อาณาจักรโบราณแถบคาบสมุทรมลายู
อาณาจักรโบราณแถบคาบสมุทรมลายู
ดินแดนสุวรรณภูมิตอนใต้ซึ่งพื้นที่คาบสมุทรมลายูนั้น ในจดหมายของจีนราชวงศ์เหลียง
(พ.ศ. ๑๐๔๕-๑๐๙๙) และพงศาวดารจีนในสมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ. ๑๑๖๑-๑๔๔๙)
และบันทึกต่าง ๆ ของชาวจีนนั้น ได้บันทึกชื่อเมืองและอาณาจักรต่าง ๆ
ที่อยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะดินแดนตอนใต้นั้นมีชื่ออาณาจักรหรือรัฐ
ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลของแหลมมลายูปรากฏมากมาย เช่น
เตียนซุนหรือตุนซุน
ลังยาเสียว พันพัน ฉีตู ดันดัน ตามพรลิงค์ และตักโกละ เป็นต้น
ชื่อเมืองเหล่านี้มีความสำคัญในสมัยโบราณ ได้ดังนี้
เตียนซุนหรือชุมชน
เรื่องราวของอาณาจักรหรือรัฐเตียนซุนนี้
ปรากฏชื่อในจดหมายเหตุจีนสมัยราชวงศ์เหลียงเมือ (พ.ศ. ๑๐๔๕-๑๐๙๙)
ซึ่งอ้างอิงมาจากบันทึกคังไถ และชูยิง ซึ่งเป็นชาวราชฑูลจีน ในสมัยราชวงศ์เว่ย
ที่เดินทางไปเจริญพระราชไมตรีกับอาณาจักรฟูนัน
เพื่อเป็นการตอบแทนที่อาณาจักรฟูนันได้ส่งราชทูตไปจีนหลายครั้งแล้ว
เมื่อไปถึงอาณาจักรฟูนันแล้วราชทูตจีนทั้งสองได้พบกับราชทูตชาวอินเดีย
ที่ราชวงศ์มุรุณฑะซึ่งปกครองบริเวณลุ่มแม่น้ำคงคาส่งมาเจริญสำพันธ์ไมตรีกับอาณาจักรฟูนัน
ครั้งนั้นราชฑูตจีนได้สอบถามถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอินเดีย ดังนั้น
ในช่วงที่เดินทางกลับจากประเทศจีน ราชทูต
ทั้งสองจึงบันทึกถึงเมืองโบราณในแถบทะเลใต้ ที่ตั้งอยู่คาบสมุทรมลายู
ที่ได้แวะพักหรือได้สอบถามจากนักเดินเรือที่พบระหว่างทาง
ต้นฉบับที่เป็นบันทึกเดิมนั้นสูญหายไปแล้ว
แต่ข้อความนี้ได้มีการอ้างอิงไว้ในจดหมายเหตุอื่นในชั้นหลัง
ในพงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ถัง (ตุงเตียน) ซึ่งเขียนไว้เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๖
โดยอ้างอิงจากตุงเตียน นั้น มีข้อความเล่าถึงพราหมณ์ที่อยู่เตียนซุนไว้ว่า
ภายในรัฐเตียนตุนนั้น
มีครอบครัวชาวอินเดียหรือพวกฮู อาศัยอยู่ ๕๐๐ ครอบครัว
และมีพวกพราหมณ์อาศัยอยู่จำนวนมากถึง ๑,๐๐๐ คน ประชาชนต่างนับถือศาสนาพราหมณ์
และนิยมจะให้ลูกสาวตนไปแต่งงานกับพวกพราหมณ์ พราหมณ์พวกนี้จะอ่านคัมภีร์
(อ่านมนต์) อาบน้ำผสมน้ำหอม และทำพิธีบุญในประเพณีการปลงศพ ซึ่งจะนิยมการทิ้ง
บริจาคซากศพให้เป็นอาหารนก (แร้ง)
ศพนั้นจะมีการยกย้ายขบวนศพที่มีการประโคมแห่ดนตรีและการร้องรำทำเพลง
เมื่อขบวนแห่ไปนอกเมืองแล้วก็นำศพนั้นไปทิ้งเป็นอาหารนก (แร้ง)
ส่วนกระดูกที่เหลือจะนำกลับมาเผาแล้วนำขี้เถ้าไปทิ้งแม่น้ำหรือทะเล
หรือบางทีก็นำไปใส่ในโถ (ผอบ-โถมีฝาปิด) และประกอบพิธรกรรมทางศาสนาไปเรื่อย ๆ
ไม่มีสิ้นสุด และที่น่าสนใจก็คือประชาชนในเตียนซุนนี้ นิยมหักเหล้าไวน์
จากผลไม้ที่ทำการเพาะปลูกได้เองด้วย
พิธีปลงศพจากข้อความนี้ น่าจะนำมาจากอินเดีย ในธิเบตนั้นกการปลงศพแบบเดียวกันนี้
ซึ่งจะแตกต่างกันตรงหลังจากที่ให้แร้งกินเนื้อศพไปแล้ว
กระดูกนั้นได้นำมาทุบให้แตกหรือตัดเป็นท่อน
สถานที่ปลงศพนั้นจะอยู่นอกเมืองและอยู่บนภูเขาให้ห่างชุมชน
เตียนซุนนั้นเป็นเมืองโบราณที่มีความเก่าแก่ที่สุด ตั้งอยู่คาบสมุทรมลายู
เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองและมีอำนาจมาก เมื่อพุทธศตวรรษที่
๘
มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลทั้งสองฝั่งจึงทำให้เป็นเมืองที่มีอำนาจในการดูแลเส้นทางค้าขายของเรือสินค้าต่าง
ๆ ที่เดินทางในมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก
ทำให้เตียนขุดแห่งนี้กลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่ใหญ่แห่งหนึ่ง
ด้วยเหตุที่มีคลังเก็บสินค้าประเภท
สำหรับสถานที่ตั้งเตียนซุนนั้น สันนิษฐานว่า
อาณาจักรหรือรัฐนี้ตั้งอยู่บริเวณอ่าวบ้านดอนซึ่งเป็นเมืองท่าไชยาเก่า
โดยมีอาณาจักรจดทะเลทั้งสองด้าน กล่าวคือด้านตะวันออกนั้นจดทะเลจีนใต้
บริเวณอ่าวบ้านดอนนั้นมีเมืองต่าง ๆ ตั้งอยู่ยาวตลอดไปตั้งอยู่ฝั่งตะวันตก
พื้นที่ทางทะเลนี้ได้ใช้เป็นเส้นทางเดินเรือสินค้าระหว่างอินเดีย อาหรับ และจีน
ซึ่งมีเส้นทางเดินเรือสมัยก่อนนั้น โดยแล่นเรือผ่านช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา
และมีเส้นทางข้ามทะเล หรือคาบสมุทรข้ามมายังอาวบ้านดอนได้หลายทาง เช่น
เส้นทางจากตะกั่วป่ามาอ่าวบ้านดอน เส้นทางจากคลองท่อมมาอ่าวบ้านดอน เป็นต้น
แหล่งโบราณคดีบริเวณนี้
พบว่าโบราณเป็นเมืองท่าสำคัญที่มีบทบาทในการค้าขายทางด้านฝั่งทะเลตะวันตกและฝังทะเลตะวันออก
เช่น
·
แหล่งโบราณคดีบ้านทุ่งตึก (เกาะคอเขา) ที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
·
แหล่งโบราณคดีควนลูกปัด ที่อำเภอคอลงท่อม จังหวัดกระบี่
·
แหล่งโบราณคดีวัดอัมพาวาส ที่อำเภอท่าชนะ จังหวัดสงขลา
·
แหล่งโบราณคดีบ้านแหลมโพธิ์ ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ซึ่งพบร่องรอยการนับถือศาสนาพราหมณ์ในชุมชนโบราณ
และพบศิลปกรรมรูปพระวิษณุทำด้วยศิลาที่เก่าสุด สร้างราว
พุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๑
ที่วัดศาลาทึง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
นอกจากนี้ยังพบประติมากรรมรูปพระวิษณุศิลา ๒ องค์ในถ้ำสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม
จังหวัด
นครศรีธรรมราช
ซึ่งได้รับอิทธิพลศาสนาพราหมณ์จากวัฒนธรรมอินเดีย
เป็นรูปพระวิษณุที่เป็นประติมากรรมแบบเดียวกับรูปพระวิษณุที่พบในบริเวณลุ่มแม่น้ำกฤษณา
เขตปกครองของราชวงศ์อิกษวากุ เมืองนาคาชุณโกณฑะ เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๘-๙
และยังพบพระพุทธรูปสลักจากศิลา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
และพระพุทธรูปหล่อสำริด ๒ องค์ พบที่อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานีองค์หนึ่ง
และอำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาสองค์หนึ่ง
ซึ่งเป็นอิทธิพลพระพุทธศาสนาที่มาจากลุ่มแม่น้ำกฤษณา เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๑
เช่นเดียวกับฉีตูหรือเซียะโท้ว เรื่องราวของอาณาจักรหรือรัฐฉีตูหรือเซียะโท้วนี้
ปรากฏในจดหมายตุจีนสมัยราชวงศ์สุย (พ.ศ. ๑๑๓๑-๑๑๖๑) ที่บันทึกว่า
กษัตริย์จีนนั้นได้ส่งราชทูตไปเจริญทางพะราชไมตรีกับรัฐเซียะโท้ว ใน พ.ศ. ๑๑๕๐
โดยคณะนี้ลงเรือสำเภา ที่ท่าเรือนำไฮ่ (คือ เมืองกวางตุ้ง) ใช้เวลาเดินทางกว่า
๑๐๐ วัน
เมื่อเดินทางถึงเขตดินแดนของเมืองนี้แล้วเรือของราชทูตนั้นต้องถูกลากจูงไปตามน้ำเป็นเวลากว่าหนึ่งเดือน
จึงจะเข้าไปถึงเมืองหลวงของรัฐเซียะโท้ว
ซึ่งเป็นอาณาจักรที่ทีอาณาเขตกว้างขวางหลายพันลี้ )๑ ลี้ เท่ากับ ๕๗๖
เมตร)ทิศเหนือจดทะเลใหญ่ ทิศใต้จดรัฐโฮโลตัน (คือกลันตัน)
นอกจากพงศาวดาร
ตุงเตียน และไท ปิง ยูลัน แล้วม้าตวนหลิน ยังเขียนเล่าไว้ใน เวน เฮียน ตุง
เกา
ซึ่งป็นจดหมายเหตุที่เขียนในปลายราชวงศ์หยวน โดยอ้างความจากตุงเตียน
มีความเล่าให้ฟังว่า
พระเจ้ากรุงเซียะโท้ว
นั้นประทับอยู่นครเส็งซี (คือ สิงห์บุระ บริเวณเมืองสงขลาหรือสิงคโปร์)
ซึ่งพระราชวังนั้นมีประตูเข้าถึง ๓ ชั้น แต่ละชั้นนั้นอยู่ห่างกัน ๑๐๐ ก้าว
แต่ละแระตูนั้นมีการเขียนภาพเทวดาเหาะ ภาพพระโพธิศัตว์ และเทวดาอื่น ๆ
อยู่ตามบานประตู ซึ่งแขวนดอกไม้ทองและระฆังใบเล็ก ๆ
ทีมีพนักงานหญิงหลายคนทำหน้าที่ประโคมดนตรีหรือถือดอกไม่ทองคำและเครื่องประดับต่าง
ๆ และมีผู้ชายสี่คน (แต่งกายเหมือนเทวดาเซียวกาง
ซึ่งสลักเฝ้าประตูสี่ทิศของเจดีย์ในพระพุทธศาสนา) ยืนเฝ้าประตูราชวัง
พวกทหารที่เฝ้าอยู่นอกประตูราชวังนั้นถืออาวุธหลายชนิด
อาคารภายในราชวังนั้นประกอบด้วย พระที่นั่งจำนวนหลายหลังติดต่อกัน
(หมู่ปราสาทราชมณเฑียร) พระที่นั่งทุกองค์นั้นมีประตูทางเข้าอยู่ทางทิศเหนือ
พระเจ้าแผ่นดินประทับอยู่บนราชบัลลังก์ (พระแท่น) ที่มีฐาน ๓ ชั้น
ฉลองพระองค์ด้วยผ้าสีกุหลาบ มีรัดเกล้าเป็นดอกไม้ทองคำ มีสร้อยพระศอประดับเพชร
มีพนักงานเฝ้าซ้าย ขวา ด้านละ ๔ คน มีทหารรักษาพระองค์มากว่า ๑๐ คน
ด้านหลังพระราชบัลลังก์นั้นมีแทนบูชาทำด้วยไม้บุแผ่นทองคำและเงิน
(ไม้ที่สร้างแท่นนั้นเป็นไม้หอมชนิดต่าง ๆ ๕ ชนิด )
ด้านหลังแท่นบูชานั้นมีโคมไฟทองคำแขวนอยู่
ด้านข้างประทับที่ประทับนั้นตั้งกระจกเงาแท่นละ ๑ บาน
หน้ากระจกนั้นมีหม้อน้ำทำด้วยโลหะ มีกระถางธูป (ทำด้วยทองคำ) ตั้งอยู่
ด้านหน้ากระถางธูปมีวัวทองคำหมอบอยู่ มีผ้าประดับด้วยเพชรพลอยและมีพัดโบก
วางอยู่สองข้าง มีพราหมณ์นับร้อยคนนั่งเรียงกันสองแถวโดยหันหน้าเข้าหากัน
ทางด้านตะวันออก และด้านตะวันตกนั้นมีข้าราชการผู้ใหญ่หลายระดับ
ตั้งแต่ระดับสูงที่ปกครองดูแลเมืองหลวง ส่วนระดับหัวเมืองมีเจ้าตรองเมือง (นายก)
๑ และเสนาบดี (บดี) ๑๐ คน
ประชาชนผู้นับถือพุทธศาสนา นั้นเนื่องจากมีความเคารพในพวกพราหมณ์อยู่มากประชาชน
ชายหญิงพวกนี้จะเจาะหู ผู้ชายดัดผม ส่วนผู้หญิงนั้นจะเกล้าผมไว้เพียงต้นคอ
ทั้งชายหญิงนั้นทอผ้านุ่งห่มเอง ส่วนใหญ่มีสีกุหลาบและสีพื้น
นิยมทาตัวด้วยน้ำหอม แม้ว่าจะเป็นชั้นสูงมีอำนาจมาก
เมื่อจะจี้ทองคำใช้ต้องขออนุญาตจากกษัตริย์ก่อน
สำหรับประเพณีแต่งงาน
นั้นต้องมีการหาวันมงคล (ฤกษ์) วันหนึ่งและก่อนวันมงคล ๕ วัน
โดยผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวเป็นผู้จัดงานและเลี้ยงดูญาติมิตร
และบิดาของเจ้าสาวจะจับมือเจ้าสาวและยกให้เป็นลุกเขย และในวันที่ ๗ พิธีกรรมต่าง
ๆ จะสิ้นสุดลง นับว่าคู่บ่าวสาวได้เป็นสามีภรรยากันแล้ว
มีการแบ่งทรัพย์สมบัติให้ครอบครัวใหม่ และมีการสร้างบ้านใหม่ให้คู่สามี
ภรรยา ที่แยกไปอยู่ต่างหาก ยกเว้นบุตรชายคนสุดท้องนั้นจะต้องอยู่กับบิดามารดา
ประเพณีการปลงศพนั้นหากบิดามารดาหรือญาติพี่น้องเสียชีวิต ลูกหลานผู้ชายจะโกนหัว
และจะ
นำไม้ไผ่มาสร้างเป็นแคร่และยกสูงเหนือน้ำ นำศพมาวางบนแคร่ เอาฟืนมากองรอบศพ
ประดับตกแต่งบริเวณงานด้วยธง จุดธูป เป่าสังข์ ตีกลอง แล้วจุดไฟที่กองนั้น
เพื่อเอาศพ เมื่อไฟไม้ศพแล้วก็ล่วงจมน้ำไป
ทั้งชนชั้นสูงและชนชั้นธรรมดาจะเผาด้วยวิธีนี้
แต่สำหรับพระเจ้าแผ่นดินจะมีการเก็บกระดูกที่เหลือจากกองไฟและนำไปเก็บรักษาไว้ในโกศทองคำ
แล้วนำไปบรรจุไว้ที่วัดแห่งหนึ่ง
อาณาจักรหรือรัฐเซียะโท้วนี้ได้ส่งคณะทูตไปยังเมืองจีนเป็นการตอบแทนพระราชไมตรี
กันในปี พ.ศ. ๑๑๕๑
๑๑๕๒ และ ๑๑๕๓
พร้อมกับส่งมงกุฎทองลายดอกชบา ผลิตผลของป่าและการบูรไปเป็นเครื่องบรรณาการด้วย
สำหรับที่ตั้งอาณาจักรหรือรัฐเซียะโท้วนี้
มีการสันนิษฐานว่าน่าจะอยู่บริเวณจังหวัดสงขลา เมืองปัตตานี และเมืองนราธิวาส
หรือเมืองไทรบุรี (เคดะห์) ซึ่งอยู่ในมลายู
ข้อน่าศึกษาก็คือ
การเดินทางไปยังเซียะโท้วนั้นต้องลากจูงเรือไปตามลำน้ำเป็นเวลากว่าหนึ่งเดือนจึงมีเมืองหลวงเซี้ยโท้ว
อาณาจักรแห่งนี้มรอาณาเขตกว้างหลายพันลี้
ถือว่าเป็นอาณาจักกว้างใหญ่ไพศาลแห่งหนึ่ง หาก
ไม่มีความระบุว่าทิศเหนือจดทะเลใหญ่ ทิศใต้จดรัฐโฮโลตัน
คือกลันตันปแล้วก็หมายเอาว่า เซียะโท้วนี้ น่าจะเป็นอาณาจักรสยาม
ที่สอดคล้องกับการมีพระราชวัง ที่มีกำแพง พระนครห่าง ๑๐๐ ก้าว
และมีพระราชบัลลังก์ มีหมู่พระที่นั่งที่เป็นราชมณเฑียร
เหมือนพระราชวังหลวงในกรุงศรีอยุธยา ลักษณะของพระราชวังเช่นนี้
จะมีขึ้นบริเวณเมืองสงขลา เมืองปัตตานี และเมืองไทรบุรี
นั้นก็ดูติดขัดที่นับถือศาสนาอิสลาม และไม่น่าจะมีพราหมณ์
หรือพระราชวังขนาดใหญ่ตามจดหมายเหตุของม้าตวนหลิน
จึงมีข้อน่าศึกษาว่าน่าจะเป็นบริเวณพื้นที่ของเมืองนครศรีธรรมราช
เมืองสุราษฎร์ธานี ที่มีกษัตริย์และศาสนาพราหมณ์เข้มแข็งมาอยู่ก่อน
ซึ่งแต่เดิมนั้นเมืองนี้รวมอยู่กับมลายู และเป็นเมืองหนึ่งของอาณาจักรศรวิชัย
ดันดันหรือตันตัน
เป็นเมืองหนึ่งทีอยู่ทางตอนใต้ของเมืองฉีตู ปรากฎชื่อในจดหมายเหตุสมัย
ราชวงศ์เหลียง (พ.ศ.
๑๐๔๕-๑๐๙๙) มีความเล่าว่า ในปี พ.ศ. ๑๐๗๓ นั้นเมือง ดันดันได้ส่งคณะทูตไปจีน
พร้อมกับเครื่องบรรณาการประกอบด้วยพระพุทธรูปปลักจากงาช้าง ๒ องค์ สถูป ๒
องค์ ไข่มุกอย่างดี ผ้าฝ้าย น้ำหอมต่าง ๆ และยา
ต่อมา พ.ศ. ๑๐๗๘
ได้ส่งคณะทูตไปเมืองจีนอีกเป็นครั้งที่สอง และใน พ.ศ. ๑๑๖๙
ได้มีบันทึกว่าจีนได้ตอบรับคณะทูตจากเมืองดันดัน
ต่อมาไม่ปรากฏชื่อเมืองนี้ในบันทึกของจีนอีก เมืองดันดัน
ยังไม่ทราบว่าอยู่ตรงที่ใด
พันพันหรือพานพาน
ในจดหมายเหตุจีนราชวงศ์เหลียงและพงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ถัง
ได้บันทึกถึงเมืองนี้ว่าพันพันนัน ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลที่เป็นอ่าว
อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศหลินยี่ (คือ อาณาจักรจามปา)
เรือสำเภาจากเมืองเกียวเจา อาจแล่นไปถึงได้ภายใน ๔๐ วัน
พันพันนั้นอยู่เหนือลังยาเสียว และมีอาณาเขตติดต่อกัน
ประชากรนั้นศึกษาหนังสือจากพวกพราหมณ์ แต่มีศรัทธาในพระพุทธสาสนา และใน พ.ศ.
๑๑๗๘ นั้นได้จัดส่งสิ่งของพื้นเมืองเป็นเครื่องบรรณาการไปถวายจักรพรรดิของจีน
(พระเจ้าถังไท่จง)
ต้านหมาหลิงหรือตันมาลิง ในบันทึกของชาวจูกัว (พ.ศ. ๑๗๖๘)
ซึ่งผู้มีบทบาทสำคัญในการค้าต่างประเทศของจีนในสมัยราชวงศ์ซุ่ง
โดยทำหน้าที่ประจำอยู่ที่เมืองท่าของฮกเกี้ยนนั้น
ได้บันทึกถึงเมืองต้าหมาหลิงไว้ว่า เมืองนี้มีกำแพงไม้ล้อมรอบ กำแพงนี้กว้าง
๖-๗ ฟุต และสูงกว่า ๒๐ ฟุตตอนบนของกำแพงนั้นกว้าง อาจใช้เป็นลานต่อสู้ได้
บ้านของข้าราชการสร้างด้วยไม้กระดาน ในขณะที่บ้านคนธรรมดาสร้างด้วยไม้ไผ่
มีใบไม้ทำเป็นฝากั้นห้อง (แผงไม้สานที่มีใบไม้) และผูกมัดด้วยหวาย
ประชากรนิยมขมวดผมไว้ข้างหลัง (เกล้ามวยผม)แบพราหมณ์)
และเดินเท้าเปล่าหรือใช้ควายเป็นพาหนะ ผลิตผลพื้นเมืองมีขี้ผึ้ง ไม้จันทน์
ไม้มะเกลือ การบูร งาช้าง และนอแรด
การค้านั้นของเมืองนี้มีพ่อค้าชาวต่างชาติคอยหาสินค้านานาชนิด มาขายให้ประชาชน
นับตั้งแต่สินค้าที่เป็นของจำเป็นใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เกลือ น้ำตาล ข้าว
และเครื่องปั้นดินเผา ไปจนถึงสิ้นค้าฟุ่มเฟือย เช่น ผ้าไหม เครื่องเคลือบ
ภาชนะ โลหะทำด้วยเงินและทอง
จากต้าหมาหลิงนี้
เดินทางโดยเรือ ๖ วัน ๖ คืน ไปถึงลังกาเสียว ซึ่งอาจเดินทางโดยทางบกได้ด้วย
ในจารึกของพระเจ้าราเชนทร์ โจฬะที่ ๑
ซึ่งกษัตริยฺราชวงศ์โจฬะที่ครองเมืองอินดียได้
ที่เมืองตันเซอร์ของกษัตริย์จากหลังฐานต้าหมาหลิงแห่งนี้ ได้กล่าวว่า
ต้าหมาหลิงนั้นเคยตกเป็นเมืองขึ้นอยู่อาณาจักรศรีวิชัย ในครั้งนั้น พ.ศ. ๑๕๖๘
พระองค์ได้ยกทัพไปต่ออาณาจักรศรีวิชัยนั้นมีหลายเมืองรวมทั้งต้าหมาหลิงด้วยต้าหมาหลิงแห่งนี้
คือ ตามพรลิงค์ หรือเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นชื่อที่ปรากฏใน จารึกเมืองตรหิ
สังยาเสียวหรือลังกาสุกะ
เมืองนี้ปรากฏชื่อในกฎหมายเหตุจีนราชวงศ์เหลียงและในจดหมายเหตุมลายูและชวา เรียก
ลังกาสุกะ ในหลักฐานของจีนกล่าวว่า รัฐลังยาเสียวนี้ตั้งมากว่า ๔๐๐ ปีแล้ว
มีอาณาเขตจดทะเลทั่งสองฝั่งของแหลมมลายู โดยตั้งอยู่ใต้รัฐพันพัน
กล่าวคือด้านตะวันออกนั้นจดอ่าวไทย (แถบปัตตานี) และด้านตะวันตกอ่าวเบงกอล
(ด้านเหนือแคว้นไทรบุรีหรือเคดะห์)
จึงทำให้เป็นเมืองที่ควบคุมเส้นทางบกที่เดินทางไปยังดินแดนมลายู
กษัตริย์เมืองนี้นุ่งโสร่ง ทำด้วยผ้าฝ้ายกันมัน ไม่สวมรองเท้า
ประชาชนซอยผมสั้นและนุ่งโสร่ง เช่นเดียวกัน สินค้าพื้นเมืองมี งาช้าง
และผ้าแพรมาแลกเปลี่ยนกับสินค้าพื้นเมือง
ลังยาเสียวนี้เคยเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรศรีวิชัยเช่นเดียวกันลังยาเสียวหรือลังกาสุกะ
สันนิษฐานกันว่า น่าจะอยู่บริเวณยะรัง จังหวัดปัตตานี
ตักโกละ ในบันทึกของปโตเลมีและมหานิเทศ มิลินทปัญหา ได้กล่าวถึงเมืองตักโกละว่า
พ่อค้าที่ร่ำรวยจะต้องเดินทางมาค้าขายที่ตักโกละ จีนและสุวรรณภูมิ
ซึ่งกล่าวว่าตักโกละว่า พ่อค้าที่ร่ำรวยจะต้องเดินทางมาค้าขายที่ตักโกละ
จีนและสุวรรณภูมิ ซึ่งกล่าวว่าตักดกละนั้นเป็นเมืองท่าที่โบราณ
ที่พ่อค้าจากโลกตะวันตกนินมเดินเรือมาแวะพักก่อนเดินทางไปเมืองอื่น ๆ
ตักโกละแห่งนี้เคยตกเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรศรีวิชัย
ตักดกละ
ในบันทึกของปโตเลมีละมหานิเทศ มิลิทะปัญหา ได้กล่าวถึงเมืองตักโกละว่า
พ่อค้าที่ร่ำรวยจะต้องเดินทางมาค้าขายที่ตักโกลละ จีนและสุวรรณภูมิ
ซึ่งกล่าวว่าตักโกละ
นั้นเป็นเมืองท่าโบราณนี้เคยตกเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรศรีวิชัย
ตักโกละ
นี้เป็นแหล่งที่กระงาน (ตลาดกระวาน-ตักโกวาน)
เป็นเมืองท่าโบราณเข้าใจว่าจะอยู่ชายฝั่งทะเลด้นตะวันตกแยงใต้ของคาบสมุทรมลายู
บริเวณเมืองตรังและปากน้ำตะกั่วป่า
|