รวมเลือดเนื้อ เชื้อชาติไท
รวมเลือดเนื้อ เชื้อชาติไท
พื้นที่สุวรรณภูมิหรือแหลมอินโดจีนแห่งนี้
มีกลุ่มมนุษย์อาศัยอยู่หลายเชื้อชาติและมีสาขาของชาวไทแยกออกไปมากมาย
จนมีมนุษย์อยู่หลายเผ่าพันธุ์
พอจะรวมเลือดเนื้อเชื้อชาติไทยไว้เป็นข้อมูลสำคัญศึกษา ได้ดังนี้
บริเวณดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานั้น
คือบริเวณที่เป็นดินดอนรูปสามเหลี่ยม
อันเกิดจากการทับถมของโคลนตะกอนที่แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสายอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องได้แก่ แม่น้ำ แม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำบางปะกง
มีอาณาบริเวณตั้งต้นจากจังหวัดนครสวรรค์ จดอ่าวไทยทางด้านตะวันตกจดจังหวัดเพชรบุรี
ซึ่งเชื่อกันว่า สมัยก่อนพุทธกาลประมาณ 1000
ปี
พื้นที่นี้สามารถเดินเรือจากอ่าวไทยเข้าไปถึงเมืองสรรค์บุรี
อาณาเขตดังกล่าวเป็นบริเวณสำคัญที่สุดของประเทศพบหลักฐานทางโบราณคดีว่าเคยเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยและมีวัฒนธรรมเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์หลายแห่งในจังหวัดกาญจนบุรี
ลพบุรี ราชบุรี ป่าจีนบุรี อุทัยธานี และนครสวรรค์ เป็นต้น ในสมัยประวัติศาสตร์
ค้นพบร่องรอยของเมืองโบราณขนาดใหญ่และขนาดเล็กหลายสมัยตั้งแต่สมัยอยุธยา
ซับซ้อนกันอยู่เป็นจำนวนมาก จัดเป็นบริเวณที่มีอายุยืนนานที่สุดของประเทศไทย
บริเวณนี้คือ ดินแดน
สุวรรณภูมิ ที่ชาวตะวันตกเรียกว่า ไครเส้
(CHRYSE) หรือทีเอกสารจีนเรียก กิมหลิน หรือ จินหลิน
(CHIN-LIN)
และมีหลักฐานทางวัฒนธรรมที่น่าเชื่อว่าดินแดนนี้เป็นถิ่นเดิมของมนุษย์เผ่าพันธุ์ไทยอย่างแท้จริง
ตามทฤษฎีใหม่ที่ได้จากผลการศึกษาวิจัยวัฒนธรรมทางวัตถุของ ศจ.
ประกิต บัวบุศย์ ซึ่งได้สำรวจและค้นคว้าเมื่อ พ.ศ.2500-2518มีเหตุผลที่พอจะเชื่อถือได้กว่าที่จะให้มนุษย์เผ่าพันธุ์ไทยเริ่มในตอนเหนือของลุ่มน้ำเออร์ทิส(IRTYSH)
แถบภูเขาอัลไต หรือลุ่มน้ำฮวงโห
แถบมณฑลเชนสีและชานสี ประเทศจีน ซึ่งสามารถที่จะทำความเข้าใจใหม่ได้ว่า
มนุษย์เผ่าพันธุ์ไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้
เป็นมนุษย์ในเผ่าพันธุ์ ออสตราลอยด์
(AUSWALIODS) ที่จัดว่าเป็นเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมของชนชาติละว้า
ที่อินเดียเรียกว่า สยาม ให้เป็นเซียมมวยด์
(SIAMOID) เผ่าพันธุ์ใหญ่ของมนุษย์ชนชาตินี้
ตามทฤษฎีใหม่ของ ดร.
