คริสต์ศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ
คริสต์ศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ
เมื่อ พ.ศ. ๑๖๓๙
๑๘๑๓ ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญทางคริสต์ศาสนาคือ สงครามครูเสด
เป็นสงคราที่เกิดขึ้นในยุโรป เนื่องจากพระสันตะปาปา ได้ชักชวนคริสต์จากประเทศต่าง
ๆ ยกทัพตีเมืองเยรูซาเล็ม ซึ่งเป็นที่ประสูติของพระเยซู
คริสต์ศาสนานี้ได้เข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิครั้งแรกนั้น
สืบเนื่องมาจากสมัยอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์ ฯ จึงได้มีไมตรีกับฝรั่งเศส
เนื่องจากโป๊บ ที่กรุงโรม
ต้องการที่จะเผยแพร่ศาสนาคริสตังนิกายโรมันคาธอลิคมาทางดินแดนตะวันออก
จึงทูลขอความช่วยเหลือให้พระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔ พระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสทรงสนับสนุน
ครั้งพระเจ้าหลุยส์ที
๑๔ ได้ทรงเป็นธุระแล้วคัดเลือกบาทหลวงฝรั่งเศส ๓ รูป แต่งตั้งเป็นบิชอบ คือ
บิชอบเบรีธ บิชอบเดลิดอดปลิส บิชอบเมเตดปลิส (คือบาทหลวงลาม๊อตลังแบรด์
เป็นสังฆราช แห่งเบริช เป็นหัวหน้าคณะร่วมกับบาทหลวง เดดิเอร์
และบาทหลวงเดอบูร์ช พร้อมด้วยบาทหลวงและคฤหัสถ์ อีกหลายคนเป็นคณะ
ออกเดินทางสำรวจดุหนทางที่จะเผยแพร่ศาสนาคริสตังทางดินแดนตะวันออก
คณะบาทหลวงฝั่งเศสที่เดินทางเข้ามาอยู่กุงศรีอยุธยานั้นได้อาศัยอยู่ได้ประมาณ ๓
ปีเศษ จึงเป็นชาติที่ไม่เข้าพวกกับฮอลันดา
ด้วยเหตุที่นับถือคริสต์ศาสนาต่างนืกาย
จึงถือโอกาสที่จะเข้าช่วยเหลือทางกรุงศรีอยุธยาเพื่อหาหนทางสนิทสนม
เพื่อเผยแพร่ศาสนาของตน จึงให้บาทหลวงโทมัส
ซีงมีความรู้ในการสร้างป้อมปราการเข้าไปหา เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก)
ทำการรับอาสร้างป้อมปราการที่เมืองลพบุรี ครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์ฯ
ทรงโปรดรูปแบบป้อมปราการที่สร้างขึ้นตามแบบอย่างตะวันตกมาก
จึงได้พระราชทานบ้านเรือนให้คณะบาทหลวงฝรั่งเศสอยู่ในพระนคร
และโปรดให้ทำการสร้างโรงสวด (โบสถ์) ขึ้นภายในบริเวณนั้นด้วย
บิชอบเบริธ
หัวหน้าคณะบาทหลวงนั้น เมือเห็นสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงโปรดปรานบาทหลวงโทมัส
เช่นนี้ และไม่รังเกียจศาสนาคริสตัง
จึงส่งคนกลับไปทูลขอพระราชสาสน์จากพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔
ให้มีมายังกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาเพท่อฝากชาวฝรั่งเศสที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรสยาม
ส่วนสมเด็จพระนารายณ์ฯ นั้นเมือได้รับพระสาสส์นแล้วทรงเห็นว่า
ถ้ากรุงศรีอยุธยาได้เป็นไมตรีกับฝรั่งเศสแล้วก็จะเป็นการป้องกันไม่ให้พวกฮอลันดากล้ามาเบียดเบียนอีก
