ศูนย์การค้าทางทะเลที่เมืองมะละกา
ศูนย์การค้าทางทะเลที่เมืองมะละกา
สืบเนื่องจากเหตุที่พระปรเมศวร พระราชาเมืองปาเล็มบัง
แห่งอาณาจักรศรีวิชัยหนีภัยจากการรุกราน
ของอาณาจักรมัชฌาปาหิต
จนพระปรเมศวรต้องทิ้งเมืองปาเล็มเข้ามายึดครองเมืองสิงหปุระและปลงพระชนม์เจ้า
เมืองสิงหปุระนั้น
ทำให้เจ้าเมืองไทรบุรีแห่งอาณาจักร ซึ่งเป็นญาติยกทัพตีเมืองอยู่กับไทยมาก่อน
พระปรเมศวรต้องหนีมาที่เมืองมูอาร์และต่อมา ๕ ปี ชาวประมง
จึงยกหมู่บ้านสร้างเป็นเมืองมะละกาขึ้นนั้น
เรื่องราวของเมืองมะละกา จึงเป็นเมืองที่น่าสนใจมากขึ้น
เพราะเป็นเมืองท่าและศูนย์การค้าที่สำคัญ ซี่งพ่อค้าชาวอินเดีย
พ่อค้าชาวจีนและพ่อค้าต่างชาติ ได้เดินเรือมาแวะจอดที่เมืองมะละกา
ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังเมืองอื่น ๆ
จึงถือว่าเป็นจุดเผยแพร่วัฒนะธรรมและศาสนาที่สำคัญของแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระปรเมศวรหลังจากสร้างเมืองมะละกาแล้วนั้น
ได้ทำการปลูกข้าวและพืชผักส่งการค้าขาย จึงทำให้
เมืองมะละกาเป็นเมืองท่า และมีอำนาจในการดูแลช่องแคบมะละกาและการเดินเรือค้าขาย
ในไม่ช้านักเมืองมะละกาก็เจริญเป็นศูนย์การค้าใหญ่ของผิดกฎหมาย(ของพวกโจรสลัดทางทะเล)ครั้นเมื่อเกิดกรณีพิพาทในอำนาจการดูแลช่องแคบมะละกากับอาณาจักรมัชฌาปาหิต
และอาณาจักรสยามที่ครองดินแดนแถบนี้
พระปรเมศวรจึงยอมทำสัญญาสงบศึกโดยยอมส่งทองคำหนัก ๔๐ ทาเอลล์ (TAELS-ตำลึงจีน)
เป็นเครื่องบรรณาการแก่กึงศรีอยุธยา และยอมสงบศึกกับอาณาจักรมัชฌาปาหิต
จนทั้งสองอาณาจักรมีสัมพันธ์ไมตรีส่งข้าวให้แมะละกา
ขณะนั้นพระเจ้าเซ็งสี
จักรพรรดิจีนราชวงศ์หมิงได้มีนโยบายที่ดูแลทางแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และสร้างไมตรีเพื่อประเทศต่าง ๆ ยอมส่งเครื่องบรรณการการไปถวายอย่างประเทศราช
แต่กษัตริย์อาณาจักรแถบนี้กลับคิดว่า การนำเครื่องบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีนนั้น
ประเทศของตนจะได้รับการบรรณาการตอบแทนมากกว่า ได้รับสิ่งของที่มีราคากว่านำไปถวาย
และการยอมส่งเครื่องราชบรรณาการตอบแทนมากกว่า
ได้รับสิ่งของที่มีราคากว่าสิ่งที่นำไปถวาย
และยอมส่งเครื่องราชบรรณาการไปให้ก็จะทำให้จักรพรรดิจีนทรงยอมให้บรรดาพ่อค้าจากประเทศของพระองค์ไปทำการค้ากับจีนได้สะดวกขึ้น
โดยเฉพาะพูตคนหนึ่งจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายภาษีสินค้าต่าง ๆ ที่นำมา
เป็นการประหยัดที่ไม่ต้องจ่ายภาษีด้วย
ดังนั้นในเวลาที่มหาจักรพรรดิจีนจึงต้องให้นายพลเรือหยินชิง
นำกองทัพเรือไปเยี่ยมเยือนดินแดนต่างๆ
ที่อยู่ทางเอเชียตอนใต้เพื่อให้กษัตริย์ยอมส่งเครื่องราชบรรณาการไป
