ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  พระเจ้าวรมันที่ 3

 

                                     พระเจ้าวรมันที่ 3 (พระเจ้าวิษณุโลก)

 

                ครองราชย์ พ.ศ.1389-1420 เป็นพระโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 สมัยพระองค์นั้นทรงครองราชย์ที่เมืองหริหราลัย หรือร่อลอยที่กลับมาเป็นราชธานีอีกครั้ง พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถ ในการล่าช้าง เป็นอย่างมาก แต่ไม่ปรากฏเรื่องราวของพระองค์มากนัก

 

 

                                    พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 (พระเจ้าอิศวรโลก)

 

                ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.1420-1432 ไม่ปรากฏความว่าพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 เกี่ยวพันกับพระเจ้า

ชัยวรมันที่ 2 อย่างไร แต่รู้ว่าพระองค์เป็นโอรสของพระเจ้าปฤถิวีนวรมัน (ยังไม่รู้ประวัติ) พระเจ้าอินทรวรมันทรงมีพระมเหสี ที่สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ของกษัตริย์อาณาจักรฟูนัน

 

                ในสมัยของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 นั้น ทรงสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ชื่อ อินทรตฏากะ สระนี้ประมาณความกว้าง 800 เมตร ยาว 3,800 เมตร เพื่อใช้เก็บน้ำในฤดูฝนที่จะมีฝนตกไหลมาตามสายน้ำที่ลงมาจากที่ราบสูงพนมกุเลนทางเหนือ แล้วน้ำในสระนี้จะถูกส่งแจกจ่ายไปยังทุ่งนาที่อยู่รอบ ๆ เมืองตามต้องการ จึงทำให้การปลูกข้าวได้ผลดี มีผลผลิตอุดมสมบูรณ์ทำให้สร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่อาณาจักร นอกจากนี้สระน้ำอินทรตฏากะยังใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งนทีมหาสมุทรของจักรวาลตามความเชื่อของศาสนาด้วย

 

                สมัยพระองค์นั้นได้มีการสร้างปราสาทอิฐ (ปราสาทพระโค) เพื่ออุทิศถวายแด่บรรพบุรุษ ขึ้นที่ด้านตะวันออกของสระอินทรตฏากะ และพระองค์ได้สร้างเทวบรรพตประจำราชธานี (เมองหริหราลัย) เพื่อประดิษฐานราชศิวลึงค์อินทเรศวรขึ้น สมัยนี้มีการสร้างศิลปะขอมแบบพระโคขึ้นในช่วง พ.ศ.1420 – 1440 จากการพบจารึกของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 ที่บ้านบึงแก จังหวัดอุบาลราชธานี นั้นเป็นหลักฐานที่แสดงว่า ในสมัยของพระองค์ได้มีการขยายอำนาจทางการเมืองไปบริเวณชายแดนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ในไทย) ด้วย

 

                พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 (พระเจ้าบรมศิวโลก) ครองราชย์ พ.ศ.1432-1450 เป็นพระโอรสของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์นั้นได้สร้างเทวสถาน (ปราสาทโลเลย) อุทิศถวายพระราชบิดาและบรรพบุรุษ ขึ้นที่กลางสระอินทรตฏากะซึ่งน้ำแห้งตื้นเขิน ในเมืองหริหราลัย

 

                ต่อมาพระองค์ได้สร้างเมืองยโศธรปุระ (เมืองพระนคร) ขึ้นที่เขาพนมบาเค็ง เมื่อ พ.ศ.1436 เมืองนี้อยู่ตั้งอยู่บริเวณทางตอนเหนือทะเลสาบของเมืองเสียมเรียบ (คนไทยเรียกว่า เสียมราฐ)

 

                การสร้างเมืองยโศธรปุระ (เมืองพระนคร) นั้นเนื่องจากเมืองหริหราลัย ราชธานี  เดิมนั้นเต็มไปด้วยเทวสถานที่สร้างในรัชกาลก่อยอยู่จำนวนมากจนไม่สามารถที่ขยายพื้นที่หรือสร้างเทวสถานได้อีก ประกอบกับสระอินทรตฏากะ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำหรับการชลประทานช่วยเหลือการเพาะปลูกอยู่นั้น เกิดตื้นเขินและไม่สามารถเก็บน้ำให้เพียงพอกับพื้นที่นาที่อยู่โดยรอบ ดังนั้น จึงมีการคิดสร้างเมืองขึ้นใหม่ ซึ่งน่าจะได้มีการวางผังเมืองและเลือกสถานที่สำหรับสร้างเมืองราชธานี มาตั้งแต่รัชกาลของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 พระราชบิดา แต่เกิดสิ้นพระชนม์ลงเสียก่อน

 

