พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ
พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ
พระพุทธศาสนาจากอินเดียโบราณได้เข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิโดยคณธสมณทูตนั้น
ได้เดินทางเข้ามาโดยเรือเพื่อประกาศศาสนาและมีการสร้างพระบรมธาตุที่เมืองตามพรลิงค์
(เมืองนครศรีธรรมราช) และจุลประโทณพระประโทณเจดีย์ พระปฐมเจดีย์ ที่เมืองนครปฐม
(เมืองศิริชัย-เมืองนครไชยศรี) นั้น
เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์โมริยะของอินเดีย
ซึ่งเป็นเหลนของพระเจ้าพิมพิสาร ว่า
หลังจากที่พระเจ้าอโศกได้ทรงทำสงครามกับพวกลิงค์
ทำการผลาญชีวิตมนุษย์ไปมากมายนั้น
ต่อมาพระเจ้าอโศกทรงมีพระราชธิดาชื่อพระนางสังฆมิตตา ต่อมาได้บวชเป็นพระภิกษุณี
พระนางสังฆมิตตา(
พระภิกษุณี1)
ได้ขอตอนกิ่งมหาโพธิ์จากพุทธคยา นำไปถวายพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ
ผู้ครองเมืองลังกา (พ.ศ.๒๙๓-๓๕๓) นำไปปลูกไว้ที่มหาเมฆนาราม กรุงอนุราปุระ
เมืองหลวงของลังกา (โพธิ์ลังกา) ที่กรุงอนุราธปุระ
ต้นนี้ภายหลังได้มีการนำหน่อและเมล็ดพันธุ์มาปลูกในสถานที่สำคัญต่าง
ในอาณาจักสยามหลายครั้งด้วยกัน เช่น วัดพระศรีมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช
ดงศรีมหาโพธิ์ที่เมืองปราจีนบุรี วัดพระปฐมเจดีย์ เมืองนครปฐม รวมที่วัดสระเกศ
วัดสุทัศน์เทพวรารามและวัดมหาธาตุกรุงเทพฯ ในสมัยหลังด้วย
ต่อมา พ.ศ. ๒๓๖
พระจ้าอโศก มหาราช
มีพระราชประสงค์ที่จะประกาศพระพุทธศาสนาได้แพร่หลายไปยังอาณาจักรต่าง ๆ
ที่อยู่ใกล้ จึงโประให้แต่งสมณทูตออกประกาศคำสั่งพระพุทธศาสนาตามอาณาจักรต่าง ๆ
ในดินแดนสุวรรณภูมิและดินแดนอื่น ๆ ในศิลาจารึกนั้น ความปรากฏว่า
พระสมณฑูตของพระเจ้าอโศกเข้าไปเผยแพร่และประกาศพระพุทธศาสนาไปยังประเทศตะวันตก
ถึงแคว้นไซเรีย อียิปต์ และมาชิโดเนียในยุโรป
ส่วนประเทศที่ใกล้เคียงติดต่อกับพระราชอาณาจักรพระเจ้าอโศกมหาราชได้อาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ
ให้คัดเลือกพระอรหันต์เพื่อส่งไปประกาศพระพุทธศาสนาซึ่งมีนามประเทศและนามพระอรหันต์เพื่อส่งไปประกาศพระพุทธศาสนาซึ่งมีนามประเทศและนามพระอรหันต์ที่ออกไปเผยแพร่
ซึ่งมีนามประเทศและนามพระอรหันต์ที่ออกไปเผยแพร่
ซึ่งมีนามประเทศและนามพระอรหันต์ที่ออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในครั้งนั้น
โดยผูกเป็นคาถาไว้ในคัมภีร์มหาวงศ์ ดังนี้
เถโร
โมคคลิปุตโตโส
ชินสาสนโชตโก
นิฏฐาเปตวาน สงคีตี
เปกขมาโน อนาคต
สาสนสส ปติฏฐาน
ปจจนเตส แวกขิย
เปเสสิ กตติเก
มาเส เต เต เถเร ตหึ ตหิ
เถร กสมิรคนธาร
มชฌนติกมเปสยิ
อเปสยิ มหาเทว
เถรมหิสมณฑล
วนวาสิ
อเปเสสิ เถร รกชิตนามก
ตถา ปรนตก
โยน ธมมรกชตนามก
มหารฎฐ
