การเคลื่อนย้ายดังกล่าวนั้นได้ทำใ
การเคลื่อนย้ายดังกล่าวนั้นได้ทำให้เกิดคุณค่าเชื้อชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์ขึ้น
ซึ่งเป็นผลถึงชนชาติต่าง ๆ ดังนี้(3)
อาณาจักรไทยในสมัยที่กล่าวนี้เจริญรุ่งเรืองมาก
ขึ้นก็แสดงลักษณะเป็นนักรบและมีการปกครองเป็นปึกแผ่น
และทั้งมีอำนาจปกครองดินแดนตลอดถึงตะวันออกในทิเบตด้วยอาณาจักรทั้ง 3นั้นคือไทย
ทิเบต จีนก็ได้เกิดการต่อสู้ชิงชัยกันมาช้านานบางคราวก็เป็นไมตรีกัน
บางคราวก็สู้รบกับชาติตาดซึ่งยกรุกเข้ามาระยะเวลาที่ไทยต่อสู้ชิงชัยกันอยู่ดังนี้
เป็นเวลาประมาณถึง
400
ปีเศษ
แต่อย่างไรก็ดีเมื่อจีนยกลงมารุกรานหนักขึ้นชนชาติไทยก็จำต้องอพยพมาทางใต้มาตั้งอาณาจักรขึ้นที่เมืองเชียงแสน
(CHIENG SEN) บนฝั่งแม่น้ำโขง ภายหลังได้ต่อสู้กันกับพวกขอม
(เขมร COMBODIANS) ต่อมาอีกนานหลายร้อยปี
แต่อาณาจักรไทยที่เลือนลงมาตั้งใหม่นี้ คือเมืองหลวงเปลี่ยนเรียกต่างๆ กัน
ตามสมัยที่ดำเนินมา และมีเรื่องราวอันแสดงความรุ่งเรืองเช่นเดียวกับสมัยก่อน
ต่อจากนั้นได้ย้ายไปทางตะวันตกเฉียงใต้ไปตั้งอาณาจักรขึ้นที่ลุ่มแม่น้ำสาละวิน
(SALWEEN) มีเมืองพุกาม (PHOU-KAM)
เป็นเมืองหลวงโดยมีพวกขอมยกมารุกรานหนักขึ้น
และไทยอีกพวกหนึ่งก็ได้มาสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นทีแม่น้ำปิง (ME-PING)
การอพยพลงมาทางใต้หาได้หยุดยั้งไม่ ยังคงอพยพเรื่อยๆ มา
คือลงตามแม่น้ำเจ้าพระยาจนมาถึงอาณาจักรไทยอันมีอำนาจขึ้นทางใต้ มีเมืองอยุธยา
(AYUTHAYA) เป็นเมืองหลวง
ประมาณ ค.ศ.1305
(พ.ศ. 1858)
ในรัชกาลของพระเจ้าอู่ทอง
และต่อมาได้เลื่อนเมืองหลวงมาตั้งที่บางกอก (กรุงเทพ)
อันเป็นที่มีความเจริญยิ่งในอาณาจักรไทยปัจจุบันนี้
การที่ชนชาติไทยอพยพลงมาทางใต้นั้นมีโอกาสขยายตัวประสบความเจริญได้ดีกว่าอยู่ถิ่นเดิมมาก
แต่เมื่อระบาดลงที่นั่นได้แยกย้ายออกเป็นหลายพวกด้วยกันบางทีก็ต่อสู้กันเอง
บางทีก็สู้พวกพื้นถิ่น
แล้วในที่สุดก็ตั้งรวบรวมกันเป็นปึกแผ่นมีหัวหน้าปกครองพวกไทยต่างๆ
นั้นไม่ว่าอยู่ในถิ่นเดิมหรือพวกที่ระบายลงมา เช่น
พวกไทยที่อยู่ในมณฑลกวางชีในประเทศจีน และที่อยู่ใน ประเทศตั๋งเกี๋ย (ที่ระบาลงมา)
ต้องอยู่ในอำนาจของจีนและญวนและสมาคมปะปนกับพวกเหล่านั้น ทำให้กริยา ภาษา คำพูด
ตลอดจนตัวหนังสือค่อย ๆ กลายไปเป็นเหมือนพวกที่สมาคมนั้นๆ ยิ่งขึ้นไปทุกที
จากข้อความในหนังสือ SILVE S TO GRAMMAR
นี้ ทำให้สรุปได้ว่า
ชนชาติไทยนั้นมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในประเทศจีนปัจจุบันแถบตอนกลางลุ่มแม่น้ำเหลือง
เขตมณฑลฮูเป และมณฑลโฮนานแล้วอพยพลงมาทางใต้แยกย้ายไปอยู่ตามดินแดนต่างๆ
ในดินแดนสุวรรณภูมิ
ไม่ว่าจะมีการสำรวจขุดค้นที่ดินแดนถิ่นเดิมของชนชาติไทย
ก็ไม่เคยพบว่ามีหลักฐาน อื่นใดที่ยืนยันได้ว่า
เป็นแหล่งเดิมของชนชาติไทยที่เคยอาศัยอยู่มาก่อน
ประกอบกับได้มีการสำรวจพบเรื่องราวของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ
ที่บ้านเก่าจังหวัดกาญจนบุรี ที่บ้านเชียงจังหวัดอุดรธานี เป็นต้น
จึงเป็นหลักฐานใหม่สำหรับยืนยันว่า
มนุษย์เผ่าพันธุ์ไทยน่าจะมีถิ่นฐานอยู่ที่ดินแดนแถบนี้มากกว่าตอนเหนือของประเทศจีน
เพราะพบเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่มีวัฒนธรรมแพร่หลายไปยังดินแดนต่าง
ๆ ถึงตอนเหนือของจีน
และวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาที่เชื่อว่าน่าจะเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติไทยที่ยังถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์กันต่อ
มาจนทุกวันนี้
ถ้าชนชาติไทยมีถิ่นเดิมอยู่ในสุวรรณภูมิมาก่อน
การอพยพของคนไทยนั้นต้องเปลี่ยนขึ้นไปทางเหนือหรือทุกทิศทาง
เหมือนการขยายอาณาบริเวณของประเทศและเผาพันธุ์
น่าจะเป็นไปไม่ว่าชนชาติไทยสามารถขึ้นไปจัดตั้งอาณาจักรในดินแดนของประเทศจีน
และมีความสัมพันธ์กับจีนอย่างแน่นแฟ้น
เท่ากับสนับสนุนให้ชนชาติจีนเป็นชนชาติหนึ่งที่มีความเจริญมาก่อนชนชาติไทย
และอาจจะเป็นความจริงในข้อที่ว่า
ชนชาติจีนนั้นมีวัฒนธรรมและศิลปกรรมที่เจริญรุ่งเรืองจนสามารถสร้างสิ่งก่อสร้างมโหฬารอย่างกำแพงเมืองจีน
ตรงกันข้ามหรือวัตถุทางศิลปกรรมใดที่แสดงถึงความเจริญสูงสุดที่มีมาก่อนจีน
ในเหตุผลอย่างหนึ่งที่น่าศึกษาคือ
ถ้าชนชาติไทยเป็นชนชาติที่มีความเจริญมาก่อนจีน ก็น่าจะมีหลักฐานอื่นใดปรากฏ
จะเป็นไปได้หรือ ของประเทศจีนปัจจุบัน
ส่วนชนชาติไทยเป็นเผ่าพันธุ์ที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน
อยู่แถบสุวรรณภูมิและชนชาติไทยส่วนหนึ่งอพยพขึ้นไปมีอำนาจหรือรับเอาวัฒนธรรมของชนชาติจีนหรือเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน
ดังนั้น วัฒนธรรมของชนชาติไทยจึงผสมผสานไปกับวัฒนธรรมที่เจริญแล้ว
เรื่องนี้นักโบราณคดี
จึงยึดเอาวัฒนธรรมของเครื่องปั้นดินเผาเป็นเหตุผลในการที่จะชี้ให้เห็นว่า
ชนชาติไทยเจริญมาบ้างและนำไปดัดแปลงให้ดีขึ้นโดยรับเอาวัฒนธรรมของชนชาติอื่นมาช่วย
เป็นเรื่องที่น่าศึกษาหาข้อยุติว่า ชนชาติไทยนั้น
ถิ่นเดิมอยู่ที่ไหน และมีวัฒนธรรมที่เจริญกว่าชนชาติจีนจริงหรือไม่ ?
ไท
หรือ ไทย นี้หมายถึงอิสรภาพหรือเสรีภาพ
(FREE) แต่ชนชาติจีนหมายถึง ใหญ่
จะใช้เรียกชนชาติไทยในฐานะที่มีพวกมากหรือ ไม่มีความแจ้งชัด และการเรียกชื่อ
ไทยหรือ ไทยนั้น จะมีความหมายจริงๆ อย่างไร
เป็นเรื่องที่เพียงแต่ข้อสันนิษฐานเท่านั้น
-
ชนชาติไทยที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ทั่วไปในมณฑลเสฉวน เรียกตัวเองว่า ไทย
ไม่ชอบให้เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น แม้ว่าชนชาติจีนจะเรียกเขาว่า ทูลี (TU-LI)
หรือ ทู เรน (TU-REN)
- ชนชาติไทยที่เมืองกวางนาน
(KWANGNAN หรือ KWANDNANFU)
ซึ่งอยู่ในมณฑลยูนนานตอนตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกตัวเองว่า ไทยย้อย (TAI
YOI)
- ชนชาติไทยที่อยู่ในมณฑลไกวเจา
ไมได้เรียกตัวเองว่า ไทย เรียกกันทั่วไปวา จุงเจีย (CHUNG CHIA)
หรือ ทู เยน (TO-JEN) หรือ ทู เรน
แต่ในหนังสือปทานุกรมของผู้สอนศาสนาโรมันคาทอลิกในมณฑลไกวเจา เรียก ไดออย
(DIOI) ถ้าสะกดเป็นภาษาสเปนว่าย้อย (YOI)
-
ชนชาติไทยที่อยู่ในพม่า พม่าเรียกว่า ชาน
(SHAN) และมีหมู่บ้านพวกชาน อยู่ถึงลุ่มแม่น้ำปูทูโห
(PU-TO-HO)
ประเทศจีนซึ่งอพยพขึ้นมาอยู่หลายร้อยปีแล้ว ชนชาติไทยแม้จะเรียกกันหลายชื่อก็ดาม
ก็ยังถือว่าเป็นชนชาติเดียวกัน
|