด ยาวประมาณ เมตร กว้างประมาณ ๓ เมตร ยอดเขา
มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๗๒ เมตร
เชิงเขาด้านใต้มีลักษณะที่เรียกว่าด้านเหนือเล็กน้อย
บนยอดเขามีเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ตั้งอยู่
ห่างออกไปทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๕๐ เมตร
มีแม่นำไหลผ่านเขาคาทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศเหนือ คือ คลองท่าทน
มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาหลวง
ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนพระสุเมรุตามอย่างภูเขาหิมาลัยในอินเดีย
เขาคาจึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ประกอบพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์และเป็นที่อยู่อาศัยของพราหมณ์
ซึ่งพบร่องรอยอาคารสถาปัตยกรรมตามแนวสันเขารวมทั้งหมด ๔ แห่ง สระน้ำ ๓ แห่ง
และมีโบราณสถานดัดแปลงจากสภาพแวดล้อมธรรมชาติอยู่สุดเนินเขาทางด้านเหนืออีก ๑ แห่ง
เชื่อว่าเป็นชุมชนของชาวบ้านที่อยู่กระจัดกระจายตามที่ราบของเขาคา
ด้วยพบหลักฐานทางคดีเป็นจำนวนมาก เช่น เนินโบราณสถาน สระน้ำโบราณ พบคิวลึงค์
และชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรม
เช่น ฐานเสา ธรณีประตู กรอบประตู
เป็นต้น เขาคานี้มีสองยอด ยอดหนึ่งมีลักษณะเป็นเนินเขาบนตะพักเขาที่สูง ๗๐
เมตร ยอดทางเหนือสูงประมาณ ๑๙๕ เมตร
ทั้งสองยอดนี้มีโบราณสถานอยู่เรียงรายตามสันเขา โบราณสถานบนเขามี ๕ หลัง
พบว่ามีบ่อรูปสี่เหลี่ยม ทำบ่อน้ำมนต์ และท่อโสมสูตรในอาคารหลังใหญ่ กว้าง ๑๗
เมตร
ลักษณะของคิวลึงค์ตามคัมภีร์ปุราณะที่พบอยู่บนเขาคานั้น
ส่วนล่างสุดเป็นฐานรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสหมายถึงพรหมภาค
ตรงกลางศิวลึงค์นั้นเป็นรูปแปดเหลี่ยมหมายถึง วิษณุภาค
และสุดบนสุดของศิลลึงค์เป็นรูปกลมมนต์หมายถึง รุทรภาค
นอกจากศิวลึงค์แล้วพบหลักฐานโยนีเป็นจำนวนมากมีฐาน ๙-๑๒ เซนติเมตร
มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔
เทวสถานนี้แม้จะสร้างเป็นเทพเจ้าของลัทธิไศวนิกายแล้ว
ยังพบมีการประดิษฐานไวษณพนิกายควบคู่ไปด้วยกัน ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘
ได้พบว่ามีร่องรอยหลักฐานของชุมชนชาวพุทธฝ่ายมหายาน ได้เข้ามาตั้งหลักฐานอยู่ใกล้
ๆ แหล่งที่เคยเป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์แห่งนี้
ต่อมากลุ่มชาวพุทธได้ทำการดัดแปลงเทวสถานของพราหมณ์แห่งนี้เป็นพุทธสถานแทน
บริเวณแหล่งศาสนาพราหมณ์แห่งนี้ เมืออาณาจักรตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช)
เจริญรุ่งเรือง ผู้คนที่อยู่ชุมชนแห่งนี้จึงพากันอพยพไปอยู่ที่ศูนย์กลางแห่งใหม่
และนำพาเอาวิทยาการต่าง ๆ ของพรหมอินเดียที่ถูกถ่ายทอดสู่ชุมชนนั้นมาเผยแพร่ต่อไป
ต่อมาวิทยาการเหล่านั้น ได้มีบทบาทสำคัญในสังคมไทย โดยเฉพาะ
วิชาโหราศาสตร์และคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์
อาณาจักรตามพรลิงค์ต่อมาได้กลายเป็นแหล่งอารยธรรมของอินเดียโบราณที่บรรดาพ่อค้าและพราหมณ์ได้เดินทางเข้ามาครั้งแรก
ก่อนที่จะมีคณะสมณทูตจากพระเจ้าอโศกมหาราชา แห่งอินเดีย
นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเข้ามาประกาศเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ
เมื่อพุทธศาสนาได้เผยแพร่ในดินแดนแถบนี้อย่างเป็นทางการ
โดยมีสมณทูตจากพระเจ้าอโศกามหาราช จึงทำอาณาจักรต่าง ๆ
พากันยอมรับเอาพระพุทธศาสนาเป็นหลักของการครองอาณาจักร กล่าวคือ
เมื่อมีการสร้างเจดีย์ (พระบรมธาตุ) ขนาดใหญ่ขึ้นที่เมืองตามพรลิงค์
(เมืองนครศรีธรรมราช) และพระปฐมเจดีย์ (เมืองนครปฐม)
ขึ้นเท่ากับเป็นการประกาศพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นหลักของอาณาจักรแห่งนี้
ดังนั้นบ้านเมืองโบราณต่าง ๆ
ก็พากันหันมานิยมนับถือพุทธศาสนาขึ้นเป็นหลักของอาณาจักรแห่งนี้
ดังนั้นบ้านเมืองโบราณต่าง ๆ
ก็พากันหันมานิยมนับถือพระพุทธศาสนาและพากันสร้างพุทธสถานขึ้นในดินแดนของตน
|