เรื่องของชนชาติไทย
เรื่องของชนชาติไทย(6)
ในตำนานน่านเจ้านั้นมีเรื่องเล่าถึงการกำเนิดผู้คนในท้องถิ่นนี้ คือพวก
ม่าน
หรือ งอ้ายลาว ไว้ว่าชนชาติม่าน
(งอ้ายลาว)
ผู้หนึ่งชื่อ เมืองเกียตก ไปหาปลาที่ทะเลสาบอีล่อ แล้วเกิดจมน้ำตาย นางสายี
(หรือสาหู) ภรรยาได้ไปร้องไห้คร่ำครวญอยู่ที่ริมน้ำ (ในทะเลสาบอีล่อ) นั้น
ขณะนั้นได้มีขอนไม้ลอยน้ำมากระแทกที่ตัวนาง จึงเป็นเหตุให้นางตั้งครรภ์ขึ้น
แล้วนางก็คลอดบุตรออกมา 10 คน เมื้อนางพาบุตรทั้งสิบคนไปที่ทะเลสาบนั้น
ปรากฏว่าขอนไม้ครั้งนั้น ได้กลายเป็นมังกร แล้วร้องถามว่า ลูกข้าอยู่ไหน
เด็ก 9 คน พากันตกใจวิ่งหนี แต่คนเล็กสุดท้องคนที่ 10
นั้นไม่กลัว กลับวิ่งขึ้นขี่หลังมังกรนั้น มังกรจึงเลียหลังเด็กชายคนนั้น
นางจึงตั้งชื่อลูกคนสุดท้องว่า
กิ่วลง
(มีความหมายว่า นั่งหลัง (มังกร) ภาษาม่านนั้นคำว่า กิ่ว แปลว่า หลัง และลง
แปลว่านั่ง)
อีกด้านหนึ่ง ตรงเชิงเขา
งอ้ายลาว
ใกล้แม่น้ำสายหนึ่ง ได้มีหญิงคนหนึ่งชื่อ หนูพีสี ปรากฏว่านางมีลูกสาวอยู่ 10
คนเช่นกัน ดังนั้น กิ่วลง กับพี่ชาย 9 คน จึงได้พากันไปแต่งงานกับลูกสาว 10
คนของหนูพีสี นับเป็นครอบครัวใหญ่ที่มีบุตรสืบเชื้อสายต่อมา
บุตรของแต่ละคนก็เป็นต้นตระกูล (แซ่) ของกลุ่มคนต่าง ๆ ต่อมา ได้แก่ 1.แซ่ตง
2.แซ่โห่ง 3.แซ่ตะวัน 4.แซ่ซี 5.แซ่ห้อ 6.แซ่อว้าน 7.แซ่จาง 8.แซ่อย่าง
9.แซ่ลี 10.แซ่จาว
ผู้คนที่เป็นต้นตระกูลทั้งหมดนี้จะพากันสักทาหมึก (สีดำ)
สักเป็นรูปช้าง สักรูปมังกร นุ่งผ้ายักรั้งมีชายกระเบนห้อยไปด้านหลัง
เมื่อผู้นำตระกูลทั้ง 10 ตระกูลมีลูกหลานเกิดขึ้นมากมาย
จึงได้พากันอพยพออกจาบริเวณที่ราบเชิงเขา
งอ้ายลาว
แห่งนั้นลงมาตามแม่น้ำ เมื่อเห็นทำเลอุดมสมบูรณ์ถิ่นฐานบ้านเมืองตามชุมชนต่าง ๆ
สามารถมีเครือญาติกระจัดกระจายออกเป็น 39 ชุมชน (ชนบท)
ตำนานนี้จึงเป็นเค้าเรื่อง
กลุ่มคนแถบงอ้ายลาว
มีลูกหลานมากมายจากคนเป็นต้นตระกูลจำนวน 10 คน
แล้วคนที่เป็นต้นตระกูลนี้ได้พาครอบครัวพาเชื้อสายของตนไปตั้งบ้านเมืองอยู่ตามริมแม่น้ำ
สร้างเป็นชุมชนต่าง ๆ
ตำนานเล่าคล้ายกับพงศาวดารล้านช้างที่พากันออกมาจากน้ำเต้าแล้วแยกย้ายตั้งถิ่นฐานที่อยู่กันตามที่ลุ่มที่ดอนเมือง
คือ เมืองลุ่มลีดเลียง เมืองเพียงคัดค้อย หรือ นาน้อยอ้อยหนู เป็นต้น
|