เรื่องของชนชาติไทย
เรื่องของชนชาติไทย(5)
ประวัติเมืองฮามเอียงนั้น เล่าว่า เมื่อครั้งแผ่นดินห้องสิน ยูเลียม
และออกไล่ขุนนางสองพี่น้องในราชสำนักของพระเจ้าติวอ๋อง
เห็นว่าพระเจ้าติวอ๋องจะพ่ายแพ้แก่พระเจ้าบูอ๋อง กษัตริย์ราชวงศ์จิว
จึงได้ลักเอาตราหยกของพระเจ้าติวอ๋องไปถวายแก่พระเจ้าอ๋อง
แต่เกียงจูแหยแม่ทัพของพระเจ้าบูอองนั้นไม่ชอบสองขุนนางที่อกตัญญูต่อฮ่องเต้ของตน
จึงให้ฆ่ายูเลียม และออกไล่เสีย ต่อมาในแผ่นดินพระเจ้าเฮาอ๋องนั้น เองหยู
ซึ่งเป็นหลานของยูเลียมได้เข้ารับราชการในกองทหารม้า
เองหยูนั้นได้ฝึกม้าเป็นอย่างดีและบำรุงจนม้าสมบูรณ์อ้วนพี
ทำให้มีความชอบเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าเฮาอ๋อง
พระองค์จึงพระราชทานเมืองฮูหยงให้เองหยูไปครองเป็นเจ้าเมือง
โดยเปลี่ยนชื่อเมืองฮูหยงเป็น เมืองจี๋น
ต่อมาเมื่อตั้งแคว้นจี๋นขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำไอว่ จึงตั้งเป็นเมืองเอก ของแคว้นจี๋น
และได้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรของชนชาติจี๋นต่อมา และเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น
เมืองเชียงอาน ดังกล่าว
ในตำนานน่านเจ้าของชาวเสฉวนนั้น ว่า
เมื่อครั้งที่กษัตริย์ราชวงศ์เหม็งปกครองแผ่นดินนั้น ชนชาติที่อยู่ในรัฐน่านเจ้า
ซึ่งเรียกว่า ม่าน (จาก ขึ่นม่าน)
นั้นตั้งอยู่บริเวณที่ราบเขากิ่วลง ชึ่งอยู่ใต้เมืองยงเชียง
เมืองนี้อยู่ระหว่างแม่น้ำโขงกับแม่น้ำอิระวดีทางตอนเหนือของเมียนม่าร์
เรื่องชนชาติม่านนี้ ก็คือ งอ้าย-ลาว
(ไทยเรียกชนชาติอ้ายลาว)
นี้ ตั้งถิ่นฐานอยู่ในรัฐน่านเจ้า และอยู่กระจัดกระจายไปถึงตังเกี๋ย
บริเวณถันหาว แง่อาน และกวางไตร
ซึ่งต่อมาชนชาตินี้ได้พากันอพยพลงมาตามเส้นทางแม่น้ำอิระวดีและแม่น้ำโขงลงมาทางดินแดนสุวรรณภูมิตั้งเป็นดินแดนของชนชาติมอญและชนชาติขอมในที่สุด
ส่วนชนาติไตหรือไตหรือได
(TI-DI ไม่มี ยังมีชนชาตินี้อยู่ในจีนตอนใต้)
ที่มีแหล่งกำเนิดตามตำนานนั้น
น่าจะเป็นกลุ่มเดียวกับเป็นขนชาติม่าน (งอ้าย-ลาว)
เมื่อก่อนพุทธกาล 4,500 ปี ถึง พ.ศ 205
นั้น มีอาณาจักรไทยมุง ตำนานน่านเจ้าได้กล่าวถึง ในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์ถังนั้น
เจ้าตระกูลเมือง (มุง)
ได้เป็นใหญ่ปกครองรัฐน่านเจ้า
เจ้าตระกูลเมือง
(มุง) นั้นเป็น
คำเรียกสำหรับบุคคลที่เป็นเชื้อสายของเจ้าเมือง ที่ครองเมืองโดยหมายเอาคำว่า
มุงหรือ เมือง (MONG-MUANG) เป็นหลัก
นัยความหมายถึงมุง หรือมุง หรือ เมือง ตามคำที่จีนเรียก ชนชาติมงโกลว่า โม๊ง-กู๊
(กู๊-แปลว่า เก่า)
นั่นคือชนชาติไทยมีความเกี่ยวพันกับชนชาติมงโกล
หรือเป็นชนชาติที่แยกสาขามาจากกลุ่มมงโกล แต่คงไม่ได้หมายว่า
มีถิ่นฐานอยู่ที่แบบเดียวกับพวกมงโกลเลียน หรือแถบภูเขาอัลไต
ซึ่งไกลเหลือกำลังมนุษย์จะเดินทาง การขุดค้นทางโบราณคดีของเอ็ม ไอ อาทาโมนอฟ
นักโบราณคดีชาวรัสเซียได้พบว่า เทือกเขาอัลไตนั้นเป็นภูเขาน้ำแข็ง
ไม่มีร่องรอยของคนไทอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว ซึ่งมีแต่ความแห้งแล้ง
ติดกับทะเลทรายโกบี
ดังนั้นบ้านเมืองของชนชาติที่มีเขื้อสาย มงโกล
? (มงโกล-คนผิวเหลือง)
น่าจะอยู่ในบริเวณรัฐน่านเจ้าที่รู้จักกันคือ กลุ่มชนจาติม่านหรือ
งอ้าย-ลาว นั่นเอง
โดยมีเมืองที่เจ้าตระกูลมุงหรือเมืองปกครองดูแลคนกลุ่มนี้อยู่ มีชื่อเมือง หล่งซี
หรือ หลงเส (หนองแส-ตาลีฟู)
และชื่อ เจ้าม่งเส ดูจะสอดคล้องกับ
มีเจ้าตระกูลเมือง ครองบ้านเมืองของชนชาติไทกลุ่มนี้ซึ่งมีชื่อเรียกว่า
ไทมุง-ไทเมือง-ไทโม๊ง
ผู้ครอบครองเมืองหรือผู้เป็นใหญ่เหนือตนนั้น พวกม่านเรียกว่า
เจ้า ดังนั้นในตำนานน่านเจ้า ได้เล่าถึง
เจ้าตน (เหมือนเรื่องพระเจ้าหกตน) ครองดินแดนแต่ละแเคว้นว่า มี 6
แคว้น จึงสามารถชิงเอาแคว้นอื่น 5 มารวมเป็นอาณาจักร เรียกว่า
ไท-โม๊ง-โกวะ (แปลว่าประเทศเมืองไท)
ไทโม๊งโกวะ หรืออาณาจักรไทมุง
นี้มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 11-14
(พ.ศ.
1161-1370)ซึ่งพอจะมองเห็นเรื่องราวของชนชาตินี้และถิ่นฐานทูอยู่ทางเหนือชัดเจนขึ้น
|