ศาสนาอิสลามในดินแดนสุวรรณภูมิ
ศาสนาอิสลามในดินแดนสุวรรณภูมิ
ศาสนาอิสลาม
นั้นได้เดินทางมาเผยแพร่อยู่ทางหัวเมืองตอนใต้ของแหลมมลายูและประเทศมลายู
ในสมัยที่อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลง และเกิดอาณาจักรมัชปาหิตขึ้น
ทำให้มีชาวอาหรับและชาวอินเดียที่นับถือศาสนาอิสลามต่างพากันเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายเผยแพร่ศาสนาอิสลามในเวลาเดียวกัน
ครั้นเมืองแคว้นสุโขทัยสามารถแผ่อำนาจมาถึงหัวเมืองทางตอนใต้ไปจดเมืองยะโฮร์
เมืองมะละกา นั้น แค้นสุโขทัยมีเมืองนครศรีธรรมราช และเมืองปัตตานี
เป็นเมืองสำคัญ และแต่งตั้งให้เมืองนครศรีธรรมราชนั้นเป็นเมืองประเทศราช
คอยดูแลเมืองต่าง ๆ ในแหลมมลายูด้วย
จึงเป็นเหตุให้ชาวสยามในสมัยสุโขทัยได้พากันไปอาศัยคามหัวเมืองในแหลมมลายูด้วย
จึงเป็นเหตุให้ชาวสยามในสมัยสุโขทัยได้พากันไปอาศัยตามหัวเมืองในแหลมมลายูและนับถือศาสนาอิสลาม
ซึ่งมีชื่อเรียกว่า สยาม (นับถือ) อิสลาม หรือ พวกสาม-สาม
ในปี พ.ศ. ๑๙๘๐
นั้นชาวอาหรับ และชาวอินเดีย ได้นำศาสนาอิสรามเข้าไปเผยแพร่ในสิงคโปร์
เมืองมะละกา เมืองกลันตัน เมืองไทรบุรี และเมืองปัตตานี
จึงทำให้ประชาชนนับถือศาสนาอิสลามมากขึ้น
ด้วยเหตุที่หัวเมืองทางภาคใต้มีการนับถือศาสนาอิสลามจำนวนมาก
มีขนบธรรมเนียมประเพณีแตกต่างกัน
จึงทำให้มีการจัดระเบียบระบบการปกครองให้สอดคล้องกับการนับถือศาสนาด้วย กล่าวคือ
ให้มีการพิจารณาการวางแผนการปกครองขึ้นเป็นพิเศษ
โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นหัวเมืองอิสลาม นั้นได้รวมตัวกันเป็นเมืองปัตตานี
ให้มีฐานะเป็นประเทศราชของแคว้นสุโขทัย
สมัยอยุธยาระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาเสียกรุง ใน พ.ศ. ๒๓๑๐ นั้น
เจ้าเมืองปัตตานี และ เมืองไทรบุรี ได้ตั้งตัวเป็นอิสระ
และเมืองนครศรีธรรมราชได้ตั้งตนเป็นเมืองใหม่ ไม่ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาด้วยคือ
ชุมนุมเจ้านคร เป็นชุมนุมที่มีอาณาเขตตั้งแต่ชุมพรลงไปจนต่อเขตที่ต่อแดนของมลายู
เจ้านครนั้นเดิมรับราชการอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา
ได้รับแต่งตั้งให้มารักษาการที่เมืองศรีธรรมราช ในตำแหน่งปลัดเมือง ครั้นเมื่อ
พระยาสุภาวดี เจ้าเมืองทำความผิดออกจากตำแหน่ง จึงทำให้ปลัดเมืองคือ
เจ้านครได้รั้งเมืองนี้จนกระทั่งเสียกรุง
ครั้นเมื่อพระเจ้าตากสินทำการู้เอกราชโดยทำการปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ
ที่ตั้งตัวเป็นอิสระ ๕ ชุมนุมนั้น ในปี พ.ศ. ๒๓๑๒
พระเจ้าตากสินได้ยกทัพเรือมาติดเมืองนครศรีธรรมราช
เมื่อพระองค์เสด็จถึงปากน้ำเมืองนคร และยกไพร่พลขึ้นบกแล้ว
จึงได้เข้าตีทัพของเจ้านครทันที ดังนั้น
พลของเจ้านครจึงแตกพ่ายจึงหนีลงไปอาศัยอยู่กับพระยาตานี เจ้าเมืองปัตตานี
ต่อมาพระยาตานี
เจ้าเมืองปัตตานี ได้กลับทำการจับตัวเจ้านครส่งตัวมาถวายพระเจ้าตากสิน
แต่พระองค์ไม่ตัดให้มีการลงโทษแต่อย่างไร