ริชารด์ ลิกกี้ (DR. RICHARD LEAKEY) ว่า
เมื่อประมาณ 500,000 ปีหรือก่อนนี้มนุษย์เผ่าพันธุ์ออสตราลอยด์
ได้เคลื่อนย้ายจากมนุษย์ต้นกำเนิดของโลกจาก โอลดูไว (OLDUVAI)
ของแอฟริกาตะวันออกมาตั้งหลักแหล่งที่สุวรรณภูมิและมีอายุร่วมสมัยกับมนุษย์เผ่าพันธุ์ที่เก่าที่สุดของวัฒนธรรมโซน
(SOAN) ในแคว้นปัญจาปของอินเดียวัฒนธรรมอันยาเสียน
(ANYATHAIN) ของลุ่มน้ำอิรวดีดอนเหนือและวัฒนธรรมจูกิเทียน(CHOUDOU
TIEYIAN)
ที่ปักกิ่งอันมีแนวโน้มว่าจะมีอายุหลังกว่าเล็กน้อยเพราะเคลื่อนย้ายขึ้นไป
วัฒนธรรมของมนุษย์เผ่าพันธุออสตราลอยด์ในดินแดนสุวรรณภูมิ
ได้เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมล่าสัตว์และเลี้ยงสัตว์มาเป็นวัฒนธรรมเพาะปลูก
โดยเฉพาะการปลูกข้าว ที่ปลูกข้าวในน้ำบนพื้นราบ และปลูกข้าวไร่บนดอยตามเนินเขา
มีการกินข้าวเป็นอาหารหลัก เมื่อประมาณ 20,000
ปีก่อนมนุษย์เผ่าพันธุ์คอเคซอยด์มองโกลอยด์ และนิกรอยด์ซึ่งเปลี่ยนแปลงช้ากว่า
วัฒนธรรมดังกล่าวนี้ได้เคลื่อนย้ายไปยังวัฒนธรรมทัมปาเนียน
(TAMPANIAN)
ในรัฐเปรัคของมาเลเซียแล้วเคลื่อนย้ายไปยังวัฒนธรรมปาจิตตาเนียน
(PAIJITANIAN) ที่ชวาและฟิลิปปินส์
แล้วจึงเคลื่อนย้ายเลยขึ้นไป และไปที่สุดที่ออสเตรเลีย
ในระยะยุคหินกลาง
(MESOLITHIC) เมื่อประมาณ 15,000 ปี
มนุษย์เผ่าพันธุ์ซอสตราลอยด์ได้เคลื่อนย้ายจากตอนกลางของสุวรรณภูมินี้
ไปตั้งหลักแหล่งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลุ่มแม่น้ำมูล ลุ่มแม่น้ำชี
และลุ่มแม่น้ำโขงจนสามารถรวบรวมจับกลุ่มกันหนาแน่นเป็นวัฒนธรรมเผ่าพันธุ์ไทย
ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ส่วนวัฒนธรรมที่ต่อเนื่องไปจากลุ่มแม่น้ำโขงตอนอำเภอเชียงแสนนั้น
ได้ขึ้นไปยังลุ่มน้ำดำและลุ่มน้ำแดงของญวนเหนือ เป็นวัฒนธรรมโหบิเนียน
(HOABINIAN)
ปลายยุคหินใหม่ต่อยุคโลหะ ประมาณตั้งแต่ 7,000-5,000 ปี
ได้มีการเคลื่อนย้ายวัฒนธรรมผ่านขึ้นจากตอนกลางสุวรรณภูมิ แถบลุ่มน้ำแควน้อย
จังหวัดกาญจนบุรี ทำให้วัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาแพร่ไปตามลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน
เข้าสู่ลุ่มแม่น้ำโขงขึ้นไปจนเหนือสุดของแม่น้ำโขง แล้วผ่านเข้าสู่ลุ่มแม่น้ำฮวงโห
ปรากฏเป็นวัฒนธรรมยางเชา
(YANG SHAOCULTURE) ที่มณฑลกันชู (KANSU)
และยังเคลื่อนย้ายผ่านไปทางตะวันออกบรรจบกับวัฒนธรรมลุงชาน (LUNG SHAN
CULTURE) เมื่อประมาณ 4,500-4,200 ปี
การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ ในช่วงระยะเวลา 5,000 ปีเศษถึง 4,000
ปี ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ติดต่อกัน ภูมิประเทศเกิดเป็นบึง หนอง ห้วย
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มนุษย์จึงได้อพยพเคลื่อนที่ละทิ้งถิ่นที่อยู่อาศัย
บางส่วนหลบอาศัยอยู่ตามที่สูง เช่น เพิงผาที่น้ำไม่ท่วม
