เรื่องของชนชาติไทย
เรื่องของชนชาติไทย(1)
ความเชื่อของชนชาติเอเชียนั้นได้อ้างว่า
มนุษย์นั้นกำเนิดมาจากบรรพบุรุษกลุ่มเดียวกัน
หรือมีตำนานในลักษณะว่าผู้คนเหล่านั้นเดิมมีถิ่นฐานอยู่แหล่งเดียวกัน
ในตำนานของจีนนั้นได้กล่าวถึงผู้สร้างโลกว่าคือ พานกู๊
เมื่อทำการสร้างโลกแล้วก็เกิดหลงใหลโลกอยู่นานถึง
8,000 ปี พานกู๊ (กู๊-แปลว่า
เภ่าหรือโบราณ) สาหรับคำว่า พาน
นั้นออกเสียงใกล้เคียงกับ แผน (แถน)
เป็นคำไทโบราณ แปลว่า พรหมผู้สร้างโลก
หากเป็นเช่นนี้ก็เชื่อไว้ก่อนว่าทั้ง พาน แผน และแถน(พญาแถนหรือผีแถน)
นั้นเรียกคล้ายกัน
โดยมีความหมายให้รู้กันว่าคำนี้ หมายถึง พรหม ผู้สร้างโลก สร้างมนุษย์
คติความเชื่อเรื่อง พรหมผู้สร้างโลกนั้น ในตำนานสิงหนวัติกุมาร
มีการกล่าวถึงพระเจ้าพรหม ผู้ขับไล่ศัตรูที่มารุกรานดินแดนโยนก มีช้างเผือกชื่อ
พานคำ เป็นพาหนะ เหตุช้างเผือกเชือกนี้ที่มีชื่อว่า พานคำ นั้น
เนื่องจากเทวดาให้เอาพาน
(พังลางหรือผางลาง-ลักษณะคล้ายฆ้องหรือระฆัง)ทำด้วยทองคำไปตีประโคมทั่งรมฝั่งแม่น้ำโขงทำให้งูใหญ่(พญานาค
?) ในแม่โขงกลายร่างเป็นช้างเผือกมาคู่บุญบารมี
สำหรับให้พระเจ้าพรหมใช้ปราบข้าศึกศัตรู ดังนั้นพาน (ฆ้อง
?) ที่ทำด้วยโลหะ (ทองแดง ทองคำ สำริด)จึงเป็นสัญลักษณ์ของผู้มีอำนาจ
เช่นเดียวกับช้างเผือกดังนั้นทั้งช้างเผือกและพาน (พังลาง-ฆ้อง
?) จึงถือว่าเป็นสมบัติคู่บารมีของ
ผู้นำของชนขาติโยนก
ในตำนานเรื่องท้าวฮุง กล่าวเรียก ขุนเจือง ก็มีเรื่องของช้างพานคำ
เช่นเดียวกันคือ เมื่อท้าวฮุ่ง
(ขุนเจือง)ยังเยาว์วัยนั้นกลุ่มผู้คนที่ภักดีเลื่อมใสได้พากันนำสิ่งของวิเศษมาบรรณาการ
โดยมีช้างเผือกชื่อ พานคำ กับช้างหลายเชือก ต่อมาพวกข่า (พวกพางคำ)
ที่อยู่บนภูเขาสูง ได้นำดาบเหล็กชื่อ ดาบฮางเช็ง
เป็นดาบที่นำแร่เหล็กจากเขาภูซางมาตีเป็นดาบ
กับฆ้องเงินคู่หนึ่งมามอบให้เป็นของคู่บารมี และในตำนานมีเรื่องเล่าอีกว่า ขุนเจือง
(ท้าวฮุ่ง)นั้นต้องเอาฆ้องทองคำไปตีให้กังวาน
จึงจะจับช้างเผือกเชือกนี้ได้ เป็นการแสดงถึงอำนาจของพาน (ฆ้อง)
บริเวณที่พบช้างเผือกนั้นมีชื่อว่าเวียงพานคำ (อำเภอแม่สาย
จ.เขียงราย)
ดังนั้นเรื่องของ พานกู๊ ในตำนานของจีนนั้นจึงมีการถ่ายทอดต่อลงมา
จะหมายถึงช้างเผือก พานคำ-หรือพานทองคำที่เป็นฆ้อง-หรือหมายถึงอำนาจของพระเจ้าพรหมหรือพรหมก็ได้ล้วนมีเค้าเรื่องมาจากแหล่งเดียวกัน
|