นอกจากนี้ยังสำรวจพบแหล่งโบราณคดี
นอกจากนี้ยังสำรวจพบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญขึ้นอีกหลายแห่ง เช่น
แหล่งโบราณคดีที่โบราณสถานคอกช้างดิน ตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง
จังหวัดสุพรรณบุรีนั้น พบเงินเหรียญสมัยทวาราวดีเป็นตรารูป แพะ สายฟ้า พระอาทิตย์
พระจันทร์และรูปหอยสังข์
บางเหรียญจารึกอักษรปัลลวะและพบปูนปั้นรูปสตรีหลายคนเล่นดนตรีชนิดต่างๆ
เป็นต้นเป็นหลักฐานนี้ชี้ให้เห็นว่า เมืองอู่ทอง
มีฐานะเป็นเมืองสำคัอแห่งหนึ่งของอาณาจักรทวาราวดี
เมืองนครไชยศรีโบราณ
อยู่บริเวณที่ตั้งของวัดจุลประโทณ
จังหวัดนครปฐมในปัจจุบัยและถัดออกจากองค์พระปฐมเจดีย์ไปทางทิศใต้ประมาณ ๕๒
กิโลเมตรนั้นมีที่ดอนสำรวจพบคูเมืองโบราณรูปสี่เหลี่ยม ขนาด ๓,๖๐๐
x
๒,๐๐๐ เมตร
มีลำน้ำบางแก้วไหลผ่านกลางเมืองโบราณออกไปตัดคลองพระประโทณ ผ่านคลองพระยากง
บ้านเพนียด บ้านกลาง บ้านนางแก้ว แล้วออกสู่แม่น้ำนครไชยศรี
พบโบราณวัตถุสมัยทวาราวดีจำนวนหนึ่งของเมืองนครไชยศรีโบราณแห่งน้ำ
ปัจจุบันเก็บรักษาไว้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
เมืองโบราณกำแพงแสน จังหวัดนครปฐมมีลักษณะคล้ายสำเภาโบราณ
ขนาดประมาณ ๓๒๕ ไร่ (ปรากฏคันดินคูน้ำ สระน้ำและทางน้ำเก่าต่อกับห้วยยาง
ปัจจุบันส่วนใหญ่มักจะตั้งเขิน)
เป็นเมืองใหญ่ของอาณาจักรทวาราวดีโบราณ มีวัดพระประโทณเป็นศูนย์กลาง
ลักษณะเกือบเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส มีการขุดสระน้ำขนาดต่างๆ
มีคลองขุดจากคลองพระประโทณผ่านไปยังดอนยายหอมยาวประมาณ ๘ กิโลเมตร
มีเส้นทางน้ำหลายสายที่ยังปรากฏอยู่ เช่น คลองบางแก้ว คลองรังไทร และคลองรางพิกุล
เป็นต้น
การพบศิลาสลักรูปวงล้อพระธรรมจักรกับกวางหมอบเปลือกหอยทะเล
สมอเรือและสายโซ่เรือขนาดใหญ่ในเมืองนครปฐมโบราณ
เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่าในสมัยก่อนนั้นเมืองโบราณแห่งนี้อยู่ติดกับทะเบหรือเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรทวาราวดี
ซึ่งมีการพบชิ้นส่วนของพระพุทธรูปจำนวนมาก
และยังได้พุทธรูปหินทรายสลักประทับนั่งขนาดใหญ่สมัยทวาราวดี จำนวน ๔ องค์
พระปฐมเจดีย์
ปัจจุบันนี้พระพุทธรูปองค์หนึ่งได้อัญเชิญไปไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาจังหวัดอยุธยาองค์ที่สองอยู่ในอุโบสถวัดปฐมเจดีย์
องค์ที่สามอยู่ที่ลานประทักษิณด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์และองค์ที่สี่อยู่ในวิหารน้อยวัดหน้าพระมรุ
จังหวัดอยุธยา
นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทศิลปทวาราวดีสลักอยู่ในถ้ำฤาษี เขางู
จังหวัดราชบุรี ด้วย
จากหลักฐานที่พบสถาปัตยกรรมศิลปสมัยทวาราวดีจากลายปูนปั้นประดับฐานเจดีย์ที่วัดพระเมรุ
และเจดีย์จุลประโทณที่เมืองนครชัยศรีหรือนครปฐมโบราณนั้นปรากฏว่าเป็นศิลปการก่อสร้างที่มีอิทธิพลจากอินเดีย
(บ้างว่าเหมือนอานันทเจดีย์ ที่พุกามประเทศพม่า)
นอกจากนี้ยังมีแหล่งโบราณคดีอื่นๆ อีก ซึ่งสำรวจพบเมืองโบราณ
และชิ้นส่วนรูปปั้นดินเผา ปูนปั้นลายผักกูดศิลปสมัยทวาราวดีอีก เช่น ที่บ้านคูบัว
จังหวัดราชบุรี บ้านโคกไม้เคน จ.นครสวรรค์
