อาณาจักรมอญ
อาณาจักรมอญ
สมัยพุทธกาล
พุทธศตวรรษที่ ๒๒
อาณาจักรของชนชาติมอญโบราณนั้น
เดิมมีอาณาเขตครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ของอาณาจักรสุวรรณภูมิมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
เมืองสำคัญที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีได้แก่เมือง สะเทิม เมืองแปร
เมืองทาทอง (Thaton)
และเมืองพะโค(Pegu
หรือหงสาวดี)
อาณาจักรมอญโบราณนั้นเดิมมีเมืองใหญ่อยู่ที่ เมืองละโว้หรือลพบุรี
(ก่อน พ.ศ.
๑๖๓๐)และเมืองหริภุญชัยหรือลำพูน
ครั้งหนึ่ง มะกะโท
ชาวมอญได้เข้ามาอยู่ที่เมืองสุโขทัยและพาพระธิดาหนีบกลับไปสร้างอาณาจักรมอญ
กษัตริย์สุโขทัยได้พระราชทานนามว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว สำหรับ
กษัตริย์ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรมอญนั้น คือพระเจ้าราชาธราราช ครองราชย์ที่เมืองพะโค
(เมืองหงสาวดี)
ระหว่าง พ.ศ.
๑๙๒๘
- ๑๙๖๖
พ.ศ.
๒๐๘๓
อาณาจักรมอญได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรพม่า
โดยการโจมตีของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้แห่งราชวงค์ตองอู ต่อมา พ.ศ.
๒๑๔๒
อาณาจักรมอญที่เมืองพะโค ได้เสื่อมโทรมลง
ใน พ.ศ
๒๑๕๘ พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ แห่งอาณาจักรพม่า
ได้มีอำนาจและได้ย้ายเมืองหลวงจากเมืองอังวะ
(Ava) มาตั้งแต่เมืองพะโคแทน
(พม่าจึงเรียก เมืองหงสาวดีแทน)
พม่ามีอำนาจครองเมืองหงสาวดีต่อมาถึงสมัยพระเจ้าบุเรงนอง และพระเจ้านันทบุเรง
จึงเกิดเหตุการณ์ผลัดแผ่นดินทำให้อาณาจักรพม่าต้องย้ายกลับไปตั้งราชธานีที่เมืองอังวะอีกครั้งหนึ่ง
หลังจากนั้นชนชาติมอญในเมืองหงสาวดีได้ทำการต่อสู้เอาเมืองคืน
แต่สู้พม่าไม่ได้จึงพาครอบครัวหนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของกษัตริย์อาณาจักรสยามจำนวนมาก
เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรราชาธิราชนั้นครอบครัวพระยาเกียน
พระยารามและชาวมอญเมืองแครงได้พากันขออยู่ในกรุงศรีอยุธยา
พระองค์โปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณวัดขุนแสน และพระมหาเถรคันฉ่อง
พระเถระที่นับถือของชาวมอญ ได้เป็นพระราชาคณะอยู่ที่วัดพระมหาธาตุ
ใน พ.ศ.
๒๒๙๘
พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่าได้ยกกองทัพเข้าทำลายอาณาจักรมอญได้ทั้งหมด
แล้วย้ายเมืองหลวงไปตั้งที่เมืองย่างกุ้ง(Rangoon)
คำว่า
ร่างกุ้ง
นั้นแปลว่า
สิ้นสุดการแตกแยกกัน
|