จิ้มก้อง
(ยอมสวามิภักดิ์) ต่อจีน นายพลผู้นี้ได้แวะเมืองมะละกา
เห็นว่าเมืองนี้มีท่าเรือดีและชาวเมืองให้การต้อนรับ
จึงสนใจจึงมีการแนะนำการค้าต่อปรเมศวรและเหตุให้มีการติดต่อสัมพันธ์ไมตรีต่อมา
กล่าวคือ
ใน พ.ศ. ๑๙๔๖
นั้นพระเจ้าเซ็งสีหรือพระเจ้าหยุงโล้ว จักรพรรดิจีนได้ส่งขันทีชื่อ หยินชิง
ให้เป็นทูตเดินทางมาเมืองมะละกาพร้อมกับแพรเหมยกดอก และสิ่งของอื่น ๆ
เป็นบรรณาการตอบแทนนั้น
ทำให้พระปรเมศวรได้โอกาสขอให้จักรพรรดิจีนได้ช่วยเหลือป้องกันเมืองมะละกาไม่ให้อาณาจักรทั้งสองมีอำนาจและรุกรานได้
ใน พ.ศ. ๑๙๔๘
พระปรเมศวร ได้ส่งทูตจากเมืองมะละกาไปติดต่อกับจีน
ครั้งนั้นจักรพรรดิจีนได้ยอมรับเอาเมืองมะละไว้ดูแล
หมายความว่ามะละกาเป็นส่วนหนึ่งของจีน
ที่จีนให้เจ้าเมืองปกครองเมืองนี้ในนามจักรพรรดิจีน
ด้วยขณะนั้นจีนต้องการขยายอำนาจทางการค้ามาทางแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จึงส่งคณะทูตจีนไปติดต่อค้าค้าขายและสร้างสัมพันธไมตรีกับเมืองต่าง ๆ
ตามชายฝั่งทะเล กล่าวกันว่าในครั้งนั้น พระปรเมศวรเป็นกษัตริย์แห่งมะละกาด้วย
ดังนั้นใน พ.ศ.
๑๙๔๘ จีนจึงส่งเซ็งโหคุมกองเรือรบมาดูแลเมืองมะละกา ไม่ให้มีศัตรูรุกราน
ระยะนั้นเนื่องจากเมืองปาไซ อยู่บนเกาะสุมาตรานั้น
เป็นเมืองที่มีการค้าขายใหญ่โตแห่งหนึ่ง
ดังนั้นปรเมศวรจึงมีพระราชสาส์นไปขอร้องให้สุรต่านแห่งปาไซ
ให้พ่อค้ามาค้าขายที่เมืองมะละกาบ้าง
หากไม่มาค้าก็จะพิโรธที่ไม่รวมมือทางการค้าต่อกัน
สุลต่านปาไซไม่ยอมทำตามและไม่วิตกเกรงกลัวเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป
ภายหลังนั้นจักรพรรดิจีนได้ส่งแมวน้ำ ฉลองพระองค์ ๑ สำรับ (ร่ม) ๑ คันมา
บรรณาการกับพระ
ปรเมศวร
และแจ้งว่าเมืองมะละกาไม่จำเป็นต้องส่งเครื่องบรรณาการและไปขึ้นกับอาณาจักรสยามอีต่อไปแล้ว
เมืองมะละกาจึงหยุดการส่งเครื่องราชบรรณาการอยู่หลายปี จนเมืองมะละการ่ำรวยขึ้น
จนกษัตริย์แห่งอาณาจักรสยามต้องการเครื่องราชบรรณาการมากกว่า ๔๐ ทาเอลล์
หากไม่ส่งเครื่องราชบรรณาการแล้วจะยกกองทัพมาตีเมืองมะละกา
เพื่อบังคับให้ส่งตามต้องการ
ดังนั้นพระปรเมศวรจึงส่งราชสาส์นแจ้งไปยังจักรพรรดิจีนได้มีพระราชสาสน์ขอให้กษัตริย์สยามได้ปล่อยให้เมืองมะละกาเป็นอิสระ
แล้วจีนได้ส่ง จอมพลเรือชื่อ เซ็งโห (CHENG
HO) คุมกองทัพเรือขนาดใหญ่
แล่นเข้ามาแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมืองมะละกาจึงเป็นอิสระและอาณาจักรสยามก็ไม่กล้ายกกองทัพมาตีเมืองนี้ได้
ต่อมาจักรพรรดิจีนชิ้นพระชนม์ลง
นายพลเซ็งโหก็ยึดคุมกองทัพเรือมาคอยดูแลเมืองมะละกา และใน
พ.ศ. ๑๙๕๔