จึงยอมรับเป็นไมตรีต่อกัน
คณะบาทหลวงฝรั่งเศสนั้นอาศัยอยุ่ในกรุงศรีอยุธยามาได้ ๑๓ ปี โดยมีคอนสแตนติน
ฟอนคอน ชาวกรีก ที่เข้ามารับการจนมีอำนาจในราชสำนัก นั้นได้ประสานสัมพันธ์ไมตรี
ระหว่างฝรั่งเศสกับอาณาจักรสยามจนแน้นแฟ้นขึ้น
ภายหลังเกิดเหตุการณ์วุ่นวายและเปลี่ยนแผ่นดิน
ในสมัยสมเด็จพระเพทราชานั้นได้เหตุการณ์สู้รบกับทหารของฝรั่งเศสที่ป้อมเมืองธนบุรี
ปิดล้อมอยู่ ๕ เดือน (บางแห่งว่า ๒ เดือน) จนทหารฝั่งเศสสิ้นเสบียงอาหาร
ต้องยอมเลิกรบและดินทางกลับออกไป
ครั้งนั้นได้มีการยึดตัวพ่อค้าและคณะบาทหลวงฝรั่งเศส คือ สังฑราชลาโน
บิบอปเมเตโลดปลิส
และคณะเป็นตัวจำนำไว้จนกว่าครธราชฑูลไทยที่อยู่ฝรั่งเศสกลับมาถึงอาณาจักรสยาม
และให้ลงนามค้ำประกันว่าจะรับโทษแทนหากนายพล เดสฟาร์จผิดสัญญา
แต่ปรากฏว่านายพลเดสฟาร์ช นั้นไม่ทำตามสัญญา
กลับจับตัวข้าราชการไทยที่ปากน้ำสองคนเป็นตัวประกันแล้วมายึดเมืองภูเก็ตไว้
ทำให้ฝ่ายสยามนั้นโกรธมากจึงจับตัวประกันคือ พ่อค้าฝรั่งเศส บิชอพดอน หลุยส์
และบาทหลวงลาโน ซึ่งเป็นสังฑราชแห่ง เมเดโลโปลิส หัวหน้าพระฝรั่งเศส
มาตบตีและจองจำล่ามโซ่ไว้
นักบวชฝรั่งเศสนิกาเซนต์ดดมินิคชื่อ เปโตร มาร์ตีร์
เลขานุการของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (ฟอลคอน) ถูกล่ามโซ่ ๔ เส้น
ชาวฝรั่งเศสถูกฆ่าตาย ๒๐ คน
พวกครืสต์เตียนในกรุงสรีอยุธยาได้ถูกทำร้าย
ด้วยข้อหาว่าพวกคริสต์เตียนนั้นเข้ามาทำลายศาสนาประจำชาติ ทหารฝั่งเศส ชื่อ
มองชิเออร์ เดอลาช และ เดอโลเน ถูกเฆี่ยน พวกฝรั่งเศสที่ตายแล้ว เช่น
มองชิเออร์ เดอ เบรีช และมองชิเออร์ โมเนน ดอบัว
นั้นถูกระดูกขุดขึ้นมาขว้างทิ้ง
(เข้าใจว่าคนร้ายขุดหาสมบัติที่ฝังอยู่กับศพมากกว่า) หมอฝรั่งเศสชื่อ โมลา
ก็ถูกควบคุมตัวด้วย ทั้งนี้เนื่องจาก นายพลเดล์ฟาร์ช
ไม่ยอมส่งเงินและสำเภาที่ยืมไปนั้นกลับคืนมา
พวกฮอลันดาซึ่งเป็นตัวศัตรูกับฝรั่งเศสนั้นได้เข้าข้างอาราจักรสยาม
ทำหารช่วยสมเด็จพระเพทราชอย่างเข้มแข็ง ดังนั้นในสมัยต่อมาชาวฮอลันดา
จึงเข้ามามีอำนาจในแผ่นดินสยามแทนชาวฝรั่งเศส ซึ่งเคยเป้นคู่แข่งขันกัน
สำหรับคริสต์ศาสนานิกายโปเตสแตนส์นั้นต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์ตอนใต้มีคณะมิชชันนารีอเมริกันเดินทางเข้าเผยแพร่ศาสนา
และนำวิทยาการใหม่ ๆ เช่นการแพทย์ การพิมพ์ การค้าขาย
การศึกษามาวางรากฐานในประเทศไทย ภายหลังคริสต์ศาสนา
ได้มีการนับถือแพร่หลายและมีการสร้างโบสถ์วิหารขึ้น
สรุปสาระความรู้
สรุปแล้วดินแดนสุวรรณภูมินั้นได้รับศาสนาอินดู พราหมณ์ พุทธศาสนา ศาสนาอิสลาม
คริสต์ศาสนา แบะอื่น ๆ มาตั้งแต่โบราณตามเส้นทางการค้าขาย
จนสามารถตั้งสถานสำคัญทางสานาขึ้นในเมืองต่าง ๆ
|