ลักษณะของการใช้ตัวหนังสือเป็นแนว
ลักษณะของการใช้ตัวหนังสือเป็นแนวทางในการเรียนรู้เรื่องชนชาติไทยหลายเผ่าพันธุ์แล้วสามารถจะแบ่งออกเป็น(2)
การสำรวจของด๊อกเตอร์ วิลเลี่ยม คลิฟตันด็อดด์
นั้นได้พบว่ามีชนชาติไทยอาศัยอยู่ในประเทศจีน ในขณะนั้น ประมาณ 6,000,000 คน
อยู่ในมณฑลกวางตุ้ง 500,000 คนและอยู่ในเกาะไหหลำอีก 250,000
อยู่ในประเทศลาวของฝรั่งเศส 2,000,000 คน และอยู่ในพม่าของอังกฤษ 1,250,000
คนนั้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2466
จนถึงทุกวันนี้ชนชาติไทยที่อยู่อาศัยในดินแดนดังกล่าวและได้เพิ่มจำนวนขึ้น
และนับวันจะเป็นคนชาติเดียวกับเจ้าของถิ่นมากขึ้นชนชาติไทยที่อาศัยอยู่ในดินแดนต่าง
ๆ ในประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาวนั้นมีความเป็นอยู่ที่คล้ายคลึงกัน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและประเพณีที่ได้รับอิทธิพลจากเจ้าของถิ่นเดิมมากหรือน้อยเพียงไร
ความเป็นอยู่ของชนชาติไทยในประเทศจีนนั้นได้มีผู้เล่าไว้หลายแห่ง ดังนี้
ชนชาติที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในดินแดนลุ่มน้ำตะวันตกในมณฑลยูนนาน
และมณฑลไกวเจานั้น เป็นชนชาติไทย พลเมืองของมณฑลเสฉวนตะวันตก ยืนนาน ไกวเจา
ฮูนานตอนตะวันตกของกวางซี และกวางตุ้งที่ไม่ใช่ชาติจีนนั้นเป็นคนเงียบ ๆ
และเป็นชาวนา
อย่างดีตามปกติจะอยู่อย่างลักษณะชาวป่าที่หาเลี้ยงชีพโดยไล่จับสัตว์ป่าเป็นอาหารมีนิสัยเชื่องๆไม่กระตือรือร้นในการงาน
หรือถือว่าการงานเป็นสิ่งจำเป็นนักมีความพอใจทีจะอยู่อย่างบ้านนอกและนุ่งห่มด้วยผ้าที่ทอใช้เองมิเตอร์เบิน
กงสุลอังกฤษได้เล่าถึงผู้คนนี้ไว้ว่า
เห็นคนหมู่หนึ่ง...เห็นหมู่คนเดินมาเหมือนกระบวนแห่ตามทางอีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำ
มีผู้หญิง ประมาณ 30 คน แต่งตัวสวมเสื้อสั้น ๆ
เดินเรียงแถวเรียงหนึ่งมาข้างหน้า ถัดไปเป็นพวกผู้ชายเป็น
จำนวนมากเดินเป็นแถวตามหลังพวกผู้หญิงทั้งสองกลุ่มนี้มีเครื่องดนตรี
ที่มีรูปเหมือนกระบอกไม้ไผ่ เวลาเป่ายื่นพ้นศีรษะขึ้นไปสัก 2-3
ฟุต และใช้เป่าด้วยปาก เสียงที่เป่านั้นไพเราะน่าฟัง
แล้วกระบวนแห่ นั้นก็ข้ามแม่น้ำไป ข้าพเจ้ามาทราบภายหลังว่า
พวกที่เดินเป็นกระบวนแห่พร้อมด้วยดนตรีนั้นเป็นชาวจุงเจีย (CHUNG CHIA
คือ พวกชวน หรือ ชนชาติไทย)
ซึ่งอยู่ตามตำบลที่ใกล้ ๆ นี้เอง
เขาได้เดินทางไปในระหว่างภูเขาตั้งแต่เช้าเพื่อไปดูการเล่นชนควายกัน และเพิ่งกลับมา
พวกนี้ ชอบเลี้ยงควายไว้สำหรับชนกันเป็นการรื่นเริงของเขาส่วนหนึ่ง
ถ้ามีงานนัดชนควายกันที่ไหนก็พากันไปดูนับพัน ๆ คน
ฤดูที่เล่นชนควายมักเป็นฤดูแล้งหรือในโอกาสรื่นเริงอื่น ๆ
พวกจีนได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า
