ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  สังคมและวัฒนธรรมของชนชาติคาบสมุท

 

สังคมและวัฒนธรรมของชนชาติคาบสมุทรมลายู

 

เนื่องจากแผ่นดินแหลมมลายูนั้นเป็นถิ่นที่อยู่ของชนพื้นเมืองและชนชาติที่อพยพมาจึงทำให้มีสังคมและวัฒนธรรมแตกต่างไปจากดินแดนภาคกลางของประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่มีพ่อค้าชาวอินเดียและนักเดินทาง ที่พากันล่องเรือไปมาค้าขายตามเมืองต่างๆ จึงทำให้ความรู้และวัฒนธรรมของชนชาติที่เจริญกว่าเดินทางไปมีอิทธิพลในชุมชนต่างเมืองจนมีการสร้างอาณาจักรขึ้นในที่สุด

เมื่อประมาณ ๓.๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชนั้น ชนชาติกลุ่มโปรดต-มาเลย์

 

                (PROTA-MALAYS)   ที่เชื่อกันว่าอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของมณฑลยูนานนั้น  ได้อพยพเดินทางมาอยู่ที่ดินแดนคราบสมุทรมาลายูแห่งนี้ ส่วนจะเดินทางตามลำแม่น้ำอิระวดีอย่างชาติมอญหรือแม่น้ำโขงอย่างขอมนั้นไม่มีหลักฐานมนุษย์กลุ่มนี้น่าจะใช้เวลาเดินทางยาวนานและนำเอาวัฒนธรรมของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินมาด้วย ดังนั้นเมือประมาณ ๒๕๐๐-๑๕๐๐  ปีก่อนศริสต์ศักราชคนกลุ่มนี้กระจัดกระจายกันอยู่ตามพื้นที่บนบกและเกาะต่างๆ จึงถูกจัดเป็นมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินด้วยเหตุที่ไม่รู้จักใช้เครื่องมือโลหะ ยังคงใช้หินเป็นเครื่องมือใช้และอาวุธอยู่ มนุษย์กลุ่มนี้พบว่าอยู่ตามเมืองต่างๆ ที่ กัวซา (GUA CHA)  กลันตัน (KELANTON)  มีหลักฐานแสดงว่ากลุ่มคนนี้รู้จักสร้างบ้านเรือนอาศัย ทำภาชนะดินเผา ทำเครื่องประดับ รู้จักการเพาะปลูก ล่าสัตว์และการเดินเรือ โดยเฉพาะการทำเรือนั้นรู้จักขุดเรือจนเรือใช้ได้ ถือว่ามีความเจริญมาก่อนที่มนุษย์กลุ่มนี้จะรู้จักใช้

 

                ดลหะ นัยว่ามนุษย์กลุ่มนี้เดินทางผ่านทะเลไปจนถึงอินโดนีเซียและออสเตรเลียด้วย (ซึ่งยังมีมนุษย์ทีสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มนี้อยู่มาจนถึงปัจจุบัน

 

                ส่วนชนพื้นเมืองของมลายูนั้นเป็นกลุ่มนิกริโต (NEGRITO) เมื่อมีผู้คนจากแหล่งอื่นเข้ามาอาศัยพื้นที่อยู่มากขึ้น ก็พากันอพยพเข้าไปอยู่ตามป่าเขา

 

พวกนิกริโต (NEGRITOS) เป็นคนผิวดำน้อย ท้องถิ่นเรียกว่า พวกเชมัง

 

                (SEMANG)  เป็นมนุษย์ตัวเล็ก ผู้ชายสูงไม่ถึง  ๕ ฟุต ผมหนา ผิวดำหรือสีชอกโกแลตออกน้ำตาลดำรงชีวิตอยู่กับสังคมก่อนประวัติศาสตร์สมัยหิน สร้างบ้นมุงด้วยใบไม้หลังคาใช้ใบปาล์มอาศัยหลัยนอนรอบกองไฟ และรู้จักติดไฟแบบโบราณคือเอาไม้สองอันมาสีกันจนร้อนลุกติดเชื้อไฟ อาศัยอยู่โพรงไม้ รากไม้ อาศัยหาผลไม้ป่ากินเป็นอาหาร รู้จักใช้ไม้ซางยาวยิงลูกดอกและชอบเล่นล่ากระรอกและลิงด้วยคันธนูยิงลูกศรเป็นเกมกีฬา  ผู้ชายนั้นออกล่าสัตว์ผู้หญิงและเด็กเข้าป่าหารากไม้ (หัวมัน) และผลไม้ โดยยังใช้ของแข็งปลายแหลมขุดหาหัวมันเผือก หัวมันใต้ดิน หากบ งู และเห็บหอยตามชายฝั่งทะเลหรือแม่น้ำใช้มือเปิบอาหาร และรู้จักกันไฟไว้สำหรับหุงต้มอาหารนิกริโตนี้มีประมาณ ๓.๐๐๐ คน  อาศัยอยู่ในป่าเมืองไทรบุรี เปรัค และกลันตัน

