ตำนานมนุษย์จากพงศาวดารล้านช้าง
ตำนานมนุษย์จากพงศาวดารล้านช้าง(2)
จากข้อความข้างต้นนั้น เป็นความเก่าที่มีความเล่าเป็นตำนานว่า
การเกิดขึ้นของมนุษย์นั้นเริ่มต้นที่พ่อขุนทั้งสาม คือ ปู่ลางเชิง ขุนคาน
และขุนเด็ก อยู่เมืองลุ่ม โดยมีพระยาแถนซึ่งเป็นเทวดาอยู่เมืองฟ้าเป็นผู้ดูแล
ต่อมาบุคคลทั้งสามเกิดไม่เชื่อฟังพระยาแถน พระยาแถนเคืองจึงให้น้ำท่วมเมืองลุ่ม
คนกลุ่มนี้จึงพาเอาลูกเมียลงแพแต่น้ำได้พูดขึ้นไปเมืองฟ้า
พระยาแถนได้กล่าวเตือนพ่อขุนทั้งสามว่า ที่สั่งให้กินข้าวให้บอกให้หมาย
กินแลงกินงายให้บอกแถนกินขึ้นให้ส่งขากินปลาให้ส่งรอยแก่แถนนั้น
เป็นการยำแถนยำผีเถ้ายำเจ้ายืนกาย
ก็ไม่ฟังกันแล้วพระยาแถนก็จัดให้คนเหล่านั้นไปอันที่บึงดอนแถนลอ
แต่น้ำแห้งจึงกลายเป็นแผ่นดินต่อมาพ่อขุนเหล่านั้นขอว่าอยู่เมืองบนเมืองฟ้าบ่เป็นขอกลับไปอยู่เมืองลุ่มลีดเลียง
เมืองเพียงคัดค้อย(หรือเพียงพักยอม)
พระยาแถนจึงฟงลงมาพร้อมกับควายเขาลู่
และตั้งบ้านให้ที่นาอ้อยหนู
ควายทำนานได้สามปีก็ตาย
เขาและซากควายนั้นได้เกิดเครือต้นน้ำเต้าออกเป็นลูกน้ำเต้าใบใหญ่
ภายในน้ำเต้าใบใหญ่นั้นได้เกิดผู้คนร้อง ส่งเสียงกันอยู่ภายในหลายเผ่าพันธุ์
จนปู่ลางเชิงต้องไขให้คนเหล่านั้นออกมาจาก
โดยปู่ลางเขิงนั้นเอาเหล็กแดงมาไชน้ำเต้าใบใหญ่
พอไขก็มีผู้คนเบียดเสียดกันออกมากคับคั่ง ทำให้มีผิวดำเพราะร้อนไหม้ (เรียกรูชี)
เมื่อผู้คนผิวดำเช่นนั้นปู่ลางเขิงก็เอาสิ่วเจาะรูให้ใหม่ทำให้ใหญ่ขึ้น (เรียกว่ารูสิ่ว)
ทำให้คนพวกที่ออกทางรูสิ่วมีผิวขาวกว่า
คนที่ออกมาทางรูสิ่วนั้นเป็นคนไทย คนที่ออกมาทางไช (รูชี))
นั้นเป็นพวกข่า (ข้า)
จึงลวด (เลย)
เป็นข้อยเป็นไพร่ไป น้ำเต้านี้เมื่อแตกออกมานั้นมีคนเผ่าๆ
ออกมาจากน้ำเข้าอีก 5 พวกคือไทยลม ไทยลี ไทยเลิง ไทยลอ ไทยควาง
มีผู้รู้บอกว่าว่าไทยพวกนี้ได้แก่พวกข่าแจะ ผู้ใทดำ ลางพุงขาว ฮ่อ แกว
ทั้งหมดนี้ต่างเคารพนับถือ เป็นพี่น้องท้องเดียวกัน ผู้คนทั้งหมดนั้นปู่ลางเชิง
ได้บอกสอนให้รู้จักทำไร่ทำนา ทอผ้าทอซิ่น เลี้ยงชีวิต
แล้วทำการปลูกแบ่งแต่งให้เป็นผัวเป็นเมียมีเหล้ามีเรือน
มีลูกหญิงชายออกมาเป็นเผ่าพันธุ์ใหญ่ พวกที่อาศัยอยู่บนที่ราบสูงมีอาชีพทำไร่
พวกที่อยู่ในเขตที่ราบลุ่มมีอาชีพทำนา
พระยาแถนได้ให้ ขุนครู ขุนครอง
ลงมาเป็นท้าวพระยาดูแลช่วยเหลือมนุษย์กลุ่มนี้ โดยสร้างบ้านก็บ่เปลือง