พวกจุงเจียต้องเอาเป็นธุระด้วยความลำบากในการเล่นชนควายกันนี้ เพราะเขาถือว่า
ถ้าปีใดไม่มีการชนควายกันแล้ว การเพาะปลูกของเขาในปีนั้นจะไม่ได้ผลดี
ความเชื้อถือนี้คล้ายกับชนชาวป่าบางพวกที่ ถือเอาการกีฬาเป็นธรรมเนียมเสียงทายโชค
ผู้หญิงจุงเจียไม่ได้รัดเท้าเหมือนหญิงจีนทั่วไป
การแต่งกายนั้นใช้เสื้อคับและนุ่งผ้าถุง ผู้หญิงสาวรุ่นที่แต่งกายอย่างหญิงจีน
จะใส่เสื้อผ้าหลวมและนุ่งกางเกงแล้วถือว่าทันสมัย
ผู้หญิงจุงเจียทำงานในไร่นามากกว่าหณิงจีน
ส่วนผู้ชายแต่งกายอย่างชาวจีนและส่วนมากเป็นชาวนา
เวลาหน้างานออกหน้าออกตาจึงจะใส่เสื้อแขนยาวอย่างจีน
จังหวัดเก็งตุง
(KENG-TUNG)
เป็นเมืองหลวงของแคว้นเก็งตุงที่เรารู้จักในนามของเชียงตุงนั้น
ชนชาติที่อาศัยอยู่เป็นชาวพื้นเมืองที่มีภาษาและขนบธรรมเนียมเป็นชนชาติไทย
แต่ไม่มีหนังสือเป็นของตนเอง มี สอ-บวา (SAW-BWA)
คือ ตำแหน่งเจ้าฟ้าเขียงตุงปกครองอยู่ใต้อำนาจของอังกฤษ
ภูมิประเทศที่อยู่ทางด้านตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน (SAL-WEEN)
พื้นที่ส่วนมากเป็นเนินและพืดเขา
ทำให้เกิดแม่น้ำลำธารหลายแห่ง
ชนชาติไทยตั้งบ้านเรือนอยู่ทั่วไปและตามเนินเขาก็มีชนชาวเขาอาศัยอยู่เป็นแห่งๆ
จังหวัดเก็งดุงหรือเชียงตุง นี้เป็นศูนย์กลางการค้าขายแห่งหนึ่ง ดังนั้น
สินค้าจากมณฑลยูนนาน จึงสามารถผ่านมายังจังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง
และไปยังจังหวัดมะระแหม่ง จังหวัดมันดะเล จังหวัดร่างกุ้ง ของประเทศพม่าได้
ชนชาติไทยในอาณาจักรอ้ายลาวนั้น
ได้แยกชนชาติไทยออกเป็นหลายสาขาซึ่งอาศัยอยู่ในมณฑลยูนนานมีไทยลื้อ
(TAI-LU) และ ไทยเหนือ (TA-NUA)
เป็นชนชาติไทยที่มีตัวหนังสือของตัวเอ ที่ไม่มีหนังสือและไม่มีการนับถือพุทธศาสนามี
ไทยลุง ไทยย้อย และไทยหลวง พวกเหล่านี้ใช้ชื่อว่า ไทย
ที่หมายถึงชัยชนะและมีความเป็นอยู่อย่างอิสรภาพ มีความเป็นไท (FREE)
เข้าใจว่าคงมีความเกี่ยวพันกับอาณาจักรอ้ายลาว (AI-LAO)
โบราณ ซึ่งมีเมืองตาลีฟูเป็นเมืองหลวงที่เมืองปากอ้ายหรือโพงาย
(PAK-IA หรือPO-NGAI)
อยู่พรมแดนในมณฑลกวางซี ชนชาติไทยเรียกตัวเองว่า ต้า
(TA) ทั้งมณฑลกวางซีและกวางตุ้ง
ไม่มีชนชาติไทยที่ใช้ชื่อไทย เลย
เครื่องแต่งกายผู้ชายไทยในประเทศจีนนั้นเอาอย่างจีนเกือบทุกแห่งแต่สิ่งที่จะบอกให้ทราบว่าเป็นคนละชาตินั้น
คือ เครื่องแต่งกายของผู้หญิง ผู้หญิงไทยลื้อ ไทยเหนือ ไทยลายและไทยน้ำ
นุ่งผ้าถุงที่มีลายเป็นทาง ๆ ทุกพวก ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงไทยแถบดินแดนทางใต้ ในพม่า
ตังเกี๋ย หรือตอนเหนือของประเทศไทยก็ใช้ผ้าถุงทั้งนั้น
แต่ลายของผ้าถุงมักจะแตกต่างกันเป็นแห่ง ๆ ไป เช่น ผู้หญิงไทยเหนือใช้ผ้าลายเป็นทาง
ๆ ลงไปตามตัว แต่ผู้หญิงไทยพวกอื่นโดยมากใช้ผ้าถุงลายขวาง ขวาง
