ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1

 

  พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 (พระเจ้ารุทรโลก)

 

 

ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.1440-1466 เป็นพระโอรสของพระเจ้ายโศธรวรมันที่ 1 เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์นั้นได้สร้างเทวบรรพต (ปราสาทปักษีจำกรง) อุทิศถวายพระราชบิดาและพระราชมารด โดยสร้างเป็นปราสาทขนาดเล็ก ที่มีปราสาทก่ออิฐหลังเดียวตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง

สร้างเป็นฐานไพทีซ้อนเป็นชั้น ถึง 5 ชั้น

 

                พระเจ้าอิศานวรมันที่ 2 (พระเจ้าบรมรุทรโลก) ครองราชย์ ระหว่าง พ.ศ.1466 – 1468 เป็นพระอนุชาของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 1  สมัยนี้มีการสร้างเทวสถานขึ้นที่เมืองยโศธรปุระ คือ ปราสาทกระวัน โดยข้าราชการขั้นสูงในราชสำนักสร้าง พระองค์ครองอยู่ไม่นานได้เกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแผ่นดิน โดยพระปิตุลาของพระองค์ (ส่วนเหตุที่เปลี่ยนรัชกาลนั้น น่าจะเกิดจากพระองค์ไม่ได้สร้างเทวสถานขึ้นตามราชประเพณี )

 

                พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 (พระเจ้าบรมศิวบท) ครอราชระหว่าง พ.ศ. 1471 – 1485 พระองค์เป็นพระปิตุลา ของพระเจ้าอิศานวรมันที่ 2 (บ้างว่าน้องเขยของพระเจ้ายโศธรวรมันที่ 1) เดิมนั้นพระองค์ประทับอยู่ที่เกาะแกร์

(GARGYAR- อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองพระนคร ประมาณ 100 กม.) ครั้นเมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์นั้น พระองค์ได้สร้างราชธานีขึ้นที่เมืองโฉกการยกยาร์ (เกาะแกร์) ทรงสร้างเทวบรรพตและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ขึ้น ส่วนเหตุที่พระองค์ไม่ใช้เมืองพระนครเป็นราชธานีนั้น น่าจะเกิดเพราะบารายด้านตะวันออก คือ ยโศธรตฏากะหรือบารายตะวันออกนั้นเกิดตื้นเขินมากจนกักเก็บน้ำไม่ได้หรือได้ไม่เพียงพอ (น่าจะเกิดจากเหตุที่เมื่อบารายชองเมืองตื้นเขินแล้วต้องย้ายเมืองเหมือนรัชกาลก่อน ๆ )

 

                พระองค์ครองราชย์ที่เมืองโฉกการยกยาร์ (เกาะแกร์) ได้ 14 ปี จึงสิ้นพระชนม์

                พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 (พระเจ้าพรหมโลก) ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.1485 – 1487 เป็นพระโอรสของพระเจ้าอิศานวรมันที่ 2 ไม่ปรากฏเรืองราว พระองค์ครองราชย์อยู่ 2 ปี และเป็นสมัยที่ศิลปะขอมแบบเกาะแกร์ ได้รับความนิยมหลังจากที่มีการสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.1465 – 1490

 

                พระเจ้าราเชนทรวรมัน (พระเจ้าศิวโลก) ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.1487 – 1511 เป็นพระนัดดาของพระเจ้ายโศธรวรมันที่ 1 เดิมเป็นเจ้าชายครองอยู่เมืองภวปุระ (อยู่ตอนเหนือของกัมพูชาปัจจุบัน) เมื่อพระองค์ได้ครองราชย์นั้น ได้เสด็จมาประทับและสถาปนาเมืองยโศธรปุระ (เมืองพระนคร) เป็นราชธานีตามเดิม พระองค์ทรงทำให้เมืองยโศธรปุระมีความเจริญรุ่งเรือง โดยทรงโปรดให้ทำการบูรณะเทวสถานเก่า ๆ ที่อยู่ในเมืองแห่งนี้ เช่น ปราสาทปักษีจำกรง เป็นต้น พระองค์ให้ทำการปรับปรุงผังเมืองด้านตะวันออกของเมืองเพื่อสร้างเทวสถานประจำรัชกาลตามประเพณี และทรงให้ทำการปรับปรุงบารายตะวันออกเสียใหม่ โดยยกคันดินให้สูงขึ้นเป็นคันเขื่อนเก็บกักน้ำ

 

                เทวสถานที่พระเจ้าราเชนทรวรมัน โปรดให้สร้างที่เมืองยโศธรปุระ (เมืองพระนคร) ตามราชประเพณีที่พระเจ้ายโศธรวรมันที่ 1 ทรงทำมาก่อนคือ เทวสถาน (ปราสาทแม่บุญตะวันออก) สร้างอุทิศถวายแด่บรรพบุรุษของพระองค์นั้นอยู่กลางบารายตะวันออก และเทวสถานประจำราชธานี (ปราสาทแปรรูป) ประดิษฐานรูปเคารพของเทวราชา ผู้คุ้มครองราชย์ธานีและอาณาจักรสมัยนี้มีการสร้างศิลปะขอมแบบแปรรูปใน พ.ศ.1490 – 1510

 

                จากการสร้างเทวสถานของพระองค์นั้น ได้ทำให้มีข้าราชการขั้นสูง ในราชสำนักขอม ได้พากันก่อสร้างเทวสถานตามอย่างกษัตริย์ เช่น กวีนทราริมัถนะ สร้างเทวสถาน (ปราสาทบาทชุม) ตรงด้านทิศตะวันออกของเมืองพระนคร เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปและพระพุทธเทวดาในความเชื่อพุทธศาสนาลัทธิมหายาน พราหมณ์ทิวากรภัทร์ สร้างเทวสถาน (ปราสาทอินทร์โกสี) ที่ริมฝั่งแม่น้ำเสียมเรียบ ซึ่งอยู่ทิศใต้นอกเมืองพระนคร

ตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ไศวนิกาย และพราหมณ์ยัชญวราหะ มหาราชครูในราชสำนักขอม ได้สร้าง  เทวสถาน (ปราสาทบันทายศรี) ในบริเวณทางทิศเหนือห่างจากเมืองพระนครไปประมาณ 25 กิโลเมตร เพื่ออุทิศถวายแด่พระอิศวร (พระศิวะ) และสร้างสำเร็จในรัชกาลต่อมา)

 

                พระเจ้าราเชนทร์วรมันนั้น ทรงขยายอำนาจออกไปทางตะวันออกไปจนถึงดินแดนภาคตะวันออก

เฉียงเหนือ (อีสาน) ของไทย ซึ่งมีการพบจารึกของพระองค์ในบริเวณภาคอีสาน หลายหลัก และในตอนปลายนั้นพระองค์ทรงยกกองทัพเข้าไปรุกรานอาณาจักรจัมปา และสู้รบมีชัยชนะ

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 (พระเจ้ารุทรโลก)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์