พระปรเมศวรได้เสด็จไปยืนกรุงปักกิ่งเป็นการส่วนพระองค์เพื่อสร้างสัมพันธไมตรี
(น่าจะเดินทางไปแสดงพระองค์ว่าเมืองมะละกานั้นยังสวามิภักดิ์ตามธรรมเนียมที่จักรพรรดิจีนองค์ใหม่ขึ้นครองราชย์มากกว่า
) และในปี พ.ศ. ๑๙๕๕ พระปรเมศวรได้ส่งพระนัดดาไปจีน
เนื่องจากเมืองมะละกานั้นมีการติดต่อทำการค้ากับพ่อค้าที่เมืองท่าเกมเบย์
ซึ่งอยู่ชายฝั่งตะวันออกของอินเดีย
จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้พ่อค้ามุสลิมของอินเดีย รวมทั้งพวกเปอร์เซีย
และพ่อค้าอาหรับได้พากันเดินทางจากเมืองท่านเกมเบย์มาค้าขายกับเมืองมะละกา
ครั้งนั้นได้แลกเปลี่ยนการค้ากับการศาสนา
ต่อมาจึงมีการเผยแพร่ศาสนาอิสลามเข้าไปทางเหนือของเกาะสุมาตรา (เมืองปาไซ)
และเมืองมะละกา
ครั้นเมื่อพ่อค้าจากเมืองปาไซ ได้เดินทางมาเห็นว่าเมืองมะละกามีทำเลการค้า
มีท่าเรือดีและมีที่กำบัง
คลื่นลม
แล้วพระปรเมศวรนั้นมีไมตรีทำการค้าขายกัน (ตามที่เคยขอไปก่อนแล้ว)
ทำให้พ่อค้าเมืองปาไซ ได้พากันมาทำค้าขายและใช้ทาเรือเมืองมะละกา
ตลอดจนทำให้พ่อค้าจากเมืองอื่นพากันมาค้าขายที่เมืองมะละกาแทนเมืองปาไซ
จึงทำให้เมืองมะละกามีความเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว
เนื่องจากสุลต่านและพ่อค้าเมืองปาไซนั้นนับถือศาสนาอิสลามเป็นมุสลิม ดังนั้น
กลุ่มพ่อค้าเมืองปาไวที่ไปมาค้าขายจึงได้พยายามที่จะชักชวนให้ปรเมศวรนับถือศาสยาอิสลามเข้าเป็นมุสลิมเสียจะไดเป็นทำการค้าขายที่ดีขึ้น
ในที่สุดความพยายามนั้นก็ตกลงใช้วิธีที่ดีคือสุลต่านเมืองปาไชยกราชธิดา
ได้อภิเษกกับปรเมศวรเพื่อให้เข้าเป็นมุสลิม ทำให้พระปรเมศวร
มีพระนามภายหลังอีกว่า สุลต่าน อิสกันดาร์ ซาห์ และชิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๑๘๖๗
ในขณะที่พระองค์ทรงมีพระชนม์มายุ ๗๒ พรรษา
(ตรงกับราชการสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ของกรุงศรีอยุธยา)
ดังนั้นมะละกาจึงมีกษัตริย์ปกครองนั้นจึงมีเหตุการณ์เกี่ยวข้องกับกรุงศรีอยุธยาดังนี้
๑. พระปรเมศวร
(สุลต่าน อิสกันดาร์ ซาห์ กษัติริยือาณาจักรศรวิชัย
ที่มาสร้างเมืองมะละกาและได้ครองเมืองใน พ.ศ. ๑๙๔๓-๑๙๖๗
(ตรงกับสมัยพระเจ้าอู่ทอง สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา)
๒. ศรีมหาราชา
พระโอรสของพระปรเมศวร พ.ศ. ๑๙๖๗-๑๙๘๗ สมัยพระองค์ได้ส่งทูตไปขอให้
จีนรับรองการดูแลเมืองมะละกา (มีความแจ้งว่า พ.ศ. ๑๙๕๗นั้นโมฮัมเด อิสกันเตอร์
ซาห์ ได้เสด็จไปจีนเพื่อแจ้งการสิ้นพระชนม์ของพระบิดา-ศักราชผิดไป ๑๐ ปี )
ต่อมาพระองค์ได้เปลี่ยนนับถือศาสนามุสลิมตามความฝันที่มีเรือมาจากเมืองเจดดาห์และพระมะหะหมัดเดินทางมาหาพระองค์
