อาณาจักรละโว้
เมืองอโยธยา....เมืองท่าสำคัญของอาณาจักรละโว้
สำหรับเมืองอโยธยาหรืออโยธยาศรีรามเทพนครนั้น เป็นเมืองโบราณที่มีมาก่อนศตวรรษที่
๑๓-๑๔ ก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะทำการตั้งกรุงศรีอยุธยา เมืองอโยธยาเดิม
มีฐานะเป็นเมืองท่าสำคัญของรัฐละโว้ หรือลวรัฐ
ซึ่งมีอำนาจในดินแดนนี้มาตั้งแต่มัยทวาราวดี
ต่อมาหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พระเจ้าอู่ทองจากเมืองอโยธยาแห่งนี้
(จากตำนานบางแห่งว่าเป็นเชื้อสายกษัตริย์ทางเหนือ
หรือเมืองไตรตรึงส์มีปรากฏในตำนาท้าวแสนปม)
ได้มีความสัมพันธ์กับเมืองสุพรรณภูมิกล่าวคือ
พระเจ้าอู่ทองนั้นได้อภิเษกกับพระธิดาของกษัตริย์ผู้ครองเมืองสุพรรณภูมิและได้เป็นผู้ครองเมืองอู่ทองภายหลังเมืองอู่ทองเกิดเหตุกันดารน้ำ
(อาจจะไม่ใช่ก็ได้) พระเจ้าอู่ทองจึงอพยพผู้คนมาอยู่ตำบลเวียงเหล็ก
เมืองอโยธยาและต่อมา ๓ ปี
จึงได้มีการสร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้นที่บริเวณตำบลหนองโสน (เสนาสนคร) ในที่สุด
สำหรับโบราณสถานของเมืองอโยธยาที่ยังปรากฏอยู่นั้น มีวัดเดิมหรือวัดอโยธยา
วัดมเหยงค์ วัดกุฏีดาว วัดใหญ่ชัยมงคล วัดพนัญเชิง
เป็นต้นส่วนภายหลังกรุงศรีอยุธยานั้นมีวัดโบราณอยู่เช่นกัน ได้แก่ วัดธรรมิกราช
วัดขุนเมืองใจ วัดหน้าพระเมรุ วัดพลับพลาไชย วัดมหาธาตุ และวัดราชบูรณะ
ต่างมีโบราณวัตถุและโบราณสถานสำคัญ ๆ ดังนี้
วัดมหาธาตุ
ในกรุงศรีอยุธยานั้นได้มีชิ้นส่วนพระโอษฐ์ พระพักตร์และพระพุทธรูปศิลาหินทรายสมัย
อโยธยาขนาดใหญ่พิเศษ
ซึ่งชำรุด
พระโขนงต่อกันเป็นเส้นโค้งศิลปะทวาราวดีซ่อนอยู่ใต้ฐานชุกชีพระวิหารหลวง
(ปัจจุบันชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายดังกล่าวได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระสามพระยาแล้ว)
วัดธรรมมิกราช
(วัดมุขราช) ใกล้ป้อมเพชร เคยมีพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่
ซึ่งปัจจุบันเหลือแต่พระเศียรพระพุทธรูปใหญ่มาก
เก็บแสดงที่พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยาเช่นกัน ที่หน้าวัดอุโบถ์พระขนอน
ปากคลองมหาพราหมณ์ มีเสมาศิลาซึ่งแกะลวดลายแบบทวาราวดีแบบผสมอโยธยา
ซึ่งถือว่าศิลปชิ้นเอกสิ่งหนึ่งที่ยังเหลืออยู่
น. ณ ปากน้ำ
ได้ให้ข้อคิดวารสารเมืองโบราณ ว่า
มีโบราณสถานและโบราณวัตถุในประเทศไทยที่เก่าแก่กว่าสุโขทัยและอยุธยาจำนวนมาก เช่น
พระพุทธรูปศิลาทำด้วยหินทรายที่ระเบียงวัดมหาธาตุ ราชบุรี (ศิลปบายน ของขอม
