การปกครองในอาณาจักรนั้นได้มีการน
การปกครองในอาณาจักรนั้นได้มีการนำรูปแบบของอินเดียมาใช้ ( ในเมืองมะละกา )
ดังจะเห็นได้จากการจัดตั้งเสนาบดีที่สำคัญ ๔ ตำแหน่ง เรียกว่า จตุสดมภ์
ซึ่งมีชื่อเรียกดังนี้
เบ็นดาหารา (
BENDAHARA ) ทำหน้าที่เป็นอัครเสนาบดี
ที่ทำหน้าที่การคลังของแผ่นดิน ควบคุมขุนนางและข้าราชการทั้งปวง
ตลอดจนนโยบายต่างประเทศ การค้าขายเป็นตระกุลที่เก็บประโยชน์จากภาษีอากรหรือส่วย
ค่าปรับไหม และของขวัญต่างๆ จึงเป็นตำแหน่งระดับสูงฝ่ายบริหารบ้านเมือง
เตเม็งกอง (
TEMENGGONG ) เป็นเสนาบดีกรมเมือง
ทำหน้าที่การปกครอง ตรวจตรารักษาความสงบ (ตำรวจ) จับกุมผู้ร้ายและรักษาคุก
ดูแลไพร่บ้านที่อยู่อาศัยในพื้นที่ของตนและควบคุมการชั่ง ตวง วัด
เบ็นดาหารี (
BENDAEARI )
ทำหน้าที่เป็นราชเลขาธิการและขุนคลังของพระราชาทำหน้าที่เป็น ลักษมาณา (
LAKSAMANA ) คือแม่ทัพเรือ
ผู้พิทักษ์ชายฝั่ง
ซาห์บันดาร์ (
AHAHBANDAR ) ทำหน้าที่ควบคุมการค้า
ท่าเรือ ดูแลคนเข้าเมืองและเก็บภาษี เดิมเป็นตำแหน่งข้าราชการของชาวเปอร์เซีย
ตำแหน่งจตุสดมภ์นี้ได้ถูกนำไปใช้ในที่อื่น เช่น
จตุสดมภ์ของไทยที่มีการแต่งตั้งเวียงวัง คลัง และนา ขึ้นในการจัดการปกครองบ้านเมือง
ภายหลังได้มีการแต่งตั้งสมุหนายก และสมุหกลาโหม
เป็นอัครเสนาบดีผู้ใหญ่ดูแลแผ่นดินฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ต่างพระเนตรพระกรรณด้วย
ดังนั้นวิทยาการความรู้จากอารยธรรมอินเดียโบราณ จีน และกลุ่มประเทศเมดิเตอร์เรเนียน
จึงได้มีการเผยแพร่ไปตามเส้นทางบกเข้ายังดินแดนต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยเฉพาะดินแดนสุวรรณภูมิตอนใต้ซึ่งเป็นแผ่นดินที่มีชายฝั่งทะเลยาวไปจนถึงคาบสมุทรมลายูนั้น
เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และอาณาจักรศรีวิชัย
จึงรับเอาอารยธรรมอินเดียโบราณเข้าไปก่อนดินแดนที่อยู่ทางตอนเหนือของสุวรรณภูมิ
เนื่องจากแผ่นดินตอนใต้ของไทยมีทิวเขาเป็นแกนกลางเช่นทิวเขา
นครศรีธรรมราชและทิวเขาภูเก็ต
จึงทำให้ฝั่งทะเลตะวันตกและตะวันออกมีภูมิประเทศแตกต่างกัน
ฝั่งทะเลตะวันตก แผ่นดินมีการยุบตัวด้วยถูกน้ำทะเลเซาะ ด้วยมีคลื่นลมแรง
และมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา จึงมีที่ราบเหลืออยู่น้อย
ดังนั้นการตั้งชุมชนตามชายฝั่งทะเล จึงเป็นชุมชนขนาดเล็ก ได้แก่ พังงา กระบี่
ตรัง และสตูล
ซึ่งล้วนแต่มีแหล่งโบราณคดีที่เกิดจากการเดินทางของพ่อค้าอินเดียโบราณ เช่น
จังหวัดพังงา
พบว่ามีพื้นที่น่าจะเคยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในสมัยโบราณทั้งทางบกและทางน้ำ
ซึ่งมีการพบเทวรูปพระวิษณุหรือ พระนารายณ์ (ศาสนาพราหมณ์ )
ที่อำเภอตะกั่วป่าและชิ้นส่วนของเรือสำเภาโบราณ