การใช้เสื้อมักเป็นไปตามอากาศร้อนหนาวมากกว่ากัน บางแห่งใช้เสื้อคับสีคราม
เสื้อสีขาวก็มี ใส่คับบ้างหลวมบ้าง บางแห่งผู้หญิงนุ่งผ้าสีครามคอนข้างดำไม่มีลาย
ผู้หญิงไทยทุกพวกไว้ผมยาว และหวีไปข้างหน้า แล้วไปมุ่นเป็นผมมวยไว้กลางศีรษะ
บางพวกมุ่นให้ มาข้างหน้าไม่ใช้ถุงเท้า รองเท้า
ไม่กินหมากหรือกินของที่ทำให้ฟันเปลี่ยนสีไป ผู้หญิงไทยในประเทศจีน
ส่วนใหญ่เป็นคนล่ำสัน แข็งแรง แต่เทอะทะ ชอบประดับร่างกายให้สวยงาม เช่น ใส่แหวน
กำไลมือ กำไลเท้า และอื่น ๆ ซึ่งทำด้วยแร่เงิน
สรุปแล้ว ชนชาติไทยมีเผ่าพันธุ์แพร่ไปอยู่ดามดินแดนต่าง ๆ ในประเทศ
จีน พม่า อินเดีย ลาว ตังเกี๋ย และเขมร เกือบจะเรียกว่าทุกส่วนของตอนใต้ทวีปเอเชีย
ด้วยเหตุที่มี การคมนาคมไม่สะดวกและอยู่ แยกย้ายกันตามสถานที่แตกต่างกัน เช่น
บางพวกอยู่บนภูเขาสูง บางพวกอยู่ริมน้ำ
บางพวกอยู่บนพื้นที่ราบจึงทาให้ต่างคนต่างอยู่ แยกออกเป็นพวกไปอีกหลายพวก
และมีสำเนียงภาษาแตกต่างกันออกไป ชนชาติไทยแต่ละพวกห่างเหินนับเวลาเป็นร้อย ๆ ปี
ดังนั้นจึงทำให้ชนชาติไทยแต่ละแห่งมีฐานะแตกต่างกัน
บางแห่งก็เจริญแล้วก็บ้านเมืองภาษาหนังสือก้าวหน้า บางแห่งยังคงเป็นแบบเดิม
ใช้ภาษาพูดของพวกอื่น บางแห่งเปลี่ยนเชื้อชาติเป็นชนชาติอื่นไป
และเชื่อว่ามนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นไทย หรือจีน ลาว เขมร พม่า อินเดีย
ต่างมีบรรพบุรุษที่สืบทอดต่อมาจากคนเพียงกลุ่มเดียวซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาอีกว่า
มนุษย์กลุ่มนั้นจุดเริ่มต้นควรอยู่ดินแดนแห่งใดเช่นเดียวกับชนชาติไทยที่เรายังไม่ทราบว่าถิ่นเดิมอยู่ที่ใดแน่เคยมีชนชาติไทยในหมู่บ้านไทยแบบแม่น้ำยางสี
พูดว่า บรรพบุรุษของเขาได้อพยพมาจากทางทิศใต้ คือเมืองที่เรียกว่า เมืองข้าวเหนียว(GLUTINOUS
RICE COUNTRY) เมื่อสิบเอ็ดชั่วคนมาแล้ว
ดูเหมือนจะสอดคล้องกับการขุดพบเรื่องราวของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ที่พบว่า
มนุษย์ได้รู้จักทำการเพาะปลูกมานานแล้ว เมล็ดพืชที่พบมีลักษณะเม็ดเล็กป้อม
จะเป็นไปได้หรือไม่ว่า ชนชาติไทยมีถิ่นเดิมอยู่ที่ดินแดนสุวรรณภูมิ
โดยเฉพาะแถบบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี และอพยพร่อนเร่อย่างอิสรภาพเสรีอย่างเป็นไท
(FREE) ไปอยู่ในดินแดนต่างๆ
ดังกล่าวด้วยเหตุนี้มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในบ้านเก่านั้น
จะเป็นบรรพบุรุษของชนชาติใดถ้าไม่ใช่ชนชนชาติไทย
ส่วนทฤษฏีที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องราวของมนุษย์เผ่าพันธุ์ไทยนั้น
เป็นเรื่องที่มีการศึกษาจากหลักฐานกันอยู่และยังไม่สามารถยุติได้ซึ่งยังศึกษาและมีข้อมูลที่ได้จากการศึกษาอยู่เสมอ
|