                การเลือกสถานให้เป็นที่ตั้งเมืองยโศธรปุระ (เมืองพระนคร) นั้นได้เลือกสถานที่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองหริหราลัย ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นอาราบริเวณของที่ราบสูงพนมกุเลน ลงมาถึงบริเวณทิศเหนือของฝั่งทะเลสาบขนาดใหญ่ พื้นที่ดังกล่าวนั้นมีร่องรอยของการใช้พื้นที่อยู่อาศัยมาก่อน สมัยสร้างเมืองพระนคร ด้านทิศตะวันตกและตะวันออกของพื้นที่ (สร้างเมืองพระนคร) มีโบราณสถานที่แสดงว่าสถานที่จะตั้งเมืองยโศธรปุระนี้เคยเป็นศูนย์กลางของเมืองมาก่อนเมื่อสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2

 

                ทำเลที่จะสร้างเมืองยโศธรปุระนี้ มีทะเลสาบขนาดใหญ่ ซึ่งมีแม่น้ำเสียมเรียบไหลลงมาจากเขาพนมกุเลน ผ่านพื้นที่ราบลงมายังทะเลสาบ ทำให้ทะเลสาบกลายเป็นแหล่งกักเก็บน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ ที่สามารถนำน้ำไปใช้ในการเพาะปลูกได้ อีกทั้งพื้นที่สองฝั่งของทะเลสาบนั้นมีความชุ่มชื้นเหมาะในการทำการเพาะปลูกเป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน ทะเลสาบแห่งนี้ ยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาธรรมชาติและมีสัตว์น้ำมากมาย

 

                ในบริเวณดังกล่าวนั้น มีภูเขาที่นำมาใช้เป็นศูนย์จักรวาลและเป็นศูนย์กลางของราชธานี ได้ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ถึง 3 แห่งคือ เขาพนมโกรม เขาพนมบก และเขาพนมบาเค็ง ดังนั้นการสร้างเทวบรรพต ประจำราชธานี เพื่อเป็นศูนย์กลางของจักรวาลตามคติศาสนาพราหมณ์และศูนย์กลางของเมืองนั้น จึงเลือกเขาพนมบาเค็ง ซึ่งมีความสูงไม่มากนัก และเป็นพื้นที่น้ำท่วมไม่ถึง จึงเป็นทำเลที่เหมาะสำหรับการตั้งบ้านเมืองขนาดใหญ่

 

                ตัวเมืองยโศธรปุระ นั้นวางผังเมืองให้เป็นราชธานีศักดิ์สิทธิ์โดยจัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีเชิงเทินและคูน้ำล้อมรอบทั้งสี่ด้านเป็นเหมือนทิวเขาและแม่น้ำที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุตามคติความเชื่อของไศวนิกาย โดยสร้างเทวบรรพต (ปราสาทพนมบาเค็ง) เป็นเทวสถานประจำราชธานี (เหมือนวัดประจำวัง) คือสร้างบนเขาพนมบาเค็ง ที่อยู่ใจกลางเมืองเช่าเดียวกับเขาพระสุเมรุ ที่เป็นศูนย์กลางจักรวาล และด้านตะวันออกค่อนไปทางเหนือนั้น ได้สร้างบาราย (สระ) ขนาดใหญ่สำหรับเก็บน้ำเพื่อการชลประทาน กว้าง 1,800 เมตร ยาว 7,500 เมตร เรียกว่า

ยโศธรตฏากะ (ปัจจุบันคือ บารายตะวันออก) ถือเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์และสมมุตเป็นนทีมหาสมุทรที่อยู่คู่กับจักรวาล

 

                เมื่อเมืองยโศธรปุระสร้างขึ้นแล้ว พระเจ้ายโศธรวรมันที่ 1 ทรงย้ายไปประทับที่ราชธานีใหม่แห่งนี้

ปัจจุบันเรียก เมืองพระนคร (ANGOR THOM) เป็นแบบศิลปะขอมแบบบาเค็ง

 

                นอกจากนี้ พระเจ้ายโศธรวรมันที่ 1 ยังทำให้การสร้างเทวบรรพตขึ้นอีกหลายแห่งไว้บนเขา พนมโกรม เขาพนมบก อีกด้วย เป็นการสร้างความเชื่อว่า ภูเขาทั้งปวงนั้นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นศูนย์รวมของอำนาจแห่งพระผู้เป็นเจ้า เนื่องจากภูเขานั้นเป็นที่ประทับของเทพเจ้า

 

                ดังนั้น ในเมืองยโศธรปุระ พระเจ้ายโศธรวรมันที่ 1 จึงสร้างเทวสถาน และมีสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรขอม และในสมัยพระองค์นั้นได้ขยายอำนาจกว้างไกลไปทางตอนใต้ของลาว และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ซึ่งพบจารึกของพระองค์ในบริเวณดังกล่าว

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม พระเจ้าวรมันที่ 3 (พระเจ้าวิษณุโลก)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์