ความสัมพันธ์กับชุมชนของชาวสยาม
ความสัมพันธ์กับชุมชนของชาวสยาม (พุทธศตวรรษที ๑๑-๑๓)
ต้นพุธสตวรรษที่ ๑๑
ชุมชนโบราณที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ทางตอนใต้ของสยาม
ได้มีความสัมพันธ์กับพวกนับถือศาสนาฮินดูจากอินเดีย
จากหลักฐานที่พบเทวรูปพระนารายณ์ สวมหมวกแขก
เทวรูปวิษณุสวมหมวกทรงกระบอกเทวรูปพระคเนศ และ ศิวลึงค์ ในหลายท้องที่ เช่น
ที่พังแฟม วัดะพโคะ ที่บ้านจะทิ้งพระ อำเภอทิงพระ จังหวัดสงขลา
ที่วัดเขียนบางแก้ว อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ที่อำเภอเวียงสระ
จังหวัดสุราษฎร์ธานี (รุ่นเนละ) ที่เขาคา หมู่๑๑ ตำบลเสาเภา อำเภอสิชล
นั้นมีเทวาลัยฮินดูเก่าแก่และคาดว่าจะเป็นชุมชนแรกที่ค้าขายกับชาวอินเดีย
ที่อำเภอขนอม และอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น
พุทธศตวรรษที่ ๑๒
หลวงจีนเหี้ยนจัง ซึ่งเดินทางจากประเทศจีน
ไปสืบพระพุทธศาสนาที่ประเทศอินเดียได้บันทึกถึงอาณาจักรตามเส้นทางไว้ว่า
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
จากนี้ไปตามฝั่งทะเลผ่านภูเขาและหุบเขาไปแล้วมี
แคว้น
ชิดหลีซาต๋าล้อ (เชื่อกันว่าคือ อาณาจักรศรีเกษตร ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำอิรวดี
ประเทศพม่า) ถัดไปทางตะวันออกเฉียง ใต้ตอนปากอ่าวเรียกแคว้น มอลังเกีย
(น่าจะเป็นเมืองลังกาสุกะ หรืออาจจะเป็นปัตตานี)
ต่อจากนี้ไปทางทิศตะวันออก เรียกว่าแคว้น โต-โล-โป-ตี้ (คืออาณาทวาราวดี
มีเมืองสำคัญอยู่ที่นครชัยศรีนครปฐมและเมืองละโว้ ลพบุรี) ต่อไปทางทิศตะวันออก
คือแคว้น อี๋เซียน้าโป้ล้อ (เชื่อกันว่าคือแคว้น อีศานปุระ
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งอาราจักรฟูนัน) ต่อนั้นไปทางทิศตะวันออก คือแคว้นม่อออเจียมปอ
ซึ่งชาวจีน เรียกว่า หลินยี่ คืออาณาจักร จามปาในเวีนดนามใต้
ใน พ.ศ. ๑๒๑๔
๑๒๓๘ นั้น หลวงจีนอี้จิง ได้บันทึกการเดินทางกลับของขบวนคาราวานพ่อค้าจีน
ซึ่งไปสืบหาพระธรรมวินัยในอินเดียโดยผ่านเข้ามายังดินแดนอาณาจักรศรีวิชัย
ได้ระบุชื่อเมืองตามเส้นทางที่ผ่านมา ได้เดินทางผ่าน ซิลิโฟซิ (นครชัยศรี
นครปฐม) โมโลยู (ยะริง ปัตตานี) และ เจียซะ (เคดาห์)
โดยที่พักอยู่ที่เมืองซีหลี หุดหลี หุกหลี หรือหลีโพชีชั่วระยะเวลาหนึ่ง
เพื่อเตรียมตัวรอเวลามรสุมเปลี่ยนทิศทาง แล้วลงเรือข้ามอ่าวเบงกอลไปอินเดีย
พุทธศตวรรษที่ ๑๒
นั้นมีการขยายตัวของชุมชนภาคกลางจากลุ่มแม่น้ำท่าจีน
ไปยังแถบแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำเพชรบุรี
และทางเหนือนั้นเข้าไปในแถบลุ่มแม่น้ำน้อย จังหวัดชัยนาท และลุ่มน้ำเจ้าพระยา
จังหวัดนครสวรรค์
ชุมชนที่ตั้งบ้านเมืองนั้นได้ทำการพัฒนาเมืองนครชัยศรี และเมืองคูบัว
(ในเขตจังหวัดราชบุรี) โดยมีการสร้างเจดีย์ และพระพุทธรูปขนาดใหญ่จำนวนมาก
ด้วยฝีมือระดับสูง
ก่อนพุทธศตวรรษ ๑๕ นั้นชุมชนสยามโบราณที่ตั้งถิ่นฐานในแหลมทองนั้นใช้อักษร
ปัลลวะ ภาษาบาลี สันสกฤต ภาษามอญโบราณหรือขอมโบราณเป็นส่วนใหญ่
เนื่องจากสมัยนั้น อักษรที่เป็นตัวหนังสือไทยยังไม่มีใช้ ดังนั้นเอกสารเก่า
คัมภีร์ ใบลานศักดิ์สิทธิ์และสมุดข่อยโบราณ จึงมักจารึเป็นตัวอักษรขอม
อักษรธรรมล้านนา หรืออักษรธรรมอีสาน
ต่อมาพ่อขุนรามคำแหงจึงคิดประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้นจากอักษรขอมและมอญ
ดังปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหง ได้มารึกระบุไว้ว่า
...เมื่อก่อน
ลายสือไทนี้ บ่มี ปี ๑๒๐๕ ศก ปีมะแม พ่อขุรามคำแหงหาใคร่
ใจในใจแลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึ่งมี...
แปลเป็นภาษาไทยปัจจุบันได้ว่า แต่ก่อนยังไม่มีอักษรไทย
พ่อขุนรามคำแหงทรงสนใจคิดค้นสร้างอักษรไทยขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖
ตั้งแต่นั้นมา ลายสือไทยหรือภาษาไทย
จึงเป็นมรดกทางภาษาที่สำคัญของชนชาติสยามและบุคคลสำคัญของชนชาตินี้สามารถรวบรวมพลเมืองศิลปะ
และวัฒนธรรม ตั้งบ้านเมืองและสร้างอาณาจักรขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ทำนุบำรุงศาสนา และสืบสานวัฒนธรรมไทย รักษาความเป็นชนชาติเอกราชทุกวันนี้
|