อาณาจักรโบราณในดินแดนสุวรรณภูมิ
อาณาจักรโบราณในดินแดนสุวรรณภูมิ
ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมที่พ่อค้าชาวอินเดีย นักบวช
และนักปราชญ์เดินทางมาติดต่อค้าขายและเข้ามาถิ่นฐาน
ตลอดจนมีการส่งคณะสมณทูตเข้ามาเผยแพร่พุทธศาสนาในดินแดนสุววณภูมินั้น
ได้ทำให้ดินแดนแห่งนี้ได้รับเอาวัฒนธรรมและศาสนาเข้าไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
จนกลายเป็นส่วนสำคัญของอาณาจักรที่อยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิในที่สุด
ดินแดนสุวรรณภูมิหรือแหลมอินโดจีนแห่งนี้
เมื่อมีชนชาติหลายกลุ่มมาตั้งถิ่นฐานอยู่ครั้นเมื่อมีการรวบรวมชนชาติของตนเองขึ้น
จึงได้มีการจัดตั้งชุมชนเมืองและอาณาจักรขึ้นต่อมาได้มีการอพยพเคลื่อนย้ายผู้คนเข้ามายึดครองพื้นที่ต่างๆ
โดยอาศัยลุ่มแม่น้ำสำคัญของแต่ละพื้นที่เป็นหลักในการสร้างบ้านแปงเมืองและดำรงชีวิตอยู่
เช่น ลุ่มแม่น้ำโขง ลุ่มแม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำเว้
เป็นต้น
ต่อมาอาณาจักรที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้มีการติดต่อสัมพันธ์ต่อกันและบางครั้งก็ขยายอาณาเขตเข้าแย่งพื้นที่ซึ่งกันและกัน
ทำให้อาณาจักรบางแห่งได้สูญหายจาการล่มสลายที่เกิดจากสงครามและภัยธรรมชาติ
พร้อมกับเกิดอาณาจักรขึ้นใหม่หลายแห่ง
อาณาจักรโบราณเหล่านั้นจึงมีความสำคัญต่อการเติบโตของกลุ่มคนและมีบทบาทสำคัญทางประวัติศาสตร์โดยเฉพาะการสร้างวัฒนธรรมของตนขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำต่างๆนั้น
เมื่อชุมชนหรือเมืองนั้นได้รับเอาแบบแผนจากอารยธรรมอินเดียแล้ว
ก็เริ่มทำให้ชุมชนหรือเมืองนั้นมีความแตกต่างจากสภาพที่มีอยู่เดิม
โดยมีการแบ่งชนชั้นปกครองกับชนชั้นผู้ถูกปกครองขึ้น
เพื่อการจัดระบบของเมืองเข้าสู่ระบบใหม่
การเปลี่ยนแปลงชุมชนหรือเมืองนั้นจึงขึ้นอยู่กับ ชนชั้นผู้ปกครอง คือ
หัวหน้าชุมชนหรือเจ้าเมือง
ที่เป็นบุคคลกลุ่มแรกที่เข้าใจและเลือกรับเอาวัฒนธรรมอินเดียเข้ามาใช้สร้างประโยชน์ทางการปกครอง
โดยเฉพาะการสร้างระบบกษัตริย์ขึ้น
เพื่อนำทางให้ชุมชนหรือผู้คนในท้องถิ่นได้เห็นอำนาจและบารมีที่จะสร้างสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิมหรือแก้ไขปัญหาของชุมชนให้มีความเจริญเท่าเมืองอื่นๆ
โดยเฉพาะการเอาอย่างคนที่เจริญแล้วหรือผู้นำศาสนานั้นเป็นวิทยาการความรู้ที่นำศาสนาเข้ามาสร้างความเชื่อถือ
เพราะสิ่งที่นำมาพร้อมกับศาสนานั้นเป็นวิทยาการความรู้ที่มากับศาสนาคือ ภาษา
