การเคลื่อนย้ายดังกล่าวนั้นได้ทำใ
การเคลื่อนย้ายดังกล่าวนั้นได้ทำให้เกิดคุณค่าเชื้อชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์ขึ้น
ซึ่งเป็นผลถึงชนชาติต่าง ๆ ดังนี้(1)
1.
ชนชาติละว้า
เป็นชนชาติที่วิวัฒนาการมาจากชนชาติไทย ได้เคลื่อนย้ายอพยพอยู่เสมอ
เมื่อประมาณ
2,500-2100 ปี ได้มีการติดต่อกับชนชาติอินเดีย จึงถูกเรียกชื่อเป็น
สยาม ตามผิวสีกายที่มีสีคล้ำ
ไม่ดำเป็นพวกนิกรอยด์ ไม่ขาวเป็นพวกคอเคซอยด์ หรือไม่เหลืองเป็นพวกมองโกลอยด์
มีหลักฐานให้เห็นชัดว่าละว้าภูเขา ได้ตั้งถิ่นฐานบนดอยดุง
จังหวัดเชียงรายเมื่อประมาณ 1,000
ปี มีกษัตริย์ปกครองชื่อละวะจักราช
สำหรับละว้าพื้นราบนั้นปรากฏว่าได้มีการตั้งบ้านเมืองทุกภาคในประเทศไทย
2. ชนชาติมอญ-ละว้า
คือ ชนชาติที่ผสมกันระหว่าง ละว้าพื้นราบ
กับชนชาติธิเบตที่อพยพเข้ามาในสุวรรณภูมิได้รับอิทธิพลศิลปวัฒนธรรมสูงสุดของอินเดีย
ทำให้มีอำนาจในการปกครองเมือง เช่น พ.ศ.
900-1,300 เมืองศิริชัย เมืองนครปฐม เมืองอยุธยา
และเมืองละโว้ เป็นต้น นักโบราณคดีอ้างว่าเป็น มอญทวาราวดี
3.
ชนชาติไทยอ้ายลาว
เป็นชนชาติดั้งเดิมของเผาพันธุ์ไทย
ที่อพยพเคลื่อนย้ายไปในประเทศจีนและมีมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ พ.ศ.
800 ชนชาติไทยอ้ายลาวในจีน
มีฐานะเป็นเพียงรัฐหนึ่งเท่านั้น
ต่อมาก็อพยพมาอยู่ในสุวรรณภูมิร่วมกับชนชาติเดียวกัน
4.
ชนชาติขอม-ละว้า
เป็นชนชาติผสมระหว่าง ละว้าพื้นราบ กับชนชาตินาคา
(NAKA)จากอินเดียและตอนเหนือของพม่า ที่วิวัฒนาการมาเป็นชาติขอมแท้
เมื่อ พ.ศ. 900-1,300
ปรากฏว่ามีโบราณวัตถุสถานพระพุทธรูป เทวรูป มากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
5.
ชนชาติชวา-ศรีวิชัย
เป็นชนชาติเลือดผสมส่วนใหญ่กับชนชาติพื้นเมืองเดิมที่อพยพจากสุวรรณภูมิหลายครั้งหลายคลื่นของการอพยพ
จนถึงประมาณ
15000-1200 ปี
ได้ผสมกับชนชาติเลือดผสมอินเดียขึ้นและมีความเจริญสูงสุดในสมัยศรีวิชัย
ชนชาติที่กล่าวนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของการวิวัฒนาการจากเผ่าพันธุ์ไทยดั้งเดิมที่อาศยอยู่บนดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้มาแต่เดิม
มนุษย์เผ่าพันธุ์ไทย เป็นครอบครัวที่มีสามีเป็นหัวหน้าครอบครัว
มีภรรยา บุตร หลานและญาติพี่น้องอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มก้อน
มีความเคารพผู้มีอาวุโสและเชื่อฟังผู้ปกครอง
เชื่อถือและนับถือเรื่องวิญญาณการเกิดดับ
ทำให้เกิดลัทธิการนับถือและการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ มีพิธีกรรมฝังศพ บรรจุศพ
เมื่อพระพุทธศาสนาแพร่หลายแล้ว
จืงมีการเปลี่ยนพิธีกรรมปลงศพจากการฝังเป็นเผาแทนและได้จัดหาสิ่งของเครื่องใช้เซ่นไหว้ศพจนเกิดการทำสิ่งของเครื่องใช้สำหรับผู้ตาย
(GRAVE GOODS)
ในการกินการอยู่นั้น ได้พบว่ามนุษย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีระเบียบในการกินเป็นอย่างดีมีการจัดถ้วยแบ่งจาน เบ่งอาหาร มีช้อนกลาง
ช้อนประจำตัว หม้อน้ำกิน หม้อน้ำใช้ ไม่ปะปนกัน
การแต่งกายมีเสื้อผ้าตามเพศชายและหญิง ทอด้วยไหม ใยไม้ ฝ้าย และเปลือกไม้
ทำลวดลายสีสันสวยงามตามฐานะ สำหรับที่อยู่อาศัยก็สร้างเป็นบ้านเรือนใต้ถุนสูง
หลังคามุงด้วยแฝกหรือหญ้าคาตลอด จนใบไม้ขนาดใหญ่หลังคาทำแบบหน้าจั่ว ลาดชัน
ตัวเรือนส่วนใหญ่ใช้ไม้ไผ่
มีห้องนอนห้องครัว ชานเรือนรับบันไดขึ้นลง
แต่ละห้องจะมีหม้อน้ำหรือไหน้ำดื่มไว้ประจำห้อง
การแต่งงานนิยมแบบตัวเดียวเมียหลายคนเพื่อต้องการเสียและลูกหลานช่วยในการเพาะปลูก
การสู่ขอแต่งงานใช้เครื่องประดับ
เสื้อผ้าแพรพรรณตลอดจนสัตว์เลี้ยงเป็นสินสอดสู่ขอแต่งงาน มีการแลกเปลี่ยนสิ่งของ
ถ้วยชาม หม้อไห จากแหล่งผลิตเดียวกันออกไปอยู่ตามท้องที่ต่าง ๆ
และมีการถ่ายทอดแบบรูปทรงและลวดลายของภาชนะ เครื่องประดับ ให้ฝึกงาน
สั่งสอบตกทอดกันตามสกุลช่าง
การเขียนลายสัญลักษณ์นั้นเป็นเรื่องของบุคคลฝ่ายปกครองชั้นสูงและหัวหน้าทีทำพิธีกรรมของชุมชนนั้น
|