ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  ความสัมพันธ์ของขอมและเจนละ

 

 

 

 

            ความสัมพันธ์ของขอมและเจนละ (พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๙)

 

                อาณาจักรเจนละ หรือเจิ้นละ อยู่ท่างตะวันตกเฉียงใต้ ของอาณาจักรหลินยี่ (จามปา) ปัจจุบันนี้คือประเทศกัมพูชาและดินแดนภาคอีสานตอนใต้ของประเทศไทย แถบลุ่มแม่น้ำมูลซึ่งเป็นพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ เดิมนั้นอาณาจักรเจนละเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรฟูนัน ต่อมาได้มีพวกเจนละกำลังกล้าแข็งขึ้นจึงประกาศอิสรภาพในพุทธศตวรรษที่ ๑๑

               

เจ้าชายจิตรเสน แห่งอาณาจักรเจนละ (ต่อมาครองราชย์เป็นพระเจ้ามเหนทรวรมัน)ได้ยกทัพไปรุกรานอาณาจักรฟูนัน แถบฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูล ในระหว่าง พ.ศ. ๑๑๑๐-๑๑๕๐ ในสมัยนั้นพระโอรสของพระองค์คือ พระเจ้าอิศนวรมัน ได้ทำการปราบปรามและครอบครองดินแดนของอาณาจักรฟูนันได้ทั้งหมด ทรงตั้งเมืองอิศานปุระ ขึ้นทางเหนือของเมืองกัมปงธมโดยมีปราสาทสัมโบร์ไพรกุกเป็นสัญลักษณ์

               

ชนชาติเจนละ เป็นต้นตระกูลของเขมรโบราณหรือขอม พลเมืองของอาณาจักรเจนละประกอบด้วยชนเผ่าขอมในเขมร และขอมที่อพยพมาตามลำแม่น้ำโขง กับพวกจามจากเมืองจำปาศักดิ์ ชนชาตินี้ได้รับวัฒนธรรมสืบมาจากอาณาจักรฟูนัน เช่น การสร้างวัดบนภูเขาการใช้น้ำเพื่อการเกษตร และลัทธิที่นับถือกษัตริย์นั้นเป็นผู้แทนอารยธรรมจากอินเดีย

               

อาณาจักรเจนละ ตั้งศูนย์กลางอยู่ตอนเหนือของทะเลสาบเขมร มีเมืองหลวงอยู่ใกล้เมืองกำปงธมในปัจจุบัน ชนชาติเจนละแบ่งออกเป็นสองพวกคือ

               

พวกเจนละบก อยู่ในที่สูง อยู่บริเวณดินแดนลาวตอนใต้ เช่น เมืองโคตรบอง เมืองเศรษฐปุระ (บริเวณปราสาทวัดภู แขวงจำปาสัก ) เมืองสุวรรณเขต แขวงท่าแขก ประเทศลาว

               

ส่วนพวกเจนละน้ำ อยู่บริเวณทะเลสาบเขมรประกอบด้วย เมืองสวายเรียง เมืองกระเตี้ยและเมืองเสียราฐ เมืองศรีมโหสถ (อยู่ในอำเภอโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี)

 

                ในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ -๑๗ อาณาจักรขอมมีอิทธิพลแผ่ขยายไปทั่วแหลมทองหรือดินแดนสุวรรษภูมิ จึงมีการสร้างปราสาทหินขึ้นตามยุคสมัยไว้หลายแห่ง เช่น

 

·        ปราสาทภูมิโปน ที่ บ้านปูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ (สมัยสัมโบร์ไพรกุก อาณาจักรเจนละ พุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๒)

·        ปราสาทสังข์ศิลปะชัย ที่ ต.บ้านจารย์ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

·        ปราสาทเขาน้อยตำบลคลองน้าใส อำเภออรัญญปรเทศ จังหวัดสระแก้ว (สมัยไพรกะเม็ง อาณาจักรเจนละ พุทธศตวรรษที่ ๑๒ -๑๓)

·        ปราสาทเขาพระวิหาร ใกล้จังหวัดศรีสะเกษ (พุทธศตวรรษที่ ๑๕ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑)

·        ปราสาทเมืองต่ำที่จังหวัดบุรีรัมย์ (พุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖)