สร้างเมืองก็บกว้าง ได้แต่กินเหล้าทุกมื้อทุกวัน จนไพร่ค้างทุกข์ค้างยาก
จนขุนเด็กขุนคานต้องไหว้สาพระยาแถนให้เอาท้าวพระยาทั้งสองกลับไปเมืองบนเมืองฟ้า
แล้วให้ขุนบูลมมหาราชาธิราช นำรี้พลลงมาเมืองลุ่มลีดเลียงเมืองเพียงคักค้อย
อยู่ที่นาน้อย อ้อยหนู คนที่ฉลาดก็เป็นบ่าวรับใช้แก่ขุนนลมมหาราชาธิราช
ส่วนคนที่ไม่ฉลาด
(ใบ้ช้า)
ก็เป็นไพร่เป็นข้าอยู่ป่าทำไร่ทำนา
ตำนานมนุษย์จากพงศาวดารลานช้างเรื่องนี้
ได้ทำให้เกิดความเชื่อตามตำนานว่าชนชาติต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิหรือแหลมอินโดจีนนี้
เป็นผู้คนที่ออกมาจากน้ำเต้าใบเดียวกันคือ แหล่งที่อยู่เดียวกัน
ส่วนข้อเท็จจริงของน้ำเต้าใบใหญ่นี้จะหมายถึงลุ่มแม่น้ำที่อยู่อาศัย หรือ
กลุ่มบรรพบุรุษคนเดียวกัน
ก็น่าจะพอฟังได้และสอดคล้องกับการเคลื่อนย้ายของมนุษย์กลุ่มนี้ลงมาทางตอนใต้ฟูแหลมอินโดจีน
นั่นหมายความเอาว่า มีผู้คนพากันมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองลุ่มลีดเลียง
และเมืองเพียงคัดค้อย นาน้อย อ้อยหนู
จวนจะอยู่เป็นเมืองใดในแหลมอินโดจีนบ้างต้องศึกษาหาภูมิสถานกันต่อไป
ขุนบูลมมหาราชาธิราชนั้นเป็นท้าวพระยาที่พระยาแถนไว้วางใจส่งลงมาปกครองบ้านเมือง
ลุ่มฯ ส่วนจะหมายให้เป็น พระพรหม คือ ท้าวมหาพรหม หรือพระเจ้าพรหมผู้สร้างทุกสิ่ง
ทุกอย่างในโลก ก็ย่อมเป็นคตินิยมที่เกิดขึ้นในสมัยสร้างตำนาน
ดังนั้นเรื่องของท้าวฮุ่ง
(ขุนเจือง)
ที่มีลูกหลานมากมายหลายคน ต่างพากันแยกย้ายออกไปตั้งถิ่นฐานในเมืองต่างๆ
จึงมีลักษณะเช่นเดียวกันกับตำนานจีนเรื่อง นางสายี มีบุตร 10 คนและเรื่อง
เจ้าตระกูลเมือง ที่ตีเมืองมีโอรส 9 คน ซึ่งต่างแยกย้ายกันครองหรือสร้างเมือง
จึงทำให้มองเห็นการสร้างบ้านแปงเมืองของมนุษย์ในหลายท้องถิ่น
ที่อาศัยพื้นที่ตามริมแม่น้ำและหาแหล่งน้ำที่สำคัญสำหรับสร้างชุมชนเมือง
เช่นเดียวกันเรื่องของขุนบูลมมหาราชาธิราช ที่พระยาแถน
(เทวดา)
ส่งลงมาครองเมือง หรือผู้นำชุมชนซึ่งมีผู้คนกลุ่มใหญ่ ภายหลังก็ปรากฏชื่อ ขุนควาง
ขุนวี ขุนเลิง ขุนเลน ขุนลอ
เป็นผู้นำของกลุ่มคนไทยที่ออกจากน้ำเข้ามาร่วมกันสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมินี้เช่นกัน
ตำนานบรรพบุรุษของชนชาติที่อยู่ทางเหนือจึงมีลักษณะคล้ายตำนานเดียวกันและ
เปลี่ยนไปตามสภาพของกลุ่มคนที่ไปตั้งบ้านเมืองในดินแดนต่างๆ
|