การเคลื่อนย้ายดังกล่าวนั้นได้ทำใ
การเคลื่อนย้ายดังกล่าวนั้นได้ทำให้เกิดคุณค่าเชื้อชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์ขึ้น
ซึ่งเป็นผลถึงชนชาติต่าง ๆ ดังนี้(2)
ตอนกลางของดินแดนสุวรรณภูมินั้น มนุษย์รู้จักทำภาชนะสำหรับหุงต้ม
และเป็นภาชนะใส่ข้าว-น้ำมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า
20,000 ปีแล้วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รู้จักการนำใบยาพื้นเมืองมาสูบไม่น้อยกว่า
9,000-7,000 ปีแล้ว โดยมวนด้วยใบยา
ใบตองแห้ง และกลีบบัว ต่อมาประมาณ 8,000-7,000 ปี
ก็มีความสามารถสร้างสรรค์กล้องยาเส้นทำด้วย
ดินเผามีลวดลายของกลีบบัวประกอบให้สวยงาม
นอกจากนี้ยังรู้จักทำลูกกลิ้ง ลวดลายผ้าและลายหม้อไหลายเขียนสี
(บ้านเชียง) ระยะประมาณ 6,000
ปีเศษ
ได้มีการใช้ภาษาพูดเป็นสื่อความเข้าใจซึ่งกันและกันมีการสร้างสัญลักษณ์แทนคำพูดตามผนังถ้ำ
และเพิงผา พอล่วงมาประมาณ 5,000-4,000 ปี
สัญลักษณ์นั้นก็เป็นรากฐานตัวหนังสือที่แพร่หลายในสมัยวงศ์ชางอิน(SHANG YIN
CULTURE) ประมาณ 5,000 ปีนั้น
ได้มีการคิดค้นทำข้าว หรือน้ำอ้อย หรือน้ำตาลจากต้นตาล มะพร้าว
มาหมักให้เกิดแอลกอฮอล์ และนำเปลือกไม้ รากไม้ ปรุงแต่งให้มีรสดีน่าดื่ม
เล้วมีการทำกาเหล้า ไหเหล้า ด้วยเหล้าเป็นการพิเศษอีกด้วย
เรื่องราวของมนุษย์เผ่าพันธุ์ไทย
จึงมีเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการจากยุคหิน
ตั้งแต่สมัยหินเก่า
(PALAEOLOTHIC PERIOD) ตั้งแต่ 10,000
ปี ขึ้นไป สมัยหินกลาง (MESOLITHIC PERIOD)
ประมาณ 11,000-8,350 ปี จนและสมัยหินใหม่ (NEOLITHIC PERIOD)
ประมาณ 3,900-2,000 ปี จนถึงยุคโลหะ
ที่สิ้นสุดเมื่อประมาณ พ.ศ.
