อาณาจักรโยนกเชียงแสนและล้านนา
อาณาจักรโยนกเชียงแสนและล้านนา
พ.ศ. ๑๘๓๕
๒๔๓๕
ในตำนานและพงศาวดารล้านนาหลายฉบับ เล่าว่า นานมาแล้ว (ราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๗
มีพวกกลัวะ หรือละว้า ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณใกล้ดอยตุง
มีปู่เจ้าลาวจกหรือลวจักราชเป็นหัวหน้า (จกคือจอบขุดดิน)
ต่อมาได้สร้างบ้านเมืองในทุ่งราบเรียกชื่อว่า
หิรัญนครยางเชียงแสน
ลูกหลานของปู่เจ้าลาวจกหรือลวจักราช ได้ครองเมืองต่อเนื่องกันมาหลายสิบคน
และได้มีการสร้างเมืองใหม่เรียกว่า ภูกามยาวาหรือพะเยา
มีครองเมืองต่อมาหลายคนจนถึง ขุนเจือง (พุทธศตวรรษที่ ๑๗ และพญางำเมือง)
อาณาจักรหิรัญนครเงินยางเชียงแสนหรืออาณาจักรเงินยางเชียงแสนหรืออาณาจักรเงินยางนี้ประกอบด้วย
เมืองเงินยาง เมืองไชยนารายณ์ เมืองล้านช้าง และเมืองเชียงรุ้ง ในสิบสองปันนา
พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๘
นั้นในพงศาวดารโยนกได้กล่าวไว้ว่า ได้เกิดชุมชนนครสุวรรณโคมคำ เมืองโยนกนาคนคร
เชียงแสน อาณาจักรล้านนาไทยขึ้น บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก แม่น้ำอิง
และแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน
ตั้งตาสิบสองปันนาลงมาจนถึงเมืองหริภุญชัย (ลำพูน)
นั้นได้มีเจ้าผู้ครองนครคนสำคัญคือ พญาสิงหนวัติ พระเจ้าพังราชคราช พระเจ้าพรหม
และพระเจ้าเม็งรายมหาราช (ครองราชย์ที่เมืองเงินยาง เมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๔)
พญาสิงหนวัติได้สถาปนาเมืองโยนกนาคพันธุสิงหนวัตินครขึ้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง
ดินแดนที่ราบในเมืองเชียงราย ในพ.ศ. ๑๑๑๗
โดยทำการแย่งชิงดินแดนมาจากพวกที่มีอิทธิพลอยู่ก่อนคือ พวกขอมดำหรือกล๋อม
ที่พากันหนีไปตั้งหลักแหล่งอยู่ทางใต้บริเวณถ้าอุโมงเสลานคร พญาสิงหนวัติ
ทรงรวบรวมพวกมิลักขุหรือคนป่าคนดอยเข้ามาอยู่ในอำนาจของเมืองโยนกนาคนคร
มีอาณาเขตทิศเหนือจดเมืองน่าน ทิศใต้จดปากน้ำโพ ทิศตะวันออกจดแม่น้ำดำในตังเกี๋ย
ทิศตะวันตกจดแม่น้ำสาละวิน มีเมืองสำคัญ
คือเมืองเวียงไชยปราการอยู่บริเวณแม่น้ำฝางและแม่น้ำกก
ดินแดนทางใต้สุดคือที่เมืองกำแพงเพชร
อาณาจักรโยนกนาคนครนี้มีพระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ เช่นพระเจ้าพีคราช
พระเจ้าพรหม พระเจ้าไชยสิริ ต่อมาประมาณ พ.ศ. ๑๕๕๒ อาณาจักรโยนกนาคนคร
ในสมัยพระเจ้ามหาชัยชนะ ได้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน
เนื่องมาจากพนังกั้นน้ำหรือเชื่อมเหนือน้ำพังทลายลง
จนทำให้ที่ตั้งเมืองกลายเป็นหนองน้ำใหญ่ เข้าใจว่าจะเป็นบริเวณที่เรียกว่า
เวียงหนองล่มบ้านท่าข้าวเปลือก ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากทะเลสาบเชียงแสน
และบริเวณที่แม่น้ำกกต่อกับแม่น้ำโขง ใกล้วัดพระธาตุผาเงาและพระธาตุดอยตุง
จังหวัดเชียงราย จนเป็นเหตุให้บรรดาราชวงศ์กษัตริย์
และขุนนางของโยนกนาคนครเสียชีวิต ด้วยเหตุน้ำท่วมเมืองทั้งหมด
พวกชาวบ้านที่เหลือรอดชีวิตได้ประชุมปรึกษากันเลือกตั้งให้กลุ่มคนหนึ่งที่มิใช่เชื้อสายราชวงศ์ขึ้นดูแลพวกตนเรียกว่า
ขุนแต่งเมือง และเรียกชุมนุมแห่งนั้นว่า
เวียงปรึกษา
เป็นเวลาต่อไปอีก ๙๔ ปี อาณาจักรโยนกนาคนครจึงสิ้นสุกลง
ตอนต้นศตวรรษที่ ๑๓
พระยาเม็งราย (หรือพ่อขุนมังราย)
ผู้สืบเชื้อสายมาจากผู้ครองเมืองเงินยางเชียงแสน
ได้ทรงทำการรวบรวมอาณาจักรล้านนาไทยที่กระจัดกระจายให้เป็นปึกแผ่นขึ้นมาใหม่
และทำการสร้างเมืองเชียงราย เมื่อพ.ศ. ๑๘๐๕
ครั้งนั้นพระองค์ทรงยกทัพยึดเอาอาณาจักรหริภุญชัยจากพวกมอญเชื้อสายของพระนางจามเทวีได้ใน