เป็นหลักฐานถึงการมีเรือสินค้าเข้ามาบริเวณนี้พร้อมกับศาสนาพราหมณ์
ประกอบกับมีเส้นทางข้ามแผ่นดินมายังฝั่งทะเลตะวันออกได้ จึงมีการสันนิฐานว่า
บริเวณตะกั่วป่า นั้น
น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นเมืองท่าที่รู้จักกันในจดหมายเหตุจีนว่า
ตักโกละ
ซึ่งภายหลังนั้นพบว่าน่าจะเป็นพื้นที่เมืองตรัง ตามเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว
การพบโบราณวัตถุแบบอินโด-โรมัน คือลูกปัดแก้วมีตา ลูกปัดแก้วมีตา
ลูกปัดแก้วมีแถบสี ซึ่งเป็นชิ้นงานของอินเดีย-โรมันที่เหมืองทอง บ้านทุ่งตึก
ตำบลเกาะคอเขา
อำเภอคุระบุรี นั้น
ก็เป็นร่องรอยที่พ่อค้าอินเดียใช้เส้นทางนี้เดินทางเข่ามาเพื่อออกไปยังฝั่งทะเลอีกด้านหนึ่ง
จังหวัดกระบี่ พบว่าเป็นแหล่งสำคัญ ที่มีหลักฐานว่าสินค้าอินเดีย สินค้าโรมัน
และสินค้าแบบอินโด-โรมัน นั้นได้เดินทางมาค้าขายกันประมาณพุทธศตวรรษที่ ๕-๙
แหล่งโบราณคดีบริเวณควนลูกปัดแห่งนี้ เป็นเนินดินใกล้ที่ราบเชิงเขา
มีคลองท่อมไหลผ่านนั้นเป็นแหล่งผลิตลูกปัดสำคัญ มีเส้นทางเข้ามาในคลองท่อมได้
ทำให้เป็นจุดที่มีการค้าขายแลกเปลี่ยนกัน ระหว่างผู้ผลิตลูกปัดกับพ่อค้าอินเดีย
พ่อค้าโรมัน ที่เดินทางเข้ามา พบว่ามีลูกปัดแบบโรมัน
แบบอินเดียและแบบทำเลียนโรมันโดยอินเดียอยู่จำนวนมากและมีหลากหลายชนิด
นอกจากนี้ยังพบเศษแก้วที่เหลือจากการผลิตลูกปัด และพบลูกปัดแก้วจำนวนมาก
ที่เป็นหลักฐานว่าเป็นแหล่งผลิตลูกปัดแห่งหนึ่ง ฝั่งทะเลตะวันออก
เป็นพื้นที่ราบที่มีการลดระดับต่ำลงเป็นชายหาด และมีแผ่นดินงอกเพิ่มขึ้น
เนื่องจากมีสันเขาที่เป็นต้นน้ำของแม่น้ำสายต่างๆ ที่มีระยะทางสั้น
นอกจากนี้ยังมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะช่วงตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงมกราคม
จึงมีฝนตกมากจนทำให้มีลำธารหรือแม่น้ำเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ
เมื่อไหลลงไปสู่แม่น้ำสายใหญ่แล้ทำให้เกิดสันทรายขึ้นในแม่น้ำจึงเกิดพื้นที่ราบบนสันทรายที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก
และตั้งชุมชน ดังนั้น ชุมชนที่เกิดขึ้นจึงอยู่บริเวณใกล้เชิงเขา
ห่างจากทะเลประมาณ ๓๐๐ เมตร
และมีที่ราบอยู่ชายฝั่งทะเลให้ตั้งบ้านเมืองได้แหล่งโบราณคดีที่พบในฝั่งทะเลด้านนี้
ได้แก่
จังหวัดชุมพร พบโบราณวัตถุแบบอินโด-โรมัน เช่น ลูกปัดแก้วมีตา
และโบราณวัตถุแบบอินเดีย เช่น ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ลูกปัดหินอาเขต
ทั้งแบบเรียบและแบบฝั่งสี ด้ามทัพพีทำด้วยสำริดรูปนกยุงที่ เขาสามแก้ว
ตำบลนาชะอัง ในเขตอำเภอเมือง
เป็นหลักฐานที่แสดงว่าบริเวณนี้พ่อค้าอินเดียได้เดินทางเลียบชายฝั่งตะวันออกมาติดต่อค้าขายกับชุมชนแถบนี้
