เรื่องของชนชาติไทย
เรื่องของชนชาติไทย(9)
ส่วนเรื่องเมืองลุง
เมืองปา (นครลุง นครปา)
ที่ระบุว่าเป็นเมืองของชนชาติไทนั้นเดิมไม่ปรากฏในแผนที่อู๊ก้องกิวเจียว
(แผนที่ส่วยเก้าแคว้นของอู๊) ที่เขียนเมื่อก่อนพุทธกาล 1662 ปี สันนิษฐานว่า
เมืองลุงจะ
ตั้งอยู่ปลายหรือนอกเขตแคว้นเหลียง
ต่อมาในสมัย สานไต๋ และในแผนที่สมัยกษัตริย์ราชวงค์จี๋นนั้น
จึงปรากฏที่ตั้งเมืองลุง และเมืองปาอยู่นอกเขตแดนของจีน
ดินแดนของเมืองปานั้นจีนเรียกเป็น
แดนผี
ดังนั้นบริเวณที่ตั้งเมืองลุงและเมืองลุงและเมืองปาที่ทราบในภายหลังนั้นเมื่อศึกษาจากแผนที่จะพบว่าเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณของชื่อแคว้นอื่น
ในแผนที่อู๊ก้องกิวเจียว นั้นคือบริเวณเฉะจี๊
และไซหยงในแผนที่สมัยซุนซิวเลียดก๊ก บริเวณที่ตั้งเมืองลุง คือ เตียงหยง
กาวเอียน และตี (น่าจะ ไต-TI)
ส่วนเมืองปานั้นเป็นเมืองอยู่ในอาณาจักรจิ๋นแล้ว แผนที่ของจีนนั้นระบุว่าพวกม่าน
(ขื่นม่าน) นั้นอยู่ทิศใต้ และอยู่ทางทิศหรดีของเมืองปา
พวกจกนั้นอยู่ทิศตะวันตก ภายหลังนั้นเมืองลุงปาได้อยู่ในแคว้นจี๋น
ครั้นเมื่อพวกจี๋นตั้งเมืองหลวงขึ้น ก็ใช้เมืองฮูหยง (เมืองฮามเอียง)
ซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างเมืองลุงและเมืองปาเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรจีนทำให้เห็นว่า
บริเวณถิ่นที่อยู่ของชนชาติไทนั้น
มีทำเลที่ดีและเหมาะสมในการเป็นศูนย์กลางอาณาจักรก่อน
สำหรับเจ้าตระกูลเมือง ที่ครองดินแดนชนชาติไทมุงนี้
ตำนานน่านเจ้ากล่าวว่า วงศ์ที่ครองประเทศนี้มาจากแคว้น มคธราษฎร์
จีนรู้จักรัฐน่านเจ้านี้มานานแล้วในนาม
สาน-สาน-โกวะ
สมัยกษัตริย์ราชวงศ์จีว เมื่อก่อนพุทธกาล 579 ปี ดังนั้น สานสานโกวะ
จึงน่าจะเป็นที่มาของการเรียก ซาน หรือ ฉาน (SHAN)
ของชนชาตินี้ในเวลาต่อมา
ในพุทธศตวรรษ 336-288 นั้น สมัยกษัตริย์ราชวงศ์จี๋นนั้น
แม่ทัพจากเมืองฌ้อ ได้ยกทัพเข้ามาชิงเอาดินแดนรัฐน่านเจ้าแล้วตั้งตัวเป็นเจ้า
เรียกดินแดนนี้ว่าแถนหรือ เถียนในสมัยสามก๊กระหว่าง พ.ศ. 700-800 จูกัดเหลียง
(ขงเป้ง) ได้เป็นแม่ทัพจากเมืองจกได้ยกทัพมาปราบเบ้งเฮ็ก (บ้างว่าเป็น ชนชาติไท)
เมื่อปราบได้ชัยชนะแล้วจึงแต่งตั้งให้ นงเยาวนครครองเมือง (ประเทศ) เรียกว่า
ประเทศเกียนนิง และให้นงเยาวน มีชื่อ (สกุล)ตามอย่างจีนว่า จาง
รัฐน่านเจ้านั้นเคยเป็นไมตรีกับจีน และเป็นศัตรูกันตามสมัย
ในที่สุดรัฐน่านเจ้าจึงตกเป็นของจีนในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์หงวน (พ.ศ. 1822-1911)
ถิ่นฐานหรือเมืองของชนชาติไทนั้น จีนได้รู้จักมาก่อนแล้ว
มีการเรียกชื่อดินแดนนี้แตกต่างกันตามยุคสมัย ดังนี้
ก่อนพุทธกาล 579 ปี-พ.ศ. 288 สมัยกษัตริย์ราชวงศ์จิว เรียกชื่อ
1. สาน-สาน-โกวะ 2.ขวัญมิ โกวะ 3. เปะหง่ายโกวะ (ผาใย-เพงาย)
สมัยเจี๋ยนโกวะ เรียก แถนหรือ
เถียนโกวะ
พ.ศ. 337-807 สมัยราชวงศ์ฮั่น จีนเรียก 1. แคว้นอี๋ 2. เปะซื่อโกวะ (ผาชื่อ)
พ.ศ. 808-1132 สมัยวู๋ไต๋ หรือหงอโต้ (ห้าวงศ์กษัตริย์)
จีนเรียกแคว้นนิง
สมัยกษัตริย์ราชวงศ์สุย จีนเรียก
แคว้นขวัญ
พ.ศ. 1161-1406 สมัยราชวงศ์ถัง จีนเรียก 1.นานกิง 2.หกเจ้าไทเมือง 3. สานสาน
พ.ศ. 1503-1821 สมัยราชวงศ์ซ้อง (ใต้) จีนเรียก น่านเจ้า
พ.ศ. 1822-1911 สมัยกษัตริย์ราชวงศ์หงวน จีนเรียก จงคิง
ดินแดนของชนชาติม่าน (งอ้าย-ลาว)
ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่จีนตอนใต้นั้น จึงมีชื่อเรียกอาณาจักรหลายชื่อดังกล่าว
ชื่อที่รู้จักกันอย่างดี คือ น่านเจ้า จนเชื่อกันว่า เป็นอาณาจักรของชนชาติไท
พวกม่าน ในน่านเจ้าจึงเป็นบรรพบุรุษของชนชาติไท (ทางเหนือ)
ส่วนจะเป็นชนชาติพวกเดียวกับชนชาติสยามที่มีชื่ออยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ
(บริเวณแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา) หรือไม่นั้นเป็นข้อศึกษาต่อไป
|