อโศกมหาราชใช้ขยายอำนาจการปกครองใ
อโศกมหาราชใช้ขยายอำนาจการปกครองในอินเดีย(2)
การติดต่อกับพ่อค้าและพราหมณ์ที่มาจากอินเดียนั้น
มีเมืองโบราณที่สำคัญอยู่หลายแห่งที่เป็นเมืองท่าและมีความสัมพันธ์กับความเชื่อทางศาสนานั้น
เช่น
เมืองท่าโบราณที่ออกแก้ว ในเวียดนามตอนใต้
นั้นมีร่องรอยว่าได้มีการติดต่อค้าขายกับอินเดียมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๕-๙
พบว่ามีโบราณวัตถุสมัยอินโด-โรมันอยู่ที่แห่งนี้เมืองนี้แม้ว่าพุทธศาสนาจะมีการประกาศศาสนาหรือทำการเผยแพร่แล้วก็ตาม
ผู้คนหรือชุมชนที่นี่กลับนิยมที่จะนับถือศาสนาพราหมณ์ ไวษณพนิกายมากกว่า
เมืองสะเทิม (THATON)
หรือเมืองสุธรรมวดี
เมืองหลวงและเมืองท่าของมอญตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิระวดีตอนล่างของเมียนมาร์นั้น
แม้มีหลักฐานในศาสนาวงศ์และพงศาวดารเมืองสะเทิมว่าพระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งสมณทูตเข้ามาเผยแผ่พุทธศาสนาในดินแดนของสุวรรณภูมิ
(ซึ่งเมืองสะเทิมเป็นศูนย์กลาง) นั้น
ไม่พบว่ามีโบราณหรือวัตถุหรือศิลปกรรมอันเนื่องในพุทธศาสนาที่มีอายุร่วมสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชที่ส่งสมณทูตเข้ามาเลย
เมืองไบก์ถโน (ไบก์ถโน แปลว่า เมืองพระวิษณุ) ของชาวปยู
ในเมียนมาร์ตอนกลางนั้นแม้จะพบหลักฐานว่าพุทธศาสนาจากลุ่มแม่น้ำกฤษณา
ซึ่งเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาในอินเดียนั้นได้มีอิทธิพลเผยแพร่เข้าในพุทธศตวรรษที่
๘-๑๐ นั้น ไม่ปรากฏว่าพุทธศาสนาพราหมณ์ไวษณพนิกายนั้นมีอิทธิพลมากกว่า
และในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ นั้นเมืองไบก์ถโนน่าจะเป็นศูนย์กลางศาสนาพราหมณ์
เมืองอู่อ่างทอง
ตั้งอยู่ภาคกลางของไทยนั้นได้รับอิทธิพลพุทธศาสนามาจากศูนย์กลางคือบริเวณลุ่มแม่น้ำกฤษณา-โคทาวรี
ซึ่งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย ซึ่งมีพุทธศาสนารุ่งเรืองมาก
จนเมืองอู่ทองได้กลายเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนารุ่นแรกของอาณาจักรทวาราวดีด้วยเหตุที่พุทธศาสนาจากลุ่มแม่น้ำกฤษณา-โคทาวรีนั้นได้มีการผสมผสานความเชื่อของนิกายต่างๆ
มีการแยกนิกายเถรวาท และนิกายมหาสังฆิกะ (นิกายมหายาน)
จึงทำให้การสร้างศิลปกรรมเพื่อพุทธศาสนามีคติการสร้างพุทธสถาน เป็นสถูปเจดีย์
และวิหาร แตกต่างกันซึ่งพบว่าโบราณสถานที่เมืองอมราวดีและเมืองนาคารซุนโกณฑะนั้น
บางนิกายนิยมสร้างเจดีย์ขนาดใหญ่ (มหาเจดีย์) บางนิกายสร้างแต่สถูปเจดีย์
บางนิกายเริ่มสร้างพระพุทธรูปแบบอินเดียทางเหนือเรียกแบบอมราวดี
และมีการสร้างสัญลักษณ์แทนเรื่องราวในพุทธประวัติ เช่น ธรรมจักร รอยพระบาท
พร้อมกับสร้างพระพุทธรูปจนมีนิกายพุทธอื่นๆ
ที่เคยต่อต้านการสร้างพระพุทธรูปนั้นต่างยอมรับคตินี้ในที่สุด
ดังนั้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๘-๑๒ เมืองอมรวดีและเมืองนาคารซุนโกณฑะ