จังหวัดสุราษฏร์ธานี เป็นพื้นที่ตั้งของเมืองสำคัญสมัยอาณาจักรศรีวิชัย
จึงพบโบราณวัตถุจากอินเดีย
และร่องรอยความเจริญของศาสนาพราหมณ์ในพื้นที่แห่งนี้กล่าวคือพบเทวรูปพระวิษณุ
อายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ และศาสนา ๘ แห่ง ที่เขาศรีวิชัย
อำเภอพุนพินแสดงว่าศาสนาพราหมณ์นั้นได้เข้ามาตั้งที่บริเวณนี้ด้วย
เช่นเดียวกันพบว่ามีที่ตั้งของชุมชนโบราณ ที่อำเภอไชยา
มีพระบรมธาตุไชยาซึ่งมีส่วนยอดของเจดีย์ประกอบองค์พระบรมธาตุเป็นรูปพระพรหมสี่หน้าทำด้วยหินทรายและพระพุทธรูปหินทราย
ในการสำรวจทางโบราณคดีพบเทวรูปพระวิษณุและมุขลึงค์ที่เก่าแก่ที่สุดเดิมนั้นพบเทวรูปพระอวโลกิเตศวรชำรุดองค์หนึ่งที่แห่งนี้จึงมีการสันนิษฐานว่า
ศูนย์กลางอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ที่ไชยา
ภายหลังได้มีการสำรวจสันทรายพบว่าในชั้นดินลึกประมาณ ๑๐๐
เซนติเมตรนั้นพบว่าบริเวณแห่งนี้มีวัฒนธรรมเดียวและมีอายุไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่
๑๖ และเมื่อขุดตรวจที่วัดหลง ได้พบเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงค์หมิง
ที่มีอายุในพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๒
บริเวณไชยานี้พบว่ามีโบราณวัตถุที่สร้างเนื่องจากนับถือศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก
ที่วัดเวียง อำเภอไชยานั้น พบจารึก๓ษาสันสกฤตตัวอักษรปัลลวะ จารึก เมื่อ พ.ศ.๑๓๑๘
มีคำว่าศรีศรีวิชเยทรราชา และข้อความนั้นกล่าวถึงการสร้างปราสาทอิฐ ๓ หลัง
เพื่อบูชาพระพิสัตว์ปัทมปาณี พระพุทธเจ้าพระโพธิสัตว์วัชรปาณี
และเรื่องกษัตริย์วงค์ไศเลนทร
โดยเฉพาะที่แหล่งโบราณคดีที่แหลมโพธิ์ ตำบลพุมเรียง
อำเภอไชยานั้นพบโบราณวัตถุที่เป็นสินค้า มาจากพ่อค้าอินเดีย พ่อค้าจีน พ่อค้าจีน
พ่อค้าอาหรับ และยังพบเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงค์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๕
บริเวณแห่งนี้เป็นชุมชนใหญ่ที่มีท่าเรือติดต่อค้าขาย และมีคลองพุมเรียง
เป็นเส้นทางคมนาคม เช่นเดียวกับบริเวณที่พบโบราณวัตถุ
ประเภทหินลูกปัดหินคาร์เนเลียนและลูกปัดหินอาเกต ที่วัดอัมพาวาส อำเภอท่าชนะ
เป็นร่องรอยว่ามีการค้าขายมาถึงบริเวณนี้เช่นเดียวกัน
จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นที่ตั้งของเมืองตามพรลิงค์ ( จีนเรียก ดันมาหลิง )
สถานที่ตั้งของศาสนาพราหมณ์รุ่นแรก
ซึ่งพบร่องรอยเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ไศวนิกายที่เขาคา อำเภอสิชล
มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๖