ต่อมาพระองค์มีพระบรมราชโองการให้ชาวมะละกานับถือศาสนาอิสลาม
(ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ)
๓. ราชา อิบราฮิม
(สรีปรเมศวร เทว เซห์) พระโอรสของพระศรีมหาราชา พ.ศ. ๑๙๘๗-๑๙๘๙
มีการส่งทูตไปจีนใน พ.ศ. ๑๙๘๘ ปีรุ่งขึ้นถูกชิงอำนาจและถูกปลงพระชนม์โดย
พระเชษฐาต่างมารดา ซึ่งเป็น ทมิฬมุสลิม
โดยมีมารดาเป็นธิดาองพ่อค้าทมิฬจากเมืองปาโซ
๔. ราชา กาชิม
เป็นพระเชษฐาต่างมาดาของราชาฮิบราฮิม เข้าชิงอำนาจ พ.ศ. ๑๙๘๙-๒๐๐๒
ในสมัยพระองค์ไม่ได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปให้จักรพรรดิจีน
และมีเหตุการณ์สำคัญที่จะต้องเตรียมการสู้รบกับอาณาจักรสยาม การสู้รบครั้งนั้น
ตวนเปรัค บุตรชายของ เป็นดาหารา (คืออัครมหาเสนาบดี) คนเก่า
ซึ่งพลาดไม่ได้เป็นดาหาราต่อจากบิดานอกจากยังหนุ่ม (ทำให้สุลต่าน
สนับสนุนให้ตวนอาลี ให้เป็นดาหาราแทน) ควน เปรัคได้รับคำสั่งให้ไปช่วยสู้รบ
โดยให้เดินทางมาจากเมืองกลางและให้รวบรวมผู้คนของตนทั้งชายและหญิงเด็กเล็กพามาเมืองมะละกา
จึงเป็นเหตุให้ชาวเมืองพากันเยอะเย้ยที่ ตวน
เปรัคนั้นเกณฑ์ชายพร้อมผู้หญิงเด็กเล็กมาด้วยแทนที่จะเกณฑ์ชายฉกรรจ์เท่านั้นมาสู้รบ
ตวน เปรัค กลับตอบว่า ที่ใดมีครอบครัวของผู้ชาย ที่นั่นเป็นบ้านของเรา
แล้วคนเหล่านี้จะทำการสู้รบเพื่อป้องกันกับครอบครัวของตน
แล้วจำการต่อสู้รบอย่างเข้มแข็งเป็น ๑๐ เท่า
ดังนั้นเมื่อมีการสู้รบกับกองทัพจักรสยามของคน ตวน เปรัค
จึงสู้รับกับข้าศึกอย่างเข้มแข็ง และป้องกันเมืองมะละกาได้ การที่ ตวน เปรัค
ได้แสงความสามารถสู้รบด้วยปัญญาและทำการขับไล่ข้าศึกษาออกไปได้จึงเป็นให้สุลต่านต้องยอมรับ
ตวนเปรัค เข้ารับราชการในเมืองมะละกา โดยแต่งตั้งให้เป็น ปาตุกะ ราชา
เป็นตำแหน่งที่รองจากสุลต่าน จึงทำให้ชาวเมืองพากันกลับมามองเห็นว่า ตวน เปรัค
นั้นจะได้เป็น เบ็นดาหารา เหมือนบิดา จึงมีการกดดันให้สุลต่านหาทางแก้ไข
หาไม่แล้วจะเกิดการสู้รบกันเอง สุลต่านจึงต้องจำยอมให้ ตวน เปรัค เป็น ดาหารา
ส่วน ตวน อาลี ซึ่งเป็นดาหาราอยู่นั้น ให้กลับลงมาเป็นเสนาบดีการคลัง
ต่อมากองทัพสยามได้ยกกองทัพมาตีเมืองมะละกาอีกครั้ง
เมืองมะละกาได้เตรียมการสู้รบโดยจัดแพ และส่ง ตวน ดูมาร์
ออกไปสำรวจกำลังทัพเรือ พบว่ากองทัพเรือสยามอยู่ที่ บาตู ปาหัต
จึงทำการจูงเรือที่แล่นนำล่วงหน้าเสีย ๒ ลำ คืนนั้นตวน เปรัค
ได้ให้ไพร่พลจุดครบไฟตามริมฝั่ง ให้กองทัพเรือสยามเห็นว่ามีคนอยุ่มากมาย ปรากฏว่า
ทำให้กองทัพสยามถอยทัพกลับ ด้วยเห็นว่า เมืองมะละกานั้นมีกำลังเข้มแข็งมากมาย
แค่เรือแจว ๒ ลำ กับหอกเล่มเดียว ก็สามารถจมเรือใหญ่ ๒ ลำได้
ด้วยความดีความชอบที่ขับไล่กองทัพสยามได้ ทำให้ ตวน เปรัค
