อาณาจักรเจนละ
อาณาจักรเจนละ
พุทธศตวรรษที่ ๑๑
๑๒
อาณาจักรเจนละแห่งนี้เป็นอาณาจักรตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอาณาจักหลินยี่หรือจามปา
เดิมนั้นเป็นเมืองที่ขึ้นกับอาณาจักรฟูนัน ต่อมาในราว พ.ศ.
๑๐๙๗ (ค.ศ.๕๕๐
) พระเจ้าภววรมัน
ปฐมกษัตริย์เจนละได้ทำการโค่นอำนาจของพระเจ้ารุทรวรมันกษัตริย์ฟูนน
โดยทำการตีเมืองยาธปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรฟูนันแตก โดยต่อมาพระเจ้าจิตรเสน
ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าภววรมันนั้น
ได้เข้ายึดครองอาณาจักรฟุนันและขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่าพระเจ้ามเหนทรวรมันที่ ๑
ซึ่งได้ทำการขยายอาณาเขตอาณาจักรเจนละออกไปอย้างกว้างขวาง
สามารถครอบครองลุ่มแม่น้ำมูลตอนใต้ และลุ่มแม่น้ำโขง และทำการตั้งเมืองเศรษฐปุระ
เป็นเมืองหลวง อยู่ที่บริเวณเมืองจำปาศักดิ์ในประเทศลาว
ภูเขา
(ภูเขาวัดภู)
จีนเรียกว่า ลิง-เคีย-โป-โป
(ลิงคปารวตะ)
ที่ตั้อยู่ใกล้เมืองเศรษฐปุระราชธานีนั้น
ได้มีการสร้างเทวสถานประดิษฐานศิวลุงขนาดใหญ่ขึ้นบนยอดเขา ถวายแด่องค์ภัทรเรศวร
ซึ่งเป็นชื่อของพระผู้เป็นเจ้าคือ พระสิวะเพราะมีสิวลึงค์ชื่อ ภัทเรสวร
สร้างโดยกษัตริย์แห่งอาณาจักรจามปาในคริสต์ศตวรรษที่๔ตั้งอยู่ที่
ต่อมาพระเจ้าอีศานวรมัน
(พ.ศ.๑๑๕๔๑๑๗๒)
โอรสของพระเจ้าจิตรเสน
ได้ย้ายเมืองหลวงไปตั้งอยู่ที่เมืองอีศานุปุระ
ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองกำปงธม ประมาณ ๓๐ กิโลเมตร
ซึ่งมีโบราณสถานศิลปสมโบร์
ระหว่าง พ.ศ.๑๑๗๐
- ๑๒๕๐นั้นอาณาจักรขอมมีกษัตริย์ครองราชย์คือ
พระเจ้าภววรมันที่ ๒ พระโอรสของพระเจ้าอีศานวรมันที่ ๒ และพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑
โอรสของพระเจ้าภววรมันที่ ๒ เป็นสมัยที่สร้างศิลปะขอมแบบไพรกเมง ขึ้นระหว่าง พ.ศ.๑๑๘๐
๑๒๕๐
สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ นั้น
อาณาจักรเจนละได้เกิดการแบ่งแยกออกเป็น พวกเจนละบก (เจนละบน)
คืออยู่ลุ่มน้ำโขงตอนใต้ และพวกเจนละน้ำ (เจนละล่าง)
อยู่ในดินแดนลาวตอนกลาง ใน พ.ศ.
๑๒๕๐ ๑๓๕๐
สมัยนี้ได้มีการสร้างศิลปะขอมแบบกำพงพระขึ้น
ต่อมาสมัยพระเจ้าสัญชัยพวกเจนละน้ำได้ถูกชวาเข้าตีแตกและมีอำนาจในอาณาจักรแห่งนี้
เมื่ออาณาจักรขอมนั่นล่มสลาย ในราวคริสต์ศตวรรษที่ ๘ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒
ได้เสด็จมาจากชวาและทำการรวบรวมพวกเจนละทั้งสองกลุ่มประกาศอิสรภาพจากอำนาจครองของชวา
และได้สร้างอาณาจักรขอมสมัยเมืองพระนครขึ้น
พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒
หรือพระเจ้าปรเมศวร
(พ.ศ.