โบราณนอกจากนี้ยังพบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณที่บริเวณสันทรายหลายแห่ง
เช่น เมืองพระเวียง ชุมชน โบราณท่าศาลาสิชน ชุมชนโบราณท่าเรือ (
มีคลองท่าเรือกว้าง ๓๐-๕๐ เมตรไหลผ่าน)
ซึ่งเรือสินค้าขนาดใหญ่สามารถเข้าไปถึงภายหลังเมืองตามพรลิงค์ได้เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรตามพรลิงค์และปกครองเมืองต่างในคาบสมุทรมลายูมีพระบรมธาตุสำคัญของเมืองสร้างเมือพุทธศาสนามาตั้งที่บริเวณนี้
จังหวัดเมืองสงขลา พบว่ามีร่องรอยชุมชนโบราณที่บริเวณสทิงพระ
เมื่อขุดตรวจในตัวเมืองโบราณพบภาชนะดินเผา (เตาปะโอ)
เครื่องถ้วยสมัยศรีวิชัยสีขาวนวนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์
ชุงตอนปลายต่อมาสมัยราชวงศ์หยวน ที่เข้ามาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘
จังหวัดปัตตานี เป็นสถานที่ตั้งของชุมชนขนาดใหญ่ที่มีความเก่าแก่ คือ
เมืองโบราณยะรัง บันทึกของจีนได้กล่าวถึง ลังยาเสียว ( อาหรับเรียก ลังกาสุกะ)
มีความสำคัญอยู่ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ในการสำรวจขุดตรวจ
พบร่องรอยวัฒนธรรมของอาณาจักรศรีวิชัยซึ่งพบพระพิมพ์ดินดิบ และสถูปจำลองดินเผา
พบมีอยู่จำนวนมาก
สำหรับหลักฐานจากจารึกที่พบทางภาคใต้นั้น ส่วนมากเป็นจารึกภาษาบาลี
ส่วนภาษาทมิฬภาษาเขมร ภาษามอญ นั้นพบอยู่บ้าง และพบจารึกหลักที่ ๒๓
เป็นเรื่องเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัย
สังคมและวัฒนธรรมของอาณาจักรศรีวิชัย
ในพุทธศตวรรษที่ที่ ๑๓-๑๕
นั้นพุทธศาสนานิกายมหายานได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในเมืองไชยา
ดังนั้นการสร้างพระบรมธาตุเมืองไชยาจึงรับอิทธิพลรูปแบบสถาปัตยกรรมของอาณาจักรศรีวิชัย
ซึ่งมีรูปแบบทรงมณฑปหรือทรงปราสาทลักษณะเดียวกับ จันทิที่สร้างในชวาภาคกลาง
หรือปราสาทจามที่ฮัวไล และปราสาทขอมสมัยกุเลนที่สร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔
พระบรมธาตุไชยานั้นมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีฐานมุขยื่น ๔ ด้าน
วางแบบเป็นรูปกากบาทเจดีย์ประธานเป็นเรือนธาตุนั้น
ตั้งอยู่บนลานประทักษิณส่วนหน้ามุขยื่นออกมาทั้ง ๔
ด้านส่วนยอดนั้นลดหลั่นเป็นชั้น ๓ ระดับ โดยมีเจดีย์ จำลองประดิษฐานแต่ละชั้นๆ
ละ ๘ องค์
บนลานประทักษิณนั้นสร้างเจดีย์บริวารอยู่ตรงมุมรูปแบบคล้ายสถาปัตยกรรมแบบรถะของอินเดียใต้ที่สร้างในพุทธศตวรรษที่
๑๒-๑๓ และที่วัดแก้วก็มีสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับพระบรมธาตุไชยา
แต่พัฒนารูปแบบขึ้นคล้ายสถาปัตยกรรมของพวกจาม ที่สร้างในพุทธศตวรรษที่ ๑๔
ต่อมาพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙
สถาปัตยกรรมได้มีการผสมผสานแบบศรีวิชัยกับแบบลังกาเข้าด้วยกัน
