สรุปแล้วชุมชนเมืองในอาณาจักรทวรา
สรุปแล้วชุมชนเมืองในอาณาจักรทวราวดีนั้น
มีการตั้งบ้านเมืองอยู่ในทุกภาคของดินแดนสุวรรณภูมิ เช่น
ชุมชนเมืองสมัยทวาราวดีในภาคเหนือนั้น มีเมืองจันเสน(อยู่ที่ตำบลจันเสน อำเภอตาคลี
จังหวัดนครสวรรค์ ลุ่มแม่น้ำลพบุรี) เมืองบึงโคกช้าง (อยู่ในตำบลไผ่เขียว
อำเภอสว่างอารมณ์จังหวัดอุทัยธานีในแควตากแดด ลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง)เมืองศรีเทพ
(ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ลุ่มแม่น้ำป่าสัก) เมืองหริภุญชัย
(ที่จังหวัดลำพูนในลุ่มแม่น้ำปิง) และเมืองบน (อยู่ที่ อำเภอพยุหคิรี
จังหวัดนครสวรรค์ ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา)
ชุมชนเมืองสมัยทวาราวดีที่ในภาคตะวันออก มีเมืองโบราณสมัยทวาราวดี
อายุราวพุทธศตวรรษที ๑๑
๑๘ อยู่ที่เมืองพระรถ (อยู่ตำบลหน้าพระธาตุ
อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ซึ่งพบถ้วยเปอร์เซียสีฟ้า)
มีถนนโบราณติดต่อกับเมืองศรีพะโล ซึ่งเป็นเมืองท่าสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๕
๒๑ (อยู่ตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมืองชลบุรี ลุ่มแม่น้ำบางปะกง)
ซึ่งพบถ้วยจีนและญี่ปุ่นจากเตาอะริตะแบบอิมาริอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒
และติดต่อถึงเมืองสมัยทวาราวดีที่อยู่ใกล้เคียงกันเช่นเมือง ศรีมโหสถ (ที่อำเภอปีป
จังหวัดปราจีนบุรี )เมืองดงละคร(ที่นครนายก) เมืองท้าวอุทัย และบ้านคูเมือง
(จังหวัดฉะเชิงเทรา)
ชุมชนเมืองสมัยทวาราวดีในภาคะวันออกเฉียงเหนือนั้น มีเมืองฟ้าแดดสงยาง
หรือฟ้าแดดสูงยาง (ที่อำเภอมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์)
ภูพระบาท(ที่อุดรธานี)เมืองโบราณที่พบในอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดนครพนม จังหวัดสกลนครเมืองเมืองเวียงจันทร์ ประเทศลาว
ส่วนชุมชนเมืองสมัยทวาราวดีในภาคใต้นั้น
ปรากฏว่าอิทธิพลของอาณาจักรทวาราวดีนั้นสามารถแพร่ลงไปถึงเมืองไชยยา (สุราษฏร์ธานี)
เมืองนครศรีธรรมราช และเมืองยะรัง (ปัตตานี) ของอาณาจักรศรีวิชัยด้วย
สรุปแล้วอาณาจักรทวาราวดีนั้น น่าจะเป็นดินแดนเป็นของบรรพบุรุสของชนชาติมอญโบราณ
ที่มีศูนย์กลางอยู่เมืองนครปฐมโบราณ (ลุ่มแม่น้ำท่าจีนหรือนครชัยศรี)
กับเมืองอู่ทองและเมืองละโว้ (ลพบุรี)
ต่อมาได้ขยายอำนาจขึ้นไปถึงเมืองหริภุญชัยหรือลำพูน มีหลักฐานเล่าไว้ว่า ราว พ.ศ.
๑๑๐๐ พระนางจามเวี ราชธิดาจของเจ้าเมืองลวปุระหรือละโว้ลพบุรี
ได้อพยพผู้คนขึ้นไปตั้งเมืองหริภุญชัยที่ลำพูน
ส่วนเมืองนครโบราณนั้นพบว่ามีการสร้างพระปฐมเจดีย์
ซึ่งเชื่อกันว่าบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า
เมื่อแรกสร้างนั้นเจดีย์องค์นี้มีลักษณะคล้ายสถูปแบบสาญจีที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้ในอินเดีย
เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๓
๔ และมีการพบจารึกภาษา
ปัลลวะ บาลี สันสกฤต และภาษามอญ ที่บริเวณพระปฐมเจดีย์และบริเวณใกล้เคียง
พบจารึกภาษามอญอักษรปัลลวะ บันทึกเรื่องการสร้างพระพุทธรูป เสาสิงห์ วิหาร
และแนวต้นมะพร้าวเป็นอาณาเขตพระอารามที่วัดโพธิ์สร้างจังหวัดนครปฐม อายุราว พ.ศ.
๑๒๐๐ (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระปฐมเจดีย์) และพบจารึกมอญที่ลำพูนอายุราว พ.ศ.
๑๖๒๘ (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หริภุญชัย จังหวัดลำพูน)
สำหรับเมืองอู่ทองนั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำจรเข้สามพันโบราณเป็นสาขาของแม่น้ำท่าจีนซึ่งสายน้ำเกิดเปลี่ยนเส้นทางเดิน
ด้วยปรากฏมีเนินดินและคูเมืองโบราณเป็นรูปวงรีกว้างประมาณ ๑ กิโลเมตร ยาวประมาณ ๒
กิโลเมตร มีป้อมปราการก่อด้วยศิลาแลง มีการพบโบราณวัตถุอายุสมัย พ.ศ. ๖๐๐
๑,๖๐๐ อยู่จำนวนมาก
|