อาณาจักรทวาราวดี
อาณาจักรทวาราวดี
พุทธศตวรรษที่ ๑๑
๑๖
อาณาจักรทวาราวดีนั้นถือว่าเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
บริเวณตอนกลางของประเทศไทย เมื่อ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้วนั้น
ได้มีชุมชนโบราณของมนุษย์อาศัยอยู่บริเวณนี้มาก่อน
ตั้งแต่ภาคกลางตอนล่างด้านตะวันตก ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแควน้อย แควใหญ่
ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ลุ่มแม่น้ำท่าจีน ไปจีนถึงภาตกลางตอนบนด้านเหนือ
ซึ่งเป็นพื้นทีราบขนาดใหญ่ที่มีบริเวณปากน้ำโพ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำมะขามเฒ่า
แม่น้ำลพบุรีนั้น
สมัยโบราณนั้นได้พบว่าเป็นบริเวณดังกล่าวนั้นได้เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณทั้งของอาณาจักรทวาราวดี
และอาณาจักรสุวรณภูมิมาก่อน กล่าวคือ
ได้พบว่ามีเมืองโบราณยุคอาณาจักรทวาราวดีนั้นตั้งอยู่ในพื้นที่หลายแห่งทั่วไป เช่น
จังหวัดนครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี ชัยนาท นครสวรรค์และลพบุรี
เป็นต้น
บริเวณด้านตะวันออกแถบลุ่มแม่น้ำบางปะกงนั้น
ได้พบร่องรอยว่ามีการตั้งชุมชนโบราณมาก่อนในสังคมเกษตรกรรม
สมัยก่อนประวัติศาสตร์เมื่อ ๓,๐๐๐
๒๐๐๐ ปีมาแล้ว
มนุษย์ในยุคโลหะนั้นได้ขยายตัวไปยังพื้นที่ภาคกลางตอนล่างที่มีแม่น้ำเจ้าพระยากว้างใหญ่
เป็นบริเวณดินแดนสามเหลี่ยมที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการเพาะปลูก
โดยเฉพาะการทำนาข้าวที่ต้องอาศัยน้ำจากแม่น้ำขึ้นมาเลี้ยงต้นข้าวให้เติบโต
ดังนั้นบริเวณตั้งแต่ปากน้ำโพลงมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา
จนถึงปากน้ำที่ออกไปยังทะเลอ่าวไทยนั้น
พื้นดินดังกล่าวจึงเป็นดินตะกอนอันเกิดจากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำบางปะกง ด้วยเหตุนี้ในฤดูน้ำหลาก
จึงมีน้ำหลากไหลท่วมพื้นดินทำให้มีตะกอนดินและน้ำทั่วถึงนาข้าว
ถือว่าเป็นแหล่งเกษตรสมบูรณ์ที่สามารถทำนาปลูกข้าว
ในผลผลิตที่มีข้าวออกรวงเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่ง
นอกจากนี้
ในพื้นดินบางแห่งโดยเฉพาะบริเวณอำเภอโคกสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรีนั้น
พบว่ามีแหล่งแร่ทองแดงและแร่เหล็กอยู่จำนวนมาก
และมีจำนวนมากพอที่จะนำมาถลุงทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับสำริด
เป็นสินค้าส่งออก
ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรแผ่นดินจากการเป็นแหล่งเพาะปลูกกว้างใหญ่ไพศาลและมีแหล่งน้ำสมบูรณ์
ตลอดจนได้มีสินแร่ที่สามารถเอื้อประโยชน์ด้านโลหกรรมนั้น
ได้ทำให้ชนชาติที่มีเชื้อสายมองโกลลอยด์ ได้พากันมาอาศัยอยู่ในบริเวณนี้
และอยู่กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ
ทั้งด้านฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา จนมีจำนวนประชากรหนาแน่นขึ้น
กลุ่มคนที่อาศัยอยู่พื้นที่ด้านตะวันออกนั้นได้พากันตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกงและบริเวณลุ่มแม่น้ำลพบุรีและแม่น้ำป่าสัก
ชุมชนที่อาศัยอยู่พื้นที่ด้านตะวันตกนั้นได้พากันตั้งถิ่นฐานออยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำกลองและแม่น้ำท่าจีน
