ในสมัยประวัติศาสตร์หรือก่อนหน้าน
ในสมัยประวัติศาสตร์หรือก่อนหน้านั้นแผ่นดินสุวรรณภูมิแห่งนี้
มีดินแดนทีปรากฏชื่อตามประเทศได้เกิดขึ้นเป็นลำดับมาก่อนแล้ว ดังนี้
1.
อาณาจักรสุวรรณภูมิเป็นอาณาจักรแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีชื่อเสียงมาก่อนพุทธกา
จนกระทั่งราว พ.ศ. 304
พระโสณเถระและพระอุดตรเถระได้เป็นหัวหน้าคณะมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่สุวรรณภูมิมีความปรากฏในคัมภีร์ทีปวงศ์
โดยมีเมืองนครปฐมโบราณเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง
2.
อาณาจักรฟูนัน ตำนานเล่าว่า เกาณฑินยะ หรือ ฮวนเถียน
(HOUEN TIEN) ได้มาจากประเทศอินเดีย
เป็นกษัตริย์ปกครององค์แรกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 6
และวัฒนธรรมอินเดียได้เผยแพร่เข้ามา
มีหลักฐานที่น่าเชื่อว่าศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย (อ่าน
ไสวะ-นิกาย)
รุ่งเรืองมากเท่ากับพระพุทธศาสนาสำหรับที่ตั้งมี
นักโบราณคดีใช้ความเห็นว่าอยู่ทางตอนใต้แถบที่ลุ่มปากแม่น้ำโขงของกัมพูชาปัจจุบัน
โดยเฉพาะ เมืองดอกแก้ว เชื่อว่าเป็นเมืองท่า
บ้างว่าเป็นอาณาจักรอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ โคตรบูรณ์
มีเมืองหลวงอยู่ที่ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด
บ้างว่าอาณาจักรฟูนันได้ก่อตัวขึ้นทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
แล้วจึงย้ายเมืองหลวงและส่วนใหญ่ของอาณาจักรไปที่ปากแม่น้ำโขง
และเชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของอาณาจักรขอมในที่สุด เมื่อปี พ.ศ.
1083 อาณาจักรฟูนันได้ล่มสลาย เนื่องจากถูกพระเจ้าถาวรมัน
และเจ้าชายจิตรเสน แห่งเมืองเจนละยกเข้าโจมตี
เป็นโอกาสให้ชุมชนหลายแห่งได้ตั้งตัวเป็นอาณาจักรขึ้นหลายแห่ง คือ อาณาจักรคิวตูคุณ
เกียวเจ หรือกิวลิและเดียนชุน อาณาจักรหลังยะสิว หรือลังกาสุกะ อาณาจักรตามพรลิงค์
อาณาจักรตักโกละ อาณาจักรศรีเกษตร
อาณาจักรปิสุง อาณาจักรปันตู อาณาจักรพันพัน อาณาจักรโคตรบูรณ์ อาณาจักรโพธินาน
อาณาจักรโพธิสาร อาณาจักรศรีจนาศะ อาณาจักรทวารกะ อาณาจักรสัมพูกะ อาณาจักรชลวิมาน
เกิดขึ้นในประเทศไทยสมัยนั้น
3.
อาณาจักรเจนละ
เป็นอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศกัมพูชา
และมีอาณาเขตเข้ามาถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พระเจ้าภวรรมัน
จัดตั้งเป็นอาณาจักรเมื่อ พ.ศ. 1083
มีเมืองหลวงอยู่ที่แขวงเมืองจำปาศักดิ์ ต่อมาย้ายไปที่เมืองสตังเตนขนานนามว่า
เมืองอิศานปุระ ปกครองตกทอดมาจนถึง พ.ศ.
1345
จึงถูกราชวงศ์ไศเลนทร์คุมกองทัพเรือยึดอำนาจได้หมด
4.
อาณาจักรศรีวิชัย
เป็นอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย
และมีอาณาเขตเข้ามาถึงภาคใต้ของประเทศไทยทั้งหมดกษัตริย์พระองค์แรกชื่อ
พระเจ้าชัยนาศ
มีเมืองหลวงอยู่ที่ปาเลมบังในเกาะสุมาตรามีอาณาเขตครอบครองเกาะชวาและเกาะสุมาตราพอตั้งอาณาจักรมาได้ประมาณ
500 ปี เชื้อสายราชวงศ์ฟูนันที่หลบหนีมาเมื่อ พ.ศ.
1083 ก็เริ่มมีอำนาจและครอบครองอาณาจักรศรีวิชัยตั้งราชวงศ์ใหม่
ชื่อ ราชวงศ์ไศเลนทร์
นักโบราณคดีเชื่อกันว่าแรกทีเดียวราชวงศ์นี้อยู่ที่เมืองไชยาจังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ.
1345ได้ยกทัพเรือยึดอำนาจจากอาณาจักรเจนละได้
สถาปนากษัตริย์พระนามว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 2จัดตั้งอาณาจักรกัมพูชา
5.