พ.ศ. ๑๘๓๕ แล้วทำการตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นเรียกชื่อว่า อาณาจักรล้านนา
เรื่องราวของอาณาจักรแห่งนี้ปรากฏในตำนานสุวรรณโคมคำหิรัญนครเงินยางเชียงแสน
ตำนานพระธาตุดอยตุง ตำนานสิงหนวัติกุมาร ตำนานเมืองพะเยา
ตำนานเมืองเชียงใหม่และและวรรณคดีล้านช้าง เรื่องท้าวฮุ้ง หรือเจือง
รวมทั้งพงศาวดารโยนก เรียบเรียงโดย พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค)
ศิลาจารึกที่วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ ได้บันทึกไว้ว่า
พ่อขุนเม็งรายแห่งแคว้นล้านนา พ่อขุนงำเมืองแห่งแคว้นพะเยา
และพ่อขุนรามคำแหงแห่งแคว้นสุโขทัย ได้ร่วมกันวางแผนสร้างเมือง
นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่
เริ่มสร้างเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๑๘๓๙
แล้วให้ย้ายเมืองหลวงของล้านนามาอยู่ที่เมืองนพบุรีนครพิงค์เชียงใหม่
พญาเม็งรายทรงเป็นนักรบและปกครองที่สามารถ
ทรงขยายอาณาเขตไปครอบครองเมืองแม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงใหม่
เชียงราย จดเขตแดนเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง สิบสองปันนา
ทรงครองราชย์อยู่นานประมาณ ๕๐ ปี
ปัจจุบันได้สร้างอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายอยู่กลางเมืองเชียงราย
ส่วนกษัตริย์ล้านนาองค์ต่อมาที่มีชื่อเสียงได้แก่พระเจ้าแสนภู
พระองค์ทรงสร้างเมืองเชียงแสนขึ้น บนสถานที่ที่เคยเป็นเมืองเก่ามาก่อนราว พ.ศ.
๑๘๗๑
ประชุมพงศาวดารภาคที่
๖๑ กล่าวว่าพระเจ้าแสนภู (หลานพ่อขุนเม็งราย) ทรงสร้างเมืองเชียงแสน
ทรงสร้างวัดป่าสัก และครองเมืองอยู่นาน ๒๕ ปี แล้วจึงไปครองเมืองเชียงใหม่ในปี
พ.ศ. ๑๘๕๖ หลังจากพ่อขุนเม็งราย และขุนครามพระราชบิดาสิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๒๐๒๐
ในพงศาวดารเหนือ กล่าวไว้ว่า
พระเจ้าศรนีธรรมไตรปิฏกทรงสร้างเมืองพิษณุโลกและทรงสร้างพระพุทธชินราช
พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น๑๕ ค่ำ ปีจอ
(ประมาณ พ.ศ. ๑๙๐๗)
แล้วปลูกต้นโพธิ์สามต้นไว้ที่หล่อพระพุทธรูปสามองค์นั้นเรียกว่า โพธิ์สามเส้า
สมัยพระเจ้าติโลกราชนั้นได้มีการสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่ ๘
ของโลกขึ้นที่วัดโพธาราม(วัดเจดีย์เจ็ดยอด)
อาณาจักรล้านนามีภาษาพูดและภาษาเขียนของตนเอง เรียกว่าอักษรยวน (ไทยโยนก)
ศิลปกรรม เรียกว่าอักษรไทยยวน (ไทยโยนก) ศิลปกรรม
ล้านนาที่เหลือปัจจุบันมีหลายแห่ง เช่น พระพุทธสิหิงค์ที่เชียงใหม่
เจดีย์วัดป่าสักที่เชียงราย วัดเจดีย์เจ็ดยอดที่เชียงใหม่
พระธาตุลำปางหลวงที่จังหวัดลำปาง สำหรับที่เมืองเชียงแสนนั้นมี
พระพุทธรูปโลหะขนาดใหญ่องค์หนึ่งชื่อพระเจ้าล้านทอง หน้าตัก ๔ ศอกปลาย ๒ กำ
สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๐๓๒ โดยพระยาศรีรัชฎเงินกองเจ้าเมืองเงินยางเชียงแสนใน พ.ศ.
๒๐๘๘ นั้นได้ เกิดแผ่นดินไหวในเชียงใหม่จนทำให้ส่วนยอดของเจดีย์หลวงหักลง
กษัตริย์ราชวงศ์มังราครองอาณาจักรล้านนาสืบต่อกันมาเป็นเวลา ๒๖๒ ปี จนถึง พ.ศ.
๒๑๐๑ อาณาจักรล้านนาอ่อนแอ
ในไม่ช้าก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์แห่งพม่า
ต่อมาได้เปลี่ยนมาขึ้นกับอาณาจักรสยามกลับไปกลับมาหลายครั้ง สุดท้าย พ.ศ. ๒๓๑๗
เมืองเชียงใหม่ได้ตกเป็นประเทศราชขึ้นต่อกรุงธนบุรีจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
ในรัชกาลของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระองค์ได้ทรงรวบรวมเมืองเชียงใหม่เป็นส่วนหนึ่งของราชอาราจักรไทย
และได้มีการพัฒนาบ้านเมืองนี้ขึ้นในสมัยต่อมาเมืองเชียงใหม่นี้ได้จัดงานฉลอง ๗๐๐
ปี นครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙
|