 

                พวกซาไก (SAKI)  หรือพวกชีนอย (SENOT)  เป็นพวกที่มีความเจริญกว่าพวกนิกริโตมีขนาดสูงกว่า ผิวสีน้ำตาลอ่อน ผมดำ หยักหยิกเป็นลอน รูปร่างเตี้ย บอบบาง แต่สูงกว่าพวกนิกริโตมีความชำนาญในการล่าสัตว์รู้จักซัดหอกปลายอาบยาพิษทำจากยางไม้ (เรียกยางหน่อง)  ซึ่งมีพิษถึงตายเมื่อไหลซึมเข้าไปในเส้นเลือด

 

                คนกลุ่มนี้มีประมาณ ๒๔.๐๐๐  คนอาศัยอยู่ในเมืองเปรัค  ปาหัง สะลังงอร์ เนกรีเซมบิลัง โดยรวมตัวอยู่เป็นหมู่  ปลูกบ้านใต้ถุนสูง  หลังคามุงด้วยใบจาก  ผนังบ้านใช้ไม้ไผ่ขัดหรือสับเป็นตับฟาก  นิยมอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำ รู้จักถากถางที่ทำการเพาะปลูกข้าวเจ้า  ข้างฟ่าง กล้วย ผู้หญิงซาไกทำหน้าที่หาหัวเผือก หัวมัน กลอย และผลไม้ และล่าสัตว์ จับปลา กุ้ง หอย ตามลำน้ำ ส่วนผู้ชายนั้นทำการเพาะปลูกโดยเอาไม้แหลมขุดหลุม พวกซาไกนี้จะนำของป่าไปแลก เสื้อผ้า มีด ขวาน เกลือ จากพ่อค้ามาเลเซีย และชาวจีน

 

                พวกจากุน (JAGUN)  หรือคนป่าเป็นคนพื้นเมืองเดิมของมลายู มีรูปร่างเตี้ยและดำกว่ามีภาษาพูดเป็นภาษาโบราณ อาศัยอยู่ตามป่า มีอาชีพประมง ที่พาครอบครัวออกทะเล ใช้ไม้หอกด้ามเดียวเรียก  แซลิจิ (SELIGI)  เป็นเครื่องมือหาปลามาหลายศตวรรษ เป็นพวกนับถือผีสาง นางไม้ เชื่อว่า ก้อนหิน ต้นไม้ ดวงดาว มีชีวิตจิตใจมีวิญญาณ จึงมีความเกรงกลัววิญญาณ ที่เชื่อว่าเป็นผู้บันดาลให้เกิดความเจ็บป่วยและความวิบัติทั้งปวงได้

 

                นอกจากพื้นเมืองแล้ว  ชนชาติอื่นๆ อีก ดังนี้ พวกยูเรเซีย เป็นกลุ่มคนสายเลือดที่สืบเชื้อสายมาจากพวกโปรตุเกส ที่ยกกำลังมารุกรานมะละกา  ในคริสต์วรรษที่ ๑๖ นั้นมีคนงานอพยพเดินทางมาจากเกาะชวา พวกบูกิส ซึ่งมีถิ่นเดิมอยู่ในหมู่เกาะเซเลเบสนั้นที่เป็นนักเดินเรือที่เชี่ยวชาญ รวมทั้งมีพวกอาหรับ ที่เดินทางมาจากตะวันออกเฉียงใต้ของอาระเบีย และชนชาติที่เดินทางมาจากกลุ่มประเทศตะวันออกไกลอีก

 