ได้รับยกย่องเป็นวีรบุรุษที่ต่อต้านสงคราม (ภายหลังได้ต่อสู้รบกับสยาม)
ปาหังและเมืองปาไช) ถือเป็นบุคคลสำคัญที่วางนโยบายของมลายู และเกาะสุมาตรา
ทำให้เมืองมะละกาขยายอาณาจักรครองคาบสมุทรมลายูได้ทั้งหมด
และยังรวมดินแดนชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของเกาะสุมาตรา
ทำให้เมืองมะละกาขยายอาณาจักรครองคาบสมุทรมลายูได้ทั้งหมด
และยังรวมดินแดนชายฝั่งด้านตะวันออกของเกาะสุมาตราไว้ด้วย
ภายหลังกองทัพสยามได้ยกมาตีเมืองมะละกาอีก แต่มีไชยิค
ผู้วิเศษทำพิธีเหนี่ยวคันธนูเล็งไปยังกองทัพสยามพร้อมกับแช่ให้แม่ทัพ
คือโอรสของกษัตริย์สยามชิ้นพระชนม์ แล้วเกิดมีการสิ้นพระชนม์จริง
ทำให้กองทัพสยามจึงล่าถอยทัพกลับ
ภายหลังนั้นเมืองมะละกาได้ส่งทูต
และคณะไปช่วยอาณาจักรสยามสู้รบกับข้าศึกและมีความชอบ
ทำให้กษัตริย์อยุธยามีพระราชสาสน์ว่าตกลงไมรบกัน
ส่วนทูตของเมืองมะละกานั้นได้สมรสกับเจ้าหญิงกรุงสยาม
เมืองมะละกาเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ศาสนาอิสลาม
ทำให้เกาะชวาที่นับถือศาสนาฮินดูอยู่นั้น มานับถือศาสนาอิสลามตามอย่างเมืองมะละกา
ราชากาชิม
หรือมุซัฟฟา ซาห์ สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๒๐๐๒ ตรงกับรัชกาลสำเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
แห่งกรุงศรีอยุธยา
๕. สุลต่าน
มันเซอร์ ซาห์
พระโอรสของราชา กาซิม พ.ศ. ๒๐๐๒-๒๐๒๐ ในปีแรกได้มีการส่งทูต
นำเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีน
ขากลับจักรพรรดิจีนได้ส่งทูตมาเมืองมะละกาแต่เรือแตกเสียก่อน ต่อมาอออีก ๒
ปีจีนได้ส่งทูตมาเมืองมะละกาอีก คราวนี้เรือปลอดภัย
ทำให้เมืองมะละกากับจีนมีความปลอดภัยกันอย่างดี
ทำให้จักรพรรดิจีนมีความสัมพันธ์กันอย่างดี
ทำให้จักพรรดิจีนทรงยินดีถึงกับเตรียมการที่จะยกเจ้าหญิง หางหลิว
พระธิดาไปกลับคณะทูต เพื่อให้อภิเษกสมรสกับสุลต่าน มันเซอร์ ซาห์
ครั้นเมือทูตเมืองมะละกาเดินทางมาจีน
จักรพรรดิจีนจึงสั่งให้ไพร่พลจัดเรือสำหรับให้เจ้าหญิงหางหลิว
พร้อมกับข้าราชการสำนักชายหญิง ลูกผู้ดีมีตระกูลชาวจีนประมาณ ๑,๐๐๐ คน
เดินทางไปพร้อมพระราชสาส์นและคณะทูตจีน ตามเมืองมะละกาด้วย
เจ้าหญิงหางหลิวนั้นเป็นสาวงาม
จึงเป็นที่ต้องพระทัยของสุลต่านและเมื่อนางยอมเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามด้วยแล้วาจึงยินดีและทำการอภิเษกด้วย
คณะทูตจีนนั้นเมือส่งเจ้าหญิงอภิเษกสมรสกับสุลต่านเมืองมะละกาแล้วก็นำเรือเดินทางกลับ
ส่วนบรรดาชาวจีนชายหญิงที่มาด้วยนั้น สุลต่านโปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่
บูกิตจีน
ชุมชนจีนเหล่านี้เป็นต้นเรื่องที่มีชื่อเรียกว่า บาบาจีน หรือจีน เยโอเม็น
