อโศกมหาราชใช้ขยายอำนาจการปกครองใ
อโศกมหาราชใช้ขยายอำนาจการปกครองในอินเดีย(1)
กษัตริย์หรือผู้นำชุมชนในอาณาจักรทวาราวดีจึงมุ่งที่จะขยายอำนาจการปกครองตามคติของจักรพรรดิในพุทธศาสนาอย่างพระเจ้าอโศกมหาราชโดยหลีกเลี่ยงการใช้กำลังเข้าสู้รบหรือปราบปรามด้วยอำนาจและกำลังไพร่พล
ด้วยเหตุนี้การขยายอาณาเขตจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาให้มีบริเวณกว้างไพศาลนั้น
จึงใช้พุทธศาสนาเผยแพร่เป็น
การเอาชนะด้วยธรรมจนสามารถครอบคลุมบริเวณภาคกลางตอนล่างตั้งแต่ด้านตะวันตกไปจนถึงด้านตะวันออกนั้น
ทำให้กษัตริย์หรือผู้นำชุมชนนั้นมีอิทธิพลที่ครอบคลุมไปถึงลุ่มแม่น้ำแม่กลองแม่น้ำท่าจีน
แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และ แม่น้ำบางประกง
หลักธรรมคำสั่งสอนในพุทธศาสนานั้นได้ไปปลูกให้ผู้คนในสมัยทวาราวดีมีความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนามากขึ้นจึงเป็นหนทางชนะที่ลดการต่อสู้และยอมรับเอาหลักธรรมให้สงบโดยดุษฎีและปล่อยวาง
นั่นคือ การยอมให้อำนาจธรรมกับชนชั้นปกครองนั่นเอง
การสร้างศรัทธาความเชื่อและสร้างระบบชัยชนะด้วยธรรมนั้น ได้มีการสร้างธรรมจักร
กับกวางหมอบพระพุทธรูปสลักจากหิน และหล่อด้วยสำริด สร้างสถูปเจดีย์
วิหารขึ้นมากมายพร้อมกับนำหลักธรรมโดยเฉพาะ คาถา เย ธมมา
และจารึกคำสั่งสอนนั้นได้ทำให้กษัตริย์หรือผู้นำชุมชนมีความสำเร็จในการเอาชัยด้วยธรรม
ทำให้อาณาจักรทวาราวดีมีบทบาทสำคัญคือสามารถเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาที่ขยายความเชื่อศรัทธาในพุทธศาสนาออกไปจากศูนย์กลางที่อยู่ด้านตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
คือ แม่น้ำ แม่กลอง แม่น้ำท่าจีนแล้วขยายออกไปทางด้านตะวันออกคือลุ่มแม่น้ำลพบุรี
แม่น้ำป่าสัก ออกไปจนถึงลุ่มแม่น้ำบางประกง
ขึ้นไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล แม่น้ำชี
นอกจากนี้ยังได้ขยายออกไปทางภาคเหนือจนขึ้นไปถึงลุ่มแม่น้ำปิง
คืออาณาจักรหริภูญ์ไชยและขยายลงภาคใต้ลงไปจนถึงเมืองยะรัง (ในจ.ปัตตานี)
จึงทำให้ดินแดนของอาณาจักรทวาราวดีที่มีชัยชนะโดยพุทธธรรมนั้นกว้างใหญ่ไพศาลมาก
เป็นการทำให้กษัตริย์มีความเป็นจักรพรรดิในพุทธศาสนาที่มีคติจักรพรรดิของศาสนาพราหมณ์ที่มีความเชื่อว่า
จักรพรรดินั้นต้องมีชัยชนะได้ทั้ง ๔ ทิศ คือ ทิควิชยิน
การสร้างฐานะกษัตริย์
ในชุมชนโบราณสมัยทวาราวดีนั้นแม้จะมีผู้นำชุมชนอยู่มากมายหลายแห่งก็ไม่ได้หมายความว่าชุมชนนั้นจะสามารถเป็นกษัตริย์หรือผู้นะของอาณาจักรได้
ดังนั้นเมื่อมีชุมชนโบราณมากขึ้น
การสร้างรัฐปกครองตามคติของจักรพรรดิในพุทธศาสนาที่เอาชนะด้วยธรรมนั้นจึงน่าเป็นเหตุผลที่ทำให้
ผู้นำอาณาจักรที่สามารถขยายเขตของหลักธรรมออกไปเป็นทิศวิชยินคือมีชัยชนะทั้ง ๔ ทิศ
ขึ้นเป็นกษัตริย์
โดยหมายว่าผู้นำอาณาจักรนั้นได้ถูกให้ความเคารพเทียบเท่าพระผู้เป็นเจ้าของพราหมณ์
คือ ประทับนั่งเทียบเทพพระเจ้า