ในจังหวัดเพชนรบูรณ์จุดพบธรรมจักรศิลาขนาดใหญ่ สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๓
๑๔ ที่เมืองโบราณศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
นั้นเป็นหลักฐานที่แสดงว่สาชุมชนแห่งนี้ได้มีการนับถือศาสนาพุทธแล้ว
ส่วนหลักฐานสำคัญของพุทธศาสนาสมัยทวาราวดีนั้นพบที่วัดโพธิ์ชัยเสมาราม
เมืองฟ้าแดดสงยาง (หรือฟ้าแดดสูงยาง) อำเภอกมาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ใกล้แม่น้ำชี
ซึ่งพบเสมาหินจำนวนมากเป็นเสมาหินทรายสมัยทวาราวดี ขนาดใหญ่อายุราว ๑,๒๐๐ ปี
มีอายุเก่าแก่กว่าสมัยขอมนครวัด
ใบเสมานั้นจำหลักเรื่องพุทธประวัติโดยรับอิทธิพลมาจากศิลปแบบคุปตะของอินเดีย
พบเสมาหินบางแท่งมีจารึกอักษรปัลลวะ ของอินเดียใต้ไว้ด้วย
สำหรับดินแดนภาคใต้นั้นมีการขุดพบดินเผาลวดลายดอกบัวศิลปสมัยทวาราวดีที่เมืองโบราณสถาน
สมเด็จฯกรมรพระยาดำรงราชานุภาพ
ได้กล่าวถึงการสิ้นสุดของอาณาจักรทวาราวดีไว้ว่า
พระจ้าอรุรุทรมหาราชแห่งเมืองพุกามประเทศพม่า
ทรงยกกองทัพเข้ามาโจมตีของอาณาจักรทวาราวีด จนทำให้อาณาจักรทวาราวีดสลายสูญไป
ต่อมาอาณาจักรขอมหลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ สวรรคตในพ.ศ. ๑๗๓๒
อำนาจขอมก็เริ่มเสื่อมลงทำให้บรรดาเมืองประเทศราชที่อยู่ในอิทธิพลของขอมต่างพากันตั้งตัวเป็ยอิสระ
ดังนั้นใน ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พ่อขุนบางกางหาว เจ้าเมืองบางยาง และพ่อขุนผาเมือง
เจ้าเมืองราด
ซึ่งได้พระนางสิขรเทวีพระธิดาของกษัตริย์ขอมเป็นมเหสีและได้รับพระนามว่า
ขุนศรีอินทราทิตย์
พร้อมพระขรรค์ชัยศรี
ได้ร่มกันทำการยึดอำนาจจากขอมและยอมให้พ่อขุนบางกลางหาว ขึ้นสถาปนาเป็น
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และประกาศแต่งตั้งแคว้นสุโขทัยเป็นอิสระจากการปกครองของพวกขอม
พ่อขุนรามคำแหง
พระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ได้ครองราชย์และทรงดัดแปลงอักษรขอมมาประดิษฐ์เป็นลายสือไทย
ในศิลาจารึกสุโขทัย
หลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหงได้ระบุชื่อเมืองที่อยู่ในอำนาจของสุโขทัยหลายเมือง
ก่อนนั้นเมืองเหล่านี้เคยอยู่ในอาณาจักรทวาราวดีโบราณ เช่นเมืองสุพรรณภูมิ
(สุพรรณบุรี) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองแพรก (ชัยนาท) เป็นต้น
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๗
พระเจ้าไชยศิริโอรสของพระเจ้าพรหมแห่งโยนกนครทางเหนือถูกกษัตริย์เมืองสุธรรมวดียกกองทัพมารุกราน
พระเจ้าไชยศิริสู้ไม่ได้จึงหนีข้าศึกมาเมืองกำแพงเพชร
และอพยพหนีลงมาถึงดินแดนที่เคยเป็นอาณาจักรทวาราวดีแล้วตั้งราชวงศ์อู่ทองขึ้น
ต่อมา พ.ศ. ๑๘๙๓
พระเจ้าอู่ทอง พระโอรสของพระเจ้าไชยศิริ (เชียงแสน)
นั้นได้ย้ายราชธานีจากเมืองอู่ทอง
มาตั้งมั่นที่บริเวณใกล้เมืองอโยธยาเดิมตรงที่ปละคูจาม ใกล้หนองโสน
(อาจเป็นเพราะเพราะแม่น้ำจระเข้สามพันเปลี่ยนทางเดิน หรือ เกิดโรคระบาด)
แล้วพระองศ์ได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี นามว่า
กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยาฯ
ดังนั้นคำว่า
ทวาราวดี
จึงมีความสำคัญต่อชนชาติไทยและเป็นชื่อหนึ่งที่ใช้ในการเรียกนามของ
อาณาจักรของชนชาติไทยตลอดมา
|