ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  อาณาจักรขอมยุคเมืองพระนคร

 

                อาณาจักรขอมยุคเมืองพระนคร (ANGOR)

 

                สมัยที่อาณาจักรขอม มีการสร้างเมือง ยโศธรปะรุหรือเมืองพระนคร ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-20

อาณาจักรใหม่นี้มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุดของประวัติศาสตร์ ซึ่งมีกษัตริย์ปกครองดังนี้

 

                พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 หรือพระเจ้าปรเมศวร

 

                พ.ศ.1333-1389 พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของอาณาจักรขอม ยุคเมืองพระนคร แต่พระองค์ไม่ใช่ผู้สร้างเมืองพระนคร จารึกสด๊อกก๊อกธม กล่าวว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 นี้เป็นเจ้าชายขอมที่เสด็จกลับมาจากอาณาจักรมัชฌาปาหิต (ขวา) และพระองค์ได้ทำการรวบรวมเมืองต่าง ๆของพวกเจนละทั้งสองกลุ่มให้เป็นหนึ่งเดียวอีกครั้งหนึ่ง แล้ว (พ.ศ.1355) พระองค์ได้ประกาศอิสรภาพให้พ้นจากอำนาจทางการเมืองของอาณาจักรมัชฌาปาหิต (ชวา) ที่พระองค์เคยไปอยู่และรับเอาวัฒนธรรมราชวงศ์ไศเลนทร และศาสนาพราหมณ์ ไศวนิกายกลับมาใช้ปกครองอาณาจักรแห่งนี้

 

                กล่าวคือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ได้ให้จัดพระราชพิธีสถาปนาพระองค์ (พระราชาภิเษก) ขึ้นเป็นพระจักรพรรดิ (CAKRA VARTIN จักรวรรติน) ของอาณาจักร โดยจัดพระราชพิธีนี้บนเขา มเหนทรบรรพต

(ปัจจุบันคือเขาพนมกุเลน  อยู่ทางเหนือของเมืองพระนคร บนเขามีโบราณสถานอยู่หลายแห่ง มีรูปแบบอิทธิพลศิลปะชวาและศิลปะจามที่เข้ามาช่วงปลาย)

 

                ในการปกครองอาณาจักรของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 นั้นได้นำรูปแบบจากวัฒนธรรมอินเดียตอนใต้

ซึ่งนับถือศาสนาพราหมณ์ไศวนิกายและราชวงศ์ไศเลนทร (กษัตริย์ชวา) มาประยุกต์ใช้  ดังนั้น การเป็นอิสระนั้นจึงต้องอาศัยวัฒนธรรมและศาสนาสร้างความศักดิ์สิทธิ์ และเชื่อมั่นครั้งนั้น พระองค์ทรงให้พราหมณ์ประกอบพิธี “เทวราช” (จากจารึกภาษาขอมว่า “กมรเตง คชฺต ราช” เทวะผู้เป็นราชา) ขึ้น เป็นการสถาปนาคความเชื่อว่า เทวราชา นั้นเป็น ราชาของเทวดาทั้งปวง (พระศิวะ-พระผู้เป็นเจ้าของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู) จึงทำพิธีอัญเชิญขึ้นเป็นเทพผู้คุ้มครองราชย์บัลลังก์ และปกป้องคุ้มครองราชย์อาณาจักร พิธีนี้ต่อมาเป็นพระราชพิธีสำคัญของผู้เป็นกษัตริย์ ขอมเป็นพิธีราชาภิเษกพระองค์เป็นกษัตริย์ คือ กมรเตง ชคฺต ราช (สมมุติเทวราช) ซึ่งพระองค์รับสนองในการทำหน้าที่ดูแลอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าองค์นั้น ดังนั้นการพระราชกิจใด ๆ ของแผ่นดิน จึงมีการจัดพิธีอุทิศถวายบูชาพระผู้เป็นเจา (พระศิวะ) ผู้ซึ่งเป็นเทวราชาผู้คุ้มครองราชอาณาจักร อยู่เสมอ

 

                สถานที่สำคัญของ กมรเตง ชคฺต ราช นั้น จึงเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ ตามคติศาสนาพราหมณ์ ดังนั้นการสร้าง เทวบรพต จึงเป็นการจำลองภูมิสถานของเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นศูนย์กลางจักรวาลนั้น เข้ามาอยู่เป็นศูนย์กลางเมืองในราชธานีของอาณาจักรขอม

 