เนื่องจากทรงว่าในยามกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่านี้บ้านเมืองเกิดการจลาจล
จึงเป็นโอกาสที่ทุกคนจะต้องตั้งตนเป็นใหญ่ หลังจากที่พระเจ้าตากสินปราบชุมนุมต่าง
ๆ ได้หมดแล้ว จึงได้มีการสถาปนากรุงธนบุรี เมืองปัตตานีกับเมืองไทรบุรี
จึงกลับมาขึ้นอยู่กับไทยอีกครั้งหนึ่ง
เมืองปัตตานีนั้นเป็นเมืองที่มีการนับถือศาสนาอิสลามอยู่จำนวนมาก
ต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑
นั้นได้เกิดเหตุจากเจ้าเมืองปัตตานีแข็งข้อไม่ยอมอ่อนน้อม
พระองค์จึงโปรดให้พระยากลาโหมพระยาเสน่หาภูธร (ทองอิน) พระยาพัทลุง (ทองขาว)
เจ้าเมืองสงขลา ยกทัพไปตีเมืองปัตตานี
เมื่อตีได้แล้วพระองค์ทรงโปรดให้พระพลเทพพระยาวิเศษโกษา
และหลวงฤทธิ์จัดการแยกเมืองปัตตานีออกเป็น ๗ หัวเมือง
ด้วยพระองค์ทรงมีพระราชดำหริว่าถ้าหากปล่อยเมืองปัตตานีว่าให้เป็นเมืองใหญ่เช่นนี้ก็จะลำบากแก่การปกครอง
พระอง๕ทรงโปรดให้แบ่งเมืองปัตตานีออกเป็น ๗ หัวเมืองใหญ่ คือ เมืองปัตตานี
เมืองหนองจิ เมืองยะหรั่ง เมืองสายบุรี เมืองยะลา เมืองรามันต์ และเมืองระแงะ
โดยให้อยู่ในการดูแลของเมืองสงขลา
สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๒ ของกรุงรัตนโกสินทร์นั้น
อังกฤษได้แผ่อำนาไปยังท่าตะวันออก ได้เข้ายึดครองอินเดีย
และขยายอำนาจมายึดเกาะปีนัง เมืองมะละกา เมืองสิงคโปร์ไว้
สำหรับเมืองมะละกานั้นเคยเป็นของแคว้นสุโขทัยมาช้านานและหลุดเป็นของอังกฤษ
ดังนั้น พระองค์จึงมอบให้พระยานครน้อย (พัฒน์) ซึ่งครองเมืองนครศรีธรรมราชนั้น
เข้ามาทำการยึดเมืองไทรบุรี ซึ่งเป็นเมืองประเทศราชของแคว้นสุโขทัยไว้ได้สำเร็จ
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลเจ้าจอมเกล้ารัชกาลที่ ๕
นั้นพระองค์ให้ปรับปรุงหัวเมืองต่าง ๆ ของเมืองปัตตานีใหม่โดย
จัดให้รวมกันเป็นบริเวณ เรียกว่า
บริเวณ ๗
หัวเมืองอิสลามปักษ์ใต้
และหัวเมืองทั้ง๗ นั้นไป ขึ้นอยู่กับมณฑลนครศรีธรรมราชที่ตั้งขึ้นเมือง พ.ศ.
๒๔๓๔ ด้วยเหตุมีการปกครองไม่ทั่วถึง
จึงปรากฎว่าเมืองปัตตานีนั้นได้พยายามตั้งตนเป็นอิสระ และทำการก่อกบฏขึ้นหลายครั้ง
พรยาสุขุมนัยวินิต
(ปั้น สุขุม)
ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรธรรทราชและจัดการเมืองสงขลา
เมืองพัทลุง นั้น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
จึงมอบหมายให้ดำเนินการวางแผนการปกครองในบริเวณ ๗ หัวเมืองอีกครั้งหนึ่ง
ซึ่งมีรายงานที่น่าสนใจว่า การชำระตัดสินความอยู่ในอำนาจของ
โต๊ะกาลี
คืออาจารย์ฝ่ายศาสนาอิสลาม เป็นผู้ตัดสินความตามหลักกฎหมายอิสลาม
เมืองทางปักษ์ใต้
ได้มีการนับถือศาสนาอิสลามนั้นได้แก่ เมืองปัตตานี เมืองนราธิวาส เมืองยะลา
และเมืองสตูล แล้วต่อมาภายหลังศาสนาอิสลามได้เผยแพร่และทำการสร้างมัสยิดอยู่ทั่วไป
สูเจ้าทั้งหลายอย่าก่อกวนความเสียหายขึ้นในแผ่นดินการรักบ้านเกิดเมืองนอน
นั้นเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธามั่นในองค์อัลเลาะห์
(จากคัมภีร์อัลกุรอาน)
|