การตั้งชุมชนเมืองของชนชาติไทย
การตั้งชุมชนเมืองของชนชาติไทย
การกำเนิดของชนชาติต่าง ๆ ที่อยู่บนบริเวณแหลมอินโดจีนนั้น
ในตำนานมีเรื่องราวกล่าวว่า คนสองกลุ่มคือชนชาติมอญ-ชนชาติขอม
นั้นถือว่าเป็นต้นแบบของตระกูลมนุษย์ที่อาศัยในแถบอินโดจีน
ก่อนจะเข้าผสมผสานกับคนพื้นเมืองจนเป็นชนกลุ่มอื่นต่อไป
เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 1 คือประมาณ 2500 ปีก่อนพุทธศาสนา
กลุ่มคนที่มีชาติพันธ์มอญ-ขอม หรือ กลุ่มออสโตรเอเชียติค (อยู่แถบจีนตอนใต้ ?)
นั้น ได้พากันเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิ
โดยกลุ่มชาติพันธ์มอญนั้นได้อพยพลงมาตามลำน้ำสาละวินลงมาทางดินแดนของเมียนมาร์
แล้วตั้งบ้านเมืองขึ้นตามลุ่มแม่น้ำนี้
ในที่สุดก็จัดตั้งอาณาจักรมอญของตนขึ้นที่เมืองสุธรรมวดีคือเมืองสะเทิมอยู่ทางตอนใต้ของเมียนม่าร์
ส่วนกลุ่มชาติพันธ์ขอมนั้นได้อพยพมาตามลำน้ำโขง ลงมาตอนใต้
สร้างบ้านแปงเมืองจนในที่สุดได้ตั้งอาณาจักรขอมที่ยิ่งใหญ่ขึ้นในดินแดนปากแม่น้ำโขง
คือบริเวณของประเทศเขมรในปัจจุบัน
สรุปแล้วทั้งชนชาติมอญและชนชาติขอมนั้นเดินนั้นต่างมีถิ่นฐานอยู่ทางจีนตอนใต้แหล่งเดียวกัน
ต่อมาต่างก็พากันแยกย้ายอพยพมาตามลุ่มแม่น้ำสาละวิน
และแม่น้ำโขงมาสร้างอาณาจักรของตนขึ้น
สำหรับชนชาติไทยนั้น ถิ่นกำเนิดอยู่ที่แห่งใด
จากข้อมูลศึกษาเดิมนั้นให้เชื่อกันว่าน่าจะอยู่แถบภูเขาอัลไต โดยหมายเอาชื่อ
อัลไตมาเป็น ไต หรือไท ภายหลังเมื่อมีการศึกษาทางมานุษยวิทยาแล้ว
เรื่องของชนชาติไทยจึงมีข้อที่สรุปว่า
ถิ่นกำเนิดของชนชาตินี้น่าจะอยู่แถวภาคเหนือของไทย
หรือทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนซึ่งมีกลุ่มไทลื้อ ไท-ยอง
หรือนับเอาแหล่งมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่จังหวัดกาญจนบุรีให้เป็นถิ่นของบรรพบุรุษของคนไทยหรือคนสยาม
ล้วนมีเหตุผลดีกว่า เรื่อง คนไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไตหรือมาจากตอนใต้ของจีน
จึงเป็นข้อศึกษาที่ไม่ยุติ
|