ลักษณะของการใช้ตัวหนังสือเป็นแนว
ลักษณะของการใช้ตัวหนังสือเป็นแนวทางในการเรียนรู้เรื่องชนชาติไทยหลายเผ่าพันธุ์แล้วสามารถจะแบ่งออกเป็น(1)
1.
ชนชาติไทยที่มีหนังสือใช้
1.1
ชนชาติไทยที่ใช้ตัวหนังสือขอม (เขมร)
และหนังสือไทย คือ ไทยที่เป็นชนชาติ
ปัจจุบันนี้
1.2
ชนชาติไทยที่ใช้ตัวหนังสือไทยเหนือ เรียกว่า หนังลือ ยวน
(โยนก หรือ ลาว
เชียงใหม่)
แยกออกเป็น ๕ ประเภท คือ
1.2.1
ไทยเหนือในไทย
1.2.2
ลาวตะวันออกในแดนฝรั่งเศส
1.2.3
พวกเขินในแคว้นเชียงตุงของอังกฤษ
1.2.4
พวกลื้อซึ่งอยู่ในแถบตะวันออกของแคว้นเชียงตุงและแคว้นสิบสองปันนาในมณฑลยูนนานของจีนและในตำบลที่ติดต่อกับแคว้นลาวของฝรั่งเศส
1.2.5
พวกไทยเหนือแห่งเมืองบ่อ จีนเรียกว่า ไวยวน (WEI
YUAN) อยู่ทางตะวันตกในมณฑลยูนนานและตลอดออกไปจดลุ่มน้ำสาละวิน
พวกไทยเหนือนี้รวมพวกไทยเลม (TAI-LEM)
และไทยอื่นๆ ซึ่งอยู่ตอนตะวันออกของลุ่มแม่น้ำสาละวินในพม่า
และใช้หนังสือยวนด้วย
1.3
ชนชาติไทยที่ใช้หนังสือลาวตะวันออก กล่าวในแคว้นลาวของฝรั่งเศส ซึ่งนิยมใช้
ในงานธุรกิจทั่วไป
และใช้หนังสือยวนในทางพุทธศาสนา
1.4 ชาติไทยที่ใช้หนังสือไทยเหนือ
อยู่ในดินแดนจีน เพื่อกิจการธุรกิจ และใช้หนังลือยวน
(YUAN - SCRIPT) ในทางพุทธศาสนา
บางทีก็ใช้หนังสือไทยเหนือตลอดไปจนถึงพวกชนชาติไทยที่อยู่แถบตะวันตกของลุ่มแม่น้ำสาละวินด้วย
1.5
ชนชาติไทยที่ใช้หนังสือเงี้ยว
ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนังสือลาวตะวันออกและคล้ายหนังสือไทยเหนือที่ใช้ในกิจธุระต่าง ๆ
นอกจากนี้ยั้งใช้หนังสือพม่าด้วย นิยมใช้หนังสือเงี้ยวในทางศาสนา
1.6 ชนชาติไทยที่ใช้หนังสือคำรี่ หรือ
ไทยคำตี่ (TAI
KHAMTI)
เป็นพวกไทยที่อยู่ตอนเหนือของประเทศพม่า
1.7 ชนชาติไทยที่ใช้หนังสืออาหม เรียก
ไทยอาหม (TAI
AHOM) อยู่ในแคว้นอัสสัม ในประเทศอินเดีย
1.8 ชนชาติไทยที่ใช้หนังสือไทยดำ
เรียกไทยดำ (TAI-DAM)
และไทยขาว (TAI-KHAO)
อยู่ในแคว้นตังเกี๋ยและตลอดขึ้นไปจนถึงพวกไทยที่อยู่ในมณฑลยูนนานของจีน
2.
ชนชาติไทยที่ไม่มีหนังสือใช้
2.1 ไทยนำ (TAI-NAM)
เป็นชนชาติไทยที่มีมากอยู่ทางตอนเหนือของลุ่มแม่น้ำดำและลุ่มแม่น้ำ แดง
ในมณฑลยูนนาน ชาวจีนเรียกว่า ไทยน้ำ (WATER TAI)
และตั้งบ้านเรือนอยู่ตามฝั่งแม่น้ำ
2.2 ไทยลาย
(TAI LAI
or STRIPED TAI)
เป็นชนชาติไทยที่จีนเรียกเฉพาะ เพราะเหตุที่หญิงไทยนุ่งผ้าถุงเป็นลายยาว ๆ
ขวางตามตัว และแต่งตัวคล้ายยวน เขิน และลื้อ แต่ผ้าถุงที่
นุ่งสั้นกว่า ไทยลายตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ
2.3 ไทยหลวง
(TAI LONG
or LUANG) เป็นชนชาติไทยที่เรียกว่า ผู้ไทย (PU-TAI)
อยู่ทางตะวันออกในมณฑลยูนนานและจังหวัดกวางนาน
2.4 คนไทย
(KON-YAI)
เป็นชนชาติไทยที่มีรูปร่างเล็กกว่าชนชาติไทยอื่น ๆ ทั้งหมด
จีนเรียกคนใหญ่ (BIG PEOPLE)
เป็นการเยาะเย้ย อาศัยอยู่แถบเดียวกับไทยหลวง
2.5 ไทยย้อย
(TAI-YOI)
อยู่เป็นจำนวนมากทางแควแยกของแม่น้ำตะวันตก (WEST RIVER)
ในมณฑลไกวเจา
2.6 ไทยโท้
(TAI-TO)
อยู่ในมณฑลไกวเจาประเทศตังเกี๋ย
และแถบตะวันตกในมณฑลกวางซีคำพูดของไทยโท้ต่างกับภาษาไทยมาก
2.7 ไทยนุง (TAI-NUNG)
คำว่าโท้ และนุง
เป็นคำจีนที่ใช้เรียกไทยพวกนี้ โท้หรือทู หมายถึง ที่ดอนหรือบนบก
ใช้เรียกชนชาติไทยที่อยู่ในมณฑลไกวเจากวางซีและตังเกี๋ยตอนเหนือ ซึ่ง ถือว่าเป็นชนพื้นเมืองของถิ่นนี้
นุง หรือ นั้ง (NUNG
หมายถึง คนที่ใช้เรียกชาวนา)
2.8 ซอง
(CHAWGN)
ชนชาติไทยที่อยู่ทางแถบตะวันออกในมณฑลกวางซี (KWANG SI)
ชาวพื้นเมืองเรียก ซอง
มีลักษณะคล้ายกับไทยโท้ หรือไทยมุง
2.9 ไทยซุง
(CHUNG-TAI)
เป็นชนชาติไทยที่อยู่ในมณฑลไกวเจา
อาจจะเรียกเพี้ยนมาจากไทยนุง
2.10 ไทยจีน (CHIN-TAI)
หรือไทยยางสี (YANGTZE-TAI)
เป็นชนชาติไทยที่อยู่ตามแบบลุ่มน้ำยางสีตอนเหนือในมณฑลยูนนาน
|