ตัวหนังสือ วรรณคดี ตลอดจนการนำแนวคิดตามความเชื่อจากวรรณคดีและศาสนา
ซึ่งพบว่าจารึกมีอักษรปัลลวะ อยู่ในแผ่นอิฐเผา หรือหิน
อยู่ในบริเวณโบราณสถานที่สร้างขึ้นในสมัยแห่ง
ด้วยเหตุที่ชนชั้นผู้ถูกปกครองนั้นยังคงมีวิถีชีวิตอยู่กับความเชื่อในเรื่องผี
หรือสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติจีงไม่มีโอกาสที่จะรู้หลักธรรมในพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู-พราหมณ์
อย่างแท้จริง
ความรู้ความเข้าใจในศาสนานั้นจึงเป็นสมบัติของชนชั้นผู้ปกครองที่จะใช้สร้างความรู้เพื่อสร้างอำนาจและบารมีที่จะต้องน้อมนำคนพื้นเมืองที่ยังมีความเชื่อถือในเรื่องผีสางนางไม้นั้นได้นับถือศาสนาตามผู้นำไปพร้อมกันด้วย
ดังนั้นการสร้างเรื่องเพื่อดึงคงามความเชื่อนั้นจึงมีเรื่องราวที่สอนกันในครั้งนั้นว่า
องค์พระพุทธเจ้านั้นได้เสด็จมาทรมานนาค และทำการปราบนาคที่อยู่ตามท้องถิ่นต่างๆ
จนทำให้บรรดานาคเหล่านั้นได้พากันยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา
แล้วพากันน้อมรับในการทำหน้าที่ปกป้องพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาสืบต่อมา
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนพื้นเมืองได้พากันเลื่อมใสนับถือและพากันนับถือนาคออกบวชเพื่อเป็นนาคและมีค่านิยมในเรื่องนาค
ซึ่งจะเห็นได้จากการมีประเพณีทำขวัญนาค มาจนทุกวันนี้
การที่คนพื้นเมืองมีความเชื่อเรื่องนี้เนื่องจากชาวอินเดียที่นำศาสนาเผยแพร่นั้นได้เรียก
คนพื้นเมืองนุ่งผ้าเปลือยเปล่า ผิวคล้ำ หากินตามริมแม่น้ำนั้นว่า นาค
(หรือนาคา
เป็นภาษาอารยันที่แปลว่า เปลือยหรือ แก้ผ้า)
ดังนั้นความเป็นคนที่ถูกชาวอินเดียเรียกว่า
พวกนาคจึงมีการสร้างความเชื่อในเรื่องนาคเพื่อสร้างเหตุการณ์ขึ้น
ซึ่งเรื่องนี้ไม่ปรากฏในพุทธบัญญัติและตำนานในอินเดีย
เมื่อเมืองนำระบบกษัตริย์มาสร้างประโยชน์ในการปกครองตามอย่างอินเดีย
จึงทำให้เมืองนั้นเติบโตเป็นเมืองขนาดใหญ่จนสามารถสถาปนาเป็นรัฐหรือแคว้นขึ้น
ดังนั้นหัวหน้าหรือ
เจ้าเมืองของคนชาตินั้นจึงได้สถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์
จึงมีการนำพระนามตามอย่างกษัตริย์ของอินเดียมาใช้สร้างอำอาจบารมี
แม้กระทั่งชื่อของเมืองหรือสถานที่สำคัญก็มีการนำแบบอย่างมาจากอินเดียเช่นเดียวกันด้วย
ทำให้มีความมั่นคงสามารถสร้างอาณาจักรอิสระปกครองตนเองขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้
อาณาจักรโบราณที่ได้รัยอารยธรรมอินเดียโบราณเข้ามาตั้งรัฐหรือแคว้นหรืออาณาจักรในระยะเริ่มแรกนั้น
ได้แก่
|