มหาธมม รกชิตตเถรนามก
มหารกขิตเถรนต
โยนโลกมเปสยิ
เปเสสิ มชฌิม
เถร หิมวนตปปเทสก
สวณณภูมิ เถเร เทว
โสณ อุตตาเมว จ
มหามหินทเถร ต
เถร อิทิยวุตติย
สมพล ภททสาลญจ สเก
สทธิวิหาริเก
ลงกาทีเป มนญญมหิ
มนญญชินสาสน
ปติฏฐเปถ
ตุเมหติ ปญจ เถเร อเปสยิ
จากคาถาข้างต้นนี้ นายริส เดวิดส์
ได้ทำการตรวจสอบภูมิประเทศของเมืองที่รากฎในคาถาแล้ว
อธิบายถึงชื่อเมืองและผู้เผยแพร่พระพุทธศาสนา ไว้ว่า
·
พระมัชฌันติกไปประเทศกัสมิระ และคันธาระ
คือดินแดนที่เรียกว่าแคชเมียและอัฟกานิสถานทุกวันนี้
อยู่ปลายแดนและต่อแดนกับอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ
·
พระมหาเทวไปมหีสประเทศ
คืออินเดียด้านใต้ใต้แม่น้ำโคธาวารีอยู่ในอาราเขตของไนซัมไฮเดอรบัดทุกวันนี้
·
พระรักขิตไปวนาวาสีประเทศ
อาจารย์ริสเดวิดส์เข้าใจว่า บริเวณนี้อยู่ในทะเลทรายแคว้นราชปุตตนะในอินเดีย
·
พระธรรมรักขิตไปอปรัตกประเทศ
เข้าใจว่าเป็นชายแดนปัญจาบด้านตพวันตก
·
พระมหาธรรมรักขิตไปมหารัฐประเทศ
อยู่ในแคว้นมหารัฐแถบยอดน้ำโคธาวารี อยู่ห่างเมืองบอมเบย์ ๑๕๐ ไมล์
ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
·
พระธรรมรักขิตไปโยนโลกประเทศ
คือบริเวณที่เรียกว่า แบกเตรียเดี๋ยวนี้ อยู่ในประเทศอิหร่าน (เปอร์เซีย)
·
พระมัชฌิมไปหิมวันตประเทศ
คือ ตามเมืองต่าง ๆ
ที่อยู่ในหมู่เกาะหิมาลัย
·
พระโสณะ และพระอุตตระไปสุวรรณภูมิประเทศ
บริเวณเมืองพม่าไทยตลอดแหลมลายู (คัมภีร์มหาวงศ์ของลังการะบุว่า
สุวรรณภูมิประเทศอยู่ห่างจากลังกา ๗๐๐ โยชน์
·
พระมหินทเถร ราชบุตรพระเจ้าอโศกไปลังกาทวีป
ในคัมภีร์มหาวงศ์ของลังกานี้เขียนขึ้นราว พ.ศ. ๑๐๔๓
โดยอ้างอิงมาจากคัมภีร์อรรถกถา มหาวงศ์ ได้สูญหายไปแล้วนั้น ได้มีบันทึกไว้ว่า
พุทธศาสนานั้นได้เยแพร่เข้ามายังสุวรรณภูมิ เมือราว พ.ศ. ๒๓๖
สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช มีอำนาจสูงสุดและแผ่ไพศาลไปทั่วชมพูทวีป
ตั้งเมืองหลวงที่กรุงปาฏลีบุตร ได้ทรงอุปถัมป์ทำสังคายนา ครั้งที่ ๓
และส่งพระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิไปประกาศพระศาสนา
นอกจากจะส่งไปทั่วทุกรัฐในอินเดียแล้ว ยังส่งไปต่างประเทศอีกด้วย เช่น ลังกา
และสวรรณภูมิ เป็นต้น
ในคัมภีร์มหาวงศ์นี้ยังกล่าวอีกว่า
พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งพระโสณเถระกับพระอุตตรเถระมาประกอบพระศาสนาที่ดินแดนสุวรรณภูมิ
บริเวณจังหวัดนครปฐมนั้น ได้มีการสำรวจและค้นพบธรรมจักรศิลาทราย พระรูปอินเดีย
สมัยอมราวดี
ยุคพุทธศตวรรษที่ ๗ พระพุทธรูปศิลาประทับนั่งห้อยพระบาทขนาดใหญ่
และศิลปวัตถุสมัยทวาราวดีจำนวนมาก เป็นหลักฐานที่ยืนยันว่า
เมืองนครชัยศรีและเมืองนครปฐม นั้นเป็นเมืองสำคัญในสมัยโบราณหรือเมืองหลวงอีกแห่ง