อาชีพหลักของชุมชนโบราณเหล่านี้คือ
การทำนาปลูกข้าวที่ต้องอาศัยการท่วมของน้ำในแม่น้ำ
และนอกจากนี้ชุมชนแถบลุ่มแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำลพบุรีนั้น
ได้มีการถลุงเหล็กและทองแดง ส่งเป็นสินค้าแร่ไปค้าขายแลกเปลี่ยนด้วย
ชุนชนแถบแม่น้ำบางปะกงและแม่น้ำท่าจีนก็มีความสามารถจับปลาหาหอยจากแม่น้ำและชายทะเลโดยนำเปลือกหอยทะเลมาทำเครื่องมือ
เครื่องใช้ และเครื่องประดับเป็นสินค้าด้วยพบว่ามีการนำเปลือกหอยทำกำไล
ทำแผ่นวงกลมเจาะรูแขวนหน้าอก และทำลูกปัดหอย
ชุมชนที่อยู่ตามลุ่มแม่น้ำเหล้านี้ เมื่อ ๓,๐๐๐
ปีมาแล้วนั้นได้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้ากันทั้งเส้นทางบกและเส้นทางน้ำเส้นทางที่ใช้เดินทางน้ำนั้นนอกจากล่องเรือไปตามลำแม่น้ำแล้วยังนิยมเดินเรือเลียบไปตามชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเฉียงใต้
ต่อมาเมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้วหรือ ๕๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชนั้น
ชุมชนบริเวณตอนกลางหรือที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานั้นได้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้ากันกับชุมชนที่เดร่วมสมัยในพื้นที่แถบเวียดนามและจีนตอนใต้
พร้อมกันกับได้มีการติดต่อกับอินเดีย และกลุ่มประเทศเมดิเตอร์เรเนียบและเปอร์เซีย
ที่เดินทางเข้ามาค้าขายบริเวณนี้เช่นกัน
พุทธศตวรรษที่ ๓ หรือ
๓๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะตอนปลายนั้น
ได้ปรากฏว่าบริเวณครอบคลุมไปถึงบริเวณใกล้เคียง คือ
อำเภอไทรโยคและอำเภอพนมทวนด้วยพบว่ามีแหล่งโบราณคดีริมแควน้อย
แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร
โดยมีนักโบราณคดีได้สำรวจวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์จากวัฒนธรรมอินเดียทางมาอยู่ในบริเวณดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้พื้นที่ในจังหวัดลพบุรียังได้เป็นศูนย์กลางสินค้าจากวัฒนธรรมอินเดียอีกแห่งหนึ่ง
คือพบแหล่งโบราณคดีที่ศูนย์การทหานปืนใหญ่
ซึ่งพบโบราณวัตถุเช่นเดียวกันกับที่พบในดอนตาเพชร
ด้วยเหตุนี้ในบริเวณภาคลางตอนล่างนั้น
พ่อค้าชาวอินเดียและกลุ่มเมดิเตอร์เรเนียนและเปอร์เซียน่าจะได้เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายด้วย
โดยการเดินเรือขึ้นมายังบริเวณดังกล่าว ที่เชื่อกันว่าบริเวณนี้
เคยเป็นบริเวณปากน้ำที่เรือในสมัยโบราณสามารถขึ้นไปค้าขายจนถึงบริเวณปากน้ำโพ
(จังหวัวนครสวรรค์)
พุทธศตวรรษที่ ๕
๙ นั้นเป็นช่วงที่สินค้าของชาวอินเดีย สมัยอินโด- โรมัน (อินเดียทำเลียนแบบโรมัน)
ได้นำเข้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนในบริเวณศูนย์กลางการค้าดังกล่าวมากขึ้นและได้กระจายไปตามแหล่งชุมชนที่อยู่ภาคกลางตอนล่าง
ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำท่าจีน คือ พบว่ามีแหล่งโบราณคดีที่พงตึก
เมืองโบราณอู่ทอง เมืองนครปฐมโบราณ(นครชัยศรี)
และบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักแม่น้ำลพบุรีก็มี เมืองโบราณที่บ้านจันเจน
แหล่งโบราณคดีเนิมมะกอก แหล่งโบราณคดีท่าแค และบริเวณลุ่มแม่น้ำบางประกง คือ
แหล่งโบราณคดีโคกระกา เมืองศรีมโหสถ เป็นต้น
