อาณาจักรพม่า
อาณาจักรพม่า
พุทธศตวรรษที่ ๑๔
ในพุทธศตวรรษที่ ๑๔ นั้น
ชนชาติพม่าได้มีอำนาจเข้าครอบครองดินแดนลุ่มแม่น้ำอิรวดีและสาละวิน
ซึ่งเดิมเป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติมอญและพวกปยุหรือพะยุ
ชนชาติพม่าได้ตั้งเมืองพุกาม (Pegan)
หรือนครอริมัทนะ หรือนครศรีเกษตร ขึ้นเป็นเมืองหลวง
สมัยที่เจริญรุ่งโรน์ที่สุดนั้น พระเจ้าอนิรุธ หรืออนุรุทรหรืออนวรตะ
หรืออโนรธาช่อ (พ.ศ.๑๕๘๗-๑๖๒๐) แห่งอาณาจักรพุกามยุคต้นนั้น
พระองค์ส่งกองทัพไปโจมตีเอาเมืองสะเทิมของอาณาจักรมอญจนพินาศ
ต่อจากนั้นพระเจ้าอนิรุธ ได้โปรดให้มีการสังคายนาศาสนาพุทธขึ้นในพม่า
เพื่อให้พระสงฆ์เคร่งครัดธรรมวินัย และมีการสร้างเจดีย์ชะเวดากองขึ้นใน พ.ศ.
๑๖๐๒
ต่อมาใน พ.ศ. ๑๘๓๐
สมัยพระเจ้านรสีหปติ ของพม่านั้นได้ถูกจักรพรรดิกุบไลข่านของจีนมองโกล
นำกำลังบุกเข้าโจมตีเมืองพุกาม จนพม่าต้องตกเป็นประเทศราชของจีน
พ.ศ.
๑๘๔๑-๒๐๔๓ (สมัยแคว้นสุโขทัย) พวกไทยใหญ่หรือซาน ที่เคยรับราชการกษัตริย์พม่า
ได้ใช้กำลังยึดเมืองหลวงพุกามได้ พวกไทยใหญ่จึงสร้างเมืองอังวะ (Ava)
ขึ้นเป็น ๒๕๐ ปี
ต่อมาในพุทธศตวรรษที่
๒๑ อาณาจักรพม่าได้มีอำนาจกลับคืนมาโดยพระเจ้าตะเบงซวเวตี้ (พ.ศ.๒๐๗๔-๒๐๙๓)
สามารถรบชนะไทยและพวกมอญ ทำการตั้งเมืองหลวงที่เมืองหงสาวดี หรือ เมืองพะโค
ของมอญ แล้วทำยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
(คราวสงครามช้างเผือก)
ในครั้งนั้นอาณาจักรสยามได้เสียพระสุริโยทัยในการตรวจแนวข้าศึกเมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๑
พระเจ้าตะเบงชะเวตี้กรุงศรีอยุธยาไม่สำเร็จและเมื่อกลับไปเมืองหงสาวดีก้ถูกลอบปลงพระชนม์ในเวลาต่อมา
ทำให้พระเจ้าบุเรงนอง
ผู้เป็นแม่ทัพและได้อภิเษกสมรสกับพระพี่นางาของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้
ได้ครองราชย์แทนที่เมืองหงสาวดี พระเจ้าบุเรงนองนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักรบ
ผู้ชนะสิบทิศและสามารถปราบอังวะของพวกไทยใหญ่
พวกมอญ พวกเชียงใหม่และ พ.ศ. ๒๑๑๒
พระเจ้าบุเรงนองได้มีชัยชนะต่อกรุงศรีอยุธยาในสงครามเสียกรุงครั้งที่หนึ่งด้วย
กลอุบายใช้พระยาจักรีเป็นไส้ศึก (บุเรงนองเป็นแม่ทัพของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้)
เคยเข้ามาทำสงคราสมัยพระเจ้าจักรพรรดิ คราวสงครามของช้างเผือก
จึงรู้เส้นทางวิธีรบของคนไทย
พระเจ้าบุเรงนองสามารถสร้างอาณาจักรพม่าคืนสุ่อำนาจอีกครั้งหนึ่ง
อาณาจักรจึงขยายตัวตั้งแต่ลุ่มน้ำมณีปุระไปถึงแม่น้ำโขง
หลังจากบุเรงนองสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๑๒๔ พระเจ้านันทะบุเรง โอรสพระเจ้า
บุเรงนองครองราชย์ต่อ ทรงให้พระมหาอุปราชา (มังสามเกียด)
ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาจึงเกิดสงครายุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวร เมื่อ พ.ศ.
๒๑๔๒ หลังจากแพ้สงครากรุงสรีอยุธยาแล้ว
อาณาจักรพม่าที่เมืองหงศาวดีก็เสื่อมโทรมลงจนมอญยึดเมืองหงสาวดีคืนได้ พ.ศ. ๒๑๕๘
พม่าได้โจมตีพวกมอญได้แล้ว จึงย้ายเมืองหลวงจากเมืองอังวะมาตั้งเมืองหงสาวดี
(หรือพะโคอีก) ภายหลังได้ย้ายไปเมืองอังวะอีกครั้งหนึ่ง
พวกมอญทางหงสาวดีได้ก่อกบฏ ต่อสู้พม่าไม่ได้ต้องหนีเข้ามาเมืองไทยจำนวนมาก พ.ศ.
๒๒๙๘ พระเจ้าอลองพญา พ.ศ. ๒๒๙๕-๒๓๐๓ พม่าได้ทำลายอาณาจักรมอญได้ทั้งหมด
แล้วทำการย้ายเมืองหลวงไปตั้งที่เมืองร่างกุ้งหรือย่างกุ้ง แปลว่า
สิ้นสุดการแตกแยก
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ พระเจ้ามังระ พ.ศ. ๒๓๐๖-๒๓๑๙
ได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาแตกพินาศ และยกทัพมาตีกรุงธนบุรี ใน พ.ศ. ๒๓๑๗
(ศึกบางแก้ว) และ พ.ศ. ๒๓๑๘ (ศึกอะแซหวุ่นกี้) พระเจ้ามังระสวรรคตเมื่อ พ.ศ.
๒๓๑๘ จิงกูจาราชโอรสขึ้นครองราชย์แทน
ต่อมาพระเจ้าจิงกูจาถูกปลงพระชนม์โดยคณะอำมาตย์ประกอบด้วยอะตวนหวุ่น ตะแคงปดุง
และอะแซหวุ่นกี้ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ ตะแคงปดุงครองราชย์เป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า
พระเจ้า
ปดุงบอดอพญา
ในรัชสมัยพระเจ้าปดุง
(พ.ศ.๒๓๒๕-๒๓๖๒) พม่าส่งกองทัพใหญ่มาตีกรุงสยามหวังจะให้พินาศ ใน พ.ศ. ๒๓๒๙
(ศึกเก้าทัพ) และ พ.ศ. ๒๓๓๐ (ศึกราบพม่าที่ท่าดินแดง) แต่ไม่สำเร็จ
สมัยพระเจ้ามินดง พ.ศ.๒๓๙๖-๒๔๒๑) นั้นได้เกิดการก่อกบฏขึ้นมาในเมืองหลายครั้ง
ในสมัยพระเจ้าปดุงและพระเจ้าจักกายแมง(หรือบาจีดอ พ.ศ. ๒๓๖๒-๒๓๘๐)
ได้มีการรวบรวมพงศาวดารพม่าฉบับหอแก้วขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๗ (สมัยรัชกาลที่ ๒
แห่งกรุงรัตนกสินทร์) จนทำให้เสียเมืองอังวะแก่อังกฤษในสมัยพระเจ้าธีบอ
(โอรสพระเจ้ามินดง) พม่าจึงตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ใน พ.ศ. ๒๔๒๘
(ตรงกับสมเด็จพระจลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
โดยอังกฤษได้รวมพม่าเข้าเป็นแคว้นหนึ่งของอินเดีย
มีการรวบรวมพงศาวดารของพม่าฉบับคองบอง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ และในพ.ศ. ๒๔๙๐
ได้เกิดขบวนการชาติพม่าเรียกร้องเอกราชจนพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ
|