ในเวลาต่อมา
ตวน เปรัค
ซึ่งเป็นปาตุกะราชาและเบ็นดาหารา นั้นได้ขยายอาณาเขตไปทางเมืองปะหัง ของมหาราชา
เทวสุระ ขณะนั้นเป็นเมือขึ้นของอาณาจักรสยามอยู่ ตวน เปรัค
ชวนให้เมืองสุลต่านเมืองมะละกาส่งเรือ ๒๐๐ ลำ เข้าโจมตีเมืองปะหัง
จนเกิดการสู้รบกับผู้ครองเมืองและมีชัยชนะ
ครั้งนั้นแต่งตั้งเจ้าชายองค์หนึ่งจากเมืองมะละกา ซึ่งเป็นผู้ช่วยของตวน เปรัค
ทำการสู้รบขึ้นเป็นอุปราช ครองเมืองปะหัง ซึ่งมีสินแร่ทองคำอุดมศมบูรณ์
ต่อมาอาณาจักสยามได้ยกทัพตีเมืองและภายหลังนั้นเมืองมะละกาและอาณาจักรสยามได้สัญญาสงบศึกต่อกัน
ปลายรัชกาลนั้นเมืองมะละกานั้นสามารถขยายอาณาจักรไปถึงไทรบุรี (เคดาห์)
จนถึงตรังกานู ปะหัง ยะโฮร์ จัมบี กัมปาร์ เบงกาลิส หมู่เกาะการิมอน บันตัง
และปาไซ
สำหรับเมืองปาไซ
นั้นตวน เปรัค ได้ทำกองทัพไปปราบกฎที่เมืองซาไป
ทำการขับไล่กฎและคืนเมืองให้สุลต่าน
โดยมีข้อตกลงว่าเมืองปาไชยอมเป็นเมืองขึ้นของเมืองมะละกา
แต่สุลต่านเมืองปาไชนั้นกลับผิดข้อตกลง โดไปเป็นเมืองขึ้นของอะแจ
เมืองมะละกาจึงเป็นเมืองที่มีอำนาจและเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญในแถบเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
๖. สุลต่าน อลูดิน
ไรยัต ซาห์
พระโอรสของ มันเซอร์ ซาห์ พ.ศ. ๒๐๒๐-๒๐๓๑
เป็นสุลต่านที่ปกครองเข้มแข็งและเคร่งครัด พระองค์ได้แต่งตั้ง ตวน มูตาฮีร์
ซึ่งเป็นพี่ชายของชายาองค์หนึ่งขึ้นเป็น เตเม็งกอง ทำหน้าคอยดูแลตลาดเมืองมะละกา
ป้องกันโจรเข้ามาโจรกรรมสินค้าเพราะเมืองมะละกาเป็นศูนย์การค้าใหญ่จะต้องมีความปลอดภัยให้กับพ่อค้าต่างชาติเชื่อถือ
แต่ก็ปรากฏว่ามีการโจรกรรมอยู่เสมอ
จนสุลต่านต้องเสด็จออกตลาดพร้อมทหารฝีมือดีหลายคน คนหนึ่งนั้นสุลต่านได้พบกับโจร
๕ คน กำลังยกหีบของพอดี โจรเห็นทหารก็ทิ้งหีบของแล้ววิ่งหนี
สุลต่านให้ทหารเฝ้าหีบของแล้วไล่ตามจนฆ่าโจรตาย ๒ คน นอกนั้นหนีไปได้
ครั้นเมื่อมีการประชุมขุนนางสุลต่านจึงสอบถามกับ ตวน มูตาฮีร์
ถึงเหตุการณ์ในตลาด จึงได้รับการยืนยันเป็นอย่างดีว่าได้จัดการดูแลดีแล้ว
แต่เมือสุลต่านถามถึงโจรถูกฆ่าตายที่สะพานนอกตลาดจึงไม่รู้เรื่อง
และถูกตำหนิที่เจ้าหน้าที่ไม่ทำหน้าที่ให้ดี ดังนั้น ตวน มูตาอีร์
จึงออกตรวจสอบกลางคืนไม่ให้ใครรู้และพบโจรกำลังปีนหน้าต่างออกมา
จึงชักดาบฟันแขนทันที รุ่งเช้าจึงมีเสียงโจษจันถึงโจรและทำให้โจรเห็นภัย
ทำให้ตลาดนั้นได้รับการป้องกันและไม่ให้การโจรกรรมสินค้าอีก
ทำให้พ่อค้าพากันมาค้าขายกับเมืองมะละกามากขึ้นไม่ยอมไปค้าขายที่เมืองปาไซ และ
เมืองอะรู ในช่องแคบมะละกา จึงทำให้เมืองอะรู
