อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ และอาณาจักร
อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์
และอาณาจักรล้านช้าง (ลาว)
พุทธศตวรรษที่ ๑๔
เมื่อประมาณ พ.ศ. ๗๐๐ ประเทศพนม เป็นประเทศรุ่งเรืองขึ้นมาใหม่ในแถบอินโดจีน
ทางทิศตะวันตกของพนมนั้นมีประเทศเจนละ (เขมรโบราณ)
ถัดจากประเทศเจนละก็คือประเทศกิมหลิน(สุวรรณภูมิ) ทางเหนือของประเทศกิมหลิน คือ
ประเทศ บูหลุน
พระมหาธาตุของกรุงพนมนั้นได้ยกกองทัพเรือไปปราบประเทศในคาบมหาสมุทรมลายาได้กว่า
๑๐ ประเทศ ภายหลังให้รัชททนามว่า กิมแซ ยกทัพ ไปปราบประเทศกิมหลินได้ (ราว
พ.ศ. ๗๗๓)
ดินแดนสุวรรณภูมิและประเทศเล็ก ๆ ในสุวรรณภูมิทวีป (คาบมหาสมุทรมลายู)
เป็นอิสระตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกอยู่ได้ ๕๐๐ ปี เป็นประเทศราชของประเทศพนม
พระพุทธศาสนานั้นยังคงรุ่งเรืองอยู่
ดินแดนสุวรรณภูมิทวีปตลอดมาด้วยปรากฏตามหนังสือของภิกษุจีนว่า
ดินแดนแห่งนี้ยังคงมีพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองดีอยู่
นั้นได้เรียกแถบนี้ว่าเป็น ดินแดนกิมหลิน ตามชื่อเก่า
แต่ตำนานพระธาตุพนมเล่าว่า
ในราว พ.ศ. ๘ ศรีโคตรบูรณ์
ได้ตั้งเมืองหลวงอยู่ใต้ปากเซบ้องไฟ อยู่เหนือสุวรรณเขตประเทศลาว
ครั้นต่อมาได้ย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่เหนือธาตุพนม ในดงไม้รวกจีนมีนามว่า
มรุกขนคร มีกษัตริย์ครองเมือง ๕ องค์
องค์สุดท้ายซึ่งพระยานิรุฎฐราช บ้านเมืองเลยเกิดวิบัติล่มร้างเป็นบึงและป่า
ต่อมาราว พ.ศ. ๑๘๐๐ ปรากฏว่าได้ไปตั้งเมืองขึ้นใหม่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
แต่เหนือที่เดิมมาก ได้แก่เมืองเก่าใต้ท่าแขกประเทศลาวเดี๋ยวนี้
การที่อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ตั้งเมืองหลวงใน พ.ศ. ๘ นั้น
น่าจะผิดพลาดเนื่องจากเวลาห่างจากปีที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระสมณทูตออกประกาศพระศาสนาในปี
พ.ศ. ๒๓๖ ถึง ๒๒๘ ปี (หากเป็นพุทธศตวรรษที่ ๘ คือ พ.ศ. ๘๐๐
ก็น่าจะพอเชื่อถือได้บ้าง) แต่มีข้อสนับสนุนตามตำนานว่า การสร้างพระธาตุพนมนั้น
พระพุทธเจ้า ทรงเสด็จประกาศพระศาสนาด้วยพระองค์เอง และใน พ.ศ. ๘
พระมหากัสสปะและท้าวพญาทั้งห้าพระองค์ ได้ทรงพระธาตุ
โดยอัญเชิญพระอุรังคธาตุบรรจุไว้ในพระเจดีย์สูงประมาณ ๘ เมตร
สำหรับท้าวพญา ๕
พระองค์ที่ร่วมสร้างพระธาตุพนมเมื่อ พ.ศ. ๘ นั้น คือ
พญานันทะเสนครองเมืองศรีโคตรบูรณ์ พญาจุลณีพรหมทัต ครองแคว้นจุลณี พญาอินทปัตถ์
ครองอินทปัตถนคร พญาคำแดง ครองเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณภิงคาร
ครองเมืองหนองหารหลวง ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ครองเมืองในอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณ
เมื่อครั้งเมืองหลวงนั้นตั้งอยู่ใต้ปากเซบ้องไฟ ฝั่งสุวรรณเขต
จากตำนานพระธาตุพนมนั้น อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณ ได้ตั้งก่อนเมื่อ พ.ศ. ๘
ต่อมาได้มีการย้ายเมืองหลวงมาอยู่เหนือพระธาตุพนมฝั่งอาณาจักรสยาม
ดังนั้นเรื่องของอาณาจักรแห่งนี้จึงมีความแตกต่างในเหตุการณ์ ดังนี้
ในพุทธศตวรรษที่
๑๔-๑๕ ครั้งสมัยอาณาจักรทวาราวดีมีอำนาจอยู่นั้น บริเวณสองฟากน้ำโขง
ได้มีการตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่เรียกว่าอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ หรือ โคตรปุระ
เมืองตะวันออก โดยมีพระยาโคตรบอง เป็นผู้ครองนคร
ดินแดนแห่งนี้มีเมืองสำคัญคือ เวียงจันท์ หรือเวียงจันทร์ หนองหารหลวง
(สกลนคร) มรุกขนคร (นครพนม) เมืองจันทบุรี ศรีสัตนานาคหต ล้านช้างล่มขาว
(หลวงพระบาง) เชียงใหม่ เชียงแสน เชียงรุ้ง เป็นต้น
ต่อมา พ.ศ. ๑๘๙๒
สมัยอยุธยาตอนต้น พระเจ้าฟ้างุ้ม
ทรงสถาปนานครเวียงจันท์ขึ้นเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรลาว
พ.ศ. ๑๙๙๑
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ซึ่งเป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรล้านนา
(เป็นพระนัดดาของกษัตริย์ครองเมืองเชียงใหม่)
ภายหลังได้อภิเษกกับพระธิดาของกษัตริย์ผู้ครองอาณาจักรล้านช้างและได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักรล้านช้างได้ร่วมกันสร้างเจดีย์สีสองรักษ์
เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพ (อยู่ที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย)
อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์นั้นได้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมา
และภายหลังได้เป็นอาณาจักรล้านช้าง (พระราชอาณาจักรลาว)
ในสมัยธนบุรีนั้นอาณาจักรล้านช้างได้ตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรสยาม
ในสมัยรัชการที่ ๕
นั้นอาณาจักรสยามต้องเสียดินแดนให้ฝรั่งเศสจึงทำให้อาณาจักรแห่งนี้ตกอยู่ใต้อำนาจฝรั่งเศสต่อมา
โบราณสถานสำคัญของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์นั้นคือ
พระธาตุพนมที่จังหวัดนครพนมนับเป็นปูชนียสถานทางพุทธศาสนาที่สำคัญ
เพราะสร้างทับบนปราสาทขอมโบราณ ตำนานพระธาตุพนมนั้นได้กล่าวว่า
พระธาตุนี้ได้สร้างขึ้นใน พ.ศ.
! (พ.ศ.๘๐๐)
สมัยอาณาจักรศรีโคตรโบราณโดยก่อสร้างอุโมงค์เป็นรูปเตามีประตูปิดเปิด ๔ ด้าน
สูง ๕ เมตร สำหรับบรรจุพระอุรังคธาตุ โดยมีผ้ากัมพลห่อไว้
บรรจุอยู่ภายในอุโมงค์
ต่อมา พ.ศ. ๕๐๐
พระอาหันต์ทั้ง ๕ องค์คือ พระสังขวิชาเถระ พระมหารัตนเถระ พระจุลรัตนเถระ
พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ และพระจุลสุวรรณปราสาทเถรเถระ
พร้อมด้วยพระยาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร (ประเทศพนม)
ได้ร่วมกันบูรณะพระธาตุพนมสูงประมาณ ๒๔ เมตร
และอัญเชิญพระอุรังคธาตุออกมาประดิษฐานบนพานทองคำ อมรฤาษีและโยธินฤาษี
นั้นไปเอาอุโมงค์ศิลา (ศิลาครอบรูปเจดีย์)
บนยอดเขาภูเพ็กมาตั้งไว้บนของพระธาตุชั้นที่ ๒ ซึ่งอยู่สูง ๑๔ เมตร
แล้วพระสุมิตรธรรมวงศาได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุฐาปนาไว้บนเจดีย์ศิลานั้น
พระโพธิศาล
ผู้ครองเมืองหลวงพระบาง เมื่อ พ.ศ. ๒๐๗๓-๒๑๐๓
นั้นได้ตำนานอุรังคธาตุ(ที่พระธาตุพนม) มาจากกัมพูชา
จึงเกิดครามศรัทธาและได้มาสร้างวัดขึ้นที่บริเวณภูกำพร้าอุทิศให้ข้าทาสให้แก่พระธาตุ
พระไชยเชษฐาธิราช
โอรสของพระโพธิศาล ซึ่งสร้างเมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวง
ได้เสด็จมานมัสการพระธาตุพนมเมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๔ ต่อมา พ.ศ. ๒๒๓๓-๒๒๓๕
เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์
ได้นำช่างมาจากเวียงจันทน์มาทำการบูรณะระธาตุพนมต่อเติมจนสูง ๔๗ เมตร
โดยพ่อออกพระขนานโคตร พร้อมด้วยบุตรภริยาได้
นำเอาอูบพระชินธาตุเจ้าที่จันทรปุระ
(เวียงจันทน์)มาฐาปนาที่ธาตุปานม
และบรรจุพระพุทธรูปเงินทองแก้วมรกตอัญมณีมีค่าไว้มากมาย และ พ.ศ. ๒๔๘๓-๒๔๘๔
กรมศิลปกรได้ทำบูรณะพระธาตุให้สูงขึ้นเป็น ๕๗ เมตร
หลังจากนั้นก็มีการบูรณปฏิสังขรณ์อยู่เสมอ
เมื่อวันที่ ๑๑
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ เวลา ๑๙.๓๐ น. เศษ องค์พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงมาทั้งองค์
ยอดพระธาตุฟาดมาทางทิศตะวันออก กรมศิลปากรได้บูรณะตามแบบเดิมจนแล้วเสร็จใน พ.ศ.
๒๕๒๒
|