ซึ่งมีการสร้างเจดีย์ทรงกลมประดิษฐานบนฐานกากบาท ที่เจดีย์ใหญ่ที่วัดสทิงพระ
จังหวัดสงขลา และสร้างเป็นแบบเจดีย์ทรงกลมประดิษฐานบนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส
ที่วัดพะโค๊ะ อำเภอสหิงพระ
สำหรับประติมากรรมที่ถือว่าเป็นรูปแบบของอาณาจักรศรีวิชัย ที่เด่นชัดขึ้น
คือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์ศยามตารา และพระโพธิสัตว์ชัมภล
เป็นปติมากรรมรูปลอยตัวที่สร้างในคติพุทธศาสนามหายาน
นอกจากนี้ยังมีการสร้างพระพิมพ์ดินดิบที่พบเป็นจำนวนมากตามชุมชนต่างๆ โบราณต่างๆ
ตั้งแต่สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา ถึงนราธิวาส
พระพิมพ์ดินดิบนี้สร้างตามคตินิยมพุทธศาสนานิกายมหายานตันตระที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ที่อินเดียภาคตะวันออเฉียงเหนือในพุทธศตวรรษที่
๑๒-๑๕ โดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ปาละ
ทรงอุปถัมภ์และมีศูนย์กลางอยู่กลางอยู่ที่เมืองนาลันทา เมืองปหรรปุระ
และเมืองไมนามตี
ต่อมาได้มีการติดต่อเผยแพร่หายานตันตระและมีอิทธิพลเข้าไปยังชวาภาคกลางในพุทธศตวรรษที่
๑๒-๑๔ โดยกษัตริย์ราชวงศ์ไสเลนทร์ของอาณาจักรมัชฌาปาหิต (ชวา) ทรงอุปถัมภ์
พระเจ้าเทวะปาละ เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๓
ของราชวงศ์ปาละมีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่แคว้นเบงกอล
พระองค์ทรงอุปถัมภ์พุทธศาสนามหายานตันตระสกุววัชรยานอยู่นั้น
ได้จารึกแผ่นทองแดงไว้เมื่อ พ.ศ.๑๔๐๓ ได้กล่าวถึง
พระเจ้าพาลปุตรกษัตริย์ไศเลนทร์ของสุมาตราได้มาสร้างวัดไว้ที่นาลันทาสำหรับพวกจาริกแสวงบุญไปจากคาบสมุทรมลายู
และพระเจ้าเทวะปาละนั้นทรงอุทิศรายได้จากหมู่บ้าน ๕ หมู่บ้านสำหรับดูแลวัดดังกล่าว
นอกจากนี้ในคาบสมุทรภาคใต้นั้นพบว่าศาสนาพราหมณ์ไศวนิกายที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ในอินเดียภาคใต้
โดยการอุปถัมภ์ของกษัตริย์ราชวงศ์โจฬะ เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๗ นั้น
ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่จนเจริญรุ่งเรือง เนื่องจากพบเทวรูปพรัศิวะมหาเทพ
และพระอคัสตยะ ที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ต่อมาได้มีการเผยแพร่และมีอิทธิพลต่อศาสนาพราหมณ์ไศวนิกายที่เกาะชวาในปลายพุทธศตวรรษที่
๑๔ ครั้งนั้นกษัตริย์ราชวงศ์มะตะราม
ทรงให้การอุปถัมภ์ทั้งศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนานิกายหินยานด้วย
ในพุทธศตวรรษที่ ๑๖ พระเจ้าราเชนทร์โจฬะ พ.ศ.๑๕๗๓
และพระเจ้าราชราชะหรือราชเกศรีวรมัน พ.ศ.๑๕๘๗-๑๕๘๙
แห่งราชวงศ์โจฬะนั้นได้มีจารึกบันทึกว่า พระเจ้าจุฬามณีวรมัน