พ.ศ. ๑๗๕๐) เศียรพระพุทธรูปศิลาทรายที่พิพิธภัณฑ์ไชยา สุราษฎร์ธานี (ศิลปครหิ
ไชยา สมัยคุปตะรุ่นปลาย ก่อนสุโขทัย) พระพุทธรูปศิลาที่หน้าเจดีย์ใหญ่
วัดนครโกษา ลพบุรี (สมัยบายน ก่อนสุโขทัย) พระพุทธรูปศิลาที่สถูปเมืองเวียงสระ
สุราษฎร์ธานี (เก่ากว่าอยุธยา) เศียรพระพุทธรูปศิลาใหญ่ที่วัดเกษ
อยุธยาซึ่งมีความงดงามมาก และพระพุทธไตรรัตนนายกหรือหลวงพ่อโตพนัญเชิง อยุธยา
เป็นต้น
ศิลปอโยธยานั้นมีเจดีย์แบบอโยธยา (บางคนเรียกว่าอู่ทอง)
เป็นเจดีย์ที่มีรูปแบบเป็นองค์เจดีย์รูปแปดเหลี่ยมตั้งอยู่บนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ระฆังกลมเป็นเส้นตั้งแบบเจดีย์ปาละ (เจดีย์อยุธยาเป็นเส้นเอียงผายออก)
ปั้นปูนกลีบบัวประดับที่องค์ระฆัง ก่ออิฐดินเผาที่พ่นจนเรียบ
ที่สำคัญเจดีย์อยุธยาไม่ใช้ปูนสอ
แต่ใช้ดินผสมยางไม้และมโนศิลาจนเนื้อแนบสนิทตามระบบการก่อสร้างโบราณของอินเดีย
ข้างในเจดีย์มักจะกลวง เช่น เจดีย์วัดอโยธยา (ซึ่งอยู่ริมคลองกฏีดาว)
เจดีย์วัดเขาดิน ข้างสระแก้ว ที่สุพรรณบุรี เจดีย์วัดแก้วที่สรรค์บุรี
เจดีย์วักมณฑป ที่อยุธยา เจดีย์วัดขุนเมืองใจกลางตัวเกาะเมืองอยุธยา
เจดีย์วัดกะซ้ายทางตะวันตกเฉียงใต้ทางเกาะเมืองอยุธยา
เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลที่อยุธยา เจดีย์วัดกลางทุ่งประเชต (อาจเป็นวัดป่าแก้ว)
อยุธยา เจดีย์ที่วัดพระรูปและเจดีย์รายด้านเหนือของวัดมหาธาตุ ลพบุรี
ฐานเจดีย์ใหญ่ที่วัดนครโกษา ลพบุรี และเจดีย์วัดสนามไชย ที่สุพรรณบุรี เป็นต้น
ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘
เมืองอโยธยาได้ร้างผู้ครองนครไปชั่วเวลาหนึ่ง ซึ่งยังหาเหตุผลไม่พบ
แต่เชื่อว่าบ้านและชุมชนนั้นยังคงอยู่ในพื้นที่ต่อมา
ด้วยปรากฏว่ามีการสร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง
ในพระราชพงศาวดารกรงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ มีความระบุไว้ว่า
สร้างขึ้นในปีชวด
จุลศักราช ๖๘๖ หรือ พ.ศ. ๑๘๖๗
พระพุทธรูปนี้สร้างก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาถึง ๒๖ ปี ต่อมาพระพักตร์หลวงพ่อโต
วัดพนัญเชิงได้พังทลายลงใน พ.ศ. ๒๔๗๑ ต่อมาศาสตราจารย์ ศิลปะพีระศรี
ได้จัดการซ่อมแซมพระพักตร์ใหม่ จึงไม่เห็นพระพักตร์ของเดิม
ดังนั้นเมืองอโยธยาจึงมีเรื่องของ
พระเจ้าอู่ทองพระเจ้าสายน้ำผึ้งและนางสร้อยดอกหมาก
ซึ่งเป็นชื่อของกษัตริย์ที่ครองเมืองอโยธยาในสมัยนั้น
|