๑๓๔๕ ๑๓๙๗)
ได้ทำการรวบรวมพวกเจนละบกและพวกเจนละน้ำเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
โดยรับเอาลัทธิไศเลนทร์หรือเทวราชาเข้ามาทำการสถาปนาอาณาจักรใหม่ขึ้น
โดยทำการสร้างราชธานีขึ้นใหม่หลายแห่งและสร้างปราสาทหินหรือเทวาลัย เป็นการใหญ่
ซึ่งมีเหตุกราณ์ย้ายราชธานีขึ้นหลายครั้ง
จนในที่สุดก็ลงตัวสร้างเป็นนครวัดนครธมขึ้น
ด้วยเหตุนี้อาณาจักรขอมในสมัยนี้จึงมีความชำนาญในการสร้างราชธานีขึ้นหลายแห่งและมีการสร้างปราสาทหินที่เป็นศิลปกรรมขอมขึ้นหลายแบบ
กล่าวคือ ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒
นั้นพระองค์ได้ทำการสร้างเมืองอินทะปุระเป็นราชธานี
ขึ้นที่บริเวณใกล้เมืองกำแพงจามสร้างเมืองหริหราลัยหรือร่อลวย เป็นราชธานี
สร้างเมืองอมเรนทรปุระ
เป็นราชธานีและสร้างเมืองมเหนทรบรรพตหรือพนมกุเลนเป็นราชธานียุคนี้ได้มีการสร้างศิลปะขอมแบบกุเลนขึ้นระหว่าง
พ.ศ0
๑๓๗๐ ๑๔๒๐
เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ พระโอรสได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์
ทรงพระนามว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ ๓ หรือพระเจาชัยวรมันที่ ๓ หรือ พระเจ้าวิษณุโลก
ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.
๑๓๙๓ ๑๕๒๐
สมัยนี้พระองค์ได้กลับมาใช้เมืองหริหราลัยหรือร่อลอย เป็นราชธานีอีกครั้ง
ต่อมาเป็นรัชกาลพระเจ้าอินทรวรมันที่ ๑ หรือ พระเจ้าอิศวรโลก ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.
๑๔๒๐ ๑๔๓๒
ยุคนี้ได้มีการสร้างศิลปะขอมแบบพระโคขึ้นในช่วง พ.ศ.
๑๔๒๐ ๑๔๔๐
ในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ หรือ พระเจ้าบรมศิวโลก พระโอรสของพระเจ้าอินทรมันที่ ๑
นั้นได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์ขอมโบราณ ระหว่าง พ.ศ.
๑๔๓๒ ๑๔๔๓ นั้น
พระองค์ได้สร้างเมืองยโศธรปุระหรือเมืองพระนครแห่งแรกขึ้นที่เขาพนมบาเค็ง เมื่อ พ.ศ.
๑๔๓๖
เมื่อนี้อยู่ทางตอนเหนือทะเลสาปของเมืองเสียมเรียบ ซึ่งคนไทยเรียกว่า เสียมราฐ
การสร้างปราสาทหินบนเขาพนมบาเค็งนั้น
เป็นอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูที่แผ่อิทธิพลเข้ามายังดินแดนแถบนี้โดยสมมติขึ้นเป็นศูนย์กลางของจักรวาลตามความเชื่อนั้นนับเป็นศิลปะขอมแบบบาเค็ง
เมืองยโศธรปุระ
ราชธานีแห่งนี้มีกษัตริย์ครองราชย์ต่อมาก็คือ พระเจ้าหรรษงวรมันที่ ๑
หรือพระเจ้ารุทรโลก พระโอรสของพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ ครองราชยระหว่าง พ.ศ.
๑๔๔๓ ๑๔๕๖ และพระเจ้าอีศานวรมันที่ ๒
หรือพระเจ้าบรมรุทรโลก พระอนุชาของพระเจ้าหรรษวรมันที่ ๑ ครองราชน์ระหว่าง พ.ศ.
๑๔๕๖ ๑๔๖๘
จึงได้เกิดเหตุกราณ์เปลี่ยนแผ่นดิน
ในที่สุดพระเจ้าชัยวรมันที่ ๔ หรือพระเจ้าบรมศิวบท
ซึ่งเป็นน้องเขยของพระเจ้ายโศวรมันที่
๑ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ของอาณาจักรขอมในระหว่าง พ.ศ.
๑๔๗๑ ๑๔๘๕
พระองค์ได้สร้างราชธานีขึ้นที่เมืองโฉกการยกยาร์หรือเกาะแกร์ และเมื่อสิ้นรัชกาล
พระเจ้ากรรษวรมันที่ ๒ หรือพระเจ้าพรหมโลก พระโอรสขององศ์ได้ครองราชย์ต่อมาระหว่าง
พ.ศ ๑๔๘๕ ๑๔๘๗
ยุคนี้ได้สร้างศิลปะขอมแบบเกาะแกร์ขึ้นระหว่าง พ.ศ.
๑๔๖๙ ๑๔๙๐
ต่อมาพระเจ้าราเชนทรวรมัน หรือพระเจ้าศิวโลก พระนัดดาของพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑
ได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์ระหว่าง
.ศ. ๑๔๘๗
๑๕๑๑ ยุคนี้ได้มีการย้ายราชธานีมาที่เมืองยโศธรปุระ
หรือเมืองพระนครแห่งแรก และได้มีการสร้างศิลปขอมแบบแปรรูปขึ้นระหว่าง พ.ศ ๑๕๙๐ -
๕๑๐ เมืองยโศธรปุระ ราชธานีเก่าแก่แห่งนี้
ได้มีกษัตริย์ครองราชย์ต่อมาหลายพระองค์ได้แก่
·
พระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ หรือพระบรมวีรโลก
ซึ่งเป็นพระนัดดาของพระเจ้าราเชนทรวรมันครองราชย์ พ.ศ. ๑๕๑๑ - ๑๕๔๔
สมัยนี้สร้างศิลปขอมแบบบันท้ายศรี พ.ศ ๑๕๑๐ - ๑๕๕๐ ขึ้น
·
พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ท ๑ พระนัดดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ ครองราชย์ พ.ศ. ๑๕๔๔
ส้ร้างศิลปขอมแบบคลังขึ้น พ.ศ. ๑๕๑๐ - ๑๕๖๐
·
พระเจ้าชัยวีรวรมัน ครองราชย์ พ.ศ. ๑๕๔๕ (สวรรคต พ.ศ. ๑๕๕๓)
·
พระเจ้าชัยสุริยวรมันที่ 1 ครองราชย์ พ.ศ. ๑๕๔๕ - ๑๕๙๓
เดิมนั้นพระองค์ทรงประทับอยู่ที่เขาพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงเร็ก
ครั้นเมื่อได้ชิงอำนาจจากพระเจ้าชัยวีรวรมันชนะแล้วได้เสด็จมาครองราชย์ที่เมืองพระนคร
พ.ศ. ๑๕๕๓ พระองค์ได้ทำการสถาปนาราชวงศ์ขึ้นใหม่
และสร้างพระราชวังหลวงที่เมืองพระนครและปราสาทพิมานอากาศ ปราสาทเกลียง
เป็นยุคที่มีการสร้างศิลปแบบปาปวนขึ้นในระหว่าง พ.ศ. ๑๕๖๐ - ๑๖๓๐
นอกจากอาณาจักรขอมจะเคยมีอำนาจครอบครองดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาก่อนแล้วโดยมีการตั้งละโว้ปุระหรือเมืองละโว้เป็นราชธานีของอาณาจักรขอมเมืองลพบุรีโดยมีเจ้าผู้ครองนครที่รับอำนาจจากอาณาจักรขอมมาปกครองดูแลแทน
ต่อมาภายหลังจึงมีการขยายอำนาจไปยังดินแดนพายัพของประเทศไทย
กล่าวคือหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดนั้นเดิมเป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติอ้ายลาวมาก่อน
ครั้นเมื่อพวกขอมมีอำนาจและขยายอาณาจักรเข้ามาครอบครองแดนพายัพ
เจ้าผู้ครองเมืองละโว้จึงได้ส่งพระนางจามเทวีพระธิดาขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัย
(เมืองลำพูน) ซึ่งต่อมาเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรขอมเมืองละโว้
พระธิดาเจ้าผู้ครองเมืองละโว้ผู้นี้ไปปกครองพวกลาวทั้งปวงในมณฑลพายัพ
ส่วนเมืองหริภุญชัย (เมืองลำพูน)จึงมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรขอมเมืองละโว้
ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ดูแลบรรดาเมืองต่างๆ ในดินแดนพายัพ ต่อมาได้ตั้งเมืองนครเขลางค์
(เมืองลำปาง)ขึ้นอีกเมืองหนึ่งและให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือร่วมกัน
|