อาณาจักรทวาราวดี
เป็นอาณาจักรแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ได้เติบโตและมีความเป็นอยู่อย่างสงบ
แม้จะเคยตกเป็นดินแดนของอาณาจักรเจนละ
ก็มิได้นิ่งอยู่จนสามารถจัดระบบการปกครองของตัวเองขึ้นเป็น อาณาจักรทวาราวดี
เริ่มต้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
เชื่อกันว่าเมืองนครปฐมโบราณหรือเมืองนครชัยศรีเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรแห่งนี้
แต่ก็มีเมืองอีกหลายเมืองที่น่าจะมีฐานะในการปกครองแห่งนี้กว้างขวางมากมีเมืองตั้งกระจัดกระจายอยู่หลายเมือง
เช่น เมืองคูบัว ที่จังหวัดราชบุรี เมืองพงตึก ที่จังหวัดกาญจนบุรี
เมืองอู่ทองที่จังหวัดสุพรรณบุรี เมืองจันเสน ที่จังหวัดนครสวรรค์ เมืองเสมา
ที่จังหวัดนครราชสีมา เมืองฟ้าแดดสูงยาง ทีจังหวัดกาฬสินธุ์ เมืองพระรถ
ที่จังหวัดชลบุรี เมืองศรีมโหสถ ที่จังหวัดปราจีนบุรี เมืองหริภุญชัย
ที่จังหวัดลำพูน และเมืองศรีเทพ ที่จังหวัดเพชบูรณ์เป็นต้นในราวพุทธศตวรรษที่ 15
อาณาจักรทวาราวดีก็สิ้นสุดลง
6.
อาณาจักรโยนกนาคพันธ์
เป็นอาณาจักรที่คนไทยตั้งขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 15
ซึ่งเชื่อกันว่าอยู่ที่บริเวณอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
และมีตำนานว่าได้มีการตั้งเมืองใหม่ชื่อ เวียงปรึกษา และสร้างเมือง ภูกามยา
หรือเมืองพะเยา เมื่อ พ.ศ.
1639
หลังจากที่อาณาจักรทวาราวดีได้สิ้นสุดลงแล้วนั้น
ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและบริเวณใกล้เคียงนั้นเข้าใจกันว่า
ตกอยู่ในอำนาจของที่มีการปกครองถึงจังหวัดเพชรบุรี กาญจนบุรี สุโขทัย เป็นต้น
ส่วนจะเป็นการปกครองแบบเดิมหรือหลังจากสิ้นอาณาจักรทวาราวดีนั้น ยังไม่มีข้อสรุป
ถ้าลำดับเหตุการณ์ในช่วงนี้ จะได้ว่าในตอนต้นพุทธศตวรรษที่
17 พระเจ้าศรีธรรมโศกมหาราชาธิราชนั้น
ทรงตั้งราชวงศ์
ปัทมวงศ์ที่เมืองนครศรีธรรมราชมีอำนาจทางการเมืองปกครองขึ้นมาจดลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาถึงนครสวรรค์และเมืองอู่ทองได้เกิดโรคระบาดทิ้งร้าง
เมื่อประมาณ พ.ศ.
1800 พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง และพ่อขุนผาเมือง
เจ้าเมืองราดได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยและยกพ่อขุนบางกลางหาวเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ที่ทำให้เชื่อกันว่าดินแดนของคนไทยยังอยู่ในอำนาจขอมหลังจากนี้ได้มีการสร้างเมืองใหม่หลายแห่ง
ส่วนเมืองที่สร้างขึ้นทางตอนเหนือได้แก่ พระยาเม็งราย สร้างเมืองเชียงรายเมื่อ พ.ศ.1305
และสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1839
ล้วนมีความสัมพันธ์ต่อกัน
ข้อมูลที่น่าสนใจ คือเมื่อ พ.ศ.
1797 จอมจักรพรรดิกุบไลข่าน ได้ยกทัพตีอาณาจักรน่านเจ้า (ของไทย)
ย่อยยับ ชนชาตินั้นได้แตกร่นลงมาจนสามารถรวบรวมผู้คนจัดตั้งอาณาจักรสุโขทัย ใน พ.ศ.
1800 ได้นั้น ใช้เวลาเพียง 3 ปี (ซึ่งมีข้อที่ไม่น่าเชื่อ
นอกจากชนชาติไทยนั้นจะมีการอพยพเข้ามาอยู่บริเวณพื้นที่นั้นเป็นเวลานานแล้ว)
ในพุทธศตวรรษที่ 18 พระนารายณ์ราชา ได้สร้างกรุงอโยธยา
สถาปนาเมืองละโว้เป็นเมืองลูกหลวงมีอำนาจการปกครองลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและเมื่อถึงกษัตริย์องค์สุดท้ายราชวงศ์อโยธยา
คือ สมเด็จพระเจ้ารามาธิบดี นั้น กรุงอโยธยาได้เกิดโรคระบาดจนผู้คนล้มตาย
และมีการย้ายเมืองใหม่ไปสร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้นเมื่อ พ.ศ.
1893
อาณาจักรของชนชาติไทยที่รู้จักกันอย่างดีในเวลาต่อมา ก็คือ
กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ หรือกรุงเทพมหานครทุกวันนี้
ชนชาติไทยหรือสยามนั้นเป็นชนชาติกลุ่มใหญ่ที่สามารถรวมตัวกันสร้างอาณาจักรสืบเนื่องมาช้านานอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิหรือแหลมอินโดจีน
ส่วนชนชาติอื่นนั้นเเม้จะเคยเป็นชนชาติกลุ่มใหญ่มาก่อนด้วยเหตุที่อาศัยอยู่กระจัดกระจายจึงทำให้กลายเป็นคนกลุ่มน้อย
ดังนั้นชนพื้นเมืองโบราณที่ เหลืออยู่ในประเทศไทยนั้นจึงยังมีถิ่นฐานอยู่
เป็นชนกลุ่มน้อยซึ่งมีหลายชนเผ่า เช่น ลั๊วะ ไทยลื้อ ถิ่น ม้ง ลีซอ อาข่า มูเซอร์
ย้า ข่า ขมุ ชอง ฯลฯ
ซึ่งต่างแยกย้ายกันอยู่กระจัดกระจาย
อยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้
ลั๊วะอยู่กันมากในบ้านละอุบ อำภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ถิ่นหรือทิ่น อยู่มากในจังหวัดน่าน
อาข่า มูเซอร์ ม้ง ลีซอ เย้า มีมากในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย
|