ตำนานมนุษย์จากพงศาวดารล้านช้าง
ตำนานมนุษย์จากพงศาวดารล้านช้าง(3)
เมื่อก่อนพุทธกาลประมาณ 148 ปี เจ้าชายสิงหนวัติ นั้นเป็นพระโอรสองค์ที่ 2
ของกษัตริย์กรุงราชคฤห์ในอินเดีย ต่อมาพระเจ้าภาติยะ
พระโอรสองค์โตได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์ กรุงราชคฤห์
(พระภาติยะ
องค์นี้เป็นพระราชบิดาของพระเจ้าพิมพิสาร ต่อมาพระเจ้าพิมพิสาร
ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ ในยุคเดียวกับเจ้าชายสิทธิธัตถะ
ซึ่งออกบวชและตรัสเป็นพระพุทธเจ้า
เจ้าชายสิงหนวัติโอรสองค์ที่สองนั้น
ได้รับสมบัติแบ่งเมืองครองโดยมาตั้งบ้านเมืองบนที่ราบเชียงแสน ชื่อ เมืองโยนกนคร
และมีรัชทายาทสืบราชวงศ์กษัตริย์ครองเมืองโยนกสืบต่อมา
รักษาเชื้อพระวงศ์เป็นกษัตริย์ไม่ได้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชนชาติพื้นเมือง
พระองค์ได้ปราบปรามพวกขอม
(ขอมดำ)
ชนพื้นเมืองที่อยู่ในบริเวณที่ราบเชียงแสนนี้มาก่อน
ทำให้มีอำนาจและเป็นใหญ่อยู่ในดินแดนล้านนา
มีเชื้อพระองค์ครองเมืองต่อมาจนถึงกษัตริย์ผู้เป็นบิดาของ พระเจ้าพรหม (เกิดประมาณ
พ.ศ. 904)
พวกขอมจึงเข้ามายึดเอาเมืองโยนกนครได้
และตกเป็นเมืองขึ้นอยู่หลายปีเมื่อพระเจ้าพรหมเติบโตเป็นใหญ่จึงได้ทำการปราบปรามพวกขอม(ขอมดำ)
จนพ่ายแพ้ไป พระเชษฐาของพระเจ้าพรหมได้ครองเมืองโยนกนคร
และมีเชื้อสายครองเมืองนี้ต่อมา 2
องค์จนถึง พระเจ้ามหาไชยชนะ
ส่วนพระเจ้าพรหมนั้นได้แยกออกมาตั้งเมืองใหม่บนฝั่งแม่น้ำกก ชื่อ
เมืองไชยปราการ(อำเภอเวียงชัย
จังหวัดเชียงราย) เมื่อพระเจ้าพรหมสิ้นพระชนม์
พระเจ้าไชยศัร พระโอรสได้ครองเมืองต่อมา และถูกกษัตริย์เมืองสุธรรมยกทัพมาโจมตี
ทำให้พระเจ้าไชยศรต้องพาผู้คนอพยพโดยทิ้งเมืองหนึ่งทางใต้ไปสร้างเมืองใหม่
ที่อยู่ในบริเวณเมืองกำแพงเพชร)
เมืองโยนกนครในสมัยพระเจ้ามหาไชยชนะนั้น
ได้มีคนหาปลาได้จับปลาไหลเผือกตัวใหญ่ได้ จึงนำมาทำอาหารแบ่งกันกินทั้งเมือง
ครั้นถึงเวลากลางคืน
(ประมาณก่อนพุทธศักราช 1181)
เมืองได้เกิดถลมจมหายลงกลายไปเป็นหนองน้ำ (เรียกว่าหนองหล่ม)และมียายแก่คนหนึ่งไม่ได้กินปลาไหลเผือกไปกับชาวเมืองด้วยรอดชีวิตเหลืออยู่คนเดียวมาเล่าถึงเวียงล่มที่จมหายเป็นหนองหล่ม
ในขณะนั้น ลวจักราช
เป็นเทพยดาที่ลงมาจากสวรรค์กำเนิดเป็นมนุษย์
ได้มีอำนาจบริเวณที่ราบเชียงแสนในพุทธศักราช 1181
และเป็นปฐมราชวงศ์เม็งราย
ผู้สร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา
|