พระเจ้าอุทัยทิตย์วรมันที่ 2
พระเจ้าอุทัยทิตย์วรมันที่ 2
ครองราชย์พ.ศ.1593
1609 พระองค์เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1
เมื่อพระองค์เสด็จขึนครองราชย์นันได้โปรดให้สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
(ปัจจุบันคือบารายตะวันตก) เพื่อเก็บน้ำที่ไหลลงมาจากแม่น้ำโอคลอด (O-KLOK)
ที่ไหลลงมาจากเขาพนมกุเลน สระนี้กว้าง 2,200 เมตร ยาว
8,000 เมตร
การสร้างบารายแห่งนี้
เข้าใจว่าได้มีการวางแผนและสร้างในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1
เนื่องจากบารายตะวันออกนั้นเก็บกักน้ำได้ไม่พอต่อพื้นที่เพาะปลูกที่อยู่รอบเมือง
และการสร้างอ่างเก็บน้ำนี้มาสร้างสำเร็จในสมัยพระเจ้าอุทัยทิตย์วรมันที่ 2
ตรงกลางบารายตะวันตกแห่งนี้ มีการสร้างเทวสถานขึ้น
(ปราสามแม่บุญตะวันตก) เป็นสถาปัตยกรรมที่แตกต่างไปจากรูปแบบเทวสถานขอมทั่วไป
โดยสร้างเทวสถานสำหรับประดิษฐานรูปเคารพนั้น เป็นเกาะที่มีสระน้ำตรงกลาง
โดยมีกำแพงก่ออิฐล้อมรอบ เทวสถานนี้ทั้งสี่ด้าน โดยมีโคปุระ (ทางเข้า)
อยู่ทางด้านทิศตะวันออกที่เชื่อมต่อกับทางเดินที่ข้ามไปยังเกาะกลางน้ำได้
ภายในสระน้ำนันพบรูปเคารพศิวลึงค์ และพระนารายณ์บรรทมสินธุ์
ขนาดใหญ่หล่อด้วยสำริดประดิษฐานอยู่
จึงเข้าใจว่าเทวสถานแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานรูปเคารพเทวราชา (พระศิวะ)
เหมือนเขาพระสุเมรุ โดยสระน้ำแห่งนี้เป็นท้องนทีมหาสมุทร ที่สถิติของพระนารายณ์
(บรรทมสินธุ์) อย่างคติในศาสนาพรามณ์
สำหรับรูปเคารพศิวลึงค์ สร้างเปนศิวลึงค์ ที่ภายในกลวง
จัดตั้งในลักษณะส่วนล่าง (แปดเหลี่ยม)ขึ้นบนและส่วนบนคว่ำลงล่าง (กลมมน)
แล้วต่อกับท่อสำริดที่ทอดยาวใต้สระน้ำ ออกไปบาราย (สระน้ำ)
ดังนั้น เมื่อระดับในบารายสูงขึ้นก็จะดันให้น้ำไหลเข้าไปในศิวลึงค์ จนเต็ม
ดูเหมือนน้ำนั้นไหลจากปลายศิวลึงค์ทำให้น้ำในสระศักดิ์สิทธิ์แล้ว
ยังทำหน้าที่เป็นที่วัดระดับน้ำในสระแห่งนี้ด้วย
โดยใช้ระบบแรงดันน้ำผ่านท่อขึ้นมาในองค์ศิวลึงค์
เทวสถานที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 นั้น
นอกจากเทวสถาน (ปราสาทปาปวน)สร้างขึ้นประจำราชธานี
ปราสาทแม่บุญตะวันตกที่สร้างขึ้นกลางรายตะวันตกแล้ว
ยังมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเพิงหินริมแม่น้ำ
และแผ่นหินในท้องแม่น้ำบนเขาพนมกุเลนและพนมกบาลสเปียน
ที่แผ่นหินเหล่านั้นได้สลักเป็นรูปเคารพคือ พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ พระพรหมกำเนิด
พระอิศวรและพระอุมาประทับเหนือโคนนทิ แผ่นหินในท้องแม่น้ำนั้นทำเป็นศิวลึงค์
เรียงกันจำนวนมาก (เรียกศิวลึงค์พันองค์) โดยมีน้ำไหลผ่านลงไปเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ
ลงไปยังที่ราบของเมืองพระนคร
เพื่อนำความมั่งคั่งและความอุดมสมบูรณ์สู่แผ่นดินของอาณาจักรขอมพบจารึกว่า
แหล่งศักดิ์สิทธิ์ในแม่น้ำนี้ สร้างโดยพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2
|