จึงกลายเป็นศูนย์กลางสำคัญของการสร้างพระพุทธรูป และมีพระสงฆ์จากภูมิภาคต่างๆ
ของอินเดียและลังกา มาพำนักจนเป็นศูนย์กลางของพระสงฆ์
ครั้นเมือ่พุทธศาสนาจากบริเวณศูนย์กลาง ลุ่มแม่น้ำกฤษณา-โคทาวรี
ได้เผยแพร่มายังแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นั้นจึงทำให้พุทธศาสนานิกายเถรวาทจากลังกา
นิกายมหิศากยะที่แยกจากนิกายเถรวาท นิกายต่างๆ เช่น นิกายไจตยกะ นิกายพหุศรูติยะ
นิการอประมหาวินะ-เสลิยะ ซึ่งแยกจากนิกายมหาสังฆิกะ(ต่อมาเป็นนิกายมหายาน)
เป็นต้นเผยแพร่ในชุมชนโบราณสมัยทวาราวดี
ทำให้เกิดการสร้างสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าขึ้นจำนวนมาก
ได้แก่ธรรมจักรขนาดใหญ่อยู่บนยอดเสาพบที่เมืองอู่ทองพระพุทธรูปบูชาขนาดใหญ่
คือพระศิลาขาว เจดีย์ขนาดใหญ่ที่จุลประโทณพระประโทณเจดีย์
และมหาสถูปเก่าที่พระปฐมเจดีย์ (ปัจจุบันอยู่ในครอบองค์ปฐมเจดีย์ปัจจุบัน)
เจดีย์วัดพระเมรุ เจดีย์ทวาราวดีเก่าที่เจดีย์อนุสรณ์ดอนเจดีย์สร้างครอบไว้
(สุพรรณบุรี) เป็นต้น
นอกจากนั้นยังพบว่าในสมัยทวาราวดีนั้น
ได้รับเอาอิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายมหายานที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกของอินเดีย
สมัยราชวงศ์คุปตะ (พุทธศตวรรษที่ ๙-๑๑ )
และหลังราชวงศ์คุปตะคือสมัยราชวงศ์กษัตริย์ปะและราชวงค์ไมตรกะ (พุทธศตวรรษที่
๑๒-๑๕) เข้ามาด้วย ความเชื่อนั้นคือ
อินเดียนิยมสร้างพระธาตุเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและอุทเทสิกเจดีย์หรือสถูปจำลอง
ที่นักจาริกแสวงบุญผู้เดินทางไปนมัสการสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพุทธศาสนานั้นนิยมสร้างด้วยหินดินเผา
หรือโลหะ ไว้ในสถานที่ต่างๆ เพื่ออุทิศไว้ในพุทธศาสนา
ส่วนผู้ที่ไม่สามารถสร้างสถูปเจดีย์ก็จะนิยมทำเป็นแผ่นดินเผาจารึก คาถา เย
ธมาที่ถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา
ดังนั้นชุมชนสำคัญในอาณาจักรทวาราวดีโดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างจึงมีการสร้างธรรมจักรตั้งบนเสาหรือฐานรองรับ
สร้างพระพุทธรูป และนิยมจารึก คาถา เย ธมมา ไว้บนฐานพระพุทธรูป
บนพระพิมพ์ดินเผา บนบาตรดินเผาบนสถูปจำลอง บนแท่งหิน บนแผ่นอิฐ และผนังถ้ำ
ซึ่งพบมากอยู่ในบริเวณเมืองโบราณ เขตนครปฐม สุพรรณบุรี ลพบุรี เป็นต้น
และยังพบว่ามีจารึกข้อความอื่นปรากฏในชุมชนโบราณอื่นๆ อีกหลายแห่ง เช่น
จารึกอักษรปัลลวะที่เมืองบึงคอกช้างในอุทัยธานี จารึกว่าวาระปรัชญาวาระ
(สมัยที่ปรัชญาเป็นเลิศ) บุญญสิคลา (บุญย่อมส่งเสริมนักพรต) ปสิณาวุ
(จงไปทางนี้) เป็นต้น
สำหรับการจารึกอักษร เย ธมมา
นั้นถือว่าเป็นข้อความนิยมที่คัดมาจากพระไตรปิฎกภาษาบาลี ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก
เรื่อง ปฎิจจสมุทบาทกับพระธรรมบทและมหาวรรคในวินัยปิฎก
ถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนาเรื่องนี้หลวงจีนอี้จิงได้กล่าวไว้ว่า