1000ที่ถือกันว่า เป็นการตั้งต้นสมัยประวัติศาสตร์ (คือจารึกของพระเจ้าอิศานวรมัน
นั้นมีอายุราว พ.ศ. 1185)
ชนชาติไทยนั้นเป็นเผ่าพันธุ์ที่เก่าแก่มาก
ซึ่งในปัจจุบันนี้เผ่าพันธุ์ของชนชาติไทยได้อยู่กระจัดกระจายทั่วไปในตอนใต้ของทวีปเอเชีย
ตำนานและขนบธรรมเนียมของชาตินั้นยังเกี่ยวพันถึงชาติมองโกเลียและใกล้ชิดกับชาติจีน
ซึ่งในจดหมายเหตุโบราณของจีนพม่า
เผ่าพันธุ์เชื้อชาติไทยนี้ปรากฏตามจดหมายเหตุจีนโบราณว่า มุงใหญ่ หรือต้ามุง
(GREATMUNG)
เป็นชนชาติที่มีพวกมากและสำคัญพวกหนึ่ง
ต่อมาได้มีการอพยพเข้าไปอยู่ในท้องที่ลุ่มแม่น้ำยางสีตอนเหนือตลอดจีนตอนใต้ของประเทศจีน
และอยู่ทั่วไปใน อัสสัม พม่า ญวนและในเขมรบางส่วน
ถึงแม้ว่าชนชาติไทยจะมีประวัติการมานานและอาศัยอยู่ทั่วไปนั้น
ก็ยังไม่มีหลักฐานที่ปรากฏว่าชนชาติไทยในครั้งโบราณนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่าชนชาติไทยในปัจจุบันนี้ซึ่งมีข้อสังเกตจากตำนานของชนชาติไทยวา
ชนชาติไทยได้แยกออกเป็นหลายพวกหลายเหล่า
ซึ่งต่างก็เป็นอิสระไม่ได้รวมกันเป็นชาติใหญ่ชาติเดียวเช่นนี้
ทำให้ชาติมีกำลังอ่อนลงและไม่เจริญรุ่งเรืองเหมือนกับที่ได้รวบรวมอยู่ใต้อำนาจรัฐบาลแห่งเดียวกัน
ความเจริญของชนชาติไทยเป็นมาอย่างไรนั้น
เป็นเรื่องที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะเรื่องราวของถิ่นเดิมหรือภูมิลำเนาดั้งเดิมของชนชาติไทย
ซึ่งในคำนำของหนังสือฝรั่งเศสชื่อ
SILVE'S TO GRAMMER
ได้กล่าวถึงประวัติการของชนชาติไทยจากการแปลพงศาวดารสยามฉบับหลวง ประวัติการของเขมร
ตำนานไทยฝ่ายเหนือ เชียงราย และตำนาน เมืองลาวที่ตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
มีข้อความดังนี้
ประวัติการของชนชาติไทยนั้นเก่าแก่มาก
จดหมายเหตุจีนโบราณกล่าวว่า เมื่อประมาณ 850 ปี ก่อนคริสต์ศักราช (307
ปี ก่อนพุทธศักราช)
ภูมิลำเนาเดิมของชนชาติไทยอยู่ตอนกลางลุ่มแม่น้ำเหลือง (YELLOW SEA)
ซึ่งเป็นท้องที่มณฑลฮูเปและมณฑลโฮนาน แห่งประเทศจีนในบัดนี้
ในสมัยเดียวกันนั้นชนชาติจีนได้อพยพตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามที่ราบในลุ่มแม่น้ำเหลืองตอนเหนือ
บัดนี้เรียกว่า มณฑลแกนซู (อยู่เหนือมณฑลเสฉวนติดต่อกับทิเบต)
โดยถูกพวกตาดรุกราน
จึงได้ร่วมลงมาและปะทะกับพวกไทยเข้าเลยเกิดต่อสู้กันมาช้านานพวกไทยมีจำนวนน้อยและฝีมืออ่อนกว่าจีน
เมื่อสู้จีนไม่ได้จึงพากันเดินทางร่นลงมาข้างใต้โดยทางต่างๆ กัน เมื่อประมาณ
2,000 ปีล่วงมาแล้ว
พวกไทยส่วนมากร่นลงมาตามแม่น้ำยางสี
(YANGTZE
KIANG) เข้าไปตั้งอยู่ในมณฑลยูนนาน ณ
ที่นั้นได้ต่อสู้กับพวกพื้นเมืองเดิมเป็นเวลานานในที่สุดได้ตั้งราชอาณาจักรขึ้นเรียกว่า
อาณาจักรน่านเจ้า (NAN-CHOW) ในท้องที่ที่เรียกว่าโกสัมพี
(KOSAMPHI) และ ตั้งเมืองตาลีฟู (TALI-FU)
เป็นเมืองหลวง ต่อมาเมืองหลวงนี้ก็ได้เลื่อนไปตั้งที่พูเออร์ฟู
(PU-ERH-FU)
อาณาจักรนี้ครอบท้องที่มณฑลญวน นานทั้งหมด และท้องที่ตอนเหนือของสิบสองพันนาด้วย
|