กษัตริย์ราชงวศ์ไศเลนทร์ได้อุปถัมภ์วัดพุทธศาสนาที่เมืองนาคปตัมหรือนาคปัฏฏินัมซึ่งเมืองนี้เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนานิกายหินยาน
ที่ราชวงศ์โจฬะอุปถัมภ์อยู่ และพระเจ้ากุลโลตุงคะโจฬะ พ.ศ.๑๖๒๗ ได้กล่าวว่า
พระองค์นั้นได้อุทิศรายได้จากหมู่บ้านหนึ่งให้เป็นค่าดูแลรักษาวัดดังกล่าว
วัดนี้จารึกเรียกว่า
ไศเลนทรจุฑามณีวรมันวิหาร
สรุปแล้วคาบสมุทรอินโดจีนตอนใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรไปจนถึงจังหวัดนราธิวาสนั้น
ได้พบร่องรอยของชุมชนโบราณก่อนสมัยอาณาจักรศรีวิชัย ประมาณก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๓
ชุมชนได้มีมนุษย์มาอาศัยอยู่ก่อนแล้ว
ต่อมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๘-๙ เป็นต้นมานั้น
บริเวณดังกล่าวได้มีการตั้งนิคมการค้า
(
แหล่งค้าขาย-ชุมชนค้าขาย-ตลาด ) ของชาวอินเดียขึ้น
ชุมชนการค้านั้นต่อมามีความเจริญมากขึ้นจนสามารถสร้างเมือง
และมีบทบาทสำคัญในการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าต่างชาติจนมีสินค้าจากโลกตะวันตกและโลกตะวันออก
โดยติดต่อร่วมสมัยกับสมัยอินโด-โรมันของอินเดีย ( คืออินเดียทำเลียนแบบสินค้าโรมัน)
ในพุทธศตวรรษที่ ๕-๙ จนบางแห่งสามารถสร้างแหล่งอุสาหกรรมการผลิตลูกปัด เช่น
แหล่งโบราณคดีสามแก้วที่ชุมพร แหล่งโบราณคดีควนลูกปัดที่คลองท่อม
แหล่งโบราณคดีบ้านทุ่งตึกที่พังงา เป็นต้น
ชุมชนโบราณระดับเมืองตามชายฝั่งทะเลนั้นปรากฏว่ามีมากกว่า ๑๐ แห่ง
(จากบันทึกของจีน) ต่างเมืองมีกษัตริย์ปกครองดูแลตนเองและตืดต่อทางการทูตกับจีน
นอกจากนี้ยังมีการติดต่อค้าขายกับอินเดีย
จนมีความคุ้นเคยกับอารยธรรมอินเดียเป็นอย่างดี
และยอมรับศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนาจากอินเดียทุกภาคซึ่งนำมาเผยแพร่จนมีการสร้างศาสนาสถานขึ้นมากมาย
มีรูปแบบสกุลต่างชาติ เช่น
สกุลช่างอมราวดี จากอินเดียภาคใต้ (ลุ่มแม่น้ำกฤษณา-โคทาวารี)
พุทธศตวรรษที่ ๖-๙
สกุลช่างคุปตะ จากอินเดียภาคเหนือและภาคตะวันออก พุทธสตวรรษที่
๙-๑๑
สกุลช่างหลังคุปตะ พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๔
ดังนั้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘
แหลมอินโดจีนตอนใต้ของไทยจึงเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัย
จากหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุจึงมีข้อสมมติฐานว่าบริเวณพระบรมธาตุไชยา-แหลมโพธิ์
จังหวัดสุราษฏร์ธานีนั้นเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยตอนบนหรือเมืองท่าสำคัญ
และเมืองปาเล็มบังบนเกาะสุมาตรา
เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยตอนล่างหรือเป็นวงกลม
|