ซึ่งในอินเดียโบราณนั้นมีพิธีราชสูยะคือพิธีเสกให้เป็นราชา
หลักฐานสำคัญที่เป็นกษัตริย์ต้องประกอบในพิธีกรรมดังกล่าวนั้น
ที่พระปฐมเจดีย์นั้นได้พบแผ่นหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าลักษณะสมบูรณ์
ตรงกลางมีหลุมดินล้อมรอบด้วยกลีบบัว ๒ ชั้น
ด้านบนนั้นสลักเป็นรูปการอภิเษกของศรีหรือคชลักษมี
ถัดลงมานั้นเป็นรูปแส้ขนจามรวัชระ ขอสับช้าง (อังกุศะ) พัดโบก (วาลวิชนี)
ฉัตรปลาและสังข์อย่างละคู่ และมี หม้อกลศ (ปูรณกลศ-หม้อน้ำ)
อยู่ส่วนล่างและตรงมุมทั้งสี่นั้นสลักเป็นรูปดอกบัวเสี้ยวที่เมืองดงคอน
จังหวัดชัยนาท ก็พบแผ่นหินแบบเดียวกันแต่เป็นชิ้นที่แตกหัก
แผ่นหินนี้
จากลายจำหลักที่เป็นองค์ประกอบของพิธีเสกนี้น่าจะมีความหมายถึงสิ่งมงคลสำหรับการเสกให้เป็นราชา
สำหรับหลุมตื้นที่อยู่ตรงกลางนั้นน่าจะเกิดจากการถูกใช้ฝนหรือนำผงกำยานหรือผงแป้งมาผลสำหรับเจิม
หรือวางหม้อกลศ เพื่อใช้น้ำสรง (แบบมุรธาภิเษกหรือสรงสนานในปัจจุบัน)
ผู้เป็นเทพหรือเทพี คือ อภิเษกนียะก็เป็นไปได้ทั้งสิ้น
ภาพแส้ วัชระ ขอสับช้าง พัดโบกฉัตร ปลา สังข์
นี้เป็นสิ่งของที่น่าจะใช้ในพิธีราชสุยะมาก่อน
จึงไม่เหมือนเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในปัจจุบัน อาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามสมัย เช่น
พระแสงพระขรรค์ชัยศรี น่าจะใช้ วัชระมาก่อน
เรื่องราวของกษัตริย์ของอาณาจักรทวาราวดีนั้น
ยังไม่พบรายละเอียดมากไปกว่านี้นอกจากแผ่นหินแบบเดียวกันนี้กับหม้อกลศสำริดในสภาพสมบูรณ์
พบที่เมืองเวศาลีในแคว้นยะไข่ และเมืองโบราณสมัยทวาราวดี
นั้นพบแผ่นหินแบบนี้ที่เมืองบึงคอกช้างตรงกลางนั้นถูกฝนเป็นรอยตื้นอยู่บ้างเหมือนกัน
เป็นแผ่นเรียบ ไม่มีลวดลายเช่นนี้
ส่วนการปกครองอาณาจักรทวาราวดีนั้น
กษัตริย์ที่ครองอาณาจักรใหญ่นั้น
น่าจะได้แบ่งส่วนการดูแลให้กับโอรสเป็นตัวแทนไปครองเมืองโดยขึ้นตรงกับกษัตริย์ซึ่งจะมีคำต่อท้ายว่า
ปติ แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ คือ เจ้าครองเมืองที่มีอำนาจระดับเมือง
อันเป็นรูปแบบการปกครองของชาวอินเดีย
จากการพบจารึกบนฐานพระพุทธรูปสมัยทวาราวดีที่วัดมหาธาตุ
เมืองลพบุรีที่กล่าวถึงการสร้างพระพุทธโดยพระโอรสของกษัตริย์ซึ่งเป็นเจ้าครองเมืองนั้น
ทำให้เมืองลพบุรีนั้นน่าจะมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง โดยในพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๒
นั้นเมืองอู่ทองได้เป็นเมืองหลวงรุ่นแรก และพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖ เมืองนครปฐมโบราณ
ได้เป็นเมืองหลวงต่อมา
นั่นหมายถึงอาณาจักรทวาราวดีนั้นมีศูนย์กลางอยู่ในภาคกลางตอนล่างของไทย
การใช้เงินตรา
ในระยะแรกนั้นการแลกเปลี่ยนสิ่งของเพื่อนำไปใช้ในชุมชนของตนนั้นขึ้นอยู่กับความพอใจ
เมื่อมีจำนวนมากและต้องการสิ่งของที่ไม่มีในชุมชนนั้น
ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนด้วยความยินดีกัน ไม่ได้คำนึงถึงผลของการทำการหายากง่าย