ชาวอินเดียที่เดินทางมาติดต่อกับชุมชนโบราณในอาณาจักนทวาราวดีนั้น
มีทั้งพ่อค้าและนักบวช ที่มาจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ
เดินทางติดตามมาพร้อมกับเรือสินต้าของพ่อค้าหรือตามพ่อค้าเดินทางเข้ามานั้น
ได้เข้ามาตั้งฐานบ้านเรือนอยู่ในเมืองต่างๆ โดยนำเอาความเชื่อในศาสนา
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เคยปฏิบัติอยู่มาดำรงชีวิตและเผยแพร่วัฒนธรรมนั้นจนเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของชนพื้นเมือง
ต่อมาอาณาจักรทวาราวดีได้นำเอาพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมของอินเดียโบราณไปเสริมความเจริญของบ้านเมืองจนมีความนิยมแพร่หลาย
ในสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๑
ดินแดนอาณาจักรสุวรรณภูมินั้นได้ถูกครอบครองโดยแคว้นอิศานุปุระของอาณาจักรฟูนันสลายตัวลงในพุทธศตวรรษที่
๑๑ นั้น ได้มีชนชาติอีกพวกหนึ่งแตกต่างกับชาวเจนละ ในด้านศาสนาและศิลปกรรม
ได้มีอิทธิพลเข้าครอบครองดินแดนทางตะวันตกของอาณาจักรเจนละ ตั้งแต่เมืองเพชรบุรี
เมืองราชบุรีขึ้นไปทางเหนือจนถึงเมืองลำพูนได้
จดหมายเหตุของภิกษุจีนชื่อเหี้ยนจั๋งหรือพระถังซัมจั๋ง (Hieun
Tsing) ซึ่งเดินทางจากเมืองจีนไปประเทศอินเดียทางบก ราว พ.ศ. ๑๑๗๒
๑๑๘๘ และภิกษูจีน อี้จิง (I Sing)
ได้เดินทางอินเดียไปทางทะเลในช่วงเวลาต่อมานั้น
ได้เรียกอาณาจักรใหญ่แห่งนี้ตามสำเนียงชนพื้นเมืองในอินเดียว่า โลโปตี้
หรือจุยล่อพัดดี้ (ทราวาวดี) เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ระหว่างเมืองศรีเกษตร
(อยู่ในพม่า) ไปทางตะวันออกกับเมืองอิศานปุระ (อยู่ในเขมร)
ปัจจุบันก็คือส่วนที่เป็นดินแดนภาคกลางของประเทศไทย
พงศาวดารจีนสมัยราชวงค์ฮั่น ได้กล่าวถึงดินแดนแห่งนี้ไว้ว่า
สามารถเดินเรือจากเมืองกวาวตุ้งถึงอาณาจักรทวาราวดีได้ในเวลา
๕ เดือน
หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในสมัยพุทธศคตวรรษที่ ๑๑
๑๓
คือเหรียญเงินเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๙ ม.ม พบที่นครปฐม และอู่ทองนั้น
พบว่ามีอักษรจารึกไว้ว่า ศรีทวาราวดีศวร
และ มีรูปหม้อน้ำกลศอยู่อีกด้านหนึ่ง จึงทำให้เชื่อได้ว่า
ชนชาติมอญโบราณนั้นได้ตั้งอาณาจักรทวาราวดีสำคัญหลายแห่งได้แก่
เมืองนครชัยศรี
(นครปฐมโบราณ น่าจะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรในลุ่มแม่น้ำท่าจีน) เมืองอู่ทอง
(จังหวัดสุพรรณบุรีในลุ่มแม่น้ำท่าจีน) เมืองพงตึก (จังหวัดกาญจนบุรี
ในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง) เมืองละโว้ (จังหวัดลพบุรีในลุ่มลพบุรี) เมืองคูบัว
(จังหวัดราชบุรีในลุ่มแม่น้ำปแม่กลอง) เมืองอู่ตะเภา อ.มโนรมย์ จังหวัดชัยนาท
ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา) เมืองบ้านด้าย (ต.หนองเดต่า อ.เมือง
จ.อุทัยธานีในแควตากแดด) เมืองซับจำปา จังหวีดชัยนาทในลุ่มแม่น้ำป่าสัก)
เมืองขีดขิน (อยู่ในจังหวัดสระบุรี) และบ้านคูเมือง (ที่อำเภออินทรบุรี
จังหวัดสิงห์บุรี)
นอกจากนี้ยังพบว่ามีเมืองโบราณสมัยอาณาจักรทวาราวดีอีกหลายแห่ง เช่น ที่บ้าน
หนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี รวมทั้งหมู่บ้านในเขตอำเภอบ้านหมี่
และโคกสำโรงจังหวัดลพบุรี เป็นต้น
|