สังคมและวัฒนธรรมของชนชาติไทย
สังคมและวัฒนธรรมของชนชาติไทย
เมื่ออารยธรรมของอินเดียโบราณ
ที่มีรากฐานจากศาสนาฮินดู-พราหมณ์และพุทธศาสนานั้นได้เผยแพร่เข้ามาบริเวณเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จนทำให้ชุมชนต่างๆรับเอารูปแบบวัฒนธรรมนั้น
จนมีการปรับเปลี่ยนการดำรงชีพ
ตลอดจนสร้างวัฒนธรรมที่ผสมผสานให้เหมาะสมกับนำไปใช้ในวิถีชีวิต
โดยให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและปัจจัยทางของเชื้อชาติและชุมชน คือ
การปรับปนให้เข้ากันจนกลายเป็นรูปแบบของวัฒนธรรมของตนในที่สุด
ผู้นำชุมชนหลายแห่งได้ถูกยกฐานะความรู้และรูปแบบที่ดีงามจากชาติอื่นโดยเฉพาะอินเดีย
จีนนั้น
เมื่อมีอำนาจปกครองบ้านเมืองก็ถ่ายทอดความคิดและสร้างงานตามความเชื่อของตนให้ชุมชนเมืองและชนบทยอมรับ
ดังนั้นพ่อขุน หรือกษัตริย์
จึงเป็นหลักสำคัญของการวัฒนธรรมและพัฒนารูปแบบตามอิทธิพลที่ได้รับจากศาสนาและอารยธรรมอินเดียโบราย
จนเกิดการรวมชนชาติและจัดตั้งอาณาจักรปกครองขึ้นพร้อมกับขยายอาณาเขตออกไปในบริเวณที่อื่นๆที่มีชุมชนเมืองเช่นกัน
การพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมที่เด่นชัดนั้น
ภายหลังสมัยมนุษย์ก่อนระวัติศาสตร์มาสู่สมัยประวัติศาสตร์นั้น
จึงมีพื้นที่สำคัญที่น่าศึกษา ดังนี้
ภาคกลางของดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา นั้น เมื่อ ๔.000
ปีมาแล้วได้มีร่องรอยการตั้งชุมชนโบราณในสังคมเกษตรกรรม
ซึ่งมีการพัฒนาต่อมาจนถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายหรือยุคโลหะ เมื่อ ๓.๐๐๐-
๒.๐๐๐ ปีมาแล้ว ต่อมานั้นได้มีการขยายตัวของประชากรนั้นมีจำนวนมากขึ้น
ทำให้เกิดชุมชนชนแพร่กระจายไปตามพื้นที่ต่างๆในบริเวณภาคกลางตอนล่าง
เป็นที่ราบกว้างใหญ่และมีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายหลักและมีแม่น้ำสาขาไหลผ่านพื้นที่ต่างๆ
ไปทั่งภาคกลาง เป็นบริเวณที่ราบลุ่มต่างๆ กล่าวคือ
บริเวณลุ่มแม่น้ำแควน้อย-แม่น้ำแควใหญ่
ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง-แม่น้ำท่าจีน
เป็นบริเวณของที่ราบอันเกิดจากลุ่มน้ำในภาคกลางตอนล่างด้านตะวันตกที่เป็นพื้นที่ของจังหวัดกาญจนบุรี
ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี
บริเวณลุ่มแม่น้ำน้อย-แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก
เป็นบริเวณที่ราบลุ่มจากลุ่มน้ำในภาคกลาง ตอนเหนือ ที่เป็นพื้นที่ของ
จังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี และนครนายก
บริเวณลุ่มแม่น้ำบางประกง-ปากอ่าวไทย เป็นบริเวณที่ราบจากลุ่มน้ำ
ในภาคกลางตอนล่างด้านตะวันออก ที่เป็นพื้นที่ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี
ดังนั้นแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกิดจากต้นน้ำบนเทือกเขา คือ ลำน้ำปิง
ลำน้ำวัง ลำน้ำยมและลำน้ำน่านนั้น เมื่อไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำโพ (จากแม่น้ำปิง)
และแควใหญ่ ( จากแม่น้ำน่านที่ปากน้ำโพนั้น ได้กลายเป็นต้นแม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลลงสู่อ่าวไทยจนทำให้ดินตะกอนที่พามานั้นทับถมจนหนาขึ้นและกลายเป็นแผ่นดินในที่สุดนั้นเริ่มจากเมืองนครสวรรค์ลงมาถึงอ่าวไทย
นานนับพันๆ
ปีดินตะกอนนั้นได้กลายเป็นดินที่ราบลุ่มน้ำเชื่อมอ่าวไทยเดิมเป็นแผ่นดินใหม่
สำหรับการเพาะปลูกที่เหมาะสม สำหรับการทำนาปลูกข้าวที่อาศัยการท่วมของน้ำหลาก
นอกจากนี้พื้นที่ภาคกลางในบริเวณอำเภอโคกสำโรง อำเภอเมือง
จังหวัดลพบุรีพบว่ามีแหล่งแร่ทองแดง แร่เหล็ก สำหรับเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือ
เครื่องใช้ ออกไปสู่ชุมชนต่างๆด้วย
ในจดหมายเหตุของจีน อาหรับ คัมภีร์มิลินทปัญหา คัมภีร์มหานิเทศ
ตลอดจนบันทึกการเดินทางของปโตเลมี ใน พ.ศ.๗๐๘ นั้นได้กล่าวถึงเมืองท่าและแคว้นต่างๆ
ที่อยู่บริเวณคาบสมุทรอินเดียหลายเมือง เช่น
ลังกาสุกะ (Lang-ka
su-ka ) พันพัน (pan-pan) กาลาห์ (kalah)
ตามพรลิงค์ (Tam-bal-inga) ตักโกลา (Tacola)
ตุนซุน ( Tun-sun) เชียะโห้ (Chi-tu
)
นอกจากนี้ยังมีชื่อบนแผนที่โบราณของ เสปน ฮอลันตา ฝรั่งเศส
และอังกฤษเป็นชื่อเมืองโบราณในคาบสมุทรอินเดีย เช่น เมืองTacola
(ตักโกลา) Lakon (ละคร) singora(สิงโกลาหรือสงขลา)
kui (กุย) sian (เสียมหรือสยาม)
yodia (โยเดียหรืออยุธยา)
Tavoy (ทวาย)
เป็นชื่อที่น่าสนใจสำหรับการศึกษาหาร่องรอยการพัฒนาการของชุมชนก่อนได้รับอิทธิพลจากชนชาติต่างๆ
และทำให้เกิดอาณาจักรต่างๆ ขึ้นในแดนสุวรรณภูมิต่อไป
|