หนึ่งของอาณาจักรทวาราวดีโบราณ ปรากฏว่ามีพระปฐมเจดีย์ ที่เป็นหลักฐานที่แสดงว่า
พระพุทธศาสนานั้นประกาศเผยแพร่ออกจากสถานที่สำคัญแห่งนี้
ดินแดนสุวรรณภูมิเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๗-๘ นั้น ได้มีชาวตะวันตกพวกอินเดีย กรีก
และโรมัน แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
เดินเรือข้ามทะเลเข้ามาติดต่อค้าขายยังเมืองต่าง ๆ
ในดินแดนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน
ทำให้อารยธรรมชาวตะวันตกได้พากันหลั่งไหลเข้ามายังดินแดนดังกล่าว มากขึ้น
ในเอกสรของกรีก
โรมัน อาหรับและอินเดีย ได้เรียกดินแดนแถบนี้ว่า แหลมทองหรือสุวรรณภูมิ
ในเอกสารของจีน
มีข้อความระบุว่า ดินแดนดังกล่าวมีรัฐสำคัญในบริเวณนี้ คือ ฟูนัน กิมหลิน
หลั่งยะสิว พันพัน และลังเกียสุ ชื่อเมืองที่ปรากฏนี้
สืบค้นแล้วพอระบุว่าเป็นสถานที่ในปัจจุบันได้ดังนี้
·
ฟูนัน
คืออาณาจักรฟูนัน
·
กิมหลิน
คืออาณาจักรสุวรรณภูมิ
·
หลั่งยะสิว
คือ ยังไม่ทราบว่าที่ใด
·
พันพัน
น่าจะเป็น
แหล่งโบราณบ้านดอน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
·
ลังเกียสุ
คืออาณาจักรลังกาสุนะ น่าจะเป็นเมืองปัตตานี
ในจำนวนชื่อสถานที่เหล่านี้ ปรากฏว่าเป็นอาณาจักรที่มีความสำคัญ
เพราะเป็นชื่อของอาณาจักร
เกิดขึ้นเมือประมาณพุทธศตวรรษที่ ๗-๘ คือ อาณษจักรฟูนัน อาณาจักรกิมหลิน
(สุวรรณภูมิ) อาณาจักรลังกาสุกะ เป็นต้น
ดังนั้นเรื่องราวของอาณาจักรโบราณเหล่านี้จึงต้องอาศัยหลักฐานจากการศึกษาและสำรวจต่อไป
สำหรับการเผยแพร่พุทธศาสนาที่เกิดขึ้นภายหลัง และสืบเนื่องมายังอาณาจักรต่าง ๆ
ในแหลมอินโด
จีน ทั้งสุวรรณภูมิ
และสุวรรณทวีปนั้น มีความเล่าไว้ว่า
ใน พ.ศ. ๙๖๖
อาณาจักรฟูนัน ได้รับเอาพระพุทธศาสนาเข้าไปและมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดโดย
พระคุณวรมัน ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะสงฆ์ที่เดินทางมาจากแคว้น คันธาระ-กาปิศะ
แม้ว่าหลักฐานนั้นว่า คณะสงฆ์ขณะนี้ได้เดินทางไปยังสุวรรณทวีป คือ
หมู่เกาะชวาในแถบอินโดนีเซียก็ตาม
แต่การเดินทางเชื่อว่าคณะสงฆ์ชุดนี้น่าจะเดินทางมายังปากแม่น้ำโขงของอาณาจักรฟูนันก่อนประกาศพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองที่อาณาจักรฟูนันก่อนที่จะเดินทางไปยังหมู่เกาะดังกล่าว
จารึกของกษัตริญ์ฟูนันได้จารึกถึง พระคุณวรมันเป็นอักษรสันสกฤต (คืออักษรคฤนห์)
สมัยราชวงศ์ปัลลวะ
ต่อมา พ.ศ. ๑๐๖๘
พระอริยสงฆ์สำคัญคือ พระโพธิธรรม จีน เรียกว่าปรมาจารย์ตั๊กม้อ
ผู้เป็นชนพระโอรสของแคว้นตักคันธาระ น่าจะเป็นเชื้อสายราชวงศ์กุษาณ 7
ได้จารึกเดินทางขึ้นมาบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง
ได้วางรากฐานพุทธศาสนาในดินแดนดังกล่าวอีก ครั้งหนึ่งโดยใช้เวลาเผยแพร่อยู่ ๓ ปี