                การออกแบบและสร้างเทวบรรพต จึงเป็นสถาปัตยกรรมเทวสถาน (ปราสาท) ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับกษัตริย์ และพราหมณ์ ที่มีปราสาทสำหรับประดิษฐานรูปเคารพของเทวราชา คือ พระศิวะ (ราชศิวลึงค์) เป็นราชประเพณีของกษัตริย์อาณาจักรขอม ที่ต้องสร้างถวายพระผู้เป็นเจ้าเมืองขึ้นครองราชย์และสร้างราชธานีแห่งใหม่ เหมือนกับประกาศเป็นนัย ถึงพระบุญญาบารมีของกษัตริย์และอำนาจที่กะเกณฑ์ผู้คนหรือช่างฝีมือมาช่วยกันสร้างเทวบรรพตถวายพระผู้เป็นเจ้า ผู้นับถือว่าเป็นเทวราชของแผ่นดิน

 

                พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เมื่อครองราชย์ได้ทรงเริ่มต้นการสร้างเทวบรรพต ประดิษฐานรูปเคารพของเทวราชาตามแบบศาสนาพราหมณ์ เทวบรรพตแห่งแรกนี้เชื่อกันว่า คือ โบราณสถานเขาพนมกุเลน (ปัจจุบันเรียก

กุฏิพระอารามโรงจีน)

 

                เทวบรรพต นี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สร้างขึ้นตามความเชื่อของจักรวาล ในศาสนาพราหมณ์ว่า เขาพระสุเมรุนั้นเป็นศูนย์กลางจักรวาล ดังนั้นการสร้างเทวบรรพตจึงนิยมที่จะสร้างบนยอดเขา และพื้นที่ราบ

(โดยการยกชั้นมากขึ้น) โดยการออกแบบสถาปัตยกรรมให้สอดคล้องกับเขาพระสุเมร ศูนย์กลางจักรวาล

กล่าวคือ การยกฐานนั้น จะซ้อนเป็นชั้นลดหลั่นขึนไปตามลำดับ เหมือนเขาพระสุเมรุจำลอง ตัวปราสาทองค์ประธานนั้นตั้งอยู่ตรงกลางและตั้งอยู่บนฐานส่วนบนที่สูงที่สุด เพื่อประดิษฐ์รูปเคารพ เทวราช องค์นั้น

               

                ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ปรากฏว่าพระองค์ได้สร้างราชธานีขึ้นใหม่หลายแห่ง ได้แก่

1.        เมืองอินทรปุระ (บริเวณบันทายไพรนคร อยู่ทางตะวันออกใกล้เมืองกำแพงจาม)

2.        เมองหริหราลัยหรือร่อลวย (อยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ห่างจากเมืองพระนครปัจจุบันประมาณ 15 กม)

3.        เมืองอมเนทรปุระ (อยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองพระนครปัจจุบัน แถบบารายด้าน ตะวันตกและ

4.        เมืองมเหนทรบรรพต หรือพนมกุเลน (บนเขาพนมกุเลน  ปัจจุบัน)

 

ดังนั้น จึงถือว่ายุคนี้มีการสร้างศิลปะขอมแบบกุเลน ขึ้นในช่วง พ.ศ. 1370 – 1420 จาก ประสบการณ์

ที่มีการสร้างราชธานี และเทวบรรพตนั้นได้ทำให้ช่างสถาปัตยกรรมในอาณาจักรขอม มีความชำนาญสร้างปราสาทหินเป็นอย่างมาก มีงานศิลปกรรมขอมเกิดขึ้นมากมายหลาย รูปแบบ ในแต่ละสมัย

 

                พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงเปลี่ยนเมืองราชธานีประทับอยู่ตลอด ครั้งสุดท้ายทรงประทับมี่เมืองหริหราลัย และพระองค์ทรงอัญเชิญรูปเคารพ เทวราช มาประดิษฐานที่แห่งนี้ด้วยจนสิ้นพระชนม์ เรื่องนี้มีจารึกกล่าวว่า

การนำเทวราชา หรือ กมรเตง ชคฺต ราชจากเมืองหนึ่งไปยังเมืองหนึ่งนั้น จึงกล่าวได้ว่า มีการนำประติมากรรมรูปเคารพ ของเทวราชา ผู้คุ้มครองราชย์บัลลังก์ และราชอาณาจักรไปประดิษฐานในเทวบรรพต

 

                ดังนั้น รูปเคารพของเทวราชจึงถูกสถาปนา ขึ้นเป็นรูป ศิวลึงค์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งพระศิวะ และถูกอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในเทวสถาน ที่สร้างเป็นศูนย์กลางของราชธานี

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม อาณาจักรขอมยุคเมืองพระนคร (ANGOR)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์