ยกกองทัพเข้าโจมตีเมืองมะละกาเป็นการทำศึกทางทะเลครั้งใหญ่ และมืองมะละกามีชัยชนะ
สุลต่านอลูดิน
นั้นสนพระทัยศึกษาพระคัมภีร์อัลกุรอาน
และกฎหมายของอิสลามจนมีความศรัทธาที่จะไปจาริกแสวงบุญที่เมืองเม็กกะ
โดยจะพระราชาแห่งแคว้นกัมปาร์ แคว้นอินดากิรีไปกับพระองค์ด้วย
ขณะที่สุละต่านเตรียมจะออกเดินทางนั้น ก็เกิดเจ็บป่วยเป็นไข้ทันทีและสิ้นพระชนม์
ผู้คนต่างพากันเข้าใจว่าราชาทั้งสองแคว้นนั้นวางยาพิษเพื่อที่จะไม่ต้องตามเสด็จไปเมืองเม็กกะ
๗ สุลต่าน มาห์มุด
พระอนุชาของอลูติน ไรยัต พ.ศ. ๒๐๓๑
๒๐๕๔ เป็นพระโอรสของสุลต่าน มันชอร์ ซาห์องค์หนึ่ง
เนื่องจากสุลต่ายองค์นี้สนพระทัยในศาสนาและเรื่องลี้ลับ ไสยศาสตร์
มาและทรงติดฝิ่น
จึงเป็นเหตุให้อาณาจักรสยามยกทัพมาตีเมืองมะละกาและพ่ายแพ้เมืองมะละกาที่ ปูโล
ไปซาง
นอกจากนี้เมืองมะละกานั้นยังได้ช่วยเมืองปะหังขับไล่กองทัพจากเมืองนครศรีธรรมราช
(เป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรสยามที่มีหน้าที่ดูแลหัวเมืองทางตอนใต้ทั้งหมด )
กลับไปด้วย
สุดท้ายภายหลังนั้นเมืองมะละกาต้องพ่ายแพ้แก่พวกโปรตุเกตุที่เดินทางหาเมืองขึ้น
สรุปแล้ว
เมืองมะละกา นั้นสำคัญที่สุดในแถบอาเซียตะวันออกเฉียงใต้มาก
เพราะเป็นศูนย์กลางการค้าที่แลกเปลี่ยนสินค้าของชาติต่าง ๆ
ที่มีพ่อค้ามาจากเมืองต่างเอเชีย เช่น อินเดีย จีน ชวา มลายา เตอรกี อาหรับ
เป็นต้น แล้วยังมีพ่อค้าจากเปอร์เซียตะวันออก ที่จะเดินทางต่อไปถึงจีนตอนเหนือ
และพ่อค้าจากประเทศกลุ่มตะวันออกไกลจากเมืองไคโร เม็กกะ เอเด็นและแบกแดด
ลมมรสุมที่พัดผ่านมาบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
จึงทำให้การเดินเรือได้อาศัยลมมรสุมนี้พัดเส้นทางที่ต้องการ
ในฤดูมรสุมนั้น
การเดินทางจะไม่สามารถถึงเมืองเม็กกะได้ ทำให้มีการเดินทางไปเมืองกุเจราท
ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย อละรอคอยอยู่ที่นั่นรอ ลมมรสุมที่พัดมา
จึงแล่นเรือใหญ่จากเมืองกุเจราทมายังเมืองมะละกา ทุกปีนั้นจะมีเรือใหญ่ ๔
ลำมาจากเมืองกุเจราท บรรทุกเอาผ้าหลากหลายชนิดและสิ่งของต่างมากมาย
ซึ่งพ่อค้าเหล่านี้นำมาแลกเปลี่ยนซื้อขายกับพ่อค้าชาวจีน และพ่อค้าจากเมืองต่าง ๆ
ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
ประการสำคัญนั้นเมืองมะละกา มีทำเลที่ตั้งเหมาะสม คืออยู่ในช่องแคบมะละกา
ทำให้ท่าเรือมีความปลอดภัยมาก จนเรือที่เข้ามาในบริเวณนี้มีความปลอดภัยจากลมพัดแรง
และอากาศเลวร้าย นับว่าเป็นแหล่งปลอดภัยที่ในแถบนี้
เนื่องจากมีเทือกเขามลายาเป็นกำแพงธรรมชาติขนาดใหญ่กั้นกำบังลมด้านตะวันออกเฉียงเหนือ
และมีเทือกเขาสุมาตราเป็นกำแพงธรรมชาติกั้นกำบังลมด้านตะวันออกเฉียงใต้