โดยเคลื่อนย้ายไปตามตอนเหนือของลุ่มแม่น้ำโขงขึ้นไปจนถึงประเทศจีน
ร่วมกับมนุษย์พวกขึ้นไปจากตอนกลางของสุวรรณภูมิทางหนึ่ง
อีกทางหนึ่งได้เคลื่อนย้ายไปตามฝั่งทะเลตะวันออกของจีน ไปจับกลุ่มอยู่หนาแน่นที่
มณฑลโฮนาน และเกิดเป็นวัฒนธรรมลุงชาน (LUNG SHAN CULTURE)
ขึ้น
พร้อมกันได้มีบางส่วนที่ยังคงเคลื่อนย้ายจับกลุ่มกันอยู่ในภาคเหนือ
ภาคตะวันตกเฉียงเหนือและภาคกลางของสุวรรณในแหล่งที่ชุมชนเผาพันธุ์ไทยอยู่กันไม่หนาแน่น
โดยเคลื่อนย้ายไปตามลุ่มแม่น้ำมูล ลุ่มแม่น้ำชี
และอีกส่วนหนึ่งได้เคลื่อนย้ายเป็นกลุ่มใหญ่ผ่านไปตลอดแหลมมลายู
จนถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์วัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาจากภาคกลางของสุวรรณภูมิตามผลวิจัยของ
ศจ.ประกิต
บัวบุศย์ ว่าได้เคลื่อนย้ายไปทางใต้ตลอดแหลมมลายู ผ่านไปยังสุมาตรา และชวา
ข้ามไปยังบอร์เนียว ฟิลิปปินส์ จากฟิลิปปินส์จะเลยขึ้นไปยังเกาะไต้หวัน
หมู่เกาะต่าง ๆ
จนถึงเกาะโลกีนาวาเกาะกิวชิวของประเทศญี่ปุนบรรจบกับวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาที่ผ่านไปทางประเทศจีนวัฒนธรรมโลหะก็ได้เคลื่อนย้ายไปเส้นทางเดียวกับวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผา
ก่อให้เกิดวัฒนธรรมชางลิน (SHANG YIN CULTURE)
ในประเทศจีนเมื่อประมาณ 3,776-3,122 ปีและสืบทอดต่อมาจนถึงวัฒนธรรมจิว (CHOU
CULTURE) เมื่อประมาณ 3,112-2,200
ปีจึงปรากฏว่าวัฒนธรรมทั้งสองประเภท
ได้เสื่อมคลายลงเมื่อมนุษย์เผ่าพันธุ์มองโกลอยด์มีอำนาจในนามของ จิ้น (CHIN)
และจีนฮั่น (CHINESE HAN)
โดยสร้างประเทศจีนขึ้นแล้วแต่ก็ยังคงมีอิทธิพลที่มองไม่เห็นในศิลปวัตถุของจีนตลอดมา
วัฒนธรรมที่เคลื่อนย้ายไปจากสุวรรณไม่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้น
ได้ไปสร้างสมเป็นมรดกตกทอดในประเทศจีนต่อมา จนถึงประมาณ 2,500-2,200
ปี ยังได้มีการเคลื่อนย้ายอิทธิพลต่อไปประเทศเกาหลี
โดยผ่านขึ้นไปทางบกตามริมฝั่งทะเลตะวันออกของจีนทางหนึ่ง
อีกทางหนึ่งไปจากมณฑลชานตุง แล้วข้ามทะเลไปยังเกาหลี ผ่านไปเกาะกิวชิว
ของญี่ปุ่นซึ่งมีการพบอิทธิพลที่มองไม่เห็นของวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาในวัฒนธรรมยาโยอิ
(YAYO CULWRE )
สรุปแล้วจากผลการวิจัยของ ศจ.ประกิต
บัวบุศย์ ศิลปินแห่งชาติได้ให้ความน่าเชื่อว่ามนุษย์เผ่าพันธุไทยในสุวรรณภูมินั้น
มีรากฐานการเคลื่อนย้ายมาตั้งหลักแหล่งอย่างแน่ชัดที่สุดเมื่อประมาณ 500,000
ปีเป็นอย่างน้อย แล้วเคลื่อนย้ายขึ้นลง-ไปมา
จนเข้าไปอยู่สูงสุดถึงลุ่มแม่น้ำฮวงโห ทางใต้ของประเทศจีน
และแผ่ซ่านไปทั่วลุ่มแม่น้ำแยงชีเกียง
ทั่วฝั่งตะวันออกของฝั่งทะเลจีนทางให้ได้ผ่านแหลมมลายู ไปถิ่นอินโดนีเซีย บอร์เนียว
ฟิลิปปินส์ เกาะไต้หวันเลยไปตอนใต้ของญี่ปุ่น และลงไปสุดที่ออสเตรเลีย
|