ชาวพุทธอินเดียมีความเชื่อในหลักธรรมคำสอนในปฏิจจสมุทบาทและคาถา เย ธมมา
เป็นหัวใจพระพุทธศาสนาดังนั้นเมื่อมีการสร้างพระพุทธรูป
ชาวพุทธก็จะนิยมบรรจุพระอิฐธาตุของพระพุทธเจ้าหรือหลักธรรมคำสอนในปฏิจจสมุปบาทหรือคาถา
เย ธมมา ไว้ภายในพระพุทธรูปหรือสถูปนั้น
คาถา
เย ธมมา จึงมีความสำคัญเทียบเท่าพระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า
ชาวทวาราวดีจึงนิยมที่จะสร้างเคารพบูชาในพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน
ดังนั้นคติการสร้างเจดีย์บรรจุพระอัฐิธาตุพระพุทธเจ้าจึงเป็นสิ่งแสดงความสำคัญของกษัตริย์หรือผู้นำอาณาจักร
การสร้างงานศิลปกรรม
ด้วยเหตุที่สมัยทวาราวดีได้นำรูปแบบการสร้างสถูปหรือเจดีย์มาจากพุทธศาสนา
(นิกายเถรสวาท) สมัยราชวงศ์คุปตะและหลังราชวงศ์คุปตะกล่าวคือ
ในพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๓ นั้นในอินเดียภาคตะวันตกนั้นอาณาจักรวัลลภี
มีพุทธศาสนานิกายสามมิตียะเจริญรุ่งเรืองมากจึงมีการสร้างมหาสถูปบรรจุพระธาตุของพระพุทธเจ้าที่เมืองเดฟนิโมริ
ในแคว้นคุชราต อยู่ภาคตะวันออกของอินเดียนั้นสร้างโดยกษัตริย์ราชวงศ์กษัตริย์ปะ
(ชาวศกะ) ที่สืบต่อราชวงค์ไมตรกะแห่ง
อาณาจักรวัลภีซึ่งเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนานิกายสามมิตียะ ที่แยกมาจากนิกายเถรวาท
ดังนั้นมหาสถูปแห่งนี้จึงเป็นต้นแบบของสถูปทรงกลมตั้งนบฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสชั้นเดียวที่สร้างขึ้นในสมัยทวาราวดี
พบว่ามีโบราณสถานแบบนี้ในชุมชนโบราณหลายแห่ง โบราณสถานที่บ้านโคกไม้เด่น
อำเภอพยุหะคีรี จ. นครสวรรค์ เป็นต้น
ส่วนการสร้างเจดีย์ทรงกลมบนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสชั้นโดยลดหลั่นกันหรือสร้างชั้นเดียวแล้วมีบันไดทางขึ้นด้านหนึ่ง
(ด้านตะวันออก) ไปยังฐานชั้นบนนั้น
บริเวณฐานนั้นมีช่องหรือซุ้มสำหรับประดับด้วยแผ่นดินเผาภาพนูนดำพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ
พบว่ามีการสร้างสถูปเจดีย์แบบนี้ที่แหล่งโบราณคดีบ้านคูบัว นราชบุรี
ซึ่งเป็นอิทธิพลรูปแบบสถูปในพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๓ สมัยราชวงค์คุปตะหรือหลังคุปตะ
แบบเดียวกับมหาสถูปที่เมืองเดฟนิโมริ
ภาพจำหลักที่ประดับในซุ้มหรือ๙องบนสถูปเจดีย์ชั้นบนนั้น
ต่อมาได้มีการสร้างเป็นภาชนะดินเผาหรือภาพปูนปั้นบ้าง เล่าเรื่องตามพุทธตำนาน
ประกอบภาพเทวดา ภาพอมนุษย์ และสัตว์ต่างๆ ในจินตนาการ (สัตว์หิมพานต์)
ประดับลวดลายใบไม้หรือลายจำหลัก
แบบเดียวกับแผ่นภาพที่พุทธสถานปหรรปุระที่เมืองไมนามติ ในแคว้นเบงกอล (บังคลาเทศ)
หรือปากีสถานตะวันออก) ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมในพุทธศตวรรษที่ ๑๔
และผังเจดีย์ที่วัดพระเมรุ จ.นครปฐมนั้นรูปแบบใกล้เคียงกับพุทธสถานปหรรปุระ
สำหรับสมัยทวาราวดีนั้น พบแผ่นภาพปั้นดินเผา ที่โบราณสถานหลายแห่ง เช่น จุลประโทณ
จ.นครปฐม บ้านคูบัว จ.ราชบุรี บ้านโคกไม้เดนที่ อ.พยุหะ จ.นครสวรรค์ บ้านเก่า
อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี เป็นต้น
พระพุทธรูปที่เป็นประติมากรรมในพุทธศาสนาตามความเชื่อของนิกายมหายานนั้นได้มีการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทตามแบบยุโรปหรือแบบพุทธคยา
พบที่พระพุทธรูปนี้ที่โบราณสถานวัดพระเมรุ เป็นพระพุทธศิลาขาวประจำซุ้มสี่ทิศ
ต่อได้บูรณะอันเชิญไปประดิษฐานที่บริเวณพระปฐมเจดีย์ และในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
พระพุทธรูปนั่งที่ผนังถ้ำเขาคูบัว จ.ราชบุรี
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปแบบที่นิยมสร้างกันในพุทธศาสนานิกายมหายาน
ที่มีการสร้างพระพุทธรูปนี้อยู่ในอินเดียตอนเหนือที่เมืองสารนาถ และถ้ำอชันตา
ถ้ำเอ็นลูร่าในอินเดียภาคตะวันตก
นอกจากนี้ในชุมชนโบราณสมันทวาราวดีแถบทุกแห่งนิยมสร้างพระพิมพ์ดินดิบหรือพระพิมพ์ดินเผา
มีขนาดต่างกันจากขนาดใหญ่เท่าฝ่ามือจนขนาดย่อมลงลา
เป็นประติมากรรมรูปพระพุทธเจ้าปางปาฏิหาริย์และเทศนาพระสัทธรรมปุณฑริกุตร
บนเขาคิชกูฏตามคติความเชื่อของพุทธศาสนามหานิกาย พบมากที่เมืองนครปฐมโบราณ
เมืองอู่ทอง เมืองคูบัว บางองค์มีอักษร เย ธมมา กำกับด้วย
พระพิมพ์นี้เป็นรูปแบบที่ชุมชนโบราณสมัยทวาราวดีรับมาจากอินเดียในพุทธศตวรรษที่
๑๒-๑๓ สมัยหลังราชวงศ์ คุปตะ พบที่ถ้ำการ์ลี และถ้ำกันเหริ สำหรับในไทยนั้น
พบพระพิมพ์ดินเผานี้พบอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ในอ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
สรุปแล้วชุมชนโบราณสมัยวาราวดีนั้นมีการสร้างศิลปกรรมเลียนแบบอย่างอินเดียแต่จะรับเอาคติความเชื่อมาจากพุทธศาสนานิกายเถรวาทหรืออนิกายมหายานแล้ว
ยังมีการพัฒนาความคืดสร้างรูปแบบของตนเองเพื่อสื่อความหมายให้กับชุมชนสมัยทวาราวดี
เช่นงานประติมากรรมรูปพระพุทธเจ้าประทับยืนเหนือพนัสบดีโดยมีพระหัตถ์ทั้งสองทำปางวิตรกะหรือปางแสดงธรรมมีทั้งแบบประทับยืนองค์เดียวและมีประทับนืยหลายองค์นั้น
เป็นอิทธิพลพุทธศาสนานิกายมหายานตันตระที่รุ่งเรืองอยู่ในอินเดียภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ สมัยราชวงศ์ปาละ
ความเชื่อในหลักธรรมคำสั่งสอนนั้นพบว่าสมัยทวาราวดีนิยมหลักธรรมของนิกายเถรวาทตามเดิม
พบว่าจารึกหลักทำคำสั่งสอนส่วนใหญ่นั้นเป็นภาษาบาลีที่คัดจากพระไตรปิฏิกของนิกายเถรวาท
เหมือนกับผู้คนในสมัยทวาราวดีนั้นไม่นิยมหลักธรรมของนิกายมหายานมากนัก
ดังนั้นดินแดนสุวรรณภูมิจึงมีอาณาจักรที่เกิดใหม่และเสื่อมลง
ซึ่งเป็นไปตามเหตุการณ์ของยุคสมัย
ที่มีการแผ่อำนาจเข้ายึดครองและเผยแพร่วัฒนธรรมเข้าจูงใจผู้คนให้เอาอย่างจนกลายเป็นพลเมือง
(คือร่วมวัฒนธรรม) เดียวกัน
เพื่อเป็นสื่อกลางให้ผู้คนหรือมนุษยชาตินั้นยอมรับและอยู่ร่วมสังคมกันได้
กลุ่มคนจึงต่างพากันอพยพหาแหล่งทำกินและย้ายถิ่นไปสู่รากฐานแห่งใหม่ที่เห็นว่าดีกว่า
ในที่สุดก็กลายเป็นพลเมืองหรือชุมชนของอาณาจักรที่มีความมั่นคงต่อไป
|