                ด้วยเหตุนี้ดินแดนของมลายูจึงมีชนชาติพื้นเมืองอาศัยอยู่ส่วนหนึ่งและมีชนชาติอื่นพากันเดินทางเข้ามาภายหลัง และได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแพร่จนศาสนานี้รุ่งเรืองในคาบสมุทรมลายูในที่สุด

 

                คาบสมุทรมลายูแห่งนี้ถือว่าเป็นเส้นทางเดินเรือมาแต่ครั้งโบราณ ด้วยมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่านตลอดเวลา นอกจากมีพวกโปรโต-มาเลย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์เดินทางมาอยู่ตามเกาะและขึ้นบกแล้วยังมีชาวอินเดียแล่นเรือข้ามอ่าวเบงกอลจากชายฝั่งโคโรแมนเดลซึ่งอยู่ทางอินเดียตอนใต้ มาจอดเรือที่ในคาบมหาสมุทรมลายู คือ ระหว่างเมืองตรัง และเมืองไทรบุรี (เคดาห์) เนื่องจากเป็นพื้นที่เหมาะสำหรับกำบังลมซึ่งเรือสินค้าของพ่อค้าเหล่านั้นจะต้องจอดพักรออยู่จนกว่าลมมรสุมจะเปลี่ยนเส้นทางเดิน เพราะต้องอาศัยลมมรสุมนั้นพัดเรือกลับบ้านหรือใช้เดินทางต่อไป          ดังนั้นพ่อค้าจึงนิยมใช้จุดนี้จอดเรือพักหลบมรสุม ภายหลังพ่อค้าชาวอินเดียได้พบว่าสินค้าที่บรรทุกเรือข้ามทะเลมานั้นสามารถนำขึ้นบก ขนเดินทางบกข้ามคอคอดกระไปลงเรือที่จอดรออยู่ทางด้านทางด้านฝั่งตะวันออกได้ ซึ่งประหยัดเวลาและเป็นส้นทางที่ทำให้คนปลอดภัยจากการแล่นเรืออ้อมแหลมเป็นระยะเวลานาน พร้อมกับยังหลีกเลี่ยงการโจรสลัดดักปล้นสินค้ากลางทะเลเมื่อเรือผ่านทางช่องแคบมะละกาด้วย

 

                ต่อมา พ.ศ.๕๔๓-๔  นั้นชาวอินเดียได้เดินเรือติดต่อค้าขายตามเมืองชายทะเลคาบสมุทรมลายูมากขึ้น จึงเห็นว่า เมืองไทรบุรี หรือ เมืองเคดาห์ นั้นมีพื้นที่เหมาะสมที่จะตั้งถิ่นฐานค้าขายหรือเป็นจุดพักสินค้าในแถบนี้

                ต้น พ.ศ.๙๔๓ (ต้นคริสต์สตวรรษที่ ๔) นั้น ทางตอนเหนือของคาบสมุทรมลายูได้มีการตั้งอาณาจักรขึ้นและเริ่มรับอารยธรรมจากอินเดียโบราณ ทำให้ชาวมาเลย์นับถือศาสนาฮินดูและนำวัฒนธรรมมาปรับปรุงและและอยู่ร่วมกับพ่อค้าชาวอินเดียที่เดินทางมาติดต่อค้าขายและจากเมืองนี้สามารถเดินทางต่อไปยังเมืองปัตตานีได้

 

                กลาง พ.ศ.๑๓๔๓ (คริสต์ศตวรรษที่ ๘) ได้มีการตั้งเมืองของชาวอินเดียขึ้นตามดินแดนต่างแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พงศาวดารจีนนั้นได้กล่าวว่าวัฒนธรรมอินเดียนั้นได้แพร่หลายไปตามดินแดนต่างๆ อิชิง (I-CHING)   นักเดินทางได้แวะที่ป่าเล็มบังของอาณาจักรศรีวิชัย เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ ๗  ได้มีบันทึกถึงการรับพุทธศาสนาจากอินเดียว่า

 

                “  มีพระภิกษุสงฆ์ในพุทธศาสนามากกว่า  ๑.๐๐๐  องค์ ต่างศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยเช่นเดียวกับอินเดีย”

                ภาษาที่ใช้ติดต่อกันนั้นเป็นภาษาสันสกฤต  โดยใช้เรียกชื่อ เดือน และมีการใช้มาตราชั่ง  ตวง วัดแบบอินเดีย

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม สังคมและวัฒนธรรมของชนชาติคาบสมุทรมลายู

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์