หรือมีน้อย มีมาก
สังคมการแลกเปลี่ยนนั้นทำให้มีสิ่งของหลายอย่างในชุมชนอื่นและมีการเดินทางที่ไกลออกไปจากแหล่งผลิตเดิม
การขนย้ายสิ่งของระหว่างชุมชนจึงมีความยากลำบากแต่ต้องใช้เวลา
ครั้นเมื่อชาวเมดิเตอร์เรเนียน ได้เริ่มได้เริ่มการค้าโดยมีระบบเงินตราขึ้น
อินเดียจึงรับการสร้างเงินตราขึ้นเป็นเหรียญกษาปณ์ที่เป็นเงินมีตรานั้นได้แพร่หลายไปยังชุมชนสมัยทวาราวดีหลายแห่ง
เช่น พบที่เมืองออกแก้ว ในเวียดนามใต้ คลองทอมในจังหวัดกระบี่ เป็นต้น
ต่อมาได้มีการทำเงินตราขึ้นเองในชุมชนโดยผู้นำท้องถิ่นสร้างขึ้นเอง
เงินตราสมัยทวาราวดีนั้น ชนิดจารึกตัวอักษร
นั้นเป็นเหรียญที่สร้างโดยกษัตริย์รัฐยะไข่และกษัตริย์ในอาณาจักรทวาราวดี
ส่วนเหรียญที่มีทำเป็นสัญลักษณ์โดยมีรูปหอยสังข์ด้านหนึ่งกับศรีวัตสะด้านหนึ่ง
และรูปพระอาทิตย์ด้านหนึ่งกับศรีวัตตะด้านหนึ่งเป็นนั้น
พบในชุมชนโบราณสมัยแรกที่เริ่มประวัติศาสตร์ เช่น
อาณาจักรฟูนัน ของขอมโบราณ
เมืองโบราณที่ออกแก้ว ในเวียดนามใต้
เมืองโบราณที่รัฐของพวกปยู ในเมียนมาร์ (พม่า)
ตอนกลาง
เมืองโบราณในรัฐของพวกมอญ ในเมียนมาร์ (พม่า) ตอนใต้
เมืองโบราณต่างๆ สมัยทวาราวดี ที่พบในไทยภาคกลาง
เหรียญรูปสัญลักษณ์ ทำโดยกษัตริย์ของสมัยทวาราวดี ด้วยพบแม่พิมพ์เหรียญทั้งสองแบบ
การทำเงินตรานั้นต้องการที่จะควบคุมรายได้จากการซื้อขายกับชุมชนภายนอกจึงทำด้วยโลหะที่ดีหายาก
และใช้เป็นสื่อกลางสำหรับ
ซื้อขายกันโดยให้มีค่าเหมือนกับเงินตราของพ่อค้าที่มาค้าขายด้วย
ดังนั้นเงินตรานี้จึงได้นำรูปสัญลักษณ์ของกษัตริย์อินเดียมาใช้
เพื่อให้ระบบเงินตราสามารถใช้ด้วยกันได้กับเงินตราที่มาจากอินเดีย
ดังนั้นจึงพบเงินตรานี้ได้ระบบเงินตราสามารถใช้ด้วยกันได้กับเงินตราที่มาจากอินเดีย
ดังนั้นจึงพบเงินตรานี้ในบริเวณแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นพม่า เวียดนาม และขอม
ประการสำคัญคือ
สัญลักษณ์บนเงินตรานั้นมีความหมายถึงพระราชอำนาจของกษัตริย์ความอุดมสมบูรณ์
และความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักร
การใช้ตราประทับ นอกจากสัญลักษณ์เงินตราที่ใช้ในเงินตราสมัยทวาราวดีแล้ว
ยังมีการนำการประทับตรามาเป็นเครื่องบอกถึงสถานะของสถาบันต่างๆ ได้แก่ ผู้ปกครอง
ศาสนา องค์กรการค้า หรือกลุ่มคณะ ที่มีการติดต่อสื่อสารกัน
ในระยะแรกเป็นกลุ่มพ่อค้าอินเดียได้สื่อสารกับประชากรในเมืองที่ติดต่อค้าขายกัน
ซึ่งพบตราประทับของกษัตริย์อินเดียและโรมันที่บริเวณท่าโบราณ เช่น ในคลองท่อม
จังหวัดกระบี่ เมืองออกแก้ว ในเวียดนาม
เมืองโบราณสมัยทวาราวดีที่พบในเมืองนครปฐมโบราณ เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
เมืองพรหมทิน จังหวัดลพบุรี เมืองจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้น
ต่อมา ผู้นำของชุมชนโบราณได้ทำตราสำหรับใช้ประทับขึ้นเอง
และใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับสื่อความหมายกับคนในชุมชนหรือกลุ่มชาวเมืองให้รู้ว่า
ผู้ใดเป็นผู้สื่อสารมาถึง
การสร้างเครื่องมือเครื่องใช้
การสร้างรูปแบบนิยมสำหรับเครื่องมือเครื่องใช้ของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายนั้น
ได้พบว่า
พ่อค้าชาวอินเดียได้นำสิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้อยู่ในเมืองของตนมาใช้ในกลุ่มของตนที่ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่
๕-๗
ซึ่งเป็นสมัยที่มีการเรียนแบบอย่างที่รู้จักกันว่าสมัยอินโด-โรมันนั้นได้มีการส่งมาใช้จนถึงพุทธศตวรรษที่
๙-๑๑ คือ สมัยคุปตะ
ในที่สุดชุมชนโบราณนั้นได้ผลิตขึ้นเองซึ่งมีการพบเบี้ยดินเผาแผ่นดินเผาสำหรับขัดผิวแท่นหินกับหินบดสำหรับใช้บดเมล็ดพืช
เป็นต้น ในชุมชนโบราณสมัยทวาราวดี
การทำภาชนะดินเผา
ภาชนะดินเผานั้นได้มีการสร้างรูปแบบมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
ในครั้งแรกทำเป็นภาชนะดินธรรมดาที่มีรอยแตกได้ง่าย
เป็นดินดิบยังไม่ได้เผาและทำง่ายๆ เช่น จานหรือชามที่มีเชิงสูง หม้อดินมีสัน
หม้อก้นกลม ไหดิน ขนาดต่างๆ ชาม และอ่าง หลายขนาด
รูปแบบที่ทำนั้นนำรูปแบบจากอินเดียบ้าง โรมัน บ้าง เช่น หม้อน้ำมีพวย
หม้อน้ำปากขวดถ้วยมีพวย และตะครัน
การตกแต่งภาชนะดินเผาสมัยทวาราวดีนั้น มีวิธีทำหลายแบบ
และสืบต่อจากวิธีการของชุมชน กล่าวคือ การขูดขีดเป็นลายคลื่น
การกดลายด้วยลายประทับในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นรูปบุคคล สัตว์และดอกไม้ เป็นต้น
ความเชื่อและศาสนา
ความเชื่อดั้งเดิมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่นับถือผีหรือสิ่งที่อธิบายไม่ได้นั้นก็ยังมีพิธีกรรมอยู่บางส่วน
ในพุทธศตวรรษที่ ๘ นั้นหรือก่อนหน้านั้น
ผู้คนสมัยทวาราวดีได้รับเอาพุทธศาสนาจากอินเดียทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานมานับถืออย่างเคร่งครัด
พบว่ามีโบราณสถานโบราณวัตถุที่สร้างสำหรับพุทธศาสนานั้น
กระจายตัวอยู่ตามชุมชนโบราณหลายแห่งและเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ในบริเวณภาคกลางตอนล่างของไทยหลักฐานสำคัญนั้นคือ
ประติมากรรมดินเผาและรูปปั้นที่ใช้ประดับศาสนาสถานที่สถูปเจดีย์และวิหารซึ่งพบในเมืองอู่ทอง
ปรากฎว่ามีหลายชิ้นที่มีรูปแบบสืบทอดมาจากศิลปะแบบอมราวดีตอนปลาย
เช่นชิ้นส่วนประติมากรรมรูปพระสงฆ์ ๓ รูปครองผ้าจีวร
ส่วนศาสนาพราหมณ์นั้นผู้คนสมัยทวาราวดีส่วนหนึ่งได้พากันนับถือทั้งไศวนิกายและไวษณพนิกายปรากฏว่ามีชุมชนของพราหมณ์
ซึ่งเป็นนักบวชและพ่อค้านั้นเดินทางเข้าค้าขาย และตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณภาคใต้
บริเวณเมืองไชยาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเมืองนครศรีธรรมราช
และบริเวณภาคกลางตอนล่างของไทย หลักฐานที่พบนั้น
พบว่ามีประติมากรรมรูปศิวลึงค์ของไศวนิกายอยู่เป็นจำนวนมากที่เมืองอู่ทองและเมืองนครปฐมโบราณ
|