นอกจากนี้สุลต่านเมืองมะละกายังแต่งตั้ง เตเม็งกอง
คอยตรวจตราดูแลตลาดใหญ่และดูแลพ่อค้าที่เดินทางเข้ามาเมืองท่าแห่งนี้
และทำหน้าเก็บภาษีอากร โดยมีการเลือก ซาห์ บันดาร์ ทำหน้าที่เหมือนเจ้าท่า
พร้อมผู้ช่วย ๔ คน คอยทำหน้าที่จัดการและแก้ปัญหาให้
พ่อค้าที่เดินทางมากจากที่ต่าง โดยแบ่งหน้าที่กันดูแล ดังนี้
·
ซาร์บันดาร์
ดูแลเฉพาะพ่อค้าที่มาจากเมืองกุเจราท มีอัตราเสียภาษีเป็นเงิน ๖ เปอร์เซ็นต์
·
ซาร์บันดาร์
ดูแลพ่อค้าที่มาจากอินโดนีเซีย
·
ซาร์บันดาร์
ดูแลพ่อค้าที่มาจากทางตะวันตกของมะละกาคือ อินเดีย มีอัตราเสียภาษีเป็นเงิน ๖
เปอร์เซ็นต์
·
ซาร์บันดาร์
ดูแลพ่อค้าที่มากับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ คือ จีนไม่ต้องเสียภาษีอากร
แต่ต้องจ่ายเป็นของบรรณาการ (ของกำนัล) โดยชักจากสินค้าที่นำมา
รวมทั้งสินค้าประเภทอาหารด้วย
พ่อค้าที่เดินทางมาถึงเมืองมะละกา
นั้นต้องมารายงานตัวกับเจ้าท่าหรือซาห์บันดาร์ที่ดูแลพ่อค้าตามที่มา
ซึงมีธรรมเนียมของการเก็บภาษีสินค้า (ไม่เท่ากับ)
และการจอดเรือในท่าเรือตลอดจนการหาที่พักและเก็บพักสินค้า
ตลอดจนการติดต่อประสานงานการค้าทั้งปวง
การรายงานตัวนั้นพ่อค้าจะนำสิ่งของมีค่าต่าง ๆ ที่นำเข้ามายังเมืองมะละกา ๑๐ คน
จะตามขึ้นไปดูบนเรือสินค้าว่ามีสินค้าตามที่แจ้ง มีราคาหรือคุณภาพอย่างใด
แล้วจึงทำการเสียภาษีตามอัตราหรือจ่ายของบรรณาการ
สำหรับพ่อค้าที่เข้ามาอาศัยทำการค้าในเมืองมะละกานั้น เสียภาษี ๓ เปอร์เซ็นต์
ส่วนพ่อค้าเมืองมะละกานั้นต้องจ่ายเป็นของบรรณาการ
หมายถึงมอบสิ่งของหรือสินค้าบางส่วนให้
ซึ่งบรรดาของบรรณาการ(ของกำนัล)นี้ถูกนำแบ่งกันระหว่าง สุลต่าน เบ็นดาหารา
เตเม็งกอง และซาห์บันดาร์ สำหรับเงินภาษีนั้นเป็รายได้สำหรับสุลต่าน
ต่อจากนั้นพ่อค้าที่นำสินค้ามาจึงทำการจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ
ไปตามที่พ่อค้าเมืองมะละกาต้องการหรือแจ้งซื้อไว้ ศูนย์การค้าที่เมืองนี้
จึงมีสินค้ามากมาย เช่น
*
สินค้าที่นำมาจากจีน นั้น มีสินค้าประเภทผ้าไหม น้ำตาล เครื่องถ้วยชาม
หรือเครื่องลายคราม
ผ้าอย่างดี เครื่องชูรส และของหอม
*
สินค้าที่มาจากมลายู นั้นมีดีบุก
*
สินค้าที่มาจากเกาะต่าง ๆ เช่น เกาะชวา ในอินโดนีเซีย มีทองคำ พริกไทย
และเครื่องเทศ จากหมู่
เกาะเครื่องเทศ
·
สินค่าทีมาจากอินเดีย
ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของเมืองมะละกา มีผ้าอินเดีย
ดังนั้นท่าเรือของเมืองมะละกา จึงมีเรือสินค้าชักใบสี่เสา จอดหนาแน่นเต็มไปหมด
และเรือสินค้าเหล่านี้ ได้เดินทางเผยแพร่ซ้อขายสินค้า ศาสนาวัฒนธรรมต่าง ๆ
ไปสู่ดินแดนอื่นต่อไป รวมทั้งดินแดนสุวรรณภูมิด้วย
|