พระเจ้าชัยวรมันที่ 5
พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พระบรมวีรโลก)
ครองราชย์ พ.ศ.1511
1543 พระองค์เป็นพระนัดดาของพระเจ้าราเชนทรวรมัน
ทรงขึ้นครองราชย์ในขณะที่ทรงพระเยาว์ ทำให้ขุนนางในราชสำนักต่างมีอำนาจมากโดยเฉพาะ
พราหมณ์ยัชญวราหะ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 5
ที่ได้รับการสอนเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ ครั้นเมื่อพระองค์เจริญเป็นกษัตริย์หนุ่ม
แล้วพราหมณ์อาจารย์ก็ยังมีอำนาจอยู่ ซึ่งมีจารึกว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้ตกลงในกิจกรรมทุกอย่าง
และ ทรงรับคำขอร้องจากพระอาจารย์ของพระองค์และทรงมีพระทัยพร้อมที่จะอำนวยประโยชน์ให้
พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ทรงให้สร้างเทวสถาน (นัยว่าปราสาทตาแก้ว )
ประจำราชธานีขึ้นที่เมืองพระนครตามราชประเพณี
แต่ยังสร้างไม่สำเร็จพระองค์สิ้นพระชนม์ก่อน เทวสถานของพราหมณ์ยัชญวราหะนั้นสร้าง
ปราสาทบันทายศรีเสร็จในรัชกาลนี้ ดังนั้น สมัยนี้จึงมีการสร้างศิลปะขอมแบบบันทายศรี
ขึ้นในช่วง
พ.ศ.1510
1550
จากการพบจารึกของพระองค์หลายหลักในจังหวัดอุบลราชธานี สุรินทร์
บุรีรัมย์ มหาสารคามและนครราชสีมา นั้นเป็นการแสดงว่าอาณาจักรขอม
ได้ขยายอำนาจมาถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
เช่นเดียวกัน
พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 1 ครองราชย์ พ.ศ.1544
1544
พระองค์เป็นพระนัดดา ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ครองราชย์ได้ปีเดียวก็สิ้นพระชนม์
ทำให้อาณาจักร เกิดความวุ่นวายเนื่องจากมีการสู้รบชิงราชสมบัติ
สมัยนี้ได้มีการสืบการสร่างศิลปะขอมแบบคลัง ที่สร้าง ตั้งแต่ พ.ศ.1510
1560
พระเจ้าชัยวีรวรมัน ครองราชย์ พ.ศ.1545
1553 เป็นเจ้าชายที่สู้รบชิงราชบัลลังก์ได้
เมื่อพระองค์ครองราชย์นั้นทรงให้สร้างเทวสถาน (นัยว่าปราสาทเกรียงหรือคลัง)
ขึ้นที่เมืองพระนครตามราชประเพณี
(ด้วยพบจารึกของพระองค์ที่ปราสาทเกรียงแห่งนี้) และพระองค์ยังทำการก่อสร้างเทวบรรพต
ประจำราชธานี
(ปราสาทตาแก้ว) ที่ค้างในรัชกาลก่อนต่อมา แต่ไม่สำเร็จ
เนื่องจากเกิดสงครามแย่งชิงราชบัลลังก์ขึ้นในการสู้รบ
ครั้งแรกนั้นผู้ชิงอำนาจได้พ่ายแพ้แก่พระองค์
แต่ภายหลังหลับเข้าชิงอำนาจอีกครั้งปรากฏว่าพระองค์พ่ายแพ้
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ครองราชย์ พ.ศ.1545
1593 เป็นเชื้อพระวงศ์มหิธรปุระ ที่ผู้ชิงอำนาจที่ได้ชัยชนะ ดังนั้น
พระองค์จึงทำการสถาปนาราชวงศ์มหิธรปุระขึ้นใหม่
และน่าจะมีการสร้างเมืองราชธานีใหม่ขึ้นนอกเมืองพระนคร
ครั้งนั้นพระองค์จึงทรงประทับ ในพระนครแห่งใหม่ พบว่า มีเทวสถานขนาดใหญ่
(ปราสาทเขาพระวิหาร) ที่เกี่ยวข้องกับพระองค์อยู่บนเทือกเขาพนมดงเร็ก
ห่างจากราชธานี (เมืองยโสธรปุระ) เกือบ 300 กิโลเมตร
ปราสาทเขาพระวิหารนี้อยู่ใกลอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าใน พ.ศ.1545 นั้น
พระองค์มีฐานะเป็นกษัตริย์ปกครองอยู่ในอาณาจักรรอบนอก
ร่วมสมัยเดียวกับพระเจ้าชัยวีรวรมัน ที่ครองราชย์เมืองยโศธรปุระ (เมืองพระนคร)
ครั้นเมื่อพระองค์ได้ยกทัพ เข้าสู่รบชิงอำนาจและมีชัยชนะในครั้งที่สองนั้นพระองค์ได้เสด็จมาครองเมืองยโศธรปุระ
(เมืองพระนคร) ใน พ.ศ.1553
ครั้งนั้น พระองค์ได้ทรงสร้างพระราชวังหลวง และเทวสถาน
ประจำราชธานี ตามประเพณี (ปราสาทพิมานอากาศ) ขึ้นใน เมืองยโสธรปุระ (พระนคร) แล้ว
พระองค์ยังได้สร้างเทวสถาน (ปราสาทเกรียงหลังทิศใต้) ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง
จากการพบจารึกของพระองค์ที่แคว้นจำปาศักดิ์ ในประเทศลาวตอนใต้
และที่ภาคกลาง ที่จังหวัดลพบุรี และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
เนื่องจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทรงนับถือพุทธศาสนา
จึงสามารถขยายอำนาจมายังบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
โดยยึดครองดินแดนอาณาจักรทวาราวดีไว้เมื่อราว พ.ศ.1585 และในช่วงพุทธศตวรรษ 15-16
นี้ได้มีการบูรณะเทวสถานที่ปราสาทตาเหมือนธม (อยู่ที่อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์)
ปราสาทนี้ เริ่มสร้างมาตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 12
นอกจากนี้พระองค์ยังได้สร้างปราสาทหินสระกำแพงใหญ่
(อยู่ในอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ) แสดงว่า ในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่
1 นั้น ได้ขยายอำนาจออกไปกว้างขวางกว่าเดิม และมีความเจริญรุ่งเรืองมาก
สมัยนี้
มีการสร้างศิลปะแบบปาปวนขึ้นในระหว่าง พ.ศ.1560
1630 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 นั้นทรงครองราชย์อยู่นานเกือบ
50 ปี จึงสิ้นพระชนม์
|