ก่อนที่พระโพธิธรรมจะเดินทางขึ้นไปเผยแพร่ที่ดินแดนจีน
หลังจากที่พระโพธิธรรม จารึกประกาศพุทธศาสนาอยู่ในจีน ๓๐ ปี
อาณาจักรฟูนันก็ล่มสลาย (ประมาณ พ.ศ. ๑๑๐๐) พร้อมกับบริเวณแหลมอินโดจีน
และทะเลจีนใต้ได้เกิดมีอาณาจักรต่าง ๆ มากมาย ได้แก่อาณาจักรทวาราวดี
อาณาจักรเจนละ อาณาจักจัมปา อาณาจักรกามลังกา (มอญ) อาณาจักรศรีเกษตร
(พม่าตอนปลาย) อาณาจักรศรีโพธิ์ (ภาคใต้ของไทย และอาณาจักรของสุวรรณทวีป
(หมู่เกาะชวา)
การสิ้นสุดราชวงศ์กุษาณในอินเดีนตอนใต้นั้นหรือหลังจาดที่พระโพธิธรรม
ได้เดินทางเข้ามาแล้วก็ไม่ปรากฏว่ามีพะสงฆ์ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิอีก
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๒
นั้นในขณะที่ พระภิกษุฟาเหียน หรือ
พระถังซัมจั่งจากจีนได้ออกเดินทางเพื่อรวบรวมคัมภีร์พุทธศาสนาที่อยู่ในอินเดีย
(พ.ศ. ๑๑๗๒ -๑๑๘๘) นั้นได้มีพระธรรมปาละ จากดินแดนราชวงศ์ปัลลวะแห่งอินเดียได้
นำคณะสงฆ์เดินทางมาเผยแพร่พุทธศาสนาไปทั่วทะเลจีนตอนใต้ จีนเรียกว่า กิมกังกี่
มีบันทึกพระธรรมปาละนี้ได้เดินทางไปจีน เมื่อ พ.ศ.๑๒๘๔ และ พ.ศ. ๑๒๘๙
รวมสองครั้ง ซึ่งเชื่อว่าพระธรรมปาละรูปนี้น่าจะมรณภาพทางดินดินแดนทางเหนือ
ต่อมาจากที่ราชวงศ์ปัลลวะกำลังจะเสื่อมลงนั้น ได้มีพระวัชรโพธิ์ เป็นหัวหน้า
ได้นำคณะสงฆ์เดินทางจากอินเดียใต้เข้ามาวางรากฐานทางพระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรณภูมิและดินแดนสุวรรณทวีป
ตั้งแต่ ๑๒๖๐-๑๒๘๔ แล้วคณะสงฆ์กลุ่มนี้จึงได้เดินทางไปเผยแพร่พุทธศาสนาในจีนต่อไป
ในครั้งนั้น
พระวัชรโพธิ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานไว้ที่พระธาตุดอยตุง
ในสมัยจามเทวีวงศ์ รัชกาลที่ ๔
ภายหลังจากที่วัชรโพธิได้เดินทางจากจารีตไปจีนแล้วประมาณ ๑๐ ปี
จึงได้มีพระภิกษุรูปหนึ่ง จีนเรียกว่า กิมเกียวก๊ก เป็นอดีราชวงศ์ของชาวสยาม
ได้เดินทางจาริกตามไปจีน และสร้างตำนานพนะกษิติครรภ
หรือที่จีนเรียกหลวงจีนตี้จัง ไว้ที่ภูเขาเกาฮั่วซัว
มีสาระเนื้อหาเช่นเดียวกับกับเรื่องของพระมาลัย ที่แต่งตั้งขึ้นในไทย
ในสิงหลทวีป
(ศรีลังกา) นั้นมีสำนักของพุทธศาสนาอยู่ ๒
สำนักคือสำนักมหาวิหารกับสำนักอภัยวิหาร
สำนักอภัยวิหารเป็นสำนักที่มีความสำพันธ์กับนิกายเถรวาทฝ่ายเหนือที่ใช้ภาษาสันสฤต
ของพระพุทธศาสนาของนิกายเถรวาทฝ่ายเหนือที่ใช้ภาษาสันสกฤต
ของพุทธศาสนานิกายวัชรยาน
แต่ครั้นเมื่อพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทจากสิงหลทวีปหรือศรีลังกาซึ่งใช้ภาษาบาลีเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนสุวรรณภูมิ
จึงเป็นเหตุให้คัมภีร์พุทธศาสนาที่เคยเป็นภาษาสันสกฤตของนิกายสรรวาสติกวาทที่มีมาตั้งแต่แรกนั้น
ได้มีการใช้ภาษาบาลีมาคิดลอกแทนในสมัยอยุธยา
|