·        ปราสาทหินพิมาย ที่จังหวัดนครราชสีมา (ศิลปะปาปวน พุทธศตวรรษที่ ๑ สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒)

·        ปราสาทพนมรุ้งที่จังหวัดบุรีรัมย์ (พุทธศตวรรษที่ ๑๗ สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒)

·        ปราสาทเมืองสิงห์ ที่กาญจนบุรี (พุทธศตวรรษที่ ๑๘)

 

นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานนั้นที่ปรางค์สามยอด ที่ลพบุรี เมืองศรีเทพที่เพชรบูร์และเมืองศรีวัตสะ

ปุระ ที่อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรีอีกด้วยอาณาจักรขอมที่เคยยิ่งใหญ่นั้นต่อมาได้เสื่อมอำนาจลงในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ โดยชนชาติไทย ซึ่งมีผู้นำคนสำคัญ คือขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง และขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ได้ทำการร่วมกันยึดอำนาจจากขอมที่เมืองสุดขทัย และทำการปกครองดินแดนบางส่วนของขอมไว้ในที่สุด

สำหรับเหตุการณ์สำคัญของอาณาจักรขอมนั้นมี ดังนี้

               

พ.ศ. ๑๓๕๕ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ (พ.ศ. ๑๓๔๕ – ๑๓๙๓) ทรงรวบรวมดินแดนที่เคยเป็นเจนบกและเจนน้ำ สถาปนาอาณาจักรเจนละเป็นอิสรภาพจากราชวงค์ไศเลนทร์ในชวา

               

พ.ศ. ๑๔๓๒ พระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ (พ.ศ. ๑๔๓๒ – ๑๔๔๓ ) ทรงสร้างเมืองยโสธรปุระเป็นเมืองหลวง ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนครธมหรือพระนครหลวงหรือพระนคร

               

พ.ศ ๑๕๑๖ ได้มีการบูรณะปราสาทตาเหมือนธม ที่อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งสร้างมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒

               

พ.ศ. ๑๕๘๒ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (พ.ศ.๑๕๔๕ – ๑๕๙๓ )แห่งราชวงศ์มหิรปุระ ทรงอุปถัมภ์พุทธศาสนา ทรงขยายอำนาจมายังดินแดนลุ่มแม่น้ำพระยาโดยยึดครองดินแดนอาณาจักรทวารวดีไว้ราว พ.ศ.๑๕๘๕ ทรงสร้างปราสาทเขาพระวิหารขึ้นบนภูเขาห่างจากนครหลวงเกือบ ๓๐๐ กิโลเมตร (ปัจจุบันเขาพระวิหารนี้อยู่ในเขตกัมพูชา ใกล้อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ)

               

พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ทรงสร้างปราสาทหินสระกำแพงใหญ่ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอำเภออุทุมพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ หลังจากที่พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ สวรรคตลง อาณาจักรขอมโบราณก็อ่อนแอลง พระเจ้าอนิรุท กษัตริย์ของพวกมอญจากพุกาม ได้แผ่อำนาจมาครอบครองดินแดนอีสานปุระไปถึงคอคอดกระ

 

                พ.ศ . ๑๖๒๓ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ทรงสร้างปราสาทนครวัด และสามารถเอาชนะอาณาจักรจามปา แล้วขยายอิทธิพลมาทา

ดินแดนอิสานปุระ(ปัจจุบันคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย)

               

พ.ศ.๑๖๕๑ มีการรสร้างปราสาทหินพิมาย เป็นวัดในพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ศิลปะแบบปาปวน คล้ายกับที่ปราสาทหินนครวัด มีการสลักหินแบบพุทธศาสนานิกายมหายานไว้ด้วย นับเป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่โตมาก

               

พ.ศ. ๑๖๕๕ สมัยพระเจ้ายะโสวรมันที่ ๒ นั้นได้ มีการขยายอาณาเขตไปทางตะวันตกถึงดินแดนอาณาจักรมอญทวาราวดี ดินแดนสุวรรณภูมิในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และทำการต่อสู้รุกรานพวกจามที่เป็นเพื่อนบ้าน

               

พ.ศ.๑๗๒๐ อาณาจักรเขมรอ่อนแอลง จึงทำให้พวกจามปาเข้ายึดทำลายเมืองหลวงยโศธรของอาณาจักรขอมได้ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ พระเจ้าวรมันที่ ๗ ได้ยกกำลังเข้าสู้รบจนมีชัยชนะพวกจาม และสู้รบกับพวกดายเวียด นับเป็นสมัยที่อาณาจักรเขมรได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กลับคืนมา พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้างเมืองพระนคร(นครธม) และปราสาทบายนขึ้นแทนเมืองยโศธรที่ถูกพวกจามปาทำลาย

               

พ.ศ. ๑๗๓๔ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ กษัตริย์องค์สุดท้ายของเมืองพระนคร ทรงสร้างปราสาทพระขรรค์ขึ้นตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระนครหลวง พระองค์ให้สร้างศิลาจารึกสำคัญไว้ที่ปราสาทนี้ด้วย คือ จารึกปราสาทพระขรรค์ มีข้อความกล่าวถึง พระพุทธรูปชัยพุทธมหานาถจำนวน ๒๓ องค์ ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้างแล้วส่งพระราชทานไปประดิษฐานตามเมืองต่างๆ เช่น

นครชัยศรี (ศรีวิทยาปุระ) ลพบุรี (ลโวทยะปุระ) สุพรรณบุรี (สุวรรณปุระ) ราชบุรี (ชัยราชปุระ) เพชรบุรี (ศรีชัยวัชรปุระ) และเมืองสิงห์ เป็นต้น

               

จารึกปราสาทพระขรรค์แห่งนี้ ระบุถึง ที่พักคนเดินทาง (ผู้จาริกแสวงบุญ) ๑๒๑ แห่ง ตั้งอยู่ห่างกันประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ตามเส้นทางเดินที่มีอยู่ในอาณาจักรขอม (คล้ายที่พักม้าใช้ส่งหนังสือของจีน) ๕๗ แห่ง คืออยู่บนถนนจากเมืองพระนครหลวงไปราชธานีของราชอาณาจักรจามปา ๑๗ แห่ง อยู่บนถนนจากยโสธรปุระไปปราสาทหินพิมาย(ค้นพบแล้ว ๘ แห่ง) และอีก ๔๕ แห่งบนเส้นทางเดินไปตามเมืองต่างๆ บางแห่งยังหาไม่พบว่าอยู่ที่แห่งใด (เช่นปราสาทตาเมือน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์)

               

จารึกปราสาทพระขรรค์ ได้กล่าวไว้ว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ นั้นทรงให้สร้างสถานพยาบาล ๑๐๒ แห่ง (อโรคยาศาล) ทั่วราชอาณาจักรขอม(ในปัจจุบันมีการค้นพบอโรคยาบาลศาลดังกล่าวแล้วราว ๓๐ แห่ง) สถานพยาบาลดังกล่าวนั้น อยู่ใต้ความดูแลของ พระไภษัชคุรุไพฑรูย์ประภา สำหรับอโรคยาศาลที่ค้นพบในประเทศไทยได้แก่ ปรางค์กู่ที่ จังหวัดชัยภูมิ ปราสาทเมืองเก่าที่ ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนคราชสีมา ปรางครบุรี อยู่ที่อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา และปราสาทตาเมือนตู๊จ ที่อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

               

เมื่อครั้งขอมมีอำนาจในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานั้นได้มีการสร้างเมืองพระประแดง เพื่อเป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลอยู่ที่ปากน้ำเจ้าพระยา เชื่อว่ามีอายุเป็นพันปี (มีข้อสันนิษฐานว่าพระประแดง นี้มาจากภาษาขอมว่า “บาแดง” แปลว่า คนนำข่าว ทูต หรือ คนเดินหมาย)

 

                เรื่องนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่า เมืองพระประแดงที่ขอมสร้างขึ้นนั้นตั้งอยู่บริเวณตำบลราษฏร์บูรณะกรุงเทพฯ มิใช่ตรงบริเวณปากลัดในปัจจุบันนี้เพราะสมัยนั้นปากน้ำเจ้าพระยา อยู่แค่ตัวเมืองพระประแดงที่ขอมสร้างเท่านั้น ต่อมาแผ่นดินได้ต่อออกไปจนถึงบริเวณแหลมฟ้าผ่า เมืองสมุทรปราการ จึงทำให้เมืองพระประแดงที่สร้างในสมัยขอมนั้นหมดความสำคัญลงไปและมีการย้ายที่ตั้งไปอยู่เมืองนครเขื่อนขันธ์(คืออำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการในปัจจุบัน)

               

ในสมัยอยุธยานั้นสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงโปรดให้สร้างเมืองสมุทรปราการเป็นเมืองหน้าด่าน แทนเมืองนครเขื่อนขันธ์ ต่อเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งที่ ๒ เมืองพระประแดงนั้นคงกลายเป็นเมืองร้างไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ภายหลังจึงมีการบูรณะขึ้นใหม่เป็นเมืองนครเขื่อนขันธ์ เพื่อให้พวกมอญไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เพื่อใช้เป็นด่านป้องกันข้าศึกทางทะเล

               

ภายหลังรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๑๙ นั้น พระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ได้ถูกอิทธิพลของศาสนาฮินดูเข้ามาแทนที่ ครั้นถึงสมัยพระเจ้าอินทรวรมันที่ ๒ อาณาจักรขอมจึงเริ่มเสื่อมอำนาจทางด้านวัฒนธรรมและกำลังทหารลง ทำให้ชนชาติไทยได้เข้ายึดเมืองสุโขทัยจากสบาดโขลญลำพง แล้วตั้งตัวเป็นแคว้นอิสระ

               

สมัยอยุธยาแผ่นดินพระเจ้าอู่ทอง เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๖ นั้น ขุนหลวงพะงั่วได้นำกองทัพของกรุงศรีอยุธยานำไปโจมตีอาณาจักรขอม และยึดอำนาจไว้เป็นเมืองขึ้นต่อมาปี พ.ศ. ๑๙๓๖ พวกเขมรได้พากันเข็งเมืองจนสมเด็จพระราเมศวร กษัตริย์กรุงศรีอยุธยา องศ์ต่อมานั้นต้องส่งกองทัพไปยึดเมืองพระนครหลวง (อังกอร์ธม) ของอาณาจักรขอมได้

               

จนถึง พ.ศ. ๑๙๗๔ อาณาจักรขอมเกิดแข็งเมืองอีก สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ (เจ้าสามพระยา) ยกทัพไปตีเมืองพระนครหลวงของอาณาจักรขอมได้ เมืองพระนครหลวงของขอมถูกทำลายเสีย จนต้องย้ายเมืองหลวงจากเมืองพระนครหลวงแห่งนี้ไปตั้งอยู่ที่เมืองจตุรพักตร์(ที่ตั้งของกรุงพนมเปญ ปัจจุบัน) และต่อมาได้ย้ายไปตั้งที่ เมืองละแวก (อาณาจักรเขมร)

               

สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระยาละแวก กษัตริย์แห่งอาณาจักรเขมร ซึ่งชอบถือโอกาสที่จะลอบยกทัพมาโจมตีหัวเมืองของกรุงศรีอยุธยาในขณะไทยที่มีศึกกับพม่า ดังนั้นสมเด็จพระนเรศวรจึงให้ยกทัพไปตีเมืองละแวกของเขมรได้สำเร็จ

               

ต่อมาสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง อาณาจักรเขมรได้เปลี่ยนประเทศเป็นประเทศกัมพูชานั้นตกอยู่ใต้อำนาจของฝรั่งเศส และเกิดสงครามระหว่างเขมรแดงนิยมคอมมิวนิสต์กับเขมรนิยมอเมริกัน สหรัฐอเมริกาได้ส่งทหารมาสู้รบและเครื่องบินมาทิ้งระเบิดทำให้คนตายไปมากครั้นเมื่อสหรัฐอเมริกาถอนกำลังออกจากกัมพูชา พวกเขมรแดงที่ได้รับการสนับสนุนจากจีนและรัสเซียภายใต้การนำของนายพอลพต จึงมีอำนาจครอบแผ่นดินและเกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ฝ่ายตรงข้ามทำให้คนตยเป็นจำนวนมากมาย ต่อมาผู้นำในกัมพูชานั้นเกิดการแตกแยกรบพุ่งกันระหว่างเขมรสามฝ่ายต่อมาอีกหลายสิบปี ทำให้มีการทำลายคนเขมรมากมายในที่สุดภายหลังนั้นได้มีการฟื้นฟูบ้านเมืองกลับมาเป็น ประเทศกัมพูชา (เขมร) ประชาธิปไตย

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม ความสัมพันธ์ของขอมและเจนละ

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์