ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  อาณาจักรมลายู

 

 

อาณาจักรมลายู

 

ดินแดนคาบแหลมมลายู  โดยเฉพาะปลายแหลมมลายูนั้นเคยเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของ  อาณาจักรศรีวิชัยมาก่อน  บนเกาะสุมาตรานั้น  เป็นที่ตั้งของเมืองปาเล็มบัง  ซึ่งเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย  ได้ลี้ภัยหนีข้าศึก    ต่อมาเมื่ออาณาจักรศรีวิชัยได้หมดอำนาจลง  พระราชาผู้ครองอาณาจักรศรีวิชัย  ได้ลี้ภัยหนีข้าศึก  คืออาณาจักรมัชฌาปาหิต  (ชวา)  ที่นำกำลังเข้ายึดเมืองหลวงได้  หลังจากที่มีสงครามกัน  พระราชาของอาณาจักรศรีวิชัย  พระองค์นี้ได้ลี้ภัยไปอยู่ยังเกาะสิงหปุระหรือสิงคโปร์

สำหรับเรื่องราวนั้นมีตำนานเล่ากันมาดังนี้

               

เมืองปาเล็มบัง  เมืองหลวงอาณาจักรศรีวิชัยนั้น  มีเนินเขาชื่อ  บูกิต  สีรีกันตัง  มหาเมรุ  นั้นมีตำนานเก่าเล่ากันว่า  มีสตรีสองคน  ได้มาทำนาปลูกข้าวอยู่ทางด้านหนึ่งของเนินเขาแห่งนี้  ต่อมาปีหนึ่งนั้นในคืนหนึ่งบริเวณนาข้าวนาข้าวที่นางปลูกได้ออกรวงสุกจนมองเห็นเนินแห่งนี้มีแสงทองอร่ามไปทั่งบริเวณ  (เหมือนปาฏิหาริย์)  วันรุ่งขึ้นนางทั้งสองได้ไปทุ่งนาได้พบว่านาข้าวที่นางปลุกไว้ได้สุกกล้าออกรวงจนทำให้รวง (เมล็ด)  ข้าวของนางเปลี่ยนเป็นสีทอง และใบข้าวเป็นสีเงิน  ซึ่งที่แห่งนั้นนางได้พบว่ามีบุรุษหนึ่ง  ๓ คน  สวมมงกุฎทองคำ  ทรงภูษาผ้าเนื้อดีราคาแพง  ชายหนุ่มนั้นเล่าว่าพระองค์ทรงเป็นเจ้าชายสืบเชื้อสายมาจาก  ราชาอิสกันดาห์ ซึ่งเป็นราชาผู้มีชื่อเสียงฐานะปกครองโลก  (เรื่องนี้ตำนานคล้าย  พระยาแถนสร้างโลกแล้วส่งเจ้าชายลงมาครองเมืองต่าง ๆ  )

               

ขณะนั้นเจ้าชายพระราชสวามี  (ภายหลังเป็นสุลต่าน  อิสกันดาร์  ซาห์  เนื่องจากหันไปนับถือศาสนาอิสลาม)แห่งเมืองปาเล็มบังองค์หนึ่ง ได้ไปอภิเษกกับเจ้าหญิงเมืองชวา  จึงเป็นเหตุให้มีพระนางนำหน้าว่า  ปรเมศวร (PARAMASWARA)  ครั้นเมือราชาผู้เป็นพระราชบิดาสิ้นพระชนม์ลง  เมือ  พระปรเมศวร  พระองค์นี้ขึ้นครองราชย์เป็นราชา  แล้วส่งตานุทูตนำเครื่องบรรณาการไปเป็นของขวัญถวายจักรพรรดิจีน  เหมือนกับเป็นการแสดงว่าอาณาจักรศรีวิชัยนั้นไม่ได้เป็นเมืองขึ้นกับอาณาจักรมัชฌาปาหิตของกษัตริย์ชวาต่อไปแล้ว  จึงเป็นเหตุให้ชวาไม่พอใจในการกระทำเช่นนี้  จึงให้รวบรวมกำลังทหารเข้ามารุกรานเพื่อสั่งสอนราชาเมืองปาเล็มบัง  ผู้เป็นพระราชบุตรเขย  กองทัพชวาเข้ายึดเมืองปาลัมบังได้

               

เหตุการณ์สำคัญครั้งนี้แม้ว่าพระปรเมศวร  จะนำทัพเข้าต่อสู้อย่างกล้าหาญก็จริง  แต่ก็หวั่นเกรงภัยสงคราอยู่แล้วนั้น  จึงให้ประชนของพระองค์ลงเรือที่เตรียมอยู่นอกฝั่ง  เมื่อเห็นว่าสู้ไม่ได้พระองค์ก็หนี ออกจากการรบพร้อมทั้งไพร่พลลงเรือมายังเมืองสิงหปุระหรือเมืองตุมาสิค  คือเมืองสิงคโปร์  ซึ่งขณะนั้นกษัตริย์ของเมืองสิงหปุระได้ทำการสวามิภักขึ้นกับอาณาจักรของชาวสยามอยู่  แต่ก็ให้การต้อนรับพระปรเมศวรอย่างดี  เนื่องจากพระปรเมศวรนั้นต้องการจะครองเมืองนี้  ดังนั้นเมื่อประทับอยู่ได้ ๘  วันพระองค์จึงได้ปลงพระชนม์กษัตริย์เมืองสิงหปุระเสีย  แล้วขึ้นครองเมืองสิงหปุระแทน  เนื่องจากกษัตริย์แห่งเมืองสิงหปุระนี้เป็รพระญาติราชาแห่งปาหัน (เมืองปัตตานี)  และกษัตริย์ของสยามจึงยกทัพเข้าตีเมืองสิงหปุระคืน  ดดยมรพระอนุ๙เจ้าเมืองสิงหปุระ  ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ บริเวณมะละกา  (บริเวณมะละกานี้เป็นพื้นที่ขึ้นอยู่กับอาณาจักรสยาม)  เมื่อปี  พ.ศ.  ๑๙๐๓  ตรงกับรัชกาลพระเจ้าอู่ทองหรือพระรามาธิบดีที่ ๑  แห่งกรุงศรีอยุธยา)  ได้เข้าร่วมทำการสู้รบขับไล่ด้วย  และแล้วก็ยังมีกองทัพอาณาจักรมัชฌาปาหิตมาร่วมสู่รบด้วย

               

เหตุที่กองทัพจากชวาได้มามีส่วนขับไล่พระปรเมศวรในครั้งนั้เนื่องจาก  พระปรเมศวรนี้  มีพระชายาองค์หนึ่ง  ชื่อ  แสง  รัยจนา  ตปา  เป็นบุตรีของข้าราชการในสำนักพระคลังของพระองค์  และสตรีผู้นี้จึงเป็นคนโปรดของ  พระปรเมศวร  ยิ่งนัก  นางจึงเป็นที่รังเกียจของบรรดาสตรีอื่นที่อยู่ในราชสำนัก  และนางเหล่านี้ได้พากันหาเหตุให้พระชาชาคนโปรดประพฤติเสื่อมเสีย   จนพระปรเมศวร  ทรงเชื่อว่าเป็นความจริง  จนสั่งประหารนางเสีย  (คล้ายเรื่องมาซูรีที่เกาะลังกาวี)  ทำให้บิดาของนางมีหนังสือไปแจ้งให้ราชาแห่งอาณาจักรมัชฌาปาหิต(พระเจ้าวิกรามาวัฒนะ)ขอให้ช่วยยกกองทัพมายึดเมืองสิงหปุระ  โดยตนขออาสาเป็นไส้ศึกพระปรเมศวร  เห็นว่าสงครามครั้งนี้ใหญ่หลวงนักจึงเสด็จหนีไปอยู่ที่เมืองมูอาร์  แล้วทรงสร้างวัง  สร้างป้อมปราการขนาดเล็กป้องกัน  พร้อมให้ไพร่พลตั้งบ้านเรือนที่นั่น  ห่างจากเมืองมูอาร์ไปนั่นมีหมู่บ้าน  (มะละกา)  ของชาวประมงประมาณ  ๒๐  หลังคาเรือน  ภายหลังจากที่ชาวประมงได้ส่งปลาค้าขายอยู่กับพระปรเมศวรได้  ๓  ปี  จึงทำให้ชาวประมงนั้นตัดสินใจเล่าให้พระปรเมศวรฟังว่า  หมู่บ้านของตนนั้นมีพื้นที่ทำเลเหมาะแก่การสร้างเมือง  จึงขอให้พระองค์และไพร่พลมาสร้างเมืองให้สวยงาม  ด้วยเหตุมีลมทะเลเหมาะแก่การสร้างท่าเรือที่ดีต่อไป  พื้นที่ส่วนใหญ่นั้นจะทำการปลูกข้าวดี  ดังนั้นพระปรเมศวรจึงตัดสินใจสร้างเมืองมะละกาขึ้น  โดยได้รับความช่วยเหลือจากพวกโจรสลัด  (น่าจะเป็นชาวประมงที่หันมามีอาชีพโจรสลัดแทน)  ซึ่งปล้นสินค้าจากเรือต่างชาติ  ต่อมาผู้คนเมืองปาเล็มบังได้อพยพมาอยู่ด้วย  จนทำให้เมืองมะละกาเป็นเมืองใหญ่และมีการค้าขายที่ผิดกฎหมาย  คือเป็นศูนย์กลางสินค้าของพวกโจรสลัด  ซึ่งมีการบังคับให้เรือแพที่ผ่านช่องแคบมะละกานั้นต้องแวะเมืองท่าแห่งนี้

 

เรื่องเมืองมะละกานั้นยังตำนานเล่าพิสดารอักว่า  พระปรเมศวร  หรือสุลต่าน  อิสกันดาร์ซาห์  นั้นได้เสด็จอพยพจากเมืองมูอาร์มัยังสถานที่ซึ่งต่อมาเป็นเมืองมะละกานั้น  เนื่องจากวันหนึ่ง  ขณะที่พระปรเมศวรออกล่าสัตว์  โดยติดตามสุนัขล่าเนื้อของพระองค์ได้ไล่ตามกระจงได้  ปรากฏว่ากระจงตัวนั้นหันกลับมาอย่างกะทันหัน  เข้าต่อสู้กับสุนัขล่าเนื้อของพระองค์แล้วดีดสุนัขจนหนี  พระองค์จึงตรัสว่า

 

“ตรงนี้แหละเป็นสถานที่ดี  ที่จะสร้างบ้านเมือง  ด้วยเหตุที่กระจงมันยังหันมาสู้กับสุนัขอย่างสุดฤทธิ์”

พระปรเมศวรจึงให้ไพรพลของพระองค์ได้สร้างเมืองขึ้นขึ้นตรงสถานแห่งนี้  และตั้งชื่อเมืองนี้ตามชื่อต้นไม้ที่พระองค์ใช้ยืนประทับอยู่คือ  ต้นมะละกา  ว่าต้นมะละกาก็เสริมความจากการเป็นหมู่บ้านของชาวประมงที่มามอบพ้นที่ให้พระองค์สร้างเมืองมะละกา

 

ภายหลังจาการกระทำของเมืองมะละกาก็มีปัญหากับอาณาจักรทัชฌาปาหิตและอาณาจักรสยามต่างอ้าง

สิทธ์ในการครอบครองคาบมหาสมุทรมลายูและดินแดนมะละกา  ดังนั้นเมืองมะละกาจึงยอมที่จะมีสัมพันธ์ไมตรีกับอาณาจักรสยาม  โดยส่งทองคำ  ๔๐  ออนซ์ เป็นเครื่องบรรณาการและอาณาจักรมัชฌาปาหิต (ชวา)  เพื่อสงบสงคราม  โดยมีการส่งข้าวมาให้  เมืองมะละกา  โดยเมืองมะละกานั้นคอยหาโอกาสฟื้นฟูเมืองมะละกาต่อไป

 

ต่อมา พ.ศ.  ๑๙๔๖  หยินซิง  ขันทีเป็นทูตจากจีนนำผ้าไหมมายังมะละกา  พระปรเมศวรจึงถือโอกาสขอความช่วยเหลือจาก  พระเจ้าเซ็งสูหรือหยุงโล้  จักรพรรดิจีนแห่งราชวงศ์หมิง  ให้ช่วยป้องกันมิให้อาณาจักรสยามรุกราน

ดังนั้นใน พ.ศ.  ๒๙๔๘  ปรเมศวร  จึงส่งทูตเมืองมะละกาไปติดต่อกับจีน  ครั้งนั้นจีนได้รับรองเมือง

สินค้ายอมจ่ายค่าเดินทางผ่าน)  ทำให้เมืองมะละกาเป็นศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญ  ของคาบสมุทรมลายู  ทำให้เป็นเส้นทางเครื่องเทศจากหมู่เกาะโมลุกกะ  ที่จะต้องแวะเมืองท่านี้  ก่อนจะต้องเดินทางไปอินเดียและชวา

 

ในระยะแรกนั้นเมืองมะละกายอมส่งเครื่องบรรณาการให้อาณาจักรสยาม  ครั้นเมื่อมีจักรพรรดิจีนส่งกองทัพเรือมาคุ้มครองทางทะเล  เมืองมะละกาจึงปลีกตนเป็นอิสระให้พ้นจากอำนาจกรุงศรีอยุธยาดูแลมะละกา  ด้วยจีนขณะนั้นต้องการขยายอำนาจทางดินแดนต่าง ๆ  แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  จึงมีการส่งคณะทูตจีนออกไปติดต่อค้าขายและสร้างสัมพันธไมตรีกับเมืองต่าง ๆ  ตามชายฝั่งอยู่แล้ว  ทำให้เมืองมะละกามีจีนคอยดูแล  และในปี  พ.ศ.  ๑๙๔๘  จีนจึงส่ง  เซ็งโห  คุมเรือรบออกมาดูแลเมืองมะละกาไม้ให้มีศัตรูรุกราน  จากที่เมืองมะละกาได้มีอำนาจคุมเรือสินค้าผ่านชิ่งแคบมะละกาได้เช่นนี้  (โดยมีกลุ่มโจรสลักสนับสนุนบังคับให้